ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน : 50060000-3467

สำนักงานเขตยานนาวา : (2563)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นายปรีชา วงค์กาง โทร 6718-6720

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 3 100

หลักการและเหตุผล

ด้วยบุคลากรของสำนักงานเขตยานนาวาและโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ตั้งอยู่ในพื้นที่มีภารกิจหลักในการปฏิบัติงานภายในสำนักงาน และออกให้บริการประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีลักษณะงานที่มีความแตกต่างกันออกไปหลายด้าน โดยในปีงบประมาณ 2561 และปี 2562 ที่ผ่านมา ส่วนราชการทั้ง 16 แห่ง (ประกอบด้วย 10 ฝ่าย และ 6 โรงเรียน) ได้ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของบุคลากรในส่วนราชการของตน และทำการจัดระดับความเสี่ยงเหล่านั้น โดยความเสี่ยงสูงสุดของแต่ละส่วนราชการเป็นดังนี้ 1) ฝ่ายปกครอง มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงาน ถ่ายเอกสารและการพิมพ์งานโดยใช้เครื่องพิมพ์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสฝุ่นจากผงหมึกเครื่องถ่ายเอกสารและเครื่องพิมพ์ และงานขับรถยนต์ที่พนักงานขับรถเร็วเกินกำหนดซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย 2) ฝ่ายทะเบียน มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงานพิมพ์เอกสารโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องนั่งเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการปวดหลังและคอ อีกทั้งแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสมทำให้ปวดกระบอกตา งานบริการประชาชนที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียดจากประชาชนที่มาติดต่อราชการและได้รับสัมผัสฝุ่นจากการรื้อค้นเอกสารเก่า งานรับลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสติดเชื้อโรคจากคนงานต่างด้าวที่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ งานออกเลขรหัสประจำบ้านโดยผู้ปฏิบัติงานออกสำรวจพื้นที่ อาคารและสิ่งปลูกสร้างทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยจากการตากแดดหรือตากฝน และในกรณีพื้นถนนลื่นทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือมีน้ำท่วมขังทำให้เป็นโรคน้ำกัดเท้า และงานขับรถยนต์ที่มีการปฏิบัติงานเป็นเวลานานทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย 3) ฝ่ายโยธา มีความเสี่ยงสูงสุดระดับ 2 จากงานงาน ขุดลอกท่อระบายน้ำและงานขุดลอกคลองเปิดทางน้ำไหล ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำการตักขยะและกำจัดวัชพืชในคลองทำให้สัมผัสกับสารเคมีและเชื้อโรคในน้ำงานซ่อมแซมผิวจราจรซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสกับสารเคมี ยางมะตอยและสีทาพื้นผิวถนน และอาจถูกรถยนต์เฉี่ยวชนได้ 4) ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มีความเสี่ยงระดับ 3 ในงานควบคุมโรค ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดสัตว์และแมลงนำโรค รวมทั้งเสียงดังจากอุปกรณ์ฉีดพ่นสารเคมีเหล่านั้น 5) ฝ่ายรายได้ มีความเสี่ยงระดับ 3 จากการนั่งทำงานประเมินภาษีโรงเรือนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดหลังและคอ งานขยายฐานภาษีซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องออกสำรวจพื้นที่ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากการตากแดด งานรับยื่นแบบภาษี ผู้ปฏิบัติงานอาจติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากผู้มาติดต่อราชการ และงานขับรถยนต์ที่อาจเกิดความเมื่อยล้าเมื่อปฏิบัติงานเป็นเวลานาน 6) ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีความเสี่ยงระดับ 4 จากงานกวาด โดยผู้ปฏิบัติงานอาจถูกรถเฉี่ยวชนขณะกวาดขยะบนทางเท้าหรือริมถนน 7) ฝ่ายการศึกษา มีความเสี่ยงระดับ 2 จากงานพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่และปวดตาเมื่อต้องทำงานเป็นเวลานาน งานถ่ายเอกสารผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสฝุ่นและสารเคมี งานจัดทำเอกสาร มีแสงสว่างไม่เพียงพอทำให้มีอาการเมื่อยล้าดวงตา 8) ฝ่ายการคลัง มีความเสี่ยงระดับ 3 จากการที่แสงสว่างไม่เพียงพอเนื่องจากหลอดไฟเสื่อมสภาพเมื่อต้องทำงานตรวจสอบฎีกาและจัดทำบัญชี 9) ฝ่ายเทศกิจ มีความเสี่ยงระดับ 4 จากงานอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเป็น ลมแดดจากความร้อน เสี่ยงจากการถูกรถยนต์เฉี่ยวชน และได้รับมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน งานคดีและธุรการสำนักงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงานอาจเป็นลมจากการตากแดดขณะเดินส่งเอกสาร หลังคารั่วอาจถูกไฟช๊อตหรือไฟดูดได้ และอาจสัมผัสสารเคมีผงหมึกและฝุ่นจากเครื่องพิมพ์ 10) ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงานพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์และนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้เกิดผลกระทบต่อสายตา ปวดตา และปวดเมื่อยร่างกาย งานติดต่อประชาชนที่ มาขอรับบริการ ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียดและกดดันในการให้บริการประชาชน งานที่ปฏิบัติงานโดยการ ลงพื้นที่ ผู้ปฏิบัติงานอาจสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อหรือบุคคลเร่ร่อน หรือได้รับอันตรายจากการกระทำต่อร่างกายจากบุคคลเหล่านั้น และงานขับรถยนต์ที่พนักงานขับรถยนต์เกิดความความเครียด กดดันและปวดเมื่อยร่างกายเมื่อต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน 11) โรงเรียนวัดช่องนนทรี มีความเสี่ยงระดับ 2 จากงานสอน โดยยืนสอนเป็นเวลานานเกิดอาการเมื่อยล้า และใช้เสียงต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการกล่องเสียงอักเสบ และงานปรับปรุงพัฒนาสถานที่อาจเกิดอุบัติเหตุจากการซ่อมแซมอุปกรณ์ ลื่นพลัดตกจากที่สูง และอาจสัมผัสฝุ่นจากการทำความสะอาดอาคารสถานที่ 12) โรงเรียนวัดช่องลม มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงานอาคารสถานที่โดยผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาดพื้นสนามหรืออาคาร เกิดการลื่นล้มและสัมผัสฝุ่นละอองเข้าสู่ทางเดินหายใจ การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ทำให้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม หรือกระแทก 13) โรงเรียนวัดคลองภูมิ มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงานทำความสะอาดบนระเบียงสูงอาจพลัดตก และการยกของหนักทำให้ปวดหลังและคอ 14) โรงเรียนวัดคลองใหม่ มีความเสี่ยงระดับ 3 จากงานสอน โดยผู้ปฏิบัติงานต้องตะเบงเสียงในการสอนนักเรียนติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการเจ็บคอ คอแห้ง แสบคอ 15) โรงเรียนวัดปริวาศ มีความเสี่ยงระดับ 4 จากงานซ่อมบำรุงอาคารสถานที่โดยมีความเสียหายของอุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย 16) โรงเรียนวัดดอกไม้ มีความเสี่ยงระดับ 2 จากงานสอน ที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เสียงติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบได้ จากการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานของบุคลากรในส่วนราชการต่างๆ อาจส่งผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมและจัดการมิให้เกิดความเสี่ยงเหล่านั้นและทำให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานเขตยานนาวาจึงได้จัดทำโครงการ “จัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” ขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวต่อไป

50060400/50060400

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเขตยานนาวา ที่มีคะแนนความเสี่ยงสูงที่สุด 3 อันดับแรก ให้มีความปลอดภัยและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน

เป้าหมายของโครงการ

1.ร้อยละ 80 ของบุคลากรฝ่ายการคลัง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยไม่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงาน 2.ร้อยละ 80 ของบุคลากรฝ่ายปกครอง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และไม่เจ็บป่วยจากงานถ่ายเอกสารถึงขั้นพบแพทย์หรือหยุดงาน 3. ร้อยละ 80 ของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม มีความเครียดและความกดดันจากการให้บริการประชาชนลดลงหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-09-23)

100.00

23/09/2563 : ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2563

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-08-28)

100.00

28/08/2563 : 1. ดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอน ร้อยละ 100 2. นำส่งเอกสาร/หลักฐาน ให้สำนักอนามัยตรวจประเมิน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2020-07-31)

95.00

31/7/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. อยู่ระหว่างรวบรวมและนำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการ 2. ส่วนราชการต่างๆ จัดทำรายงานการใช้ข้อปฏิบัติการใช้รถยนต์ (กลาง) ตามแบบ R3 (63)

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-06-29)

90.00

29/06/2563 : อยู่ระหว่างรวบรวมและนำเสนอผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-05-28)

80.00

28/05/2563 : การดำเนินการ อยู่ระหว่างรวบรวมผลการดำเนินงานเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ งบประมาณที่ใช้ - ไม่ใช้งบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค - หน่วยงานภายนอกไม่สามารถเข้าศึกษาดูงานได้ เนื่องจากต้องรักษาระยะห่างทางสังคมตามหลักควบคุมสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ข้อเสนอแนะ - ขออนุมัติไปยังสำนักอนามัยเพื่อปรับตัวชี้วัดดังกล่าวแล้ว

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2020-04-26)

75.00

26/04/2563 : 1.เตรียมรวบรวมผลการดำเนินงานและกำกับติดตามโครงการ แบบ OCC3 (63) 2.รายงานการใช้ข้อปฏิบัติฯ กลาง (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 2 แบบ R2 (63)

** ปัญหาของโครงการ :ปัญหาอุปสรรค 1. ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมสันทนาการนอกสถานที่ ในการจัดการความเครียดจากการให้บริการประชาชนของฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ เนื่องจากต้องรักษาระยะห่างทางสังคมตามหลักควบคุมสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) 2. หน่วยงานอื่นไม่สามารถเข้าศึกษาดูงานการเป็นต้นแบบได้ เนื่องจากต้องรักษาระยะห่างทางสังคมตามหลักควบคุมสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ข้อเสนอแนะ - ขออนุมัติไปยังสำนักอนามัยเพื่อปรับตัวชี้วัดดังกล่าว

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2020-03-24)

50.00

1.จัดทำข้อปฏิบัติ เวียนบุคลากรในส่วนราชการทราบ และถือปฏิบัติโดยทั่วกัน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2020-02-24)

40.00

1. ส่วนราชการทั้ง 3 แห่ง จัดทำข้อปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยฯ 2. เตรียมจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในส่วนราชการ ทั้ง 3 แห่ง เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานฯ งบประมาณที่ใช้ - ไม่ใช่งบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2020-01-24)

20.00

1. เสนอขออนุมัติโครงการ 2. ส่งสำเนาเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้สำนักอนามัยประเมินตามกำหนดเวลา 3. แก้ไขปรับปรุงโครงการตามคำแนะนำของสำนักอนามัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-12-25)

10.00

25/12/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... 1. จัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ครั้งที่ 1/63 2. จัดทำรายงานการใช้รถยนต์ส่วนกลาง R1(63) 3. เวียนแจ้งข้อปฏิบัติการใช้รถยนต์ส่วนกลาง 4. เสนอขออนุมัติโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-11-25)

5.00

25/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดส่งข้อมูลรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรมให้สำนักอนามัย และศึกษาข้อมูลขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมของตัวชี้วัดฯ ที่สำนักอนามัยกำหนด

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2019-10-25)

5.00

25/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...เขียนโครงการและเสนอโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีข้อเสนอแนะ

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีข้อคิดเห็น

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจาก การทำงาน และเขียนโครงการฯ
:15.00%
เริ่มต้น :2019-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2019-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงาน
:30.00%
เริ่มต้น :2020-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ
:25.00%
เริ่มต้น :2020-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดทำข้อปฏิบัติ/แนวทาง คู่มือ หรือมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยฯ
:15.00%
เริ่มต้น :2020-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ดำเนินการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่นใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานหรือประโยชน์อื่นๆ
:15.00%
เริ่มต้น :2020-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-07-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 50060000-3467

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 50060000-3467

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 5006-0974

ตัวชี้วัด : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงาน (ตัวชี้วัดที่ 4.2)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10.00

100 / 100
2
50.00

100 / 100
3
75.00

100 / 100
4
100.00

100 / 100

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **