ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายสุวัฒน์ธพล บุขุนทด โทร.6368
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร เป็นผลมาจากขาดการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนต้องสัมผัสกับสภาวะมลพิษทั้งจากเสียงดัง กลิ่นเหม็น ฝุ่นละออง ควันพิษ มูลฝอยและน้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบกิจการและชุมชน โดยพบว่าสถิติการร้องเรียนปัญหาเหตุรำคาญในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 - 2559 มีจำนวน 3,672 9,175 และ 9,666 ราย ตามลำดับ และความเจ็บป่วยที่เกิดจากความบกพร่องด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ตามรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2557 (1 มกราคม - 31 ตุลาคม ๒๕57) พบโรคอุจาระร่วง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ ไข้เลือดออกและโรคอาหารเป็นพิษ มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 567.54 295.55 116.47 60.03 45.00 ตามลำดับ และข้อมูลกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม รายงานว่าในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดที่มีจำนวนการประสบอันตรายสูงสุดคือกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวน 27,500 ราย (ร้อยละ 28.74 ) กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการพยายามแก้ไขปัญหาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง เพราะเกี่ยวข้องและกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยประชาชน มีหน่วยงานที่ดำเนินการคือสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยและฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 50 สำนักงานเขต โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ได้แก่ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 135 ประเภท จำนวน 41,772 แห่ง อาคารที่พักอาศัย และอาคารสาธารณะจำนวน 2,630,651 หลังคาเรือน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2557) และเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 และมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ ต้องมีมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในหน่วยงานของตนไม่ต่ำกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้น โดยมีโครงการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2565) ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรค คนเมือง อาหารปลอดภัย และการพัฒนาบุคลากรสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในด้านที่ 7 การบริหารจัดการเมืองมหานคร มิติที่ 7.3 การบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งปรากฏในแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสำนักอนามัย ซึ่งเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สำนักงานเขตประเวศ โดยฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จึงได้จัดทำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2563 ขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงการจัดทำฐานข้อมูลจากสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่เขตประเวศ การจัดการ และควบคุมปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะกับการดำรงชีพของประชาชนกรุงเทพมหานคร นักท่องเที่ยว รวมทั้งผู้ที่เข้ามาพักอาศัยจะได้รับการคุ้มครองสุขภาพ
50340400/50340400
1 เพื่อส่งเสริมยกระดับการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานที่พักอาศัยและสถานประกอบกิจการ ให้มีสภาวะสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี 2 เพื่อเพิ่มและพัฒนาความรู้ความเข้าใจและเพิ่มศักยภาพในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดีโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรภาคเอกชน ผู้ประกอบการ คนงาน ชุมชนและประชาชนทั่วไป
3.1 ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือการปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภาวะวิกฤติ ฉุกเฉิน เร่งด่วน ฯลฯ ในการตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 48 ครั้ง โดยเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามระเบียบกรุงเทพมหานคร มีขอบเขตการดำเนินงานปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือการปฏิบัติภารกิจ ดังนี้ 3.1.1 การตรวจสอบเหตุรำคาญ ปัญหาทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหรืออนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เช่น ปัญหาเสียงดังรบกวน กลิ่นเหม็น การเลี้ยงและปล่อยสัตว์ ซึ่งประชาชนได้รับความเดือดร้อนรำคาญในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล 3.1.2 การตรวจสอบด้านสุขลักษณะ อาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม และการทำงานของสถานประกอบการที่ประกอบการในเวลาเย็น กลางคืน หรือยามวิกาล 3.1.3 การปฏิบัติภารกิจในงานสาธารณสุขและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน เร่งด่วน เช่น การให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค การตรวจสอบ ควบคุมจัดการ และตอบโต้เหตุฉุกเฉินหรืออุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย เป็นต้น 3.1.4 การปฏิบัติงานสาธารณสุขและอนามัยสิ่งแวดล้อมด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค ในกรณีจำเป็นต้องปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ 3.1.5 การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของผู้บริการกรุงเทพมหานครหรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย 3.1.6 ตรวจสอบ ตรวจแนะนำให้ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และกำกับการดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานครและที่เกี่ยวข้อง 3.1.7 การปฏิบัติงานกรณีเร่งด่วนตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร 3.2 ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการหรือการปฏิบัติภารกิจในการดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล จำนวน 35 ครั้ง
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
๑.๖.๑.๕ สถานประกอบการที่มีความเสี่ยงสูงได้มาตรฐานด้านอาชีวอนามัย |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-08-26)
26/8/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-07-24)
24/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2020-06-26)
26/6/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำแผนและออกตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-05-29)
29/5/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำฏีกาเบิกจ่ายค่าตอบแทนค่าบุคลาทางด้านการแพทย์ฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-04-28)
28/4/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...รวบรวมเอกสารเบิกจ่ายค่าตอบแทนค่าบุคลาทางด้านการแพทย์ฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-03-26)
26/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ จำนวน 15 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-02-27)
27/2/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดฏีกาเบิกจ่ายค่าตอบแทนค่าบุคลาทางด้านการแพทย์ฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-01-28)
28/1/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ จำนวน 5 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-12-25)
25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ จำนวน 10 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-11-26)
26/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ตรวจแนะนำด้านสุขาภิบาลสถานประกอบการและ พรบ. ควบคุมยาสูบ จำนวน 3 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-25)
25/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **