ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายกิตติชัย บ่อสมบัติ กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 02-4440163 ต่อ 8915
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
การยกระดับการบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยให้ไปสู่ระบบมาตรฐาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ๔.๐ นั้นจะต้องมีกำลังคนที่มีศักยภาพและความสามารถ ซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องมีการเตรียมการพัฒนาคนทั้งที่อยู่ในระบบการศึกษาและคุณภาพบุคลากร ให้มีทักษะสำหรับระบบมาตรฐานความปลอดภัยในยุคใหม่ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและคุณภาพของบุคลากรทางการแพทย์ประเทศไทยในระยะยาว ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากำลังคนนั้น เป็นส่วนสำคัญมากในการยกระดับระบบมาตรฐานความปลอดภัย แต่หากโรงพยาบาลนั้นมีข้อจำกัดในด้านทุนทรัพย์ ด้านคุณภาพบุคลากร ด้านเทคโนโลยีการรักษา ด้านการเข้าถึงบริการของรัฐและการรับรู้ข่าวสาร รวมไปถึงด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ก็จะทำให้โรงพยาบาลขาดความเข้มแข็งที่จะดำเนินกิจการในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้องแข่งขันกันด้วยคุณภาพ หรือเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากระทบต่อกระบวนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยของบุคลากร ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งต่อการดำเนินงานและการดูแลคุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงพยาบาล จึงมีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจในปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเป็นกลุ่มประชากรที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสูง เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานประกอบการประเภทหนึ่งที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกับสถานประกอบการอื่นๆ การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยในโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองสุขภาพของบุคลากรทางการแพทย์ หากจัดระบบการดูแลที่ดี และมีประสิทธิภาพจะสามารถเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสุขภาพจากการทำงาน ไม่ให้เกิดความเสี่ยง หรือเกิดแล้วไม่รุนแรงมากขึ้น กลุ่มงานเวชศาสตร์ชุมชมและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ตระหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงดำเนินการจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
07130000/07130000
2.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่บุคลากรโรงพยาบาลในการดำเนินงานด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2.2 เพื่อจัดทำแผนงานงานหลักด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
จัดโครงการอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 70 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน และระดับปฏิบัติการ- เชี่ยวชาญ ตำแหน่งนายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสุขาภิบาล นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการเงินและบัญชี นักโภชนาการ นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ นักเวชนิทัศน์ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี โภชนากร พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุข ผู้ช่วยทันตแพทย์ นายช่างเทคนิค จำนวน 50 คน 2) บุคลากรกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานเปล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานทั่วไป จำนวน 10 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 8 คน 2) วิทยากร จำนวน 2 คน
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-02-17)
17/2/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ในวันที่ 19 ธันวาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม ท.ลดาวัลย์ ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ประกอบด้วยข้าราชการ 35 คน บุคลากรกรุงเทพมหานคร 18 คน บุคคลภายนอกผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 6 คน รวม 59 คน 1. แผนงานหลักด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 1 แผนงาน - แผนงานหลักจัดทำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์โรงพยาบาล ดังนี้ ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานกลยุทธ์ เรื่องเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยของบุคลากร ตัวชี้วัดกลยุทธ์ 1. ร้อยละของผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยได้รับการพัฒนาศักยภาพ 2. ผ่านเกณฑ์การประเมินตามแนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยสำหรับสถานพยาบาล 3. จำนวนมาตรฐานและแนวทางที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยฯ 4. จำนวนเครือข่ายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยฯ 5. ร้อยละของหน่วยงานมีการรายงานการเจ็บป่วย/บาดเจ็บจากการทำงาน 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่อง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงานหลังการอบรมมากกว่าหรือเท่ากับ 80% สรุป ร้อยละ 84.74 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความปลอดภัยอาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน 3. ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมมากกว่า ร้อยละ 80 สรุป ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 83.90
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-01-15)
15/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว จำนวน 1 รุ่น วันที่ 19 ธันวาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.00 น. ณ ห้องประชุม ท.ลดาวัลย์ ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เตรียมรายงานสรุปผลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2019-12-16)
16/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...- โครงการได้รับอนุมัติดำเนินการในระดับสำนักการแพทย์ (15 พ.ย. 62) - คำสั่งกรุงเทพมหานคร ให้ข้าราชการและบุคลากร ฯ เข้าร่วมโครงการฯ (27 พ.ย.62) - เวียนแจ้งคำสั่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ (ธ.ค. 62) - การเตรียมอุปกรณ์ และข้อมูลในการจัดการโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-11-15)
15/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...- ประชุมคณะทำงานและจัดเตรียมเอกสารการฝึกอบรม (1 พ.ย. 2562) - ประสานฝ่ายวิชาการและแผนงานเพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสำนักการแพทย์ (5 พ.ย. 2562)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-10-25)
25/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ส่งโครงการเพือเสนอขออนุมัติจากผู้บริหารสำนักการแพทย์ และ กรุงเทพมหานคร และการปรับแก้ไข
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 37.5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **