ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ไตรมาสที่ 1 ดำเนินการสำรวจพื้นที่ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ และดำเนินการจัดซื้อต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก จำนวน 12 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ ร้านมั่นคงพาณิชย์ จำนวนเงิน 711,500.- บาท ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ขณะนี้ดำเนินการขั้นตอนจัดทำร่างสัญญา
ไตรมาสที่ 2 ดำเนินการจัดซื้อต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก จำนวน 12 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ผู้ชนะการเสนอราคา ได้แก่ ร้านมั่นคงพาณิชย์ จำนวนเงิน 711,500.- บาท และดำเนินการตรวจรับต้นไม้และวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก จำนวน 12 รายการ ถูกต้อง ครบถ้วน เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามโครงการ ดังนี้ 1.บริเวณริมกำแพงศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ถนนสุขุมวิท ยังไม่ได้ดำเนินการ 2.บริเวณที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกไปพระโขนง ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ดำเนินการปรับพื้นที่ ตั้งขอบคันหิน ลงดิน ปรับระดับพื้นดิน 3.บริเวณใต้ทางด่วนสี่แยกบางนา ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ดำเนินการปรับพื้นที่ ตั้งขอบคันหิน ลงดินปรับระดับพื้นดิน ปลูกต้นไม้ ดังนี้ ต้นทองอุไร ต้นต้อยติ่งเทศ (ฟ้าประทานพร) ต้นเอื้องหมายนาดอกแดง ต้นเตยด่างเหลือง ต้นหมากเขียว ต้นหมากผู้หมากเมีย (ทับทิมสยาม) ต้นพลูด่าง
ไตรมาสที่ 3 ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว โดยดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามโครงการ ดังนี้ 1.บริเวณริมกำแพงศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ถนนสุขุมวิท ดำเนินการปรับพื้นที่ ตั้งขอบคันหิน ลงดินปรับระดับพื้นดิน ปลูกต้นไม้ ดังนี้ ต้นทองอุไร ต้นรวงผึ้ง ต้นบานบุรีแคระ ต้นต้อยติ่งเทศ(ฟ้าประทานพร) ต้นเข็มพิษณุโลก 2.บริเวณที่ว่างใต้สะพานข้ามแยกไปพระโขนง ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ดำเนินการปรับพื้นที่ ตั้งขอบคันหิน ลงดินปรับระดับพื้นดิน ปลูกต้นไม้ ดังนี้ ต้นทองอุไร ต้นต้อยติ่งเทศ(ฟ้าประทานพร) ต้นเอื้องหมายนาดอกแดง 3.บริเวณใต้ทางด่วนสี่แยกบางนา ถนนเทพรัตน (ขาเข้า) ดำเนินการปรับพื้นที่ ตั้งขอบคันหิน ลงดินปรับระดับพื้นดิน ปลูกต้นไม้ ดังนี้ ต้นทองอุไร ต้นด้อยติ่งเทศ (ฟ้าประทานพร) ต้นเอื้องหมายนาดอกแดง ต้นเตยด่างเหลือง ต้นหมากเขียว ต้นหมากผู้หมากเมีย (ทับทิมสยาม) ต้นพลูด่าง
ดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 3
พื้นที่สีเขียว หมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 10 ประเภทแยกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ให้สำนักงานเขตดำเนินการตามเป้าหมายที่ตกลงกับสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อมในแต่ละปี 2. พื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะซึ่งต้องดำเนินการสำรวจรวบรวมเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 12 แห่ง/ปี กรณีข้อ 2 กรณีหากสำนักงานเขตได้รับการยกเว้นเนื่องจากไม่มีพื้นที่ตามที่กำหนดเหลือแล้ว ให้ใช้การรายงานผลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตรวม 4 ครั้ง/ปี (ธ.ค.,มี.ค.,มิ.ย.,ก.ย.) ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานสวนกำหนดแทน
วิธีการคำนวณ : 1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม และพื้นที่สีเขียวที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบสวนสาธารณะ คิดคะแนนประเภทละ 100% รวม 200% 2. เฉลี่ยผลลัพธ์ตามข้อ 1 ให้เหลือร้อยละ 100 3. นำผลที่ได้จากข้อ 2 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วน คือ 3.1 รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 3.2 ที่ตั้ง 3.3 ภาพถ่าย 4. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละสำนักงานเขต
ใช้ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของแต่ละเขตที่ปรากฏใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” เท่านั้น
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ |
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ% |
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่ |