รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ : 0700-0796

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 45

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 49.58

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
29.61
100
100 / 100
3
54.02
0
0 / 0
4
49.58
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดที่มารับบริการในสำนักการแพทย์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยมีผู้รับบริการดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดในปีงบประมาณ จำนวน 23,401 ราย - จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด 8 แห่ง จำนวน 6,930 ราย - คิดเป็นร้อยละ 29.61

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยมีผู้รับบริการดังนี้ - จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดในปีงบประมาณ จำนวน 38,261 ราย - จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด 8 แห่ง จำนวน 70,833 ราย - คิดเป็นร้อยละ 54.02

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งในสถานะผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิฉัย โรคความดันโลหิตสูงและเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาในคลินิกอายุรกรรม ซึ่งมาตรวจติดตามในคลินิก ≥ 2 ครั้งใน 6 เดือนหรือ ≥ 3 ครั้งใน 1 ปี โดยเป็นโรคที่มีรหัสโรคตาม ICD - 10 TM,ICD-10,ICD - 9 ดังที่ระบุ (E10, E11, E12, E13, E14) ตามเกณฑ์ดังนี้ 1) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วไปที่ไม่มีเบาหวานร่วม มีระดับความดันโลหิต 2 ครั้ง สุดท้ายติดต่อกัน < 140/90 มม.ปรอท. 2) ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีเบาหวานร่วม มีระดับความดันโลหิต 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกัน < 140/80 มม.ปรอท. มีผลการดำเนินการดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง ให้บริการผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง ณ แผนกอายุรกรรมทั่วไป ชั้น 3 อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 12.00 น. โดยมีผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 7,185 คน และมีผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 4,099 คน คิดเป็นร้อยละ 57.05 2. โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการจัดทำนิทรรศการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ให้คำแนะนำก่อนและหลังเข้ารับการตรวจรักษา ณ คลินิกความ ดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ทุกวันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 21,307 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 13,444 คน คิดเป็นร้อยละ 63.10 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ดำเนินการให้บริการผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ณ คลินิกอายุรกรรม ชั้น 2 อาคารอนุสรณ์ 20 ปี ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 11.00 น. โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 18,845 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 15,069 คน คิดเป็นร้อยละ 79.96 4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ คลินิกอายุรกรรมจัดกิจกรรมรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในคลินิกอายุรกรรม ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 – 12.00 น. เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและสามารถควบคุมความดันโลหิตไม่ให้อยู่ในระดับรุนแรง โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 15,317 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 10,232 คน คิดเป็นร้อยละ 66.80 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ เปิดให้บริการ ที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ ตึก OPD ชั้น 1 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 - 16.00 น. จัดกิจกรรมวันความดันโลหิตสูงโลกในเดือน พฤษภาคมของทุกปี เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความ ดันโลหิตสูง ญาติและผู้ดูแล มีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพประชาชน และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจัดกิจกรรมชมรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทุกวันจันทร์ โดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีการ คัดกรองผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยแจ้งให้แพทย์ส่งตรวจ BUN CR EGFR อย่างน้อยปีละครั้ง และส่งต่อหากพบความผิดปกติให้ได้รับการรักษา โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 7,954 คน และมีผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 3,787 คน คิดเป็นร้อยละ 88.00 *หมายเหตุ เนื่องจากเกิดสถานการณ์ระบาดของ โควิด - 19 จึงงดการจัดกิจกรรมวันความดันโลหิตสูง 6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลินิกพิเศษต่างๆ เช่น คลินิกอายุรกรรม คลินิกเบาหวาน และให้บริการที่ห้องตรวจโรคทั่วไปทุกวัน ตามเวลาราชการโดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 12,019 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 6,510 คน คิดเป็นร้อยละ 54.16 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยมีผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน และมารับบริการทั้งหมด จำนวน 12,621 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 6,885 คน คิดเป็นร้อยละ 54.55 8. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินการให้บริการคัดกรอง ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และจัดกิจกรรม “เรียนรู้ 3อ. บอกลา 2ส. รู้ทันเบาหวานความดันโลหิตสูง” ให้แก่ประชาชน โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดจำนวน 1,493 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 3,686 คน คิดเป็นร้อยละ 39.34 สรุป ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์และมารับบริการทั้งหมด จำนวน 111,429 คน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 66,391 คน คิดเป็นร้อยละ 49.58

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หมายถึง ผู้ป่วยทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัย โรคความดันโลหิตสูงและเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง ซึ่งมารับการตรวจติดตามในคลินิก ≥ 2 ครั้งใน 6 เดือน หรือ ≥ 3 ครั้งใน 1 ปี โดยมีรหัสโรคตาม ICD - 10 TM, ICD - 10, ICD -9 ดังที่ระบุไว้นี้ (I 10, I 11, I 12, I 13, I 14, I 15) 2.ความดันโลหิตสามารถควบคุมได้ หมายถึง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ตามเกณฑ์ดังนี้ 2.1 ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วไปที่ไม่มีเบาหวานร่วม มีระดับความดันโลหิต 2 ครั้ง สุดท้ายติดต่อกัน < 140/90 มม.ปรอท. 2.2 ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีเบาหวานร่วม มีระดับความดันโลหิต 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกัน < 140/80 มม.ปรอท.

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนดในปีงบประมาณ หารด้วย จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ทั้งหมด 8 แห่ง ในปีงบประมาณเดียวกัน คูณด้วย 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๘ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง