ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 66
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 66.5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
วิเคราะห์ข้อมูลผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน/วางแผนรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินงาน/กำหนดแผนการดำเนินงานและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/จัดทำหนังสือขอความร่วมมือหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนเพื่อขอความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมฯ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
1. นักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 244 แห่ง นอกสังกัดกรุงเทพมหานคร สพฐ. 41 แห่ง เอกชน 90 แห่ง รวม 375 แห่ง จำนวน 274,849 คน จากเป้าหมายทั้งหมด 383,038 คน คิดเป็นร้อยละ 71.76 รวบรวมผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการปีการศึกษา 1/2562 นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 174,804 คน คิดเป็นร้อยละ 63.6 2.อยู่ระหว่างติดตามข้อมูลการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนโรงเรียนที่เหลือ 3. จัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน 4. วางแผนรายละเอียดขั้นตอนในการดำเนินงาน 5. กำหนดแผนการดำเนินงานและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - จัดทำแบบประเมินการดำเนินงานมาตรการป้องกันโรคอ้วนและทุพโภชนาการในโรงเรียน - จัดส่งแบบประเมินการดำเนินงานเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในโรงเรียนให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง 6. จัดทำหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)และสำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)เพื่อขอความอนุเคราะห์ประสานขอความร่วมมือโรงเรียนในสังกัดสพฐ.และสช. เข้าร่วมกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการ ปีละ 2 ครั้ง (เทอม1 และเทอม2) 7. อยู่ระหว่างรวบรวมแบบรายงานการดำเนินงานการจัดกิจกรรมป้องกัน แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินและอ้วน ในโรงเรียน 8. อยู่ระหว่างรวบรวมภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมิน ภาวะโภชนาการ ปีการศึกษา 2/2562 โครงการการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก พ.ศ.2560 1. ดำเนินการขออนุมัติโครงการ 2. วางแผนกำหนดหลักสูตรและรูปแบบ การอบรมเชิงปฏิบัติการ 3. ประสานงานวิทยากรเกี่ยวกับหลักสูตรการสอน และสถานที่ในการจัดอบรมฯ 4. จัดทำหนังสือเชิญอบรมเชิงปฏิบัติการและแบบตอบรับการเข้าร่วมการอบรมฯ 5. รวบรวมแบบตอบรับและจัดทำคำสั่งผู้เข้าร่วมอบรมฯและคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการ 6. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการฯ "โครงการการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็ก พ.ศ.2560" ณ ห้องปรินซ์บอลรูม 3 ชั้น 11 โรงแรมปรินซ์พาเลส มหานาค วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 129 คน วิทยากร จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ 14 คน รวม 146 คน 7. รวบรวมเอกสารค่าใช้จ่ายการอบรมเพื่อประกอบการตั้งฎีกาความก้าวหน้างาน 8. จัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ขอความร่วมมือจัดส่งแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560
จัดทำหนังสือขอปรับเปลี่ยนแบบฟอร์มการลงข้อมูลผลการชั่งน้ำหนักเด็กนักเรียน / รวบรวมข้อมูลและติดตามรายงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข / ตรวจสอบรายงาน วิเคราะห์และสรุปผลนักเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร 437 แห่ง สังกัด สพฐ.62 แห่ง สังกัดเอกชน 140 แห่ง รวม 639 แห่ง จำนวน 406,070 คน จากเป้าหมายทั้งหมด 406,070 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และประเมินภาวะโภชนาการปีการศึกษา 1/2562 ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 269,387 คิดเป็นร้อยละ 66.34 / อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและติดตามรายงานปีการศึกษา 2/2562 จากศูนย์บริการสาธารณสุข โครงการการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ประสานงานกับศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่งและรวบรวมแผนการดำเนินงานการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติฯ
ส่งเอกสารการดำเนินการกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2563/จัดทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักงานเขต เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง ผลการดำเนินงานและขอความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 / สรุปผลการรวบรวมผลการดำเนินการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 415,117 คนและมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน 276,053 คน คิดเป็นร้อยละ 66.50 /จัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยศูนย์บริการสาธารณสุข 20 แห่ง (ศูนย์ฯ 1, 9, 16, 17, 19, 21, 23, 24, 30, 31, 36, 40, 51, 53, 58, 62, 63, 64, 67, 68) เรื่อง เชิญประชุมสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการจลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560 ร่วมกับสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 19 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง /รวบรวมแผนการดำเนินงานการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 และแบบรายงานเชิงรุก /ส่งรายงานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนพระราชบัญญัคิควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560
นิยาม/คำอธิบาย (1) โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร หมายถึง โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 แห่ง (2) โรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร หมายถึง โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่เข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน (3) เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ หมายถึง นักเรียนได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินภาวะโภชนาการโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543 (4) ภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน หมายถึง มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ อยู่ในระดับ สูงตามเกณฑ์, ค่อนข้างสูง, สูง และมีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อยู่ในระดับ สมส่วน ในคนเดียวกัน ประเมินภาวะโภชนาการโดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน ตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543 (5) มาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน 9 มาตรการ ดังนี้ 1. งดจำหน่ายน้ำอัดลม น้ำหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินร้อยละ 5 และให้ผู้ค้าลดน้ำตาลในเครื่องดื่มที่ขายภายในโรงเรียนเหลือไม่เกินร้อยละ 5 2. จัดหาน้ำสะอาดให้ดื่มฟรีอย่างเพียงพอ 3. งดจำหน่ายขนมกรุบกรอบ และขนมที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายแก่นักเรียนภายในโรงเรียน 4. ห้ามโฆษณาอาหาร ขนม และเครื่องดื่มที่ไม่มีประโยชน์ภายในโรงเรียน ดูแลอาหารภายในโรงเรียนไม่ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 5. จัดกิจกรรมออกกำลังกายแก่นักเรียนอย่างน้อยวันละ 30 นาที สามารถทำสะสมได้อย่างน้อยครั้งละ 10 นาที 6. จัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการทั้งด้านอาหารและการออกกำลังกาย 7. จัดอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการโดยมีผักทุกมื้อและมีผลไม้สัปดาห์ละ 3 วัน 8. เฝ้าระวังและประเมินภาวะโภชนาการอย่างสม่ำเสมอ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ปีละ 2 ครั้ง 9. ประสานความร่วมมือด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนกับผู้ปกครอง ชุมชน และผู้ประกอบการร้านค้า ค่าเป้าหมาย - ร้อยละ 100 ของเด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ (ผลผลิต) - ร้อยละ 66 ของเด็กวัยเรียนสูงดีสมสวน (ผลลัพธ์)
ผลผลิต : เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ (ร้อยละ 100) วิธีการคำนวณ จำนวนนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัด กทม. ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน x 100 / จำนวนนักเรียนทั้งหมด ในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัด กทม. ที่เข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ผลลัพธ์ : ร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน (ร้อยละ 66) วิธีการคำนวณ จำนวนนักเรียนในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัด กทม. ที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน และเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน x 100 / จำนวนนักเรียนทั้งหมดในโรงเรียนสังกัด กทม. และนอกสังกัด กทม. ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และเข้าร่วมดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน
-
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร% |
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง |