ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.8
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ระหว่างรวบรวมผลการดำเนินงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อนำมาประมวลผลร่วมกับข้อมูลในระบบ บสต.
จำนวนผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับการติดตามพบตัว ทั้งหมด 88 คน ไม่เสพ จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 88.64 (ข้อมูลจากระบบ บสต. ณ วันที่ 12 มีนาคม 2564)
จำนวนผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับการติดตามพบตัว ทั้งหมด 201 คน ไม่เสพ 198 คน คิดเป็นร้อยละ 98.50 (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2564)
จำนวนผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับการติดตามพบตัว ทั้งหมด 456 คน ไม่เสพ 446 คน คิดเป็นร้อยละ 97.80 (ข้อมูล ณ กันยายน 2564)
ผู้เสพยาเสพติด หมายถึง ผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ณ สถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 73 แห่ง ประกอบด้วย สำนักอนามัย ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง คลินิกบำบัดยาเสพติด 2 ลาดพร้าวสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (บ้านพิชิตใจ) ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กรุงเทพมหานคร และสำนักการแพทย์ ได้แก่ ศูนย์ซับน้ำตา (โรงพยาบาลตากสิน) ตามโปรแกรมการบำบัดรักษาแบบ BMA Matrix Model และโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน การบำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนด หมายถึง 1. ผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูครบตามระยะเวลาของแต่ละโปรแกรม ได้แก่ โปรแกรม BMA Matrix Model โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพแบบผู้ป่วยใน 2. มีผลการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะเป็นลบเมื่อสิ้นสุดการรักษา การติดตาม หมายถึง 1. การติดตามผูเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย 1 ครั้งและหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัดที่ระยะ 3 เดือน 2. มีผลการตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะเป็นลบ
(จำนวนผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดได้รับการติดตามพบตัวและมีผลปัสสาวะเป็นลบ X 100)/จำนวนผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับการติดตามพบตัวทั้งหมด
แบบรายงานระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ (บสต.)
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
:๑.๒.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพติดทุกคนเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูที่มีมา% |
:๑.๒.๒.๓ บำบัดรักษาฟื้นฟู ติดตามดูแลผู้เสพผู้ติดยา/สารเสพติดให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม |