ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 50
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ประกอบด้วย กลุ่มอาการที่เกิดจากผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และมีการรายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน และรายงานผู้บริหาร โรงพยาบาลและหรือผู้บริหารสำนักการแพทย์ เป็นรายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการดังนี้ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง รพก. ดำเนินการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ ณ ชั้น 2 อาคาร อาคารอนุสรณ์ 100 ปี และติดตามสถานการณ์ระดับฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางปฏิบัติ โดยกลุ่มงานอาชีวเวชกรรมวางแผนการดำเนินงานเพื่อเปิดคลินิกมลพิษทางอากาศในช่วงสถานการณ์ค่าระดับฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าระดับเกินมาตรฐานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยติดตามสถานการณ์ค่าระดับฝุ่นละออง PM 2.5 และคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง เตรียมจัดทำสื่อแจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบและแนะนำการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในช่วงระดับค่าฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐาน 2. โรงพยาบาลตากสิน กลุ่มงานอาชีวเวชกรรมวางแผนการดำเนินงานเพื่อจัดตั้งคลินิกมลพิษทางอากาศ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์และพฤหัส เวลา 08.00 - 12.00 น. ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านทาง social media อย่างต่อเนื่อง 2. รายงานผลการดำเนินการต่อผู้บริหารเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการการให้บริการคลินิกมลพิษทางอากาศสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ รพจ. ดำเนินการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ ณ ชั้น 22 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี ซึ่งมีการดำเนินงานดังนี้ 1. รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศประจำวันให้ประชาชนทราบผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่น LINE, FACEBBOK, เสียงตามสาย และบอร์ดประชาสัมพันธ์ 2. ดำเนินการร่วมกับคลินิกอายุรกรรม ในการตรวจคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยสงสัยโรคจากการสัมผัสมลพิษทางอากาศมายัง คลินิกมลพิษ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง 3. จัดทำแผ่นพับเรื่องฝุ่น PM2.5 พร้อมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสาร 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ ดำเนินการจัดกิจกรรมให้ความรู้ และคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ ผ่านคลีนิกอายุรกรรมทุกวัน และประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง จะส่งปรึกษาคลีนิกอาชีวเวชกรรม ในวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น. มีการให้ความรู้ประชาชนในคลีนิกอายุรกรรมทุกวัน และมีการคัดกรองโดยใช้แบบสอบถาม หากพบประชาชนที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง จะส่งปรึกษาคลีนิกอาชีวเวชกรรม มีการติดตามรายงานค่าฝุ่นละออง PM2.5 และคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์และความรู้แก่ผู้รับบริการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันจากฝุ่น และมลพิษ ดำเนินการเฝ้าระวังผู้มีความเสี่ยงและติดตามสุขภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ 6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศโดยคัดกรอง ให้ความรู้ และคำแนะนำในการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการวางแผนเปิดคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศในเวลาราชการสัปดาห์ละ 1 วัน โดยดำเนินการดังนี้ 1.จัดทำโครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ปีงบประมาณ 2564 2.ประชาสัมพันธ์และรายงานข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศประจำวันผ่านช่องทาง face book รพ.ราชพิพัฒน์ 3.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ PM 2.5 ผ่านช่องทาง Face book รพ.ราชพิพัฒน์และการสอนสุขศึกษาประจำคลินิกอายุรกรรม คลินิกสุขใจสูงวัยประคับประคอง 4.จัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ 8. โรงพยาบาลสิรินธร เปิดให้บริการผ่านคลินิกทางเดินหายใจ ทุกวันอังคาร,พุธ,ศุกร์ เวลา 08.00 -12.00 น. โดยจะมีการประชุมหารือเรื่องการเปิดคลินิกเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ และดำเนินการดังนี้ 1.รายงานผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ 2.รายงานสถานการณ์มลพิษทางอากาศประจำวันผ่านสื่อ social media 3.ให้คำแนะนำในการดูแลตนเองตามผลคุณภาพอากาศประจำวัน 8. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน อยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมและมีการจัดตั้งป้ายแจ้งเตือนค่าฝุ่น PM2.5 ในแต่ละวันที่จุดคัดกรองผู้ป่วย 9. โรงพยาบาลคลองสามวา กิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันมลพิษทางอากาศในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ และดำเนินการดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์ค่าระดับฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เขตคลองสามวา 2. เปิดให้บริการคลินิกเพื่อแยกตรวจโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ 10.โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ – แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเฝ้าระวังผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ วันที่ 12 ตุลาคม 2563 ตามคำสั่งโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร ที่ 3/2564 และดำเนินการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศแล้วเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เริ่มเปิดดำเนินการคลินิกมลพิษ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 เป็นต้น โดยโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 22.22
การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ประกอบด้วย กลุ่มอาการที่เกิดจากผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และมีการรายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน และรายงานผู้บริหาร โรงพยาบาลและหรือผู้บริหารสำนักการแพทย์ เป็นรายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 รวม 18 สัปดาห์ ในไตรมาสที่ 1 สำนักการแพทย์ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นฯ จำนวน 4 สัปดาห์ คิดเป็น 22.22 ในไตรมาสที่ 2 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ถึง สัปดาห์ที่ 18 จำนวน 14 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 100
การรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ประกอบด้วย กลุ่มอาการที่เกิดจากผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตา โรคผิวหนัง โรคมะเร็ง ที่มารับบริการในคลินิกโรคทางเดินหายใจหรือคลินิกอายุรกรรมหรือคลินิกเวชกรรม ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ และมีการรายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน และรายงานผู้บริหาร โรงพยาบาลและหรือผู้บริหารสำนักการแพทย์ เป็นรายสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 รวม 18 สัปดาห์ ในไตรมาสที่ 1 สำนักการแพทย์ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นฯ จำนวน 4 สัปดาห์ คิดเป็น 22.22 ในไตรมาสที่ 2 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ถึง สัปดาห์ที่ 18 จำนวน 14 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 100
โดยมีรายงานผู้บริหารโรงพยาบาลหรือสำนักการแพทย์เป็นรายสัปดาห์ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564 จำนวน 18 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 100
ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ หมายถึง โรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ได้แก่ ภูมิแพ้จมูก ปอดอักเสบ ผื่นคันผิวหนัง เยื่อบุตาอักเสบ หอบหืด โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ โรคปอดชนิดเรื้อรัง โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การรายงาน หมายถึง การรายงานสถานการณ์ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในช่วงที่มีค่าระดับฝุ่นละออง (PM 2.5 ) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกินเกณฑ์มาตรฐาน และรายงานผู้บริหาร โรงพยาบาลและหรือผู้บริหารสำนักการแพทย์ เป็นรายสัปดาห์
จำนวนรายงานรายสัปดาห์ที่หน่วยงานรายงานผู้บริหาร คูณด้วย 100 หารด้วย 52
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
:๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ% |
:๑.๑.๓.๒ ปรับปรุงระบบการเก็บข้อมูลคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ |