รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

(10) พื้นที่เสี่ยงภัยได้รับการลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม : 5025-0895

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
25.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
75.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม2562 ให้เจ้าหน้าที่สายตรวจตรวจตราจุดเสี่ยงภัยที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรมตามโครงการตรวจจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขต(สายตรวจตู้เขียว)อย่างน้อยวันละ2ครั้ง รวมทั้งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในกับประชาชนที่เดินทางกลับที่พักในเวลากลางคืนและตรวจจุดเสี่ยงภันในพื้นที่เขต พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของกล้องวงจรปิดใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ หากพบข้อบกพร่องดำเนินการประสานฝ่ายโยธาเพื่อแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขต่อไป ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม2562 ตรวจสอบพบกล้องวงจรปิดชำรุดจำนวน6ตัวได้รับแจ้งจากฝ่ายโยธาได้รับการแก้ไขแล้วจำนวน2ตัว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ให้เจ้าหน้าที่สายตรวจๆตราจุดเสี่ยงภัยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายตามโครงการตรวจจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขต(สายตรวจตู้เขียว)อย่างน้อยวันละ2ครั้ง และตรวจกลางคืนอีกวันละ1ครั้งรวมทั้งให้ความสะดวกและความปลอดภัยกับประชาชนที่เดินทางกลับที่พักในช่วงเวลากลางคืน พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของกล้องวงจรปิดว่าได้งานได้ตามปกติหรือไม่หากพบข้อบกพร่อง ได้ประสานฝ่ายโยธาเพื่อแจ้งประสานหน่วยงที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขต่อไป ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2563 ตรวจสอบพบกล้องวงจรปิดชำรุดจำนวน7ตัว ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขแล้วจำนวน 2ตัว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จัดทำคำสั่งมอบหมายหน้าที่ตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 ให้เจ้าหน้าที่สายตรวจๆตราความเป็นระเบียบเรียบร้อยและตรวจจุดเสี่ยงภัยที่อาจก่อให้เกิดอันตรายตามโครงการตรวจจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขต อย่างน้อยวันละ2ครั้ง และกลางคืนอีกวันละ1ครั้ง ตามโครงการกลับบ้านปลอดภัยไปกับเทศกิจ โดยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางกลับบ้านในเวลากลางคืน รวมทั้งตรวจสอบกล้องวงจรปิดว่าอยู่ในสภาพการใช้งานปกติหรือไม่ หากพบข้อบกพร่องจะประสานหน่วยงานที่เกียวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

จัดทำคำสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ตุลาคม2562จนถึงกันยายน2563ให้เจ้าหน้าที่สายตรวจๆตราความเป็นระเบียบเรียบร้อยและตรวจจุดเสี่ยงภัยตามโครงการตรวจจุดเสี่ยงภัยในพื้นที่เขต(ตู้เขียว)เป็นไปตามเป้าหมายวันละ3ครั้ง/วัน/จุด และตรวจตรากล้องวงจรปิดหากพบข้อบกพร่องประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบริเวณจุดเสี่ยงภัย เช่น การตัดแต่งกิ่งไม้ที่บดบังจำนวน 20 ครั้ง และทำความสะอาดพื้นที่ จำนวน 50 ครั้ง ประสานฝ่ายโยธาดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง หรือซ่อมแซมกล้องวงจรปิด ปีงบประมาณ 2563 ซ่อมแซมไฟส่องสว่าง จำนวน 448 ดวง

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1. พื้นที่เสี่ยงภัย หมายถึง พื้นที่ที่มีความล่อแหลมต่อการเกิดเหตุอาชญากรรม กับประชาชน โดยพื้นที่เสี่ยงภัยที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 นั้น ได้นำรายละเอียดพื้นที่เสี่ยงภัยและวิธีการแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงภัยมาจากบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเกิดจากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลของคณะทำงานโครงการสำรวจและจัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่อันตรายของกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562 2. เงื่อนไข (ปัจจัย) ความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง เหตุ/ช่องทาง/สิ่งต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดเหตุอาชญากรรม หรือก่อเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้ตามสภาพพื้นที่นั้น 3. การลดเงื่อนไขความล่อแหลมต่อการเกิดอาชญากรรม หมายถึง การปรับ แก้ไข หรือการเพิ่มเติมสภาพแวดล้อมพื้นที่ เช่น การติดตั้งหรือซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่าง การดูแลตัดต้นไม้ การติดตั้งหรือซ่อมแซมกล้องวงจรปิด (CCTV) การติดป้ายประชาสัมพันธ์ป้องกันอาชญากรรม การทำความสะอาด ฯลฯ รวมทั้งการเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่ โดยการจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราเพื่อเป็นการป้องปรามการก่อเหตุอาชญากรรมหรือเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยตามแต่ละสภาพพื้นที่นั้น ๆ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 100 โดยแบ่งการให้คะแนน (ร้อยละ) ออกเป็น 3 ข้อ ได้แก่ - การดำเนินการปรับแก้ไขสภาพแวดล้อมพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 60 คะแนน - การเฝ้าระวังและตรวจตราพื้นที่เสี่ยงภัย จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน - การรายงานผลการดำเนินงานประจำเดือน จำนวนคะแนน (ร้อยละ) 20 คะแนน คิดจากการรายงานผลการดำเนินการแก้ไขพื้นที่เสี่ยงภัยที่สำนักงานเขตส่งให้สำนักเทศกิจ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. เอกสารการรายงานให้ผู้บริหารกรุงเทพมหานครทราบเป็นรายเดือนพร้อมภาพถ่าย 2. สรุปรายงานผลการดำเนินงานโครงการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
:๑.๒.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน%
:๑.๒.๑.๑ เสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อลดความล่อแหลมของสภาพแวดล้อมต่อการก่อ อาชญากรรม

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง