ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักงาน ก.ก. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 และคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักงาน ก.ก. ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาผลการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักงาน ก.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมถึงกำหนดโครงการ/กิจกรรมเพื่อจัดการ/แก้ปัญหาความเสี่ยงดังกล่าว
งานที่ 1 : งานด้านการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ วางแผน และประสานงาน มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ (1) ดำเนินการสำรวจความสุข/ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.ก. ก่อนดำเนินกิจกรรม ผ่าน Google Docs (2) ดำเนินการจัดตั้งชมรมและเชิญชวนบุคลากรทำกิจกรรมร่วมกันภายในชมรมต่างๆ ตามอัธยาศัย (3) จัดการประกวดภาพถ่ายสะท้อนความสุขของบุคลากรภายใต้หัวข้อ Happy Heart งานที่ 2 : งานพัฒนาสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่เป็นเหตุให้ติดเชื้อและเจ็บป่วย มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ (1) ดำเนินการจัดกิจกรรม Big Cleaning จำนวน 2 ครั้ง (2) ดำเนินการประสานขอเจลล้างมือและหน้ากากอนามัยจากสำนักอนามัย เพื่อใช้ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) (3) ดำเนินการจัดทำและประกาศมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ของสำนักงาน ก.ก. เพื่อให้บุคลากรของสำนักงาน ก.ก. ถือปฏิบัติโดยทั่วกัน งานที่ 3 : งานจัดพิมพ์เอกสารด้วยคอมพิวเตอร์ (งานพัฒนาต่อยอด) มีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ (1) ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์เบื้องต้นก่อนดำเนินกิจกรรมผ่าน Google Docs (2) ดำเนินการจัดประกวดภาพถ่ายสะท้อนการออกกำลังกายและสุขภาพที่แข็งแรง ภายใต้หัวข้อ Happy Body (3) จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับ Office Syndrome (4) แชร์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Office Syndrome และการออกกำลังกายให้แก่บุคลากรสำนักงาน ก.ก. ผ่านช่องทาง Line Application
1. สำนักงาน ก.ก. ได้จัดส่งข้อมูลตามแบบสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของสำนักงาน ก.ก. ตามหนังสือที่ กท 0301/782 ลงวันที่ 30 เมษายน 2563 โดยได้รายงานว่า ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ และส่งผลกระทบต่อความสุขความพึงพอใจในการทำงานด้านการศึกษาวิจัย วิเคราะห์ วางแผน และประสานงาน ซึ่งเดิมได้กำหนดตัวชี้วัด คือ ร้อยละ 70 ของบุคลากรในสำนักงาน ก.ก. มีความสุข/ความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยได้เสนอแนะขอปรับแนวทางการประเมิน เป็น สำนักงาน ก.ก. ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มความสุข/ลดความเครียดในการทำงานของบุคลากรอย่างน้อย 3 กิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ ทั้งนี้ อีก 2 กิจกรรม ไม่กระทบต่อตัวชี้วัดฯ ที่ได้กำหนดไว้ แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนงานและแนวทางการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของสถานการณ์ 2. สำนักงาน ก.ก. ได้ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ทั้ง 3 กิจกรรม เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อเวียนแจ้งให้ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดนำข้อปฏิบัติฯ ไปดำเนินการ
ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย และจัดส่งเอกสารตามตัวชี้วัดให้สำนักอนามัยภายในกำหนดเรียบร้อยแล้ว
การกระทำหรือสภาพการทำงานที่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน
ระดับที่ 1 ประกอบด้วย 4 ส่วน ระดับที่ 2 ประกอบด้วย 4 ส่วน ระดับที่ 3 ประกอบด้วย 2 ส่วน ระดับที่ 4 ประกอบด้วย 3 ส่วน ระดับที่ 5 ประกอบด้วย 4 ส่วน
-
:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
:๗.๓.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบบริหารทรัพยากรบุคคลเข้มแข็งเอื้อต่อความเป็นธรรมสามารถสร้างสมดุล% |
:๗.๓.๒.๑ ทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตราก?าลัง และโครงสร้างอัตราก?าลังให้มีความ |