รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการฯที่อ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน ลดลงจากเดิม (ผลลัพธ์) : 0800-0899

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 90.1

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
100
100 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
0
0 / 0
4
90.10
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินการขออนุมัติโครงการ/วางแผนกำหนดหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการและแนวทางการดำเนินงานโครงการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากร และเจ้าหน้าที่ จำนวน 135 คน เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมปริ๊นซพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและจัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง เรื่องขอความร่วมมือดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในหน่วยงาน

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จัดทำหนังสือถึงศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง เรื่อง ขอความร่วมมือดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในหน่วยงาน ตามแนวทาง 10 แพคเกจ / ประสานงานและรวบรวมข้อมูลผลการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ของบุคลากรในหน่วยงานก่อนเข้าร่วมการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตามแนวทาง 10 แพคเกจ เพื่อนำมาประมวลผลและส่งคืนข้อมูลให้ศูนย์ฯ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม / ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่งอยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดกิจกรรมตามแนวทาง 10 แพคเกจ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-จัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยศูนย์บริการสาธารณสุข 1-68 เรื่อง ขอส่งสื่อโภชนาการวัยทำงาน ประกอบด้วย 1.หนังสือเมนูอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับทุกช่วงวัยในช่วง COVID-19 2.หนังสือแนวทางการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ 3.หนังสือคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ (Health Canteen) /จัดทำหนังสือถึงผู้อำนวยศูนย์บริการสาธารณสุข 1-68 เรื่อง ขอแจ้งระยะเวลาการติดตามโครงการวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563 / สรุปการติดตามรวบรวมข้อมูลและประเมินผลโครงการวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 3,545 คน มีค่ารอบเอวหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน จำนวน 2,031 คน และหลังเข้าร่วมโครงการมีค่ารอบเอวหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินลดลงจากเดิม จำนวน 1,830 คน คิดเป็นร้อยละ 90.10

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

(1) ผู้เข้าร่วมโครงการ หมายถึง บุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุข (2) อ้วนลงพุง หมายถึง ผู้ที่มีรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) ในเพศชาย และมากกว่า 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว) ในเพศหญิง (3) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คำนวณได้จาก BMI=น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วย ส่วนสูง (เมตร)2

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯที่อ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน ลดลงจากเดิม x 100 / จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฯทั้งหมด ที่อ้วนลงพุงมีรอบเอวหรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร%
:๑.๖.๑.๑ คัดกรองและลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง