ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
- ตั้งคณะอำนวยการและคณะทำงาน ร่วมดำเนินการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ กรุงเทพมหานคร (คำสั่ง กทม. ที่ 3455/2563 ลว 4 ธ.ค.2563) - จัดประชุมคณะทำงานโครงการส่งเสริมการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามแผนงานพัฒนาพื้นที่รอบบริเวณ สถานีขนส่งมวลชน (TOD) เพื่อสรุปชี้แจงทำความ เข้าใจต่อคณะทำงานในรายละเอียดผลการศึกษาฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลร่วมกันในการทำงานแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2563
-ลงสำรวจพื้นที่ 1. สถานีวงเวียนใหญา (8 ก.พ. 64) 2. สถานีประตูน้ำ (15 ก.พ. 64) 3. สถานีเตาปูนและสถานีบางขุนพรหม (1 มี.ค. 64) 4. สถานีประตูน้ำและสถานีลำสาลี (2 มี.ค. 64) -ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการ (Action Plan) 1. สำนักการจราจรและขนส่ง (10 ก.พ. 64) 2. สำนักงานเขตปทุมวัน (15 ก.พ. 64) -เข้าร่วมหารือกับรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายศักดิ์ชัย บุญมา) (18 มี.ค. 64) -เข้าร่วมหารือกับรองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (19 มี.ค. 64)
1. จัดทำร่างขอบเขตรายละเอียดโครงการ เพื่อให้คณะทำงานพิจารณาความสอกคล้องและเหมาะสมของโครงการในแบบบูรณาการ 2. คณะทำงานอยู่ระหว่างการพิจารณาความสอดคล้องและความเหมาะสมของโครงการ 3. เตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการ (action plan) เพื่อการพัฒนารอบบริเวณสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ระยะ 5 ปี
(ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนที่ได้วางไว้) 1.นำเสนอแผนปฏิบัติการพร้อมขอบเขตรายละเอียดโครงการตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ 2.ปลัดกรุงเทพมหานครเห็นชอบมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการตามแผนปฏิบัติการ เพื่อใช้จัดทำคำของบประมาณ ตามหนังสือที่ กท 1704/1392 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 (ปลัดกรุงเทพมหานครลงนาม ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2564) 3.ส่งมอบแผนปฏิบัติการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อใช้จัดทำคำของบประมาณ ตามหนังสือ ที่ กท 1704/1495 , กท 1704/1496 และ กท 1704/1497 ลงวันที่ 9 กันยายน 2564
- TOD หรือ Transit Oriented Development คือ การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งโดยผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่จะพัฒนา ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพักอาศัยใกล้กับสถานีขนส่ง และส่งเสริมการเข้าสู่สถานีโดยลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ส่งเสริมการเดินทาง มีการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมและการขนส่งเพื่อสร้างทางเลือกแก่ประชาชนและเป็นการกระจายความเจริญของเมืองออกไปในทิศทางต่าง ๆ ทำให้ประชาชนมีความสะดวกสบายในการสัญจรนอกจากนี้ยังทำให้เกิดการประหยัดพลังงาน ลดปริมาณยานพาหนะ และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด - การพัฒนา หมายถึง ผลักดันการดำเนินการโดยใช้แนวทางการออกแบบ (Design Guideline) มาตรการทางผังเมือง และแผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งนำเสนอไว้ในผลการศึกษาและวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพรอบบริเวณสถานที่ขนส่ง (TOD) เป็นแนวทาง - พื้นที่เป้าหมาย หมายถึง พื้นที่ที่ได้รับการเสนอให้เป็นพื้นที่พัฒนาฯ (TOD) ประกอบด้วย สถานีประตูน้ำ สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีเตาปูน สถานีลำสาลี และสถานีบางขุนพรหม ซี่งหน่วยงานพิจารณาความเหมาะสมคัดเลือกไม่น้อยกว่า 1 พื้นที่เพื่อดำเนินการ - กิจกรรมการพัฒนา ในปี 2564 คือ จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) ซึ่งเกิดจากการบูรณาการและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใต้ภารกิจหลักของแต่ละหน่วยงานกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดรายละเอียดของภารกิจที่ต้องร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ชัดเจน ในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีต่อไป
วัดจากความสำเร็จจากการจัดทำแผนปฏิบัติการ
1. รายงานการศึกษาและวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพรอบบริเวณสถานีขนส่งมวลชน TOD 2. รายละเอียดของโครงการ/กิจกรรมที่คัดเลือกเพื่อการขับเคลื่อนฯ 3. ข้อมูลประกอบการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ และกิจกรรมดำเนินการ 4. ข้อมูลประกอบการดำเนินการกิจกรรมที่กำหนด เช่น รายงานการประชุม เป็นต้น 5. รายงานผลการดำเนินกิจกรรมซึ่งบันทึกไว้ในระบบ digital plan 6. สรุปแผนปฏิบัติการซึ่งเกิดจากการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานกรุงเทพมหานครในการพัฒนาพื้นที่รอบบริเวณสถานีขนส่งมวลชน (TOD) นำเรียนปลัดกรุงเทพมหานคร
:ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City |
:๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม |
:๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ% |
:๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง |