ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวศิริรัตน์ วงเป็นพัน เจ้าพนักงานสุขาภิบาลปฏิบัติงาน
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ด้วยกรุงเทพมหานคร กำหนดตัวชี้วัด มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์การ ประเด็นการประเมิน การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน (Quality of Work Life) ตัวชี้วัดที่ 4.2.1 ระดับความสำเร็จ ของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้สังกัดกรุงเทพมหานครมีสภาพการทำงานที่ปลอดโรค ปลอดภัยจากการทำงาน และส่งเสริม การมีสุขภาพอนามัยที่ดี โดยนำหลักการและแนวทางการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ได้แก่ การสืบค้น (Identity) การประเมินอันตรายหรือประเมินความเสี่ยง (Evaluation) และการควบคุม (Control) มาประยุกต์ใช้เพื่อนำมาสู่การดำเนินการควบคุมและป้องกันอันตรายด้วยมาตรการ วิธีการที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการควบคุมอันตรายดังกล่าว สำนักงานเขตคลองสามวา ได้ให้หน่วยงานในสังกัดทำการค้นหาและประเมินความเสี่ยง ของงานที่แต่ละหน่วยงานปฏิบัติ และทางคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานสำนักงานเขตคลองสามวา ได้รวบรวมและจัดลำดับความสำคัญจากการประเมินความเสี่ยง โดยเรียงจากคะแนนความเสี่ยงมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ งานแก้ไขท่อระบายน้ำอุดตัน ของฝ่ายโยธา งานฉีดพ่นหมอกควัน ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล และงานตัดแต่งต้นไม้เกาะกลางถนน ของฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ตามลำดับ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงอันตรายจากการทำงาน และทำให้เกิดสภาพการทำงาน และส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำโครงการ จัดการความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากรขึ้น
50460400/50460400
1.เพื่อควบคุม ป้องกัน ลดความเสี่ยงจากอันตรายในการปฏิบัติงานแก้ไขท่อน้ำอุดตัน ของฝ่ายโยธา 2.เพื่อควบคุม ป้องกัน ลดความเสี่ยงจากอันตรายในการปฏิบัติงานฉีดพ่นหมอกควัน ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล 3.เพื่อควบคุม ป้องกัน ลดความเสี่ยงจากอันตรายในการปฏิบัติงานตัดแต่งต้นไม้เกาะกลางถนน ของฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
1.ร้อยละ 80 ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานแก้ไขท่อน้ำอุดทันของฝ่ายโยธา สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานแก้ไขท่อระบายน้ำอุดตันและอุบัติเหตุเป็นศูนย์ 2.ร้อยละ 80 ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานฉีดพ่นหมอกควันของฝ่ายสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาล สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานฉีดพ่นหมอกควัน 3.ร้อยละ 80 ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ของฝ่ายรักษาความสะอาด และสวนสาธารณะ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานตัดแต่งต้นไม้ เกาะกลางถนน และอุบัติเหตุเป็นศูนย์
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๑ - กฎหมาย |
๗.๑.๑ ระบบกฎหมายที่รองรับความเป็นอิสระและให้อำานาจในการบริหารจัดการและจัดบริการสาธารณะตา% |
๗.๑.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีกฎหมายระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครใหม่ที่ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-08-25)
25/8/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
** ปัญหาของโครงการ :-ไม่มี-
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-07-24)
24/7/2563 : 2.1 มีการติดตาม่และประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติแนวทาง มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
** ปัญหาของโครงการ :4.1 เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-06-24)
24/6/2563 : -มีการนำข้อปฏิบัติแนวทาง มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานไปใช้งานในหน่วยงาน
** ปัญหาของโครงการ :-เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-05-25)
25/5/2563 : - รายงานผลการใช้ข้อปฏิบัติกลางการใช้รถยนต์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 - ส่งรายงานผลการดำเนินงานให้สำนักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ช่วงที่ 3
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2020-04-27)
27/4/2563 : -ติดตามผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติงาน -จัดทำสถิติการเกิดโรค/อุบัติเหตุจากการทำงาน การสอบสวนโรค/การเกิดอุบัติเหตุและสรุปจำนวนวันหยุดงานที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของงานฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุง ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล งานสืบค้นข้อมูลและสอบสวนข้อมูลงานทะเบียน ฝ่ายทะเบียน และงานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ ของฝ่ายการคลัง
** ปัญหาของโครงการ :-เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจการ ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-03-23)
23/3/2563 : 1. เวียนข้อปฏิบัติในการทำงาน 3 งาน ของสำนักงานเขตคลองสามวา คือ งานฉีดพ่นหมอกควันของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล งานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ายคลัง และงานสืบค้นและสอบสวนข้อมูลงานทะเบียนของฝ่ายทะเบียน
** ปัญหาของโครงการ :1. เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2020-02-24)
24/2/2563 : 1. จัดทำข้อปฏิบัติในการทำงาน 3 งาน ของสำนักงานเขตคลองสามวา คือ งานฉีดพ่นหมอกควันของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล งานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ายการคลัง และงานสืบค้นและสอบสวนข้อมูลงานทะเบียนของฝ่ายทะเบียน 2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานตามแผนฯ 3.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :1. เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-01-27)
27/1/2563 : 1. จัดทำข้อปฏิบัติในการทำงาน 3 งาน ของสำนักงานเขตคลองสามวา คือ งานฉีดพ่นหมอกควันของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล งานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ายการคลัง และงานสืบค้นและสอบสวนข้อมูลงานทะเบียนของฝ่ายทะเบียน 2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานตามแผนฯ 3. ประสารงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการปฎิบัติงาน
** ปัญหาของโครงการ :1. เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2019-12-26)
26/12/2562 : -จัดทำโครงการการจัดการความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากร สำนักงานเขตคลองสามวา โดยต่อยอดพัฒนางานเดิมคือ งานฉีดพ่นหมอกควัน ของฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล และงานจากการพิจารณาการประเมินความเสี่ยง 2 อันกับแรกที่มีคะแนนสูง คืองานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ของฝ่ายการคลังและงานสืบค้นและสอบสวนข้อมูลงานทะเบียนของฝ่ายทะเบียน -จัดทำของส่งโครงการการจัดการความเสี่ยงในการทำงานของบุคลากร สำนักงานเขตคลองสามวาให้กับสำนักอนามัย
** ปัญหาของโครงการ :-เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏฺิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-11-25)
25/11/2562 : 1.เขียนร่างโครงการ/กิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน จำนวน 3 งาน 2.จัดทำร่างแผนการปฏิบัติงานตามโครงการฯ 3.เตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
** ปัญหาของโครงการ :1.เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-11-18)
18/11/2562 : 1. ทุกส่วนราชการทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงาน 2.เขียนร่างโครงการ/กิจกรรมเพื่อจัดการความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน จำนวน 3 งาน 3.จัดทำร่างแผนการปฏิบัติงานตามโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :1. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการทำงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อาจทำให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร 2. เนื่องจากบุคลากรของสำนักงานเขตคลองสามวามีภารกิจมาก ต้องออกปฏิบัติงานพื้นที่เป็นประจำ อาจทำให้การติดตามผลการปฏิบัติงานตามโครงการเกิดความล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :-ไม่มี-
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **