ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวดารณี สืบจากดี นายจักราธร สิงหาทอ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ซึ่งกรุงเทพมหานครยังคงเป็นพื้นที่แพร่ระบาดของยาเสพติด จากการคาดประมาณจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั่วประเทศในปี ๒๕๕๙ มีจำนวน ๑,๔๐๐,๐๐๐ คน โดยกรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดร้อยละ ๓๐ คือ ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน มีอายุต่ำกว่า ๒๔ ปี สูงถึงร้อยละ ๔๐ และมีแนวโน้มเข้ารับการบำบัดรักษาน้อยลง จากข้อมูลปี ๒๕๖๐ มีผู้เข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาประมาณ ๒๐๒,๐๐๐ คน และในปี ๒๕๖๑ ลดลงเหลือประมาณ ๑๗๕,๐๐๐ คน โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้ร้อยละ ๔.๕ กลุ่มผู้เสพร้อยละ ๖๔.๓ และกลุ่มผู้ติดร้อยละ ๓๑.๒ ดังนั้นจึงยังมีกลุ่มผู้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดอีกจำนวนมาก ซึ่งยังไม่เข้าสู่ระบบการดูแลบำบัดรักษาโดยที่เขาเหล่านั้นยังดำเนินชีวิตในสังคมและอาศัยอยู่ในชุมชน ตามนโยบายด้านการบำบัดรักษายาเสพติดภายใต้ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เน้นการนำผู้เสพยาเสพติดออกจากวงจรยาเสพติดโดยพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ด้วยการสร้างเสริมการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community Based Treatment and Care - CBTx) พัฒนาประสิทธิภาพของกลไกการบำบัดรักษาที่มีคุณภาพและเข้าถึงง่าย รวมทั้งลดปัญหาและผลกระทบของผู้เสพยาเสพติดที่มีต่อตนเองและสังคมผ่านการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm Reduction - HR) การแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินการนำร่องพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยใช้แนวทางการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) และการลดอันตรายจากยาเสพติด (HR) ควบคู่ไปด้วยกันในพื้นที่ให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน ๖ แห่งในปี ๒๕๖๒ และในปี ๒๕๖๓ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการตามแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ชุมชนมีความสามารถในการจัดการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดโดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน ครอบครัว และสังคมตามหลักวิชาการ รวมทั้งได้ดำเนินการถอดบทเรียนการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จ ตลอดจนแนวทางการพัฒนางานด้านการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) และการลดอันตรายจากยาเสพติด (HR) เพื่อเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้กับชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ต่อไป กรุงเทพมหานครมีศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีบริการคลินิกบำบัดยาเสพติดจำนวน ๑๗ แห่ง และเพื่อให้การดำเนินงานพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน โดยใช้แนวทางการบำบัดฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx) และการลดอันตรายจากยาเสพติด (HR) มีความครอบคลุมทั้ง ๑๗ แห่ง จึงควรขยายการดำเนินการดังกล่าวเพิ่มอีก ๑๑ แห่ง เพื่อให้เป็นต้นแบบการดำเนินงานพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน และสามารถรองรับผู้มีปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวนมากที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาต่อไป สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดเห็นความสำคัญของแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว จึงจัดทำโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน เพื่อพัฒนาต้นแบบกระบวนการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีบริการคลินิกบำบัดยาเสพติดทั้ง ๑๗ แห่ง ด้วยความร่วมมือและบูรณาการการดำเนินงานระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติดในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
08090000/08090000
เพื่อสนับสนุนให้ศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีบริการคลินิกบำบัดยาเสพติด สามารถขับเคลื่อนงานพัฒนากระบวนการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน
จัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ๑๗ แห่ง กลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขต คณะกรรมการชุมชน/แกนนำชุมชน ประชาชน ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และผู้เกี่ยวข้อง จำนวนแห่งละ 2 ครั้ง ๆ ละ 30 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
๑.๒.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพติดทุกคนเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูที่มีมา% |
๑.๒.๒.๓ บำบัดรักษาฟื้นฟู ติดตามดูแลผู้เสพผู้ติดยา/สารเสพติดให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-02)
02/09/2564 : สรุปผลการดำเนินการโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน - กำหนดจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่งๆ ละ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 - ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว งบประมาณที่ใช้ไป 72,000 บาท - แต่เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท -19 ในพื้นที่กทม ยังมีความรุนแรงตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว รายละเอียดตามหนังสือที่ ที่ กท 0702/932 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอยกเลิกการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผู้อำนวยการการสำนักอนามัย อนุมัติ 13 สิงหาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานกาณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความรุนแรงตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าว
** อุปสรรคของโครงการ :- เนื่องจากสถานกาณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความรุนแรงตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าว
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 57.00 (2021-08-27)
27/08/2564 : ขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท 0702/932 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอยกเลิกการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผู้อำนวยการการสำนักอนามัย อนุมัติ 13 สิงหาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานกาณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความรุนแรงตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าว
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 57.00 (2021-08-23)
23/08/2564 : ขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท 0702/932 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอยกเลิกการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผู้อำนวยการการสำนักอนามัย อนุมัติ 13 สิงหาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานกาณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความรุนแรงตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 เป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกการจัดกิจกรรมดังกล่าว
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 57.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : - ศูนย์บริการสุขเป้าหมายในโครงการบางแห่งได้ดำเนินการลงพื้นที่เยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย(ผู้เสพยาเสพติด)ที่เข้าร่วมโครงการเนื่องจากไม่สามารถจัดกิจกรรมรวมคนในพื้นที่ชุมชนได้และจะบูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นๆที่จะดำเินการต่อไปเมื่อสถานการณ์โรคติดเชื้อ โควิท-19 ในพื้นที่คลี่คลาย - เตรียมการขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 และขอคืนเงินในส่วนที่เหลือต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิท-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอยู่ในระดับรุนแรงตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เป็นต้นมาจนถึง ปัจจุบัน(กรกฎาคม2564)การจัดกิจกรรมในพื้นที่จึงไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงาน คือ มิถุนายน-กรกฎาคม 2564 จึงไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด จำเป็นต้องขอยกเลิกการจัดกิจกรรมที่ 2 ตามโครงการและขอคืนเงินในส่วนที่เหลือต่อไป
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 57.00 (2021-06-24)
24/06/2564 : -ประสานการจัดกิจกรรมครั้งที่ 2 ในระหว่าง มิ.ย-ก.ค. 64 - ได้รับการประสานจาก ศบส. ที่เกี่ยวข้องทั้ง 17 แห่ง เพื่อขอยกเลิกการจัดกิจกรรมที่ 2 เนื่องจากไม่สามารถจัดกิจกรมในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้ ในช่วงเวลาที่กำหนด เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท -19 ในพื้นที่กทม ยังมีความรุนแรง
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากไม่สามารถจัดกิจกรมในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายได้ ในช่วงเวลาที่กำหนด เพราะสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท -19 ในพื้นที่กทม ยังมีความรุนแรง
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-05-31)
31/05/2564 :ประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-04-29)
29/04/2564 : รวบรวมเอกสารเพื่อเบิกจ่ายเงิน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-03-12)
12/03/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการจัดกิจกรรม ครั้งที่1 ในพื้นที่ศบส.ที่มีบริการคลินิกบำบัดยาเสพติด 17 แห่ง ระหว่างวันที่ 3-26 มีนาคม 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-02-26)
26/02/2564 : - ประสานขอความร่วมมือดำเนินการศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ที่มีคลินิกบำบัดยาเสพติด - รวบรวมข้อมูล เพื่อเตรียมจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องและขอยืมเงินทดลองจ่าย - แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 13.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : - ประสานขอความร่วมมือดำเนินการศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ที่มีคลินิกบำบัดยาเสพติด - รวบรวมข้อมูล เพื่อเตรียมจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องและขอยืมเงินทดลองจ่าย - แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องบูรณาการการดำเนินการร่วมกับโครงการอื่นที่ใช้งบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาลจึงจำเป็นต้องปรับระยะเวลาการดำเนินการให้สอดคล้องกัน
** อุปสรรคของโครงการ : - ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-12-09)
12/9/2020 : - ได้รับอนุมัติเงินงวดแล้ว - เตรียมดำเนินการบูรณาการร่วมกับโครงการที่เกี่ยวข้อง และปรับช่วงเวลาดำเนินการให้สอดคล้องกันพร้อมเตรียมจัดทำหนังสือประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องบูรณาการการดำเนินการร่วมกับโครงการอื่นที่ใช้งบประมาณเงินอุดหนุนรัฐบาล จึงจำเป็นต้องปรับระยะเวลาการดำเนินการให้สอดคล้องกัน
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 8.00 (2020-11-13)
13/11/2563 : - จัดทำรายละเอียดขออนุมัติโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน (สยส.) และอยู่ระหว่างการขออนุมัติเงินงวด - เตรียมดำเนินการประสานผู้ที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-31)
31/10/2563 : - จัดทำรายละเอียดขออนุมัติโครงการ และอยู่ระหว่างการขออนุมัติเงินงวด - เตรียมดำเนินการประสานผู้เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัดที่ระยะที่ 3 เดือน ( 3 Months Remission Rate) (ผลลัพธ์)(ตัวชี้วัดเจรจา)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.8
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **