ค่าเป้าหมาย ตร.ม. : 3200
ผลงานที่ทำได้ ตร.ม. : 15684
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตบางบอน
-สำนักงานเขตบางบอนดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขต
-สำนักงานเขตบางบอนดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขตในพื้นที่เขต
-ดำเนินการรายงานข้อมูลพื้นที่สีเขียวเพื่อสำาถแวดล้อมที่ดีของ กทม สำนักงานเขตดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มพื้นที่สีเขียวได้ 15,684 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 490.13
- พื้นที่สีเขียวหมายถึง พื้นที่สีเขียวตามที่กำหนดไว้ใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” ประกอบด้วย 1.พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อมให้สำนักงานเขตดำเนินการตามที่ได้ตกลงร่วมกันสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม ในแต่ละปี ซึ่งคือพื้นที่ใด ๆ ในแต่ละพื้นที่เขตที่ไม่เคยถูกพัฒนาเป็นสวนหย่อม/สวนสาธารณะ (กำหนดตามนิยาม 7 ประเภท ของสำนักงานสวนสาธารณะ สสล.) มาก่อน ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ว่างเปล่า/เกาะกลางถนน/ ริมทาง/ ริมคลอง/ใต้ทางด่วน/แนวกำแพงอย่างต่อเนื่อง/ผนังตึก/รั้ว/สวนบนอาคารสูง ดาดฟ้าอาคาร (Green Roof) ฯลฯ **สวนบนอาคารสูง/ดาดฟ้า นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่ สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 2 การพัฒนาพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อมต้องพัฒนาให้มีพันธุ์ไม้ปกคลุมขนาดตั้งแต่ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ต.ร.ม. ขึ้นไป โดยเน้นการปลูกไม้ถาวร อาจดำเนินการดังต่อไปนี้ 2.1 ปลูกพันธุ์ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม 2.2 จัดทำเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ/สวนหย่อม 2.3 จัดทำสวนหย่อมในลักษณะสวนบนอาคารสูง (Green Roof) (นโยบายผว.กทม.) 2.4 จัดทำเป็นสวนตามแนวพื้นดินหรือพื้นที่สีเขียวขึ้นตามแนวดิ่ง จัดทำเป็นสวนแนวตั้ง นิยามตามที่ระบุไว้ในฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร 2.5 จัดทำเป็นสวนป่า หมายถึง การปลูกต้นไม้ในลักษณะเป็นพื้นที่ โดยมีทั้งไม้ระดับสูง กลาง ระยะปลูกระหว่างต้นเท่ากับ 4X4 เมตร ให้คิดเฉลี่ย 100 ต้น เป็นพื้นที่ 1 ไร่ 2.6 การปลูกไม้ยืนต้นในลักษณะเนื่องเป็นแนวยาว เช่นปลูกตามริมถนน ริมคลอง ริมทางเท้า เป็นต้น คิดพื้นที่โดยนำความกว้างของทรงพุ่มคูณความยาวของระยะทางที่ปลูก 3 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ กล่าวคือ 3.1 สำนักงานเขตเองดำเนินการในรูปแบบที่ใช้และไม่ใช้งบประมาณ 3.2 สนับสนุนหน่วยราชการอื่นๆ/บริษัท ห้างร้าน เอกชน หรือประชาชน ฯลฯ ให้เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่ของตนเอง 3.3 รวบรวมพื้นที่ซึ่งหน่วยงานอื่น บริษัท ห้างร้าน เอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ ได้มีการดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่สวนตามนิยามของสวนสาธารณะ 7 ประเภทไว้แล้ว 4. สำนักงานเขตจัดทำทะเบียนพื้นที่สวนฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 4.1 สวนซึ่งสำนักงานเขตดำเนินการเอง 4.2 สวนซึ่งดำเนินการโดยหน่วยงานอื่น 4.3 อื่น ๆ เช่น หมู่บ้านจัดสรร วัด บริษัท/ห้างร้าน ภาคเอกชน ประชาชน ฯลฯ
1. กำหนดให้พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ร้อยละ 100 2. นำผลที่ได้จากข้อ 1 พิจารณาในส่วนความสมบูรณ์ของข้อมูลใน 3 ส่วนคือ 1) รายละเอียดพื้นที่สีเขียวแต่ละแห่ง 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่าย 3. หลังจากตัดคะแนนในส่วนความสมบูรณ์จะเป็นคะแนนที่ได้ของแต่ละสำนักงานเขต
1.1 ใช้ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของแต่ละเขตที่ปรากฏใน “ฐานข้อมูลและระบบติดตามประเมินผลการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร” เท่านั้น 1.2 สำนักงานเขตรับผิดชอบสวน 3 ประเภทประกอบด้วย 1) สวนสาธารณะ/สวนหย่อมที่ สนข. รับผิดชอบดำเนินการ 2) สวนสาธารณะ/สวนหย่อมที่อยู่ในการดูแลรับผิดชอบของหน่วยราชการอื่น (ระบุหน่วยงานเจ้าของพื้นที่) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขต 3) สวนสาธารณะ/สวนหย่อมอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือจากข้อ 1) และ 2) เช่น ที่อยู่ในความรับผิดชอบของเอกชน วัด หมู่บ้านจัดสรรฯลฯ (ระบุเจ้าของพื้นที่) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่เขต 1.3 ความสมบูรณ์ของข้อมูลใช้ข้อมูลพื้นที่สีเขียวของสำนักงานเขตแต่ละแห่งทั้งหมดเริ่มตั้งก่อตั้งสำนักงานเขตถึงปีตรวจประเมินโดยพิจารณาจากความถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบันของข้อมูลใน 3 ส่วน คือ 1) รายละเอียด 2) ที่ตั้ง 3) ภาพถ่ายของพื้นที่แต่ละแห่ง 1.4 ข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ใช้ข้อมูล ณ 30 กันยายนของปีที่ตรวจประเมิน 1.5 เกณฑ์การให้คะแนน - พื้นที่สีเขียวที่เป็นสวนสาธารณะ/สวนหย่อม ตามเป้าหมายกำหนดคิดเป็นร้อยละ 100
:ด้านที่ ๒ - มหานครสีเขียว สะดวกสบาย : Bangkok as a Green and Convenient City |
:๒.๒ - มีพื้นที่สาธารณะ พื้นที่สีเขียวกระจายทั่วทุกพื้นที่ |
:๒.๒.๑ กรุงเทพมหานครเป็นมหานครที่ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ มีพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนเพียงพ% |
:๒.๒.๑.๑ พัฒนาพื้นที่สีเขียวสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและสร้างความร่มรื่นเพิ่มขึ้นกระจาย ทั่วในพื้นที่ |