ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สุงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (กพส.) : 08000000-3794

สำนักอนามัย : (2564)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางวรรณา งามประเสริฐ โทร 0 2276 3904 ต่อ 46

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 16 ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มอาเซียน โดยประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 คือมีประชากรมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าประเทศไทยจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2574 ประมาณการว่าจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (อนันต์ อนันตกูล, 2560) กรุงเทพมหานครมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 936,865 คน คิดเป็นร้อยละ 16.47 ซึ่งมากที่สุดในทุกจังหวัด (กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2559) จากข้อมูลด้านโครงสร้างประชากรพบว่า สัดส่วน ประชากรผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยอัตราของประชากรผู้สูงอายุไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ต่อไปในอนาคตประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจะพบว่าอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ลดลงอย่างต่อเนื่องนั้น ได้ส่งผลให้สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ในปี พ.ศ.2550 และในปี พ.ศ.2557 มีประชากร ผู้สูงอายุราว 10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ ในจำนวนนี้มีกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้น อายุระหว่าง 60 - 69 ปี ร้อยละ 56.5 กลุ่มผู้สูงอายุวัยกลางอายุระหว่าง 70 - 79 ปี ร้อยละ 29.9 และกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายอายุระหว่าง 80 ปี ขึ้นไปร้อยละ 13.6 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ 2557 : 7 - 9) จากสถานการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมทั้งสิ้น ทั้งในแง่การเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณของภาครัฐที่มีความจำเป็น และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการวางนโยบายแห่งชาติ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ของประชากรในประเทศ ที่เข้าสู่ประชากรผู้สูงอายุในสังคมไทยประกอบกับปัญหาโรคเรื้อรัง ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพาและต้องการการดูแลมีจำนวนมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย ซึ่งเป็นศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) เมื่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและต้องได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน จะถูกส่งต่อมายังศูนย์ส่งต่อฯ ศูนย์ส่งต่อฯ เมื่อได้รับข้อมูลผู้ป่วย จะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล คัดแยกผู้ป่วยทั้ง 6 กลุ่มในทุกสิทธิการรักษา ทุกรายที่โรงพยาบาลประสงค์จะให้การพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน จากนั้นจะส่งข้อมูลผู้ป่วยและแผนที่บ้านผ่านออนไลน์ ไปยังศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ตามพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร (วาณีรัตน์ รุ่งเกียรติกุล, วรรณา งามประเสริฐ, 2017) ศูนย์บริการสาธารณสุข ดำเนินการในลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมติดตามต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) และได้ริเริ่มจัดทำการดูแลผู้ป่วยในรูปแบบการพยาบาลที่บ้านดุจโรงพยาบาล (Home ward) โดยเริ่มต้นจากการจัดทำโครงการ การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยในปีงบประมาณ 2559 – 2563 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผลิตแกนนำผู้ดูแล (Caregiver) จำนวน 5,032 คน ซึ่งยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ที่มีจำนวน 80,983 คน ซึ่งได้รับการประเมินความพึงพอใจ ถึงร้อยละ 95 แสดงให้เห็นว่าผู้ดูแล (Caregiver) สามารถให้การดูแลเฝ้าระวัง คัดกรองภาวะผิดปกติ โดยสามารถทำงานร่วมกับพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) และเป็นเครือข่ายทีมสุขภาพที่มีทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลเบื้องต้น สามารถให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน ในลักษณะ Home ward ได้และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับจำนวนผู้ดูแล (Caregiver) ที่มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดังนั้นการจัดอบรมผู้ดูแล (Caregiver) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลใหม่และสำหรับผู้ดูแล (Caregiver) ที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำปีงบประมาณ 2559 – 2563 มีความจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาแบบบันทึกแผนการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Care Plan) และแบบประเมินต่างๆ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานอีกทั้งต้องมีการพัฒนาระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (BMA Hospice Care) จากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

08040000/08040000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน 2. เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อพัฒนาการส่งต่อและให้คำปรึกษาระหว่างเครือข่ายที่สามารถดูแลการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย 4. เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้กับผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 5. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ดูแลฯ ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 6. เพื่อผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่ปฏิบัติงานจริงได้รับการติดตาม กำกับ ดูแล

เป้าหมายของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลภายนอก และบุคลากรของสำนักอนามัย แบ่งการอบรมออกเป็น 4 รุ่นๆ ละ 150 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นรุ่นละ 170 คน และวิทยากรวันละ 2 - 4 คน กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 200 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน และวิทยากรวันละ 1 - 3 คน กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลหรือผู้แทนหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องจากโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน หัวหน้าพยาบาลหรือพยาบาลวิชาชีพผู้เกี่ยวข้องจากศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง พยาบาลวิชาชีพหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากสถานบริบาล (Nursing Home) รวม 100 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน และวิทยากรวันละ 1 - 2 คน กิจกรรมที่ 4 การประชุมชี้แจงการดำเนินงานของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 - 2563 ที่ปฏิบัติงานมีความต่อเนื่อง พยาบาลวิชาชีพ บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐ จำนวน 68 แห่งๆ ละ 50 คน เป็นการประชุมแบบไป-กลับ ระยะเวลาการประชุมครึ่งวันจำนวน 12 ครั้ง ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All
๓.๑ - ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ได้รับการดูแลอย่างครบวงจร
๓.๑.๓ ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างครบวงจรเพื่อคุณภาพชีวิตที่ด%
๓.๑.๓.๒ พัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนให้กับผู้สูงอายุ (Fast Track)

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-15)

100.00

15/09/2564 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-08-18)

90.00

18/08/2564 : กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-07-28)

80.00

28/07/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 4 การประชุมชี้แจงการดำเนินงานของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการ กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) เลื่อนตารางการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างดำเนินการ กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-06-15)

70.00

15/06/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 4 การประชุมชี้แจงการดำเนินงานของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการ กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) เลื่อนตารางการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างดำเนินการ กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-05-17)

60.00

17/05/2564 : โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้รับอนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้รับอนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษา เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้รับอนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 4 การประชุมชี้แจงการดำเนินงานของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ในระหว่างการดำเนินการ กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) เลื่อนตารางการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแล ให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างการดำเนินการ กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2021-04-20)

50.00

20/04/2564 : กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ดำเนินการเลื่อนการจัดกิจกรรมจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรม กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษา เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้รับอนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) ได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1, 5, 9, 12, 26, 37, 43, 52, และ 57

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-03-15)

45.00

15/03/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ได้เลื่อนการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการเลื่อนการจัดกิจกรรมจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเลื่อนการจัดกิจกรรมจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษา เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย ดำเนินการเลื่อนการจัดกิจกรรมจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) ดำเนินการเลื่อนตารางออกตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลื่อนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึงกันยายน 2564 ขณะนี้ด้านสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว รออนุมัติลงนามโดยผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2021-02-11)

35.00

11/02/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จึงเลื่อนการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย เลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) เลื่อนตารางการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแล ให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลื่อนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กันยายน 2564 ขณะนี้รอผลอนุมัติสื่อประชาสัมพันธ์ในคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานคร พิจารณาเห็นชอบ เพื่อดำเนินการต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-01-14)

25.00

1/14/2021 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จึงเลื่อนการจัดกิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เลื่อนไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรค โควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) เลื่อนตารางการตรวจเยี่ยมศูนย์บริการสาธารณสุข จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 จะดีขึ้น กิจกรรมที่ 6 สนับสนุนผู้ดูแล ให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลื่อนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – กันยายน 2564

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-14)

15.00

14/12/2563 : ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการรับ-ส่งเงิน และเก็บรักษาเงินโครงการฯ และอยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อและติดตามรายชื่อของผู้เข้าร่วมประชุมจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ในกิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และกิจกรรมที่ 5 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) อยู่ระหว่างดำเนินการการจ้างบุคคลภายนอกตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และการจ้างเหมาพิมพ์เอกสารการประเมิน ติดตาม กำกับงานการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ตรวจการพยาบาล

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-13)

10.00

13/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. ดำเนินงานรวบรวมรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการรับ-ส่งเงิน และเก็บรักษาเงินโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว 2. กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินงานรวบรวมรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง รอบที่ 3 3. กิจกรรมที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการดำเนินงานขอรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และ Case กรณีศึกษา จากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-30)

5.00

30/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สุงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการวางแผนการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ รวบรวมรายชื่อเตรียมจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และในกิจกรรมที่ 1 รวบรวมรายชื่อผู้สมัครเข้าอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง รอบที่ 1 และ 2 เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้สมัครเพิ่มเติมจากศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง รอบที่ 3

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ประชาสัมพันธ์และรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดทำบัญชีรายชื่อ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อ
:9.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:จัดอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:การประชุมเชิงปฏิบัติการส่งต่อและให้คำปรึกษาการทำงานร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำเส้นทางการให้คำปรึกษาเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ส่งต่อจากเครือข่าย
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:การประชุมชี้แจงการดำเนินงานของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 10
:วิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินการจัดอบรม
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 11
:ดำเนินการพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward)
:7.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 12
:สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ ที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 13
:สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:9.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 14
:ผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านปฏิบัติงานช่วยเหลืองานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 15
:ติดตาม ควบคุม กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 16
:จัดทำรายงานสรุปผลดำเนินโครงการเสนอผู้บริหาร
:5.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-3794

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-3794

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6631

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยและผู้สูงอายุใน Home Ward ได้รับการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (ผลลัพธ์)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
99.11

100 / 100
2
100.00

0 / 0
3
100.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **