รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

การลดและการคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด : 5021-0812

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 20

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 20.54

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 0

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
5.00
100
100 / 100
2
12.00
100
100 / 100
3
15.00
0
0 / 0
4
20.54
0
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อบรม สาธิต ส่งเสริมการแปรรูมูลฝอยอินทรีย์ อบรม ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยอันตรายและมูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับชุมชนศรีประดู่ ชุมชนกำแพงทองพัฒนา วัดกำแพงบางจาก

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

อบรม สาธิต ส่งเสริมการแปรรูมูลฝอยอินทรีย์ รณรงค์ ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยอันตรายและมูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข 62, ชุมชนเพชเกษม 21, ประชาชนริมคลองภาษีเจริญ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

อบรม สาธิต ส่งเสริมการแปรรูมูลฝอยอินทรีย์ รณรงค์ ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยอันตรายและมูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับ บริษัท แกมม่า อินดัสตรี้ส์ จำกัด 62, ชุมชนพูนบำเพ็ญ , ชุมชนวัดจันทร์เขต 1 หมู่ 3

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการแปรรูปขยะ เศษอาหาร เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ 1.1 ดำเนินการให้ความรู้และส่งเสริมการแปรรูปขยะเศษอาหาร เพื่อ นำกลับมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ชุมชน สถานศึกษา เอกชนสถานพยาบาล ศาสนสถาน และสถานประกอบการ 1.2 ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและ นำกลับมาใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิด เท่ากับ 6,316.79 ตัน 1.3 ปริมาณขยะเศษอาหาร กิ่งไม้ ใบไม้ ที่นำมาใช้ประโยชน์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - เดือนสิงหาคม 2563 ดำเนินการได้ดังนี้ 1.3.1 ทำขยะหอม จำนวน 378.50 ตัน 1.3.2 ทำปุ๋ยหมักในพื้นที่เขต จำนวน 5,556.50 ตัน 1.4 บดย่อยกิ่งไม้ ใบไม้หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น จำนวน 748.60 ตัน 1.4.1 รวบรวมส่งโรงงานหมักปุ๋ยผสม จำนวน 378.29 ตัน 1.4.2 จัดเจ้าหน้าที่ดำเนินการ เข้าจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ และสิ่งของเหลือใช้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - เดือนกันยายน 2563 จำนวน 25 ครั้ง จัดเก็บมูลฝอยได้ ดังนี้ 1) รีไซเคิลได้ จำนวน 17.54 ตัน 2) รีไซเคิลไม่ได้ จำนวน 28.30 ตัน 2. โครงการส่งเสริมการคัดแยกและรวบรวมมูลฝอยอันตรายและมูลฝอยอิเล็กทรอนิกส์ที่แหล่งกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ 2.1 ดำเนินการจัดเก็บขยะอันตรายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - เดือนกันยายน 2563 2.2 ดำเนินการกำหนดให้รถเก็บขนมูลฝอยคัดแยกมูลฝอยอันตราย ในพื้นที่จัดเก็บมูลฝอยแล้วนำส่งที่สำนักงานเขตฯ 2.3 ดำเนินการจัดเจ้าหน้าที่จัดเก็บมูลฝอยอันตรายภายในหน่วยงานชุมชน สถานพยาบาล ศูนย์สรรพสินค้า สถานศึกษา และสถานประกอบการ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. มูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด หมายถึง มูลฝอยที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งคัดแยกจากบ้านเรือน ชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลาด สถานประกอบการ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ 2. นำไปใช้ประโยชน์ หมายถึง การนำมูลฝอยกลับไปใช้ประโยชน์ตามคุณสมบัติของมูลฝอย เช่น ขาย ทำปุ๋ยหมัก เลี้ยงสัตว์ แปรรูป ถมที่ ฯลฯ มูลฝอยอันตราย (Hazardous Wastes) หมายถึง มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตราย ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ได้แก่ หลอดไฟ ถ่านไฟฉายและแบตเตอรี่ ภาชนะ บรรจุสารเคมี ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ เช่น ยาเม็ดหมดอายุ ผงคาร์บอน เป็นต้น โดยไม่รวมของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยทั่วไป มูลฝอยติดเชื้อ และกากกัมมันตรังสี

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ที่แหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 เป้าหมาย : ร้อยละ 20 วิธีการคำนวณ : ร้อยละของปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2563 ลบ ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิด ปี 2560 หาร ปริมาณมูลฝอยที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 คูณ 100 (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค. 62 - ก.ย. 63) 2. ร้อยละปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 เป้าหมาย : ร้อยละ 15 วิธีการคำนวณ : ร้อยละของปริมาณมูลฝอยอันตราย ที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดเพิ่มขึ้น เท่ากับ ปริมาณมูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2563 ลบ ปริมาณ มูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 หาร ปริมาณ มูลฝอยอันตรายที่คัดแยกจากแหล่งกำเนิดปี 2560 คูณ 100 (ปริมาณมูลฝอยตั้งแต่ ต.ค.62 - ก.ย. 63)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. แบบสรุปผลการคัดแยกมูลฝอยจากแหล่งกำเนิดและนำไปใช้ประโยชน์ประจ้าปีงบประมาณ 2563 2. แบบสรุปผลการดำเนินงานการคัดแยกมูลฝอยอันตราย ประจ้าปีงบประมาณ 2563

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๑ - ปลอดมลพิษ
:๑.๑.๑ แหล่งน้ำสาธารณะทั้งแม่น้ำสายหลักและคูคลองต่างๆ มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภ%
:๑.๑.๒.๑ ลดและควบคุมปริมาณมูลฝอยที่แหล่งกำเนิดและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่แหล่งกำเนิดจนถึงการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง