ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่เจ้าหน้าที่ออกตรวจจุดเสี่ยงภัยและตู้เขียวในพื้นที่ทั้งกลางวันและกลางคืนวันละ 3 ครั้ง จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและอาสาพาน้องข้ามถนนวันละ 2 เวลา กวดขันมิให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า และรายงานผลปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้น
จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่ทั้งกลางวันและกลางคืน ตรวจสอบกล้องวงจรปิดในพื้นที่เสี่ยง จัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและอาสาพาน้องข้ามถนนช่วงเวลาเช้าและเย็นหลังเลิกเรียน กวดขันมิให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ จอดหรือขับขี่บนทางเท้า อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางกลับบ้านในช่วงเวลากลางคืนตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ
-จัดคำสั่งมอบหมายหน้าที่สายตรวจตรวจจุดเสี่ยงภัยที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ในช่วงเวลากลางวันๆละ 2ครั้ง และเจ้าหน้าที่ชุดกลางคืนวันละ1ครั้ง ตามโครงการตรวจพื้นที่เสี่ยงภัยฯ และโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ และตรวจสอบสภาพกล้องcctv หากพบบกพร่องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข และจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรและอาสาพาน้องข้ามถนน บริเวณหน้าโรงเรียน 2 แห่ง รายงานผลการดำเนินการให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้น
-จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ตรวจจุดเสี่ยงภัย วันละ3ครั้งต่อจุด (รวมเจ้าหน้าที่ชุดกลางคืน) ให้บริการกับประชาชนที่เดินทางกลับบ้านในช่วงเวลากลางคืน เช่น พาเดินข้ามสะพานลอยหรือยืนรอรถบริเวณป้ายรถเมล์ที่เปลี่ยว ตรวจสอบกล้องวงจรปิด หากพบข้อบกพร่องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไข และอำนวยความสะดวกด้านการจราจรบริเวณหน้าโรงเรียนและอาสาพาน้องข้ามถนน ทุกโครงการมีการรายงานการปฏิบัติงานพร้อมภาพถ่ายให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้นและทุกสิ้นเดือนมีการรายงานสำนักเทศกิจ การดำเนินการทุกโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เสร็จสิ้นและเป็นไปตามเป้าหมาย
จุดเสี่ยงภัย หมายถึง จุดที่กรุงเทพมหานครสำรวจว่าเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม (รวมกับจุดที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลสำรวจ) จุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยทางถนนและท่าเทียบเรือ การแก้ไขจุดเสี่ยงภัย หมายถึง การปรับ การแก้ไข หรือการเพิ่มเติมสภาพแวดล้อม เช่น การดูแลตัดต้นไม้ การติดตั้งไฟฟ้า ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดบริเวณป้ายรถประจำทาง ฯลฯ ครบทุกรายการตามสภาพพื้นที่ การเฝ้าระวังและตรวจตรา หมายถึง สำนักเทศกิจและสำนักงานเขต มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยจากอาชญากรรมความปลอดภัยทางถนนและท่าเทียบเรือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1.จุดเสี่ยงภัยได้รับการตรวจตราและตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิด (CCTV) 2.จุดเสี่ยงภัยได้รับการปรับสภาพแวดล้อม ด้วยการตัดต้นไม้ที่รกทึบ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม ทำความสะอาดป้ายรถประจำทาง 3.ดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยจากอาชญากรรมและความปลอดภัยทางถนน เช่น กลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ การจัดกิจกรรมเทศกิจอาสาจราจรพาน้องข้ามถนน (School care)กวดขันไม่ให้มีการจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า ฯลฯ 4.ดำเนินการตรวจตราความปลอดภัยบริเวณท่าเทียบเรือ
ความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงภัยร่วมกับการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัย x 100 หาร ความสำเร็จของการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงภัยร่วมกับการเฝ้าระวังและตรวจตราจุดเสี่ยงภัยตามแผน
แบบรายงาน
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน% |
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม |