รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) สามารถได้รับบริการภายใน 10 นาที และส่วนของขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถได้รับบริการภายใน 15 นาที : 0700-0800

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 95

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 88.59

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
88.59
100
100 / 100
2
90.54
100
100 / 100
3
87.81
0
0 / 0
4
86.39
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการขั้นพื้นฐานภายใน 15 นาที จำนวน 3,153 ราย จำนวนผู้ป่วยที่ขอรับบริการ จำนวน 4,813ราย คิดเป็นร้อยละ 67.51 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการขั้นภายใน 10 นาที 1,080 ราย จำนวนผู้ป่วยที่ขอรับบริการทั้งหมด จำนวน 4,680 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.08

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินดำเนินการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) จำนวน 11,973 ครั้ง การออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน (Basic) จำนวน 11,838 ครั้ง โดยผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) สามารถได้รับบริการภายใน 10 นาที จำนวน 2,822 ครั้ง และส่วนของขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถได้รับบริการภายใน 15 นาที จำนวน 7,928 ครั้ง ร้อยละของตัวชี้วัด ขั้นสูง (Advanced) ร้อยละ 23.57 ขั้นพื้นฐาน (Basic) ร้อยละ 66.97

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-- ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินดำเนินการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) จำนวน 19,806 ครั้ง โดยผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) สามารถได้รับบริการภายใน 10 นาที จำนวน 4380 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 22.11 - การออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน (Basic) จำนวน 18,982 ครั้ง และส่วนของขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถได้รับบริการภายใน 15 นาที จำนวน 12,472 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 65.70

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-กรุงเทพมหานครได้แบ่งพื้นที่การบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็น 9 โซน โดยมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) เป็นศูนย์สั่งการและประสานงานเครือข่ายในระบบฯ จำนวนทั้งสิ้น รวม 62 แห่ง มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่เป็นแม่โซนร่วมให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) หรือระดับ ALS ดังนี้ โซนที่ 1 คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โซนที่ 2 รพ.กลาง โซนที่ 3 รพ.ตากสิน โซนที่ 4 รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ โซนที่ 5 รพ.เลิดสิน โซนที่ 6 รพ.นพรัตน์ราชธานี โซนที่ 7 รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โซนที่ 8 รพ.ราชวิถี โซนที่ 9 รพ.ตำรวจ ส่วนการจัดบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน (Basic หรือระดับ BLS) มีมูลนิธิสาธารณ-กุศล จำนวน 8 แห่ง ร่วมจัดบริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มูลนิธิร่วมกตัญญู มูลนิธิกู้ภัยร่มไทร มูลนิธิสยามรวมใจ มูลนิธิอาสาหนองจอก (ศูนย์ราชพฤกษ์) มูลนิธิหงส์แดง มูลนิธิกูบแดง มูลนิธิจีเต็กลิ้ม-ฮู้ก๊กตึ้ง (พิรุณ) ทั้งนี้ ศูนย์เอราวัณ ได้พัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advance Life Support) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้น อย่างน้อยปีละ 1 จุดจอด โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ได้เพื่มจุดจอดและทีมปฏิบัติการจำนวน 1 จุดจอด (ของเดิมมี 8 จุดจอด) รวมเป็น 9 จุดจอด โดยจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ตลอด 24 ชั่วโมง โดยกำหนดจุดจอด ทั้ง 9 แห่ง ดังนี้ 1) จุดจอดใต้ทางด่วนประชาชื่น 2) จุดจอดพุทธมณฑลสาย 1 ตลิ่งชัน 3) จุดจอดศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก (รามอินทรา) 4) จุดจอดสำนักงานเขตลาดพร้าว 5) จุดจอดสำนักงานเขตบางนา 6) จุดจอดสำนักงานเขตวังทองหลาง 7) จุดจอดทุ่งครุ 8) จุดจอดคลองสามวา 9) จุดจอดรพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน (เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2563) โดยแต่ละจุดประกอบด้วยบุคลากร ดังนี้ - พยาบาลวิชาชีพหรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 1 คน/ผลัด - เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน หรือพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 2 ผลัด/คน - พนักงานขับรถยนต์หรือเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานหรือพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ที่ทำหน้าที่พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1 คน/ผลัด โดยสรุป ในปีงบประมาณ 2563 (1 ต.ค.62 – 31 ส.ค.63) มีสถิติผลการออกปฏิบัติการของเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครในภาพรวมทั้งระบบฯ (Bangkok EMS) รวมจำนวน 62 แห่ง ดังนี้ ระดับ Advanced (ALS) - ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) ภายใน 10 นาที จำนวน 5,737 ครั้ง - ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advanced) ทั้งหมด จำนวน 27,511 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5,737/27,511*100 = 20.85 % ระดับ Basic (BLS) - ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Basic) ภายใน 15 นาที จำนวน 17,538 คน - ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบริการทางการแพทย์ขั้นพื้นฐาน(Basic) ทั้งหมด จำนวน 26,760 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17,538/26,760*100 = 65.54% (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ต.ค. 2562 – 31 สิงหาคม 2563

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ขอรับบริการศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เป็นบริการพื้นฐาน ได้รับบริการภาย 15 นาที ส่วนที่เป็นบริการขั้นสูง ได้รับบริการภาย 10 นาที

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการขั้นพื้นฐานภายใน 15 นาที หารด้วย จำนวนผู้ป่วยที่ขอรับบริการทั้งหมด คูณ 100 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับบริการขั้นสูงภายใน 10 นาที หารด้วย จำนวนผู้ป่วยที่ขอรับบริการทั้งหมด คูณ 100

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๔ ประชาชนได้รับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยขั้นวิกฤต%
:๑.๖.๔.๑ เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง