ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน : 08000000-7015

สำนักอนามัย : (2565)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองการพยาบาลสาธารณสุข

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ (Aged Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 คือมีประชากรมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าประเทศไทยจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” (Complete Aged Society) ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super Aged Society) ภายในปี พ.ศ. 2574 ประมาณการว่าจะมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (อนันต์ อนันตกูล, 2560) กรุงเทพมหานครมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,063,871 คน คิดเป็นร้อยละ 18.78 ซึ่งมากที่สุดในทุกจังหวัด (กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง, 2562) จากข้อมูลด้านโครงสร้างประชากรพบว่า สัดส่วน ประชากรผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 18 (12 ล้านคน) และคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2581 ประชากรสูงอายุไทยจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกเกือบเท่าตัว คือเป็น 20 ล้านคน (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, 2562) โดยอัตราของประชากรผู้สูงอายุไทยมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งถือว่าต่อไปในอนาคตประเทศไทย จะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จากการคาดประมาณประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2583 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่าในอีก 25 ปี ข้างหน้า ประเทศไทยจะยังมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุสูงถึงกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด จากสถานการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมทั้งสิ้น ทั้งในแง่การเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงบประมาณของภาครัฐที่มีความจำเป็น และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการวางนโยบายแห่งชาติ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การเตรียมความพร้อม ต่อการเปลี่ยนแปลงของประชากรในประเทศ ที่เข้าสู่ประชากรผู้สูงอายุในสังคมไทยประกอบกับปัญหาโรคเรื้อรัง ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพาและต้องการการดูแลมีจำนวนมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย ซึ่งเป็นศูนย์ส่งต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (BMA Home Ward Referral Center) เมื่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุ จำหน่ายออกจากโรงพยาบาลและต้องได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน จะถูกส่งต่อมายังศูนย์ส่งต่อฯ ศูนย์ส่งต่อฯ จากนั้นจะส่งข้อมูลผู้ป่วยและแผนที่บ้านผ่านออนไลน์ไปยัง ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ตามพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการสาธารณสุข ดำเนินการในลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมติดตามต่อเนื่องที่บ้าน (Home Health Care) และได้ริเริ่มจัดทำการดูแลผู้ป่วยในรูปแบบการพยาบาลที่บ้านดุจโรงพยาบาล (Home ward) โดยเริ่มต้นจากการจัดทำโครงการ การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน โดยในปีงบประมาณ 2559 - 2564 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผลิตแกนนำผู้ดูแล (Caregiver) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ซึ่งได้รับการประเมินความพึงพอใจถึงร้อยละ 95 แสดงให้เห็นว่าผู้ดูแล (Caregiver) สามารถให้การดูแลเฝ้าระวัง คัดกรองภาวะผิดปกติ โดยสามารถทำงานร่วมกับพยาบาลผู้จัดการสุขภาพ (Nurse Care Manager) และเป็นเครือข่ายทีมสุขภาพที่มีทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลเบื้องต้น สามารถให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านในลักษณะ Home ward ได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต้องปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด และเมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับจำนวนผู้ดูแล (Caregiver) ที่มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ดังนั้น การจัดอบรมผู้ดูแล (Caregiver) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลใหม่และสำหรับผู้ดูแล (Caregiver) ที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำปีงบประมาณ 2559 - 2564 มีความจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการเป็นผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

08040000/08040000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1 เพื่อสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง ที่บ้านให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 3 เพื่อฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านให้เพิ่มพูนความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน 4 เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน 6 เพื่อผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่ปฏิบัติงานจริงได้รับการติดตาม กำกับ ดูแล

เป้าหมายของโครงการ

-กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลภายนอก และบุคลากรของสำนักอนามัย แบ่งการอบรมออกเป็น 3 รุ่นๆ ละ 150 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นรุ่นละ 170 คน และวิทยากรวันละ 2 - 4 คน -กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปี 2559 - 2564 มีผลการปฏิบัติงานดี มีความต่อเนื่อง จำนวน 160 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้นรุ่นละ 175 คน และวิทยากรวันละ 1 - 4 คน -กิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปี 2559 - 2564 มีผลการปฏิบัติงานดี มีความต่อเนื่อง จำนวน 800 คน แบ่งการอบรมออกเป็น 4 รุ่นๆ ละ 200 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นรุ่นละ 220 คน และวิทยากรวันละ 1 - 4 คน -กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปีงบประมาณ 2559 - 2564 บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากสถานบริบาล คลินิกอบอุ่น พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุขและพระภิกษุ จำนวน 240 คน แบ่งการประชุมออกเป็น 2 รุ่นๆละ 120 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นรุ่นละ 140 คน และวิทยากรวันละ 1 - 3 คน -กิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 - 2565 พยาบาลวิชาชีพ บุคลากร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวน 69 แห่ง แห่งละ 40 คน -กิจกรรมที่ 6 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2022-09-06)

100.00

06/09/2565 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2022-08-23)

90.00

23/08/2565 : อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 – 2565 - ไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือน มิ.ย. - ก.ค. 2565 จำนวน 2 ครั้ง อยู่ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ดำเนินการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 6 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home Ward) อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ เดือนกรกฎาคม 2565 กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง กิจกรรมที่ 8 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2022-07-20)

80.00

20/07/2565 : โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รายละเอียดมีดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลภายนอก และบุคลากรของสำนักอนามัย ภาคทฤษฎี เป็นการอบรมแบบ Online ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference จำนวน 8 วัน มีจำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คน อบรบวันที่ 1 - 2, 6 - 10 และ 13 มิถุนายน 2565 และภาคปฏิบัติ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 13 – 30 มิถุนายน 2565 เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการจัดทำวุฒิบัตร กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 - 2564 มีผลการปฏิบัติงานดี มีความต่อเนื่อง จำนวน 160 คน เป็นการอบรมแบบ Online โดยใช้ระบบทางไกลผ่านจอภาพ ระยะเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2565 เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปี 2559-2564 จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 250 คน เป็นการอบรมแบบ Online โดยใช้ระบบทางไกลผ่านจอภาพ รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2565 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2565 เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมาย ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปีงบประมาณ 2559 - 2564 บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน บุคลากรที่เกี่ยวข้องจากสถานบริบาล คลินิกอบอุ่น พยาบาลวิชาชีพและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของศูนย์บริการสาธารณสุข และพระภิกษุ ดำเนินการจัดประชุมฯ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 – 2565 - ไตรมาสที่ 1 ระหว่างเดือน ธ.ค. 2564 - ม.ค. 2565 จำนวน 2 ครั้ง ดำเนินการการเบิกจ่ายทั้ง 69 แห่ง เรียบร้อยแล้ว - ไตรมาสที่ 2 ระหว่างเดือน มี.ค. - พ.ค. 2565 จำนวน 5 ครั้ง ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเพื่อการเบิกจ่ายต่อไป - ไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือน มิ.ย. - ก.ค. 2565 จำนวน 2 ครั้ง อยู่ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ดำเนินการจัดประชุมฯ กิจกรรมที่ 6 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home Ward) อยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่ายเงินค่าตอบแทนฯ เดือน มิถุนายน 2565 กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง กิจกรรมที่ 8 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2022-06-21)

70.00

21/06/2565 : โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ดำเนินการดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลภายนอก และบุคลากรของสำนักอนามัย เป็นการอบรมแบบ Online ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference จำนวน 8 วัน มีจำนวนผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คน อบรบวันที่ 1 - 2, 6 - 10 และ 13 มิถุนายน 2565 เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นการอบรมแบบ Online ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference อยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติรายชื่อผู้ดูแลช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปี 2559-2564 วางแผนจัดการอบรมในวันที่ 27-29 มิถุนายน 2565 กิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ปี 2559-2564จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 250 คน อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดการอบรม รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2565 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 22 มิถุนายน 2565 กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม และประสานวิทยากรเพื่อวางแผนจัดการอบรมในเดือน กรกฎาคม 2565 กิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 – 2565 อยู่ระหว่างดำเนินการจัดประชุม และอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงิน กิจกรรมที่ 6 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home Ward) อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงิน กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง กิจกรรมที่ 8 สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2022-05-18)

60.00

18/05/2565 : อยู่ระหว่างการดำเนินการ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าอบรม กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าอบรม กิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อยู่ระหว่างขออนุมัติรายชื่อผู้เข้าอบรม กิจกรรมที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม กิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแล เพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 – 2565 อยู่ระหว่างดำเนินการจัดประชุม กิจกรรมที่ 6 การพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home Ward) อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงิน

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์โรคระบาดโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2022-04-20)

50.00

20/04/2565 : อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้เข้าอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข ในกิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และกิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2022-03-15)

40.00

15/03/2565 : อยู่ระหว่างขอรายชื่อผู้เข้าอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข ในกิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และกิจกรรมที่ 3 การอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2022-02-15)

30.00

15/02/2565 : - อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้สมัครอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง ในกิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ขณะนี้มีผู้สมัครเข้ารับการอบรม จำนวน 86 คน และกิจกรรมที่ 5 การจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลที่เคยผ่านการอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลฯ ในปีงบประมาณ 2559 – 2565 ไตรมาสที่ 1 ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 – มกราคม 2565 จำนวน 2 ครั้ง เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเตรียมเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินทดรองจ่ายศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ต่อไป

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-01-14)

20.00

14/01/2565 : อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้สมัครอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง ในกิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และประสานงานบุคลากรเป็นอาจารย์ในสังกัดของคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เตรียมการเป็นวิทยากรในการอบรมดังกล่าว

** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-12-15)

15.00

15/12/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมรายชื่อคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการรับ-ส่งเงิน และเก็บรักษาเงินโครงการฯ และขอรายชื่อผู้สมัครอบรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้ง 69 แห่ง ในกิจกรรมที่ 1 การอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-11-30)

10.00

30/11/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินขออนุมัติเงินงวดประจำปีงบประมาณ 2565

** ปัญหาของโครงการ :อยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ
:5.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
:5.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ประชาสัมพันธ์และรวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย
:6.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. จัดทำบัญชีรายชื่อ เพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
:8.00%
เริ่มต้น :2021-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. การดำเนินการ 5.1 จัดอบรมสร้างแกนนำผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:10.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:5.2 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:5.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
: 5.3 จัดอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:5.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
: 5.4 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทางสุขภาพ ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ (Seamless Care) เพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
:5.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
: 5.5 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน ติดตามการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรคของผู้ดูแลเพื่อช่วย เหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:5.00%
เริ่มต้น :2021-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 10
: 5.6 วิเคราะห์ และสรุปผลการดำเนินการจัดอบรมและการประชุม
:5.00%
เริ่มต้น :2022-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 11
:6. ดำเนินการพัฒนารูปแบบผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (Supervise Nurse Home ward) 6.1 การจ้างบุคคลภายนอกตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้า
:2.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 12
: 6.2 จ้างเหมาพิมพ์เอกสารการประเมิน ติดตาม กำกับงานการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านสำหรับผู้ตรวจการพยาบาล
:2.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 13
: 6.3 ผู้ตรวจการพยาบาลติดตามการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านตามแผน
:2.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 14
:7. สนับสนุนผู้ดูแลให้สามารถดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
:8.00%
เริ่มต้น :2022-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 15
:8. สนับสนุนชุดอุปกรณ์การดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
:8.00%
เริ่มต้น :2022-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 16
:9. ผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านปฏิบัติงานช่วยเหลืองานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามกำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 17
:10. ติดตาม ควบคุม กำกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
:5.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 18
:11. จัดทำรายงานสรุปผลดำเนินโครงการเสนอผู้บริหาร
:4.00%
เริ่มต้น :2021-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-11-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7015

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7015

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6631

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยและผู้สูงอายุใน Home Ward ได้รับการเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (ผลลัพธ์)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
99.11

100 / 100
2
100.00

0 / 0
3
100.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **