ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางฐิรดา ทองใบ โทร.02-220-8000 ต่อ 11260
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ดังนั้น มีการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดปัญหาและปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งสังคมและเศรษฐกิจของชาติ สำนักการแพทย์โดยโรงพยาบาลสังกัด 9 แห่ง จึงได้จัดโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานปละความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
07050000/07050000
2.1 เพื่อประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน 2.2 เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง 2.3 เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันภาวะการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อน
เชิงปริมาณ ๑. พัฒนาและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๒. จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในคลินิกอายุรกรรม คลินิกความดันโลหิตสูง คลินิกเบาหวาน 3. ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เชิงคุณภาพ ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-21)
21/09/2564 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้มีการประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในคลินิกอายุรกรรม คลินิกความดันโลหิตสูง และคลินิกเบาหวาน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง ได้รับการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาทิ การได้รับยาลดไขมัน การควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้ ฯลฯ และคณะทำงานได้มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง” ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมหลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ ชั้น 19 อาคาร อนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 2/2563 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ 2. สำนักการแพทย์ โดยโรงพยาบาลกลางได้ออกแนวทาง และเวียนแจ้งแนวทางการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเป็นไปในแนวทางเดียวกันสำหรับโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์สรุปผลการดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง รายละเอียด ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน จัดทำแนวทางการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงของสำนักการแพทย์ มีการดำเนินการประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม มีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน มีการติดตามการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันในเรื่องการรับประทานยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในเกณฑ์ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 347 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 121 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 48 ราย คิดเป็น ร้อยละ 39.67 โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ CVD Risk ในศูนย์เบาหวาน และห้องตรวจผู้ป่วยอายุรกรรม โดยมีการทำ pop up แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในการติดตามการดูแลรักษา และให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน มีการใช้กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน และสมุดเบาหวานสำหรับผู้ป่วยและญาติ เพื่อตั้งเป้าหมายในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โดยมีการส่งต่อไปยังคลินิกเลิกบุหรี่เพื่อทำการรักษาที่ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาที่เหมาะสมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการ ประเมิน CVD Risk จำนวน 980 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 208 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 158 ราย คิด เป็น ร้อยละ 75.96 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีการประเมินผู้กลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความเสี่ยงเช่น การให้คำปรึกษาเรื่องงดบุหรี่ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น ตลอดจนได้รับการรักษาที่เหมาะสมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 2,506 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 859 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 491 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.16 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน Thai CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาที่เหมาะสม โดยมีการให้ความรู้ในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักตัว การ รับประทานยาตามแผนการรักษา รวมถึงมีการติดตามประเมินผลการดูแลตนเองของผู้ป่วย และมีการประเมินผลติดตามค่า CVD Risk ของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 1,685 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 528 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 356 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.42 โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติโรคเบาหวาน มีการประสานความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย ระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล โรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย ในการรับและส่งต่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาที่เหมาะสม ให้แก่ผู้ป่วยและญาติ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 789 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 308 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 266 ราย คิดเป็น ร้อยละ 86.36 โรงพยาบาลลาดกระบัง-กรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการติดตามการรักษา ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ เป็นต้น การรักษาที่เหมาะสม เช่น การได้รับยาลดไขมัน การควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิต เป็นต้น เพื่อใหผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดัน โลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 608 ราย มีความ เสี่ยงสูง จำนวน 308 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 93 ราย คิดเป็น ร้อยละ 30.19 โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในคลินิกอายุรกรรม และคลินิกเบาหวาน โดยมีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการท า POP UP แจ้งเตือนในระบบเพื่อสื่อสารให้ผู้ดูแลรักษา ร่วมกันประเมินความเสี่ยง นัดติดตามการรักษา และส่งต่อการรักษาระหว่างคลินิกสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง มีการให้คำแนะนำสุขศึกษา เรื่องการดูแลตนเอง การออกก าลังกาย การรับประทานยา ติดตามประเมินอาการ รวมถึงติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแพทย์ใช้วิธีการตรวจแบบ New Normal ทาง Telemedicine ในการติดตามอาการ ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 711 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 319 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 288 ราย คิดเป็น ร้อยละ 90.28 โรงพยาบาลสิรินธร ได้มีการประชุมคณะกรรมการของโรงพยาบาลเพื่อก าหนดแนวทางการด าเนินงานร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ติดตามการรักษาตามแนวทางปฏิบัติ จัดกิจกรรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการให้ความรู้ในการดูแลตนเอง เช่น ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลรักษา การบริโภคอาหารที่ถูกหลัก การออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ รวมถึงประเมินภาวะสุขภาพกาย สุขภาพใจ ความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ และจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 3,138 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 621 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 332 ราย คิดเป็น ร้อยละ 53.46 สรุปความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่ง ในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 62.10 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 10,764 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 3,272 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 2,032 ราย คิดเป็น ร้อยละ 62.10
** ปัญหาของโครงการ :1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยมารับบริการน้อย และผู้ป่วยบางรายไม่มารับการรักษาที่ต่อเนื่อง ทำให้เกิดอุปสรรคในการให้สุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการนัดติดตามผู้ป่วย รวมถึงการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ 2. กรณีที่แพทย์ใช้วิธีการตรวจแบบ New Normal ทาง Telemedicine ทำให้ขาดการติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ 3. ผู้ป่วยสูงอายุบางรายมีปัญหาในการดูแลตนเอง เช่น การรับประทานยา การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยนการบริโภคอาหาร ขาดผู้ดูแลในการช่วยเหลือ 4. การแยกจัดกลุ่มผู้ป่วยในกลุ่ม CVD Risk เสี่ยงสูง ในการให้สุขศึกษารายบุคคลใช้เวลานาน ทำให้มีผลกับระยะเวลารอคอยตรวจในผู้ป่วยกลุ่มอื่น
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-08-25)
25/08/2564 : อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ติดตามความก้าวหน้าของโครงการของแต่ละโรงพยาบาล เพื่อสรุปผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4
** ปัญหาของโครงการ : - การเก็บข้อมูล ค่อนข้างยาก ต้องมีการติดตามรายบุคคลในบางส่วน เนื่องจากมีการ F/U ตามความจำเป็นด้วยข้อจำกัดของสถานการณ์โควิด - ปัญหาการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด19 ประกอบกับมาตรการภาครัฐที่ควบคุมการทำกิจกรรมที่มีภาวะเสี่ยง ทำให้การติดตามควบคุมอาการของกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า CVD Risk เกิดความไม่ต่อเนื่อง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสที่มีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโคโรน่าไวรัส จึงมีแนวทางดำเนินการในรูปแบบ ดังนี้ 1. ให้การดูแลรักษาเป็นไปตามแผนการรักษาตามแนวทางปฏิบัติ 2. แนะนำช่องทางการสื่อสาร ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งเสริมความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ผ่านทาง สื่อ Social Media โดยส่งเสริมสุขภาพเป็นรายบุคคล ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 - 30 มิ.ย. 64 พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจรักษาตามแนวทางปฏิบัติ ได้รับการส่งเสริมความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกรรมและมีค่า CVD risk ลดลง จำนวนทั้งหมด 12 ราย โดยแบ่งเป็น ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 2 ราย และผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงจำนวน 8 ราย คิดเป็นจำนวนร้อยละ 1.93 โดยมีรายละเอียดจำนวนผู้ป่วยเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาแล้ว CVD Risk ลดลง ดังนี้ เม.ย. 64 = 6 ราย (เบาหวาน=0 | ความดันสูง=1 | เบาหวานและความดัน=5) พ.ค. 64 = 10 ราย (เบาหวาน=1 | ความดันสูง=2 | เบาหวานและความดัน=7) มิ.ย. 64 = 12 ราย (เบาหวาน=2 | ความดันสูง=2 | เบาหวานและความดัน=8) * หมายเหตุ * ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 - 30 มิ.ย. 64 มีรายละเอียด ดังนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาแล้ว = 50 ราย จาก 102 ราย ผู้ป่วยความดันสูงที่ได้รับการรักษาแล้ว = 95 ราย จาก 168 ราย ผู้ป่วยเบาหวานและความดันที่ได้รับการรักษาแล้ว = 175 ราย จาก 351 ราย สรุปรวมจำนวนผู้ป่วยที่ CVD risk ลดลง 320 ราย จากผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษา 621 ราย คิดเป็นร้อยละ 51.53
** ปัญหาของโครงการ :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยทำการขอเลื่อนนัดวันที่มารับบริการด้วย ทำให้เป็นอุปสรรคในการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-06-22)
22/06/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินและติดตามค่า CVD risk ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง ดำเนินการประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้องรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เพื่อดูแลสุขภาพผู้ปวยแบบองค์รวม โดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้องและให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันภาวะการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อน อย่างต่อเนื่อง (ขณะนี้อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการรายงานในไตรมาสที่ 3 ต่อไป)
** ปัญหาของโครงการ :การติดตามผู้ป่วยในช่วง Covid-19 เป็นไปได้อย่างลำบาก ทำให้การติดตามอาการทำได้ไม่ต่อเนื่อง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-05-20)
20/05/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการประเมินและติดตามค่า CVD risk ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง โดยเน้นการติดตามในระบบนัดและรายที่ขาดนัด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยขาดยา รวมถึงให้การดูแลให้เข้าระบบการตรวจแบบ Tele medicine และการส่งยาทางไปรษณีย์ เพื่อลดความแออัดและการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น โดยเครือข่ายโรงพยาบาลที่รับผิดชอบดำเนินการสรุปข้อมูลการติดตามดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีค่า CVD Risk สูง เพื่ประเมินผล กำหนดแนวทาง รวมถึงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานที่ผ่านมา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-04-22)
22/04/2564 : อยู่ระหว่างเตรียมจัดประชุมติดตามความก้าวหน้าระหว่างโรงพยาบาลเครือข่าย ที่รับผิดชอบตัวชี้วัด เพื่อวางแผนและปรับกระบวนการทำงาน แก้ไขข้อติดขัดของแต่ละส่วนงานต่างๆ
** ปัญหาของโครงการ :เกิดความล่าช้าในการจัดประชุมเนื่องจากการแพร่เชื้อ Covid-19 ระลอกใหม่
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-03-24)
24/03/2564 : อยู่ระหว่างการติดตามการดำเนินงานของแต่ละโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่รับผิดชอบตัวชี้วัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน (CVD Risk) ที่ได้รับมอบหมาย โดยแต่ละโรงพยาาบาลนำผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการประเมินความเสี่ยง เพื่อนำคนไข้กลุ่มเสี่ยงมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทำให้ค่า CVD Risk ลดลง โดยกำหนดการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานจากมติที่ประชุมคณะทำงานตัวชี้วัด "ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง" โดยกำหนดนัดประชุมอีกครั้งช่วงต้นเดือนเมษายน เพื่อกำกับติดตามให้เป็นไปตามเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-24)
- ร่วมประสานเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์และศูนย์บริการสาธารณสุขในการรับและส่งต่อ ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน ในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ค่า CVD Risk ลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง - จัดประชุมคณะกรรมการเบาหวานและความดัน เพื่อหารือแนวทางและวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ - มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติโรคเบาหวานร่วมกับโรงพยาบาลที่ สังกัดสำนักการแพทย์ - จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม - อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานเมื่อสิ้นสุดไตรมาส 2
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : ร่วมประสานเครือข่ายระหว่างโรงพยาบาล ในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ค่า CVD Risk ลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง อยู่ระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-12-23)
23/12/2563 : "ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง” ครั้งที่ 2/2563 ในวันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น.ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ ชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าที่ตรงกัน 1.พิจารณาแนวทางการดำเนินการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัด 2.การรายงานผลการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง โดยร่วมกำหนดแบบฟอร์ม ข้อมูลที่จำเป็นในการรายงาน 3.กำหนดช่วงระยะเวลาการเตรียมการ และการดึงสถิติข้อมูล 4. ขอบเขตชุดข้อมูลของแต่ละโรงพยาบาล เพื่อติดตามกระบวนงาน รวมถึงวางแผนการทำงาน อุปสรรค และข้อเสนอแนะ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-30)
30/11/2563 : เตรียมจัดประชุม หารือ ในวันที่ 7 ธ.ค. 63 เพื่อพิจารณาการดำเนินงานจากมติที่ประชุม ในครั้งที่ 1 เพื่อปรับปรุงแนวทาง และวิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละโรงพยาบาล
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-25)
- วันที่ 5 ต.ค. 63 จัดประชุมหารือ (ครั้ง ที่ 1) แนวทางการดำเนินการ ตามตัวชี้วัด ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง - เตรียมจัดประชุม หารือ ในวันที่ 7 ธ.ค. 63 เพื่อพิจารณาการดำเนินงานจากมติที่ประชุม ในครั้งที่ 1 เพื่อปรับปรุงแนวทาง และวิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละโรงพยาบาล
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-26)
26/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...การศึกษาข้อมูลโครงการ เพื่อจัดทำโครงการ เสนอขออนุมัติ ต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง
ค่าเป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ : 30
ผลงานที่ทำได้ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ : 62.38
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **