รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

8. ร้อยละความสำเร็จในการจัดทำแผนการพัฒนาและฟื้นฟูคลอง : 5043-0803

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
40.00
100
100 / 100
2
60.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- เตรียมการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแผน - รายงานผลการพิจารณาราคากลาง/ลงนามสัญญา - ประสานหน่วยงานภายนอกร่วมพัฒนาพื้นที่

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

- ดำเนินการสำรวจข้อมูลพื้นที่ สภาพปัญหา /แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานแผนพัฒนาฟื้นฟูคลอง /จัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานแผนพัฒนาฟื้นฟูคลอง - บำรุงรักษาคลอง จัดเก็บผักตบชวา วัชพืช อย่างต่อเนื่อง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- ดำเนินการขุดลอกลำรางฯ เรียบร้อยแล้วเสร็จ - ปัจจุบันอยู่ระหว่างสำรวจสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานเขต (ข้อมูลทั่วไป//บัญชีคลอง/แผนที่คลอง/อัตรากำลัง/เครื่องมือ เครื่องจักร/สำรวจคลอง พร้อมนำข้อมูลมาจัดทำแผน - บำรุงรักษาคลอง จัดเก็บผักตบชวา วัชพืช อย่างต่อเนื่อง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1.มีการจัดทำโครงการแผนพัฒนาและฟื้นฟูคลองในพื้นที่เขตคันนายาว 2.คำสั่งสำนักงานเขตคันนายาวที่ 379/2562 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2562 แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาและบำรุงรักษาคลองในพื้นที่เขตคันนายาว 3.มีการจัดประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการและคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างแผนฯ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตคันนายาว 4.เสนอพิจารณาร่างแผนพัฒนาและฟื้นฟูคลองในพื้นที่เขตคันนายาว 5.ผู้อำนวยการเขตคันนายาวอนุมัติแผนฯ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563พร้อมสำเนาแจ้ง สยป. 6.ผู้อำนวยการเขตคันนายาวประกาศใช้แผน ฯ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2563 7.นำแผนไปสู่การปฏิบัติเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. แผนการพัฒนาและฟื้นฟูคลอง หมายถึง แผนพัฒนาฟื้นฟูคลอง อันมีลักษณะเป็นการกำหนดรายละเอียดแผนงานโครงการพัฒนาที่จัดทำขึ้นสำหรับปีงบประมาณแต่ละปี ซึ่งมีความต่อเนื่องและเป็นแผนก้าวหน้า โดยมีการทบทวนเพื่อปรับปรุงเป็นประจำทุกปี 2. การพัฒนาและฟื้นฟูคลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่ โดยการดูแลสภาพคู คลองให้สะอาด ไม่มีขยะ ผักตบชวา วัชพืช ตัดแต่งต้นไม้ และการพัฒนาปรับปรุงสภาพพื้นที่ ทางเดินริมคลอง ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ตามความเหมาะสมของพื้นที่ 3. เป้าหมาย หมายถึง การจัดทำแผนพัฒนาและฟื้นฟูคลองของสำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพตะวันออก จำนวน 9 เขต เขตละ1 เล่ม ประกอบด้วย 1. สำนักงานเขตคลองสามวา 2. สำนักงานเขตคันนายาว 3. สำนักงานเขตบึงกุ่ม 4. สำนักงานเขตประเวศ 5. สำนักงานเขตบางกะปิ 6. สำนักงานเขตสะพานสูง 7. สำนักงานเขตมีนบุรี 8. สำนักงานเขตลาดกระบัง 9. สำนักงานเขตหนองจอก 4. วิธีการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทำแผน 1.1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปของ คลอง โดยมีภาพถ่าย หรือแผนที่ประกอบ 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาและบำรุงรักษาคลองในพื้นที่เขต 1.3 คณะทำงานศึกษาสภาพปัญหา วิเคราะห์สถานการณ์ทั่วไปของเขต 1.4 จัดประชุมคณะทำงานฯ เพื่อทำการทบทวนและคัดเลือกแนวทางการพัฒนาที่จะนำมาใช้ในการจัดทำแผนฯ 1.5 จัดการประชุมคณะทำงานร่วมกับคณะกรรมการฯ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำร่างแผน 2.1 คณะทำงานฯ ดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาฯ โดยมีเค้าโครงประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเขต ส่วนที่ 2 กรอบของแผน 2.2 คณะทำงานฯ เสนอร่างแผนพัฒนาฯ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม แล้วนำไปปรับปรุงให้สมบูรณ์ต่อไป 2.3 คณะทำงานฯ นำร่างแผนพัฒนาฯ ที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณา ขั้นตอนที่ 3 การอนุมัติแผน 3.1 คณะกรรมการฯ พิจารณาร่างแผนพัฒนาฯ ที่คณะทำงานปรับปรุงแล้ว หากไม่มีการแก้ไข ให้คณะกรรมการฯ นำเสนอผู้อำนวยการเขต เพื่อพิจารณาอนุมัติ ขั้นตอนที่ 4 การประกาศใช้แผน 4.1 สำนักงานเขตประกาศใช้แผนพัฒนาและบำรุงรักษาคลองในพื้นที่แล้วให้ผู้ประสานแผนพัฒนา ระดับเขตดำเนินการแจ้งส่วนราชการทราบและนำไปปฏิบัติต่อไป 4.2 สำเนาแจ้งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

คำนวณจากความก้าวหน้าตามขั้นตอนการดำเนินงาน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

....

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง