ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

ค่าใช้จ่ายตามโครงการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามผังเมืองรวมด้วยมาตรการกลไกที่เหมาะสม กรณีมาตรการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Zoning) : 18000000-2515

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง : (2564)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

เจ้าหน้าที่สำนักงานวางผังเมือง

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

มาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Zoning) เป็นมาตรการเสริมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาสำหรับพื้นที่ที่มีบทบาทความสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยข้อกำหนดที่ใช้จะมีความเข้มข้นและเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้กรุงเทพมหานครสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมือง จึงควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ในรายละเอียดของมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ เพื่อให้เป็นมาตรการการควบคุมพื้นที่ซ้อนทับบนแผนผังและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีแนวทางการปฏิบัติควบคู่ไปกับการใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นขั้นตอนเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1. โครงการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามผังเมืองรวมด้วยมาตรการกลไกที่เหมาะสม กรณีมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Zoning) คือ การศึกษาวิเคราะห์แนวทางที่เหมาะสมในการนำมาตรการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับมาใช้บังคับในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. เขตพื้นที่ซ้อนทับ หมายถึง พื้นที่ที่ถูกกำหนดเป็นย่านพิเศษซ้อนทับบนย่านพื้นฐาน (Underlying Zoning District) ซึ่งการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารในย่านพิเศษนี้จะคำนึงถึงความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินของสถาบันหลักที่อยู่ในย่านพิเศษนั้นและสนับสนุนให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นเกิดความรู้สึกถึงความสำคัญของพื้นที่ (A Sense of Place)

18050000/18050000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการนำมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับมาร่วมใช้บังคับในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อเสนอแนวทางและวิธีการ รวมทั้งกำหนดเขตพื้นที่ซ้อนทับที่มีความเหมาะสมในการนำมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับมาใช้บังคับในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายของโครงการ

1.รายงานการศึกษาวิเคราะห์แนวทางและวิธีการในการนำมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ มาใช้บังคับในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดทำคู่มือปฏิบัติการและเทคนิควิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ด้วยมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Zoning หรือ Overlay Control) จำนวนอย่างน้อย 1 เขตพื้นที่ซ้อนทับ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๔ – มหานครกระชับ : Bangkok as a Compact City
๔.๑ - กรุงเทพมหานครเติบโตอย่างเป็นระเบียบตามผังเมืองรวม
๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับ%
๔.๑.๑.๑ ส่งเสริมการขยายตัวในการใช้ประโยชน์ที่ดินเต็มประสิทธิภาพตามผังเมือง

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-11-25)

100.00

25/11/2563 : - จัดการฝึกอบรมให้แก่บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการของมาตรการการควบคุมพื้นที่ซ้อนทับ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 - ที่ปรึกษาส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 - เตรียมความพร้อมประชุมตรวจรับรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ในเดือน ธันวาคม 2563

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2020-10-27)

95.00

2020-10-27 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - ลงนามสัญญาจ้างกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท แพลนเนอร์26 จำกัด และบริษัท ซิตี้ แพลน โปรเฟสชันนอล จำกัด เมื่อในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 - ขยายสัญญาจ้างฯ 53 วัน - ที่ปรึกษาส่งร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 - ประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 - ประชุมเพื่อพิจารณาการ-ตรวจรับร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 - เตรียมการจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการของมาตรการการควบคุมพื้นที่ซ้อนทับ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 92.00 (2020-10-26)

92.00

26/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... - ที่ปรึกษาส่งร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 - ประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 - ประชุมเพื่อพิจารณาการ-ตรวจรับร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 - เตรียมการจัดฝึกอบรมแก่บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการของมาตรการการควบคุมพื้นที่ซ้อนทับ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:นตอนที่ 8 การดำเนินการตามสัญญา - งานงวดที่ 4 (งวดสุดท้าย)
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:--------------------------
:0.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:--------------------------
:0.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 18000000-2515

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 18000000-2515

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 1800-0827

ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามผังเมืองรวมด้วยมาตรการกลไกที่เหมาะสม กรณีมาตรการการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Zoning)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
100.00

100 / 100
2
100.00

100 / 100
3
100.00

100 / 100
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **