ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการ กทม. ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง : 07000000-3654

สำนักการแพทย์ : (2564)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

คุณสุพิชากรณ์ ธนานุวงศ์ โทร 3252

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ซึ่งตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติได้กำหนดว่าสังคมใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ ถือว่าสังคมนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 20 หรือประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็นร้อยละ 14 ในปีพ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด (สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557) การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุในอัตราที่รวดเร็วเกินกว่าอัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบสวัสดิการและบริการต่างๆการเพิ่มขึ้นมีสาเหตุสำคัญสองประการ คือ อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเสียชีวิตของประชากรลดลงจากความก้าวหน้าทางการแพทย์สาธารณสุขและเทคโนโลยี ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ ส่งผลกระทบต่อสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทำให้ต้องมีการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวมากขึ้น กรุงเทพมหานครเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศ มีแนวโน้มจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร เป็นประเด็นท้าทายต่อคุณภาพชีวิต ต้องมี กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศนโยบายการบริหารเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ภายใต้แนวคิด “ผลักดัน ทันใจ แก้ไขทันที” ซึ่งมี 1 ภารกิจพิเศษ 5 นโยบายทันใจและ 19 ภารกิจสำคัญที่ต้องดำเนินการ และหนึ่งในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ คือ คุณภาพชีวิตที่ดีต้องดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศไปสู่การปฏิบัติ โดยมีภารกิจ “Bangkok Special Care” ดูแลผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ด้วยการเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ความใส่ใจเป็นพิเศษในการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งภารกิจในส่วนนี้ สำนักการแพทย์ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินการ 2 เรื่อง คือพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพเพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ และการจัดช่องทางด่วน (Fast Track) เพื่อให้บริการเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีเป็นต้นไป สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ในมาตราที่ 11 กำหนดให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ครอบคลุมในด้านต่างๆ ได้แก่ การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นกรณีพิเศษจัดช่องทางเฉพาะผู้สูงอายุโดยแยกจากผู้รับบริการทั่วไปมีการประชาสัมพันธ์ช่องทางพิเศษสำหรับผู้สูงอายุในระหว่างให้บริการ ในระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักการแพทย์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลพัฒนาด้านผู้สูงอายุในระดับโรงพยาบาลและสำนักการแพทย์ โดยมีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ 9 โรงพยาบาล และมีการตรวจเยี่ยมประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทุกปี จากการดำเนินงานพบว่าจุดแข็งของระบบการดูแลผู้สูงอายุ มีมาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุ จุดอ่อนของระบบพบว่า 1)กลุ่มผู้สูงวัยที่มีภาวะติดบ้าน ติดเตียง ขาดผู้ดูแลหลักที่มีประสิทธิภาพ โดยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ผู้สูงอายุมีโอกาสอยู่ตามลำพัง ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น การเกิดภาวะพลัดตกหกล้ม ภาวะทุพโภชนาการ 2)การบริการของโรงพยาบาลโดยส่วนใหญ่ให้บริการแบบเชิงรับ ส่งผลให้เกิดผู้รับบริการเพิ่มขึ้น ไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังของบุคลากรที่ให้บริการ 3)ระบบฐานข้อมูลทาง สุขภาพของผู้สูงวัยมีหลากหลายระบบ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านสังคมได้ครบถ้วน จะเห็นได้ว่าจากจำนวนผู้สูงอายุที่มีและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น ประกอบกับผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพจากความเสื่อม ความเปราะบางของสุขภาพร่างกายตามระยะเวลา และตามสภาวะโรคต่างๆที่เป็นอยู่ ดังนั้น การได้ให้การดูแลคัดกรอง Geriatric Assessment ค้นพบโรคเรื้อรังต่างๆ และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะต้นจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสภาพได้อย่างรวดเร็ว คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพจะเป็นภารกิจแรกของการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล โดยเริ่มจากผู้ป่วยนอกถึงแม้ว่าจำนวนผู้สูงอายุที่เข้ามารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุจะมีปริมาณน้อย เนื่องจากข้อจำกัดของบุคลากรสถานที่ แต่นับเป็นจุดเริ่มต้นที่จะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยสูงอายุของโรงพยาบาลในอนาคตตามมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานครระยะที่ 1 (พ.ศ.2557 – 2560) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนางานด้านผู้สูงอายุอย่างบูรณาการของกรุงเทพมหานคร และการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุในบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เกี่ยวกับการให้บริการตรวจรักษา การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบและให้บริการแบบครบวงจรจุดเดียวเบ็ดเสร็จเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาล ซึ่งมีส่วนในการอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุในการป้องกันการเกิดโรค รวมถึงฟื้นฟูปัญหาทางสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุก่อนที่จะมีอาการรุนแรงจนยากต่อการรักษา การพัฒนาระบบบริการที่มีประสิทธิภาพในด้านการติดตามผู้ป่วยสูงอายุ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วย การประสานงาน การคัดกรองผู้ป่วยอย่างเข้มแข็งและเพื่อเป็นการตอบรับกับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมผู้สูงวัยให้มีสุขภาพที่ดี รวมทั้งเป็นการสร้างความยั่งยืนในการดูแลรักษาผู้ป่วยผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยผู้สูงอายุแบบบูรณาการ “กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยผู้สูงอายุขึ้น

07020000/07020000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกรุงเทพมหานครได้รับบริการที่มีคุณภาพ และต่อเนื่อง ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ๒ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมและมีจิตใจที่พร้อมให้บริการ ๓ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการมีความประทับใจและมีความพึงพอใจ

เป้าหมายของโครงการ

พัฒนาระบบการให้บริการผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักอนามัย และสำนักงานเขต เชิงคุณภาพ : คลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลสำนักการแพทย์ทั้ง 9 แห่ง ดำเนินการดูแลผู้ป่วยสูงอายุแบบบูรณาการ แต่เริ่มดำเนินการนำร่องในปี 2561 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลตากสิน และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เชิงปริมาณ : - จำนวนผู้ป่วยสูงอายุได้รับการคัดกรองโรคที่พบในผู้สูงอายุมากขึ้น - ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงบุคลากร มีความรู้ในโรคที่พบในผู้สูงอายุมากขึ้น - มีรูปแบบเครือข่ายในการร่วมดูแลผู้ป่วยสูงอายุของกรุงเทพมหานคร

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
๓.๑.๓ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ด%
๓.๑.๓.๑ พัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-23)

100.00

23/09/2564 : สำนักการแพทย์ได้กำหนดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 4/2564 ในวันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น. รูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแอพพลิเคชัน Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมฯ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินโครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง จำนวน 10 แห่งโดยผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง Geriatric Assessment ได้แก่ การคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ (ADL) คัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่(Incontinence) คัดกรองภาวะหกล้ม TUGT เป็นต้น จำนวนทั้งหมด 7,812 ราย พบปัญหาจากการคัดกรอง เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อ และได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งหมด จำนวน 270 ราย และได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ได้รับบริการที่ประทับใจและมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาในระดับมาก-มากที่สุด จำนวน 204 ราย คิดเป็น ร้อยละ 75.56

** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้โรงพยาบาลจำเป็นต้องปรับลดบริการบางประเภทและปรับรูปแบบการให้บริการเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมบางประเภทได้ พอสรุปปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ - การติดตามการเยี่ยมบ้านของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยมีการเลื่อนนัดลงเยี่ยมบ้าน และผู้สูงอายุหรือผู้ดูแล ผู้สูงอายุปฏิเสธการเยี่ยมบ้าน เนื่องจากเกรงว่าอาจทำให้ผู้สูงอายุหรือบุคคลในครอบครัวติดเชื้อจากบุคลากรทางการแพทย์

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-08-20)

80.00

สำนักการแพทย์ได้มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. รูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแอพพลิเคชัน Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยกำหนดจัดประชุมครั้งต่อไปในเดือนกันยายน 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมฯ และรวบรวมผลการดำเนินงานโครงการฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-07-28)

60.00

28/07/2564 : สำนักการแพทย์ได้กำหนดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 3/2564 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. รูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแอพพลิเคชัน Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-06-29)

50.00

สำนักการแพทย์ได้มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30 น. รูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแอพพลิเคชัน Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยกำหนดจัดประชุมครั้งต่อไปในเดือนกรกฎาคม 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-05-25)

40.00

25/05/2564 : เตรียมการจัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 2/2564 ภายในเดือนมิถุนายน 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-04-27)

30.00

27/04/2564 : สำนักการแพทย์ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ ที่ประชุมมีมติให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนโครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัยหัวใจแกร่ง จากการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคี ประสานความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และสำนักงานเขตโดยมีการบูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุฯ ยุทธศาสตร์ที่ 1-5 กำหนดจัดประชุมฯ ในเดือนพฤษภาคม 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-03-24)

25.00

24/03/2564 : เตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-02-24)

25.00

24/02/2564 : เตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ในไตรมาสที่ 2

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-01-27)

20.00

27/01/2564 : ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ เมื่อจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เวลา 13.30 – 16.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ เพื่อพิจารณาถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่งที่ผ่านมา ในปี 2563 ช่วงสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงการพิจารณาในเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานทั้งในเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ 1.ผลการดำเนินงานในเชิงปริมาณ ประเมินผลด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งต่อและได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 2.ผลการดำเนินงานในเชิงคุณภาพ ประเมินผลด้วย ร้อยละความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยขอให้โรงพยาบาลเริ่มเก็บข้อมูลและรายงานผลภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-23)

15.00

12/23/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง ในปี 2564 โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเข้าร่วม ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย สำนักงานเขต สำนักพัฒนาสังคม และอยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุมดังกล่าว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-26)

10.00

26/11/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานต่อไปในปี 2564 ณ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน โดยจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเข้าร่วม ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย สำนักงานเขต สำนักพัฒนาสังคม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)

5.00

27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ผลการดำเนินงาน - อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานต่อไปในปี 2564

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:วางแผนการดำเนินงานในปี 2564
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์
:10.00%
เริ่มต้น :2020-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินงานตามโครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง
:60.00%
เริ่มต้น :2021-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:สรุปผลการดำเนินงาน นำปัญหา อุปสรรค และ หาแนวทางการแก้ไขเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพร่วมกันในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์
:10.00%
เริ่มต้น :2021-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:รายงานผลการดำเนินงานโครงการทุกราย ไตรมาส
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:สรุปผลการดำเนินงานนำเรียนผู้บริหาร
:5.00%
เริ่มต้น :2021-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-3654

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-3654

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-813

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาที่พบจากการประเมินผู้สูงอายุที่คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพแบบบูรณาการ

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 40

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 75.59

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
81.82

0 / 0
3
68.66

0 / 0
4
75.59

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **