รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน : 5038-0775

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 91.55

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
50.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
91.55
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน โดยได้ดำเนินการวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก บุคลากรในเขตสวนหลวง เพื่อหาค่า BMI ครั้งที่ 1 ส่งให้สำนักงาน ก.ก.เรียบร้อยแล้ว

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

-ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายรณรงค์ให้บุคลากรออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพและดูแลให้ร่างการแข็งแรงห่างไกลโรค และจัดตั้งกลุ่มไลน์ สุขภาพดี=โบนัส เพื่อเป็นช่องทางในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ -จัดรายการเสียงตามสายสร้างเสริมสุขภาพเป็นประจำทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ -จัดบอร์ดและป้ายความรู้คู่สุขา -จัดกิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย วันละ 2 ครั้ง ระหว่างเวลา 10.30 น. และ 14.30 น. ครั้งละ 5 นาที -จัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกบ่ายวันพุธ ณ ศูนย์สุขภาพเขตสวนหลวง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายรณรงค์ให้บุคลากรออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพและดูแลให้ร่างการแข็งแรงห่างไกลโรค การรณรงค์ส่งเสริมให้ข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานเขตสวนหลวงออกกำลังกายทุกวันพุธ ส่งเสริมเรื่องการทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและงดของหวานและมัน มีการจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาสีเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการ บุคลากร ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตสวนหลวง ในวันที่ 30 มิถุนายน 2562 -ประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายรณรงค์ให้บุคลากรออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพและดูแลให้ร่างการแข็งแรงห่างไกลโรค และจัดตั้งกลุ่มไลน์ สุขภาพดี=โบนัส เพื่อเป็นช่องทางในการแจ้งข่าวสารและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสาระน่ารู้เรื่องสุขภาพ -จัดรายการเสียงตามสายสร้างเสริมสุขภาพเป็นประจำทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ -จัดบอร์ดและป้ายความรู้คู่สุขา -จัดกิจกรรมยืดเหยียดร่างกาย วันละ 2 ครั้ง ระหว่างเวลา 10.30 น. และ 14.30 น. ครั้งละ 5 นาที -จัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกบ่ายวันพุธ ณ ศูนย์สุขภาพเขตสวนหลวง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-ดำเนินการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้บุคลากรออกกำลังกายและรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงห่างไกลโรค ผลการดำเนินงานสรุปร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานของสำนักงานเขตสวนหลวง คิดเป็นร้อยละ 91.55

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

1.กิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน หมายถึง หน่วยงาน มีการพิจารณาจัดกิจกรรม/โครงการ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับเพศ อายุ ลักษณะงาน ข้อมูลสุขภาพ และวิถีชีวิตของแต่ละคน โดยกิจกรรม/โครงการฯ ดังกล่าว หน่วยงานสามารถดำเนินการได้หลากหลาย 2.ความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน หมายถึง ค่าดัชนีมวลกายของบุคลากรมีค่าอยุ่ในเกณฑ์ปกติ หรือมีแนวโน้มพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้นภายหลังที่หน่วยงานมีการดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคลากร 3.ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) คือ ค่าที่ใช้บ่งชี้ว่าอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป 4.บุคลากร หมายถึง ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว ยกเว้น บุคลากรที่ตั้งครรภ์คาบเกี่ยวภายในปีงบประมาณ พ.ศ.2562

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน จะวัดจากจำนวนบุคลากรในหน่วยงานที่ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) มีแนวโน้มพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์ปกติ หรือมีแนวโน้มพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น ภายหลังที่หน่วยงานมีการดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพแก่บุคลากร (รอยละ 90 ขึ้นไป ได้ 5 คะแนน)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1.แบบฟอร์ม A แบบรายงานค่าดัชนีมวลกายของบุคลากรในหน่วยงาน (ส่ง 2 ครั้ง ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 และภายในวันที่ 16 กันยายน 2562) 2.แบบฟอร์ม B แบบสรุปการคำนวณ (ส่ง 1 ครั้ง ภายในวันที่ 16 กันยายน 2562) 3.สำเนาแบบการเบิกจ่ายเงินเดือนจากระบบ MIS กรุงเทพมหานคร และแบบแสดงการเบิกจ่ายค่าจ้างชั่วคราว ที่แสดงจำนวนบุคลากรในสังกัด ณ วันที่ 1 กันยายน 2562 4.เอกสาร/หลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม/โครงการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน เช่น รายงานการประชุม รายงานสรุปผลการดำเนินการฯ ภาพถ่ายฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย
:๑.๖.๖ คนกรุงเทพฯมีวิถีชีวิตแบบ Active Living Lifestyle%
:๑.๖.๖.๒ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์กีฬา ศูนย์เยาวชน ลานกีฬา

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง