ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 55
นายสุรศักดิ์ จันทนฤกษ์ โทร.6325
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครจากปริมาณขยะที่ถูกผลิตขึ้นวันละประมาณเก้าพันกว่าตัน ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นขยะอันตรายจากบ้านเรือนที่เกิดขึ้นจากการอุปโภค บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีและสารโลหะหนักเป็นองค์ประกอบ ซึ่งปริมาณการใช้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตัวอย่างของขยะอันตรายจากบ้านเรือน ได้แก่ หลอดไฟ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาหมดอายุ เครื่องสำอางค์หมดอายุ น้ำยา ทำความสะอาดเครื่องเรือน และสุขภัณฑ์ กาว ทินเนอร์ แลคเกอร์ สีทาบ้าน สารฆ่าแมลง สารกำจัดวัชพืช น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรกรถ น้ำยาขัดเงา และรักษาเนื้อไม้ ของเสียเหล่านี้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ที่สัมผัส โดยถ้าได้รับสารพิษเข้าไปในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณน้อยก็จะสะสมในร่างกายส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว นอกจากผลกระทบทางด้านสุขภาพอนามัยแล้วยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ และพื้นผิวดิน ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เมื่อมีผู้เจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้เกิดภาวะความพิการและการว่างงาน รัฐก็จำเป็นต้องให้การสนับสนุนดูแลซึ่งจะกลายเป็นปัญหาในระดับชาติต่อไป
50050600/50050600
2.1 เพื่อให้ประชาชนรู้จักวิธีการคัดแยกขยะมูลฝอยอันตรายจากแหล่งกำเนิด 2.2 เพื่อลดปริมาณขยะด้วยวิธีการจัดการขยะมูลฝอยอันตรายอย่างถูกวิธี 2.3 เพื่อให้สอดคล้องและสนองนโยบายของกรุงเทพมหานคร 2.4 เพื่อให้พื้นที่เขตปทุมวันมีสภาวะแวดล้อมที่ดี สุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่ดี 2.5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บขยะมูลฝอยอันตราย
3.1 ให้กลุ่มเป้าหมาย อาทิเช่น บ้านพักอาศัย ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ อู่ซ่อมรถ ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร ฯลฯ ทำการแยกขยะมูลฝอยอันตรายออกจากขยะทั่วไป 3.2 กำหนดเข้าจัดเก็บกลุ่มเป้าหมายทุกวันเสาร์ นำมารวมไว้ที่จุดรวมขยะอันตราย และนำส่งศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุชทุกเดือน 3.3 มีการจัดเก็บร่วมกับกิจกรรมเก็บสิ่งของเหลือใช้ (ขยะชิ้นใหญ่) ตามแผนปฏิบัติงานของฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
๓.๒ - เมืองแห่งโอกาสทางเศรษฐกิจ |
๓.๒.๑ ผู้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนอกระบบและแรงงานนอกระบบเข้าถึงสวัสดิการและแหล่งเงินทุนอย่าง% |
๓.๒.๑.๑ แรงงานนอกระบบทราบสิทธิทางสวัสดิการสังคมและแหล่งเงินก |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2021-06-30)
ดำเนินการจัดเก็บมูลฝอยอันตรายตามแผนที่วางไว้เป็นประจำทุกเดือน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2021-04-18)
18/04/2564 : เก็บขยะอันตราย ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-03-31)
31/03/2564 : เก็บขยะอันตราย ณ สถานประกอบการในพื้นที่ ได้น้ำหนัก 3910 ก.ก.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-02-26)
26/02/2564 : เข้าจัดเก็บขยะอันตราย ณ พื้นที่แขวงลุมพินีเหนือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-01-23)
23/01/2564 : เข้าจัดเก็บขยะอันตราย ได้ปริมาณ 1,840 กก.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2020-12-18)
18/12/2563 : เข้าจัดเก็บขยะอันตราย ได้น้ำหนักรวมทั้งสิ้น 2,090 ก.ก.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-10-30)
30/10/2563 : เข้าจัดเก็บขยะอันตราย ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : กรุงเทพมหานครมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และจัดจำหน่ายสินค้าชุมชนของผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ค่าเป้าหมาย ครั้ง : 2
ผลงานที่ทำได้ ครั้ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **