รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละของผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการส่งต่อจาก BMA Home Ward Referral Center ได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์(ผลลัพธ์) : 0800-0921

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 92.34

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
83.57
100
100 / 100
2
86.50
100
100 / 100
3
92.93
0
0 / 0
4
92.34
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

-อยู่ระหว่างขั้นตอนการเชื่อมข้อมูลโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านทำให้ระบบยังไม่เสถียร และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งต่อจากสถานพยาบาล -จำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่ได้รับการส่งต่อจาก BMA Home Ward Referral Center มีจำนวน 3,952 ราย ได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน จำนวน 3,303 ราย คิดเป็นร้อยละ 83.57

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-อยู่ระหว่างขั้นตอนเชื่อมโยงข้อมูลโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับ Nectec -กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมการพัฒนาและขยายเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral System) ในการพยาบาลผู้ป่วยและผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานระบบสารสนเทศการส่งต่อฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 230 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 230 คน คิดเป็นร้อยละ 100 -มีผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ จำนวน 9,439 ราย จากจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุทั้งหมด 10,912 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.50

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-อยู่ระหว่างขั้นตอนเชื่อมโยงข้อมูลและตรวจสอบโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับ Nectec -กิจกรรมที่ 2 และกิจกรรมที่ 3 ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 -มีผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ จำนวน 19,416 ราย จากจำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุทั้งหมด 20,892 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.93

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ยกเลิกการจัดกิจกรรมที่ 2 การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะการใช้โปรแกรมการส่งต่อผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral Program) เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แต่ทางกองการพยาบาลสาธารณสุขยังมีการพัฒนาโปรแกรม BMA Home Ward เพื่อใช้ประเมินผู้ป่วยและวางแผนการพยาบาลตามมาตรฐานการดูแล 12 Care -ส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกับ Nectec มายังโปรแกรม BMA Home Ward ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการถ่ายโอนข้อมูล -จำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการส่งต่อจาก BMA Home Ward Referral Center มีจำนวน 31,350 ราย ได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ 28,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.34

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ผู้ป่วยและผู้สูงอายุได้รับการส่งต่อจาก BMA Home Ward Referral Center ได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ หมายถึงผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อ BMA Home Ward Referral Centerได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้านตามเกณฑ์ กำหนดระยะเวลาในการเยี่ยมผู้ป่วยและจำนวนวันที่รับ case จากศูนย์ส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน โดยมีการแบ่งกำหนดเวลาในการแจ้งเตือน ตามกลุ่มผู้ป่วย 6 กลุ่มตัวอย่าง เช่น กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ป่วยที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ (Curable) กำหนดการเยี่ยมครั้งแรกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และภายใน 7 วันหลังจากออกจากโรงพยาบาล - สีเขียว 1 – 4 วัน (ยังอยู่ในเวลาการเยี่ยม/รอผลการเยี่ยม) - สีเหลือง 5 – 6 วัน (ใกล้ครบกำหนดการเยี่ยม) - สีแดง 7 วันขึ้นไป (ครบกำหนด/เลยเกณฑ์การเยี่ยม)

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

จำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อฯได้รับการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน X 100 จำนวนผู้ป่วยและผู้สูงอายุในระบบส่งต่อฯ ทั้งหมด

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

-

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ%
:๑.๖.๓.๒ จัดบริการทางการแพทย์ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครนธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องโรคคนเมืองและอาหารปลอดภัยทุกรูปแบบทุกช่องทาง

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง