ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 25
นางสาวเกศรา สุขทรัพย์สิน นางสาวณฑิชา ความหมั่น
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่รุนแรงถึงชีวิต และทำให้ผู้สูบเกิดความพิการตลอดชีวิต ซึ่งผู้ที่สูบบุหรี่นอกจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่แล้ว ยังปลดปล่อยควันบุหรี่มือสองที่สร้างความเดือดร้อน รำคาญ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะในสถานศึกษา สถานที่ราชการ สถานที่ทำงานหรือสถานประกอบการซึ่งเป็นแหล่งเสี่ยงต่อสุขภาพมาก ในขณะเดียวกัน การสูบบุหรี่มือสอง (passive smoking) หรือการได้รับควันบุหรี่จากผู้ใกล้ชิด ก็ทำให้ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่เกิดโรคที่มีอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคสมองขาดเลือด เป็นต้น นอกจากนั้น การปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ในสถานที่ราชการ สถานที่ทำงานของสถานประกอบการ โดยไม่มีมาตรการควบคุม ยังสร้างความเสี่ยงต่อชีวิต และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการเกิดอัคคีภัย การเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้ง เพิ่มภาระและค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดพื้นที่ เนื่องมาจากควันบุหรี่และก้นบุหรี่ ตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 เป็นที่ยอมรับในทางการแพทย์ว่า ควันบุหรี่เป็นผลเสียแก่สุขภาพของผู้ที่สูบบุหรี่และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียง หลายประการนอกจากนั้นยังพิสูจน์ได้ว่า การที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องสูดควันบุหรี่ซึ่งผู้อื่นสูบเข้าไป ก็ยังเป็นผลเสีย ต่อสุขภาพเช่นเกี่ยวกับที่เกิดขึ้นกับผู้สูบบุหรี่เอง องค์กรอนามัยโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรสาธารณสุขที่จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดในการช่วยผู้ที่เสพติดบุหรี่ปีละ 5 ล้านคน และจะเพิ่มเป็นปีละ 10 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจากข้อมูลโรคต่างๆที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 86 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ มะเร็ง 10 ชนิด โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด 4 ชนิด และอื่นๆ อีก 6 ชนิด ซึ่งคนไทยเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 42,000 คน หรือวันละ 115 คน หรือชั่วโมงละ 4 คน การส่งเสริมเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเพื่อลดความเสี่ยงจากสูบบุหรี่ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างความเข็มแข็งต่อการลดละหรือเลิกการบริโภค ในการรับรู้ถึงภัยคุกคามจากการบริโภคยาสูบในกลุ่มคน ในสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ดังนั้น สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงได้เริ่มดำเนินการโครงการลดละเลิก การบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ในปีงบประมาณ 2563 ดำเนินการในกลุ่มบุคลากรของสำนักอนามัย จำนวน 30 คน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรที่สูบบุหรี่ให้สามารถลดละเลิกสูบบุหรี่ได้ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 คน สามารถเลิกบุหรี่ได้อย่างต่อเนื่องตลอดโครงการ และอีกจำนวน 20 คน สามารถลดปริมาณการสูบลงได้ โดยการดำเนินโครงการฯ ในปีงบประมาณ 2564 เพื่อมุ่งเน้นขยายผลในกลุ่ม บุคลกร หน่วยงานอื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นบุคลากรของกรุงเทพมหานครต้องให้บริการกับประชาชนที่มารับบริการในหน่วยงาน โดยการจัดกิจกรรมมีความจำเป็นที่ต้องใช้สถานที่ต่างจังหวัดในการพักค้าง เพื่อสร้างแรงจูงใจและปรับพฤติกรรมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เน้นกระบวนการทำกลุ่มกิจกรรมแบบเข้มข้นต่อเนื่อง โดยกระบวนการเริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ที่สามารถบอกเลิกบุหรี่ทำให้เกิดการเรียนรู้และจัดการความรู้ต่อ การเลิกบุหรี่ พร้อมทั้งติดตามประเมินผลการบำบัดยาสูบในผู้ลดละเลิก การสูบอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับไปสูบบุหรี่ซ้ำ ส่งผลต่อการมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข อีกทั้งยังเป็นต้นแบบที่ดีในหน่วยงานต่อการเลิกบุหรี่ของบุคลากรที่ยังไม่สามารถลดละเลิกได้ สามารถช่วยแนะนำกับ ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ให้เลิกได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณด้านการดูแลและบำบัดรักษาโรคเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องจากการสูบบุหรี่ เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรต้นแบบปลอดบุหรี่ 100% และยกระดับกรุงเทพมหานครเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy Workplace) ในการทำงาน
08090000/08090000
1 เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครได้รับความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาสูบ 2 เพื่อให้ข้าราชการและลูกจ้างของกรุงเทพมหานครสามารถเลิกเสพยาสูบได้
กิจกรรมที่ ๑ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการเลิกยาสูบ (ค่ายชวนคนกล้าท้าเลิกยาสูบ) ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน แบบพักค้าง ณ โรงแรมเอกชนในพื้นที่ต่างจังหวัด ประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภทวิชาการ จำนวน 30 คน ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน และบุคลากรกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 6 คน วิทยากร จำนวน 4 คน รวมจำนวน 40 คน กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการลดละเลิกการบริโภคยาสูบ จำนวน 3 ครั้ง ระยะเวลา 1 วัน แบบไป-กลับ ณ โรงแรมเอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภทวิชาการ จำนวน 30 คน ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน และบุคลากรกรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 6 คน วิทยากร จำนวน 4 คน รวมจำนวน 40 คน กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมพิธีมอบเกียรติบัตรผู้เลิกยาสูบได้สำเร็จ รูปแบบการจัดงานแบบไป -กลับ ระยะเวลาครึ่งวัน ณ สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ข้าราชการและลูกจ้างสังกัดกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมโครงการฯ และข้าราชการและลูกจ้างสังกัดกรุงเทพมหานครที่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ข้าราชการและลูกจ้าง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 130 คน ระดับปฏิบัติงาน-ชำนาญงาน,ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ พนักงานทั่วไป,พนักงานขับรถยนต์,พนักงานเทศกิจ ฯลฯ เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 19 คน ผู้ดำเนินการพิธีมอบเกียรติบัตรฯ จำนวน 1 คน รวมจำนวน 150 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด |
๑.๒.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพติดทุกคนเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูที่มีมา% |
๑.๒.๒.๓ บำบัดรักษาฟื้นฟู ติดตามดูแลผู้เสพผู้ติดยา/สารเสพติดให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-08-27)
27/08/2564 : - ได้รับอนุมัติยกเลิกโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท 0709/986 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เรื่องขออนุมัติยกเลิกโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร โดยผู้อำนวยการสำนักอนามัยลงนามอนุมัติยกเลิก เมื่อวันที่ 23 ส.ค.64
** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการที่รวมคนจำนวนมากได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
** อุปสรรคของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการที่รวมคนจำนวนมากได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-08-16)
16/08/2564 : - อยู่ระหว่างขอยกเลิกโครงการและขอคืนเงินงบประมาณ เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการที่รวมคนจำนวนมากได้ และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการที่รวมคนจำนวนมากได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
** อุปสรรคของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการที่รวมคนจำนวนมากได้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-07-13)
13/07/2564 : เลื่อนจากกำหนดการกิจกรรมที่ 1 จากเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 โดยอยู่ระหว่างปรับการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาด และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 36) ข้อ 7 ห้ามการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน
** ปัญหาของโครงการ :ปรับกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 36) ข้อ 7 ห้ามการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2021-06-16)
16/06/2564 : เลื่อนจากกำหนดการกิจกรรมที่ 1 จากเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 โดยกำหนดจัดกิจกรรมที่ 1 หลักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 ดีขึ้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-05-31)
31/05/2564 : มีการเลื่อนการดำเนินการจากแผนที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 จึงต้องเลื่อนกิจกรรมที่เป็นการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-04-20)
20/04/2564 : อยู่ระหว่างดำเนินการกิจกรรมที่ 1 ประสานขอรายชื่อผู้เข้าอบรมเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำคำสั่งผู้เข้าอบรมฯ ประสานวิทยากรและสถานที่จัดอบรมเรียบร้อย โดยกำหนดจัดกิจกรรมที่ 1 ประมาณเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งเลื่อนจากกำหนดเดิมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิค 19 ระลอกใหม่ ทำให้ต้องเลื่อนการจัดกิจกรรมออกไป
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-03-12)
12/03/2564 : ขอเห็นชอบและอนุมัติโครงการเรียบร้อยอยู่ระหว่างประสานขอรายชื่อผู้เข้าอบรมฯ ประสานวิทยากรและสถานที่จัดอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-02-26)
26/02/2564 :ได้รับการเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและขออนุมัติใช้งบประมาณประเภทเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : - ได้รับการเห็นชอบแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและขออนุมัติใช้งบประมาณประเภทเงินบำรุงสถานบริการสาธารณสุข
** ปัญหาของโครงการ : - ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-12-28)
28/12/2563 : อยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดการจัดกิจกรรม และขอเห็นชอบโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร (สยส.)
** ปัญหาของโครงการ : - ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ : - ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-13)
13/11/2563 :อยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดการจัดกิจกรรม และขอเห็นชอบโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร (สยส.)
** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-31)
31/10/2563 : อยู่ระหว่างกำหนดรายละเอียดการจัดกิจกรรม และขอเห็นชอบโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร (สยส.)
** ปัญหาของโครงการ : - ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของผู้เสพยาเสพติดที่บำบัดครบตามเกณฑ์ที่กำหนดหยุดเสพต่อเนื่องหลังจำหน่ายจากการบำบัดที่ระยะที่ 3 เดือน ( 3 Months Remission Rate) (ผลลัพธ์)(ตัวชี้วัดเจรจา)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 97.8
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **