ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายปรีชา วงค์กาง โทร 6718-6720
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีสภาพอากาศร้อนอบอ้าว ผู้คนจำนวนมากจึงต้องหาวิธีดับร้อนต่างๆ ตามความเหมาะสม เช่น การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ พัดลม การใช้เวลาว่างในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าที่มีกาศเย็นสบาย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มเย็นที่เติมน้ำแข็งหรือแช่เย็น เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในสถานที่จำหน่ายอาหารต่างๆ หรือแม้แต่ร้านริมบาทวิถีที่สามารถหาซื้อเครื่องดื่มใส่น้ำแข็งเหล่านั้นได้อย่างสะดวก ซึ่งในขณะเดียวกันการที่กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน ทำให้มีอุณหภูมิ ที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทั้งชนิดก่อโรคและไม่ก่อโรคด้วย โดยที่ผ่านมาสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2561 จำนวน 936,257 คน จากประชากรไทย 65,204,797 คน (ข้อมูลกลางปี 2560) คิดเป็น 1435.87 รายต่อประชากรหนึ่งแสนราย นอกจากนี้รายงานประจำปี 2560 ของกองสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พบว่าในปี 2557 – 2558 พบโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษเพิ่มมากขึ้น จากผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำแข็งในสถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่เขตยานนาวา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 15 กรกฎาคม 2561 พบมีน้ำแข็งที่ปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 11 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างตรวจทั้งหมด 61 ตัวอย่าง ส่วนการสอบด้านกายภาพพบมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล คือเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด ใช้ที่ตักด้ามยาว และไม่แช่อาหารอื่นปนในน้ำแข็งบริโภค ทั้งนี้ โอกาสและปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อดังกล่าวได้นั้นอาจมาจากกระบวนการผลิตน้ำแข็งจากโรงงานผลิต การขนส่ง การจัดเก็บของตัวแทนจำหน่ายน้ำแข็ง (ยี่ปั๊ว) และร้านค้าปลีกที่รับน้ำแข็งนั้นเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค หากผู้สัมอาหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำงานที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและสุขลักษณะส่วนบุคคล อีกทั้งขาดความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดจากการละเลยไม่ปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลจะทำให้เกิดโรคจากอาหารและน้ำเป็นสื่อเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการเจ็บป่วยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในกรุงเทพมหานครลดน้อยลง ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการเฝ้าระวังความสะอาดของน้ำแข็งบริโภคในพื้นที่เขตยานนาวา โดยเพิ่มขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานนอกเหนือขอบเขตงานประจำที่ดำเนินการปกติ ในการให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลแก่ผู้ผลิต ขนส่ง จัดเก็บ และจำหน่ายน้ำแข็งบริโภค ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง พร้อมทั้งติดตามตรวจสอบลักษณะวิธีการปฏิบัติงานของพนักงานขนส่งน้ำแข็งตลอดเส้นทาง (ติดตามยานพาหะขนส่ง) จนถึงมือตัวแทนจำหน่าย และร้านค้ารายย่อย
50060400/50060400
1.เพื่อให้ผู้สัมผัสอาหารในกระบวนการผลิต ขนส่ง จัดเก็บ และร้านรับซื้อน้ำแข็งรายย่อย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่ม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 2.เพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในน้ำแข็งบริโภค 3.เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงจากการบริโภคน้ำแข็งของประชาชนในพื้นที่เขตยานนาวา
1. ตรวจการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำแข็งบริโภคทุกกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 100 (ยกเว้นร้านค้ารายย่อย ใช้วิธีสุ่มตรวจ จำนวน 100 ราย) 2. สถานที่ผลิต สะสม และร้านรับซื้อน้ำแข็งรายย่อยที่พบข้อบกพร่องมีการปรับปรุงแก้ไขและได้รับการตรวจซ้ำ ร้อยละ 100 3. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ร้อยละ 100 กรณีรายที่พบข้อบกพร่องและไม่สามารถแก้ไขให้ผ่านตามหลักเกณฑ์
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-23)
23/09/2563 : ดำเนินการแล้วเสร็จ ในเดือนสิงหาคม 2663 (รายงานแล้วในเดือนส.ค.63)
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-08-28)
28/08/2563 : 1. ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำแข็งบริโภคในสถานประกอบการ ครั้งที่ 3 (เดือนสิงหาคม 2563) 2. ดำเนินการแล้วเสร็จ ร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-07-31)
31/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...1. จัดทำรายงานการตรวจน้ำแข็งบริโภคในสถานประกอบการครั้งที่ 2 (หลังจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19)
** ปัญหาของโครงการ :- การดำเนินการตรวจสอบน้ำแข็งบริโภคครั้งที่ 2 มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2020-06-29)
29/06/2563 : ตรวจน้ำแข็งบริโภคในสถานประกอบการครั้งที่ 2 (หลังจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19)
** ปัญหาของโครงการ :- การดำเนินการตรวจสอบน้ำแข็งบริโภคครั้งที่ 2 มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2020-05-28)
28/05/2563 : ดำเนินการ 1. ทำหนังสือขอปรับตัวชี้วัดแล้ว และอยู่ระหว่างงรอผลพิจารณา 2. ไม่สามารถดำเนินการตรวจน้ำแข็งบริโภคในสถานประกอบการได้ เนื่องจากสถานประกอบการ และร้านค้ารายย่อยไม่สามารถให้ลูกค้านั่งทานที่ร้านอาหารได้ จากประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จึงทำให้ร้านส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้นำแข็งเพื่อให้ลูกค้าบริโภค
** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค - จากประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จึงทำให้ร้านส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้นำแข็งเพื่อให้ลูกค้าบริโภค ทำให้ไม่สามารถเก็บตัวอย่างน้ำแข็งของร้านเหล่านั้นมาตรวจสอบได้ ข้อเสนอแนะ - ขออนุมัติไปยังหน่วยงานผู้ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อปรับตัวชี้วัดดังกล่าว
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2020-04-26)
26/04/2563 : 1.ไม่สามารถดำเนินการตรวจน้ำแข็งบริโภคในสถานประกอบการได้ เนื่องจากสถานประกอบการ และร้านค้ารายย่อยไม่สามารถให้ลูกค้านั่งทานที่ร้านอาหารได้ จากประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จึงทำให้ร้านส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้นำแข็งเพื่อให้ลูกค้าบริโภค
** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค -จากประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จึงทำให้ร้านส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้นำแข็งเพื่อให้ลูกค้าบริโภค ทำให้ไม่สามารถเก็บตัวอย่างน้ำแข็งของร้านเหล่านั้นมาตรวจสอบได้ ข้อเสนอแนะ -ขออนุมัติไปยังหน่วยงานผู้ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อปรับตัวชี้วัดดังกล่าว
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-03-24)
24/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนตรวจสอบน้ำแข็งสำหรับบริโภคในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ครั้งที่ 1 และจัดทำแผนตรวจสอบเฝ้าระวัง ครั้งที่ 2 เดือนเมษายน 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-02-24)
1. ดำเนินการตรวจสอบ และเฝ้าระวังน้ำแข็งบริโภค ครั้งที่ 1
** ปัญหาของโครงการ :- ชุดตรวจคุณภาพน้ำแข็งบริโภคไม่เพียงพอ (อยู่ระหว่างรอเบิกจากสำนักอนามัย)
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-01-24)
1. เสนอขออนุมัติโครงการ ปี 2563 2. จัดทำแผนตรวจสอบเฝ้าระวังน้ำแข็งบริโภคครั้งที่ 1
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-12-25)
25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. จัดเตรียมข้อมูลเพื่อเสนอโครงการ ปี 2563 2. อัพเดตข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินกิจกรรมปี 63
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-11-25)
25/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอเพื่อขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-25)
25/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำและเสนอโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอแนะ
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอแนะ
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) (ตัวชี้วัดที่ 3.2)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **