ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ผู้อำนวยการสำนักงานการส่งเสริมอาชีพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3
ตามที่รัฐบาลได้มีโนบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า“โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม”เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น สำนักพัฒนาสังคมจึงมีแนวทางมาปรับใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการเพิ่มองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ระบบการจัดการที่ทันสมัย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาการบริหารจัดการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการ ตลอดจนการสร้างโอกาสทางด้านตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับไปสู่การเป็นกลไกหลักของระบบเศรษฐกิจประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนปัญหาสำคัญที่พบคือ คุณภาพ มาตรฐาน รูปลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ ยังขาดการพัฒนาและการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของตลาด ไม่สามารถสร้างความแตกต่าง ความโดดเด่น และไม่สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมุ่งเน้นผลิตสินค้าโดยไม่ศึกษาความต้องการ รสนิยมของผู้บริโภค รวมถึงแนวโน้มของกระแสนิยม(Trend ) ของกลุ่มผู้บริโภคด้วย ประกอบกับยังขาดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่คุณประโยชน์ให้เกิดเป็นกระแสความนิยม จึงทำให้ผลิตภัณฑ์จำนวนมากยังไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาด และขยายฐานการตลาดให้เติบโตเป็นเชิงพาณิชย์ ซึ่งสาเหตุหลักสำคัญเป็นเพราะผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต การบริหารจัดการ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความแตกต่าง โดดเด่น ตอบสนองต่อตลาด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาทักษะผู้ประกอบการให้มีความสามารถ มีศักยภาพ มีความพร้อม นับเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องเร่งรัดพัฒนา ทั้งนี้เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยการออกแบบ และนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
24040000/24040000
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความรู้ด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ ในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปสู่การผลิตสินค้าในเชิงนวัตกรรม
จัดอบรม แบบไป – กลับ จำนวน 3 วัน ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนมีนาคม 2564 – พฤษภาคม 2564 ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 106 คน เจ้าหน้าที่ดำเนินการ วิทยากร และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-30)
30/09/2564 : ใช้งบประมาณ 303,400 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2021-08-31)
31/08/2564 : อยู่ระหว่างติดตามผลหลังการฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-07-29)
29/07/2564 : อยู่ระหว่างออกแบบ แบบสอบถามเพื่อติดตามผลหลังจากฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ประกอบกับประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 36) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ข้อ 7 ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 5 คน โดยให้เป็นไปตามข้อห้ามและข้อยกเว้นตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2564 ทำให้ไม่สามารถดำเนินตรวจติดตามหลังฝึกอบรมได้
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-06-30)
30/06/2564 : อยู่ระหว่างติดตามผลหลังจากฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถไปติดตาม ณ สถานที่ประกอบการได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 87.00 (2021-05-28)
28/05/2564 : อยู่ระหว่างติดตามผล 3 เดือน หลังจากฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2021-04-23)
23/04/2564 : อยู่ระหว่างรายงานผลการอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-03-29)
29/03/2564 : ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดเรียบร้อยแล้ว ได้รับอนุมัติเงินยืมใช้ในราชการ เลขที่ 29/2564 และดำเนินอบรมเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมบางกอก ชฎา เขตห้วยขวาง ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารตั้งเบิก ส่งคืนเงินยืมใช้ในราชการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2021-02-22)
22/02/2564 : ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-01-30)
30/01/2564 : รวบรวมข้อมูลเพื่อขออนุมัติหลักสูตร
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-12-30)
30/12/2563 : ขออนุมัติปรับโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-25)
25/11/2563 : อยู่ระหว่างขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-29)
29/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดทำแบบสำรวจรายวิชาเพื่อบรรจุลงในหลักสูตรฝึกอบรมและประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผลิตภัณฑ์กรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการส่งเสริมการขาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 0
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **