รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

๑๔. ร้อยละความสำเร็จของการขับเคลื่อนตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ(Happy Workplace) : 0409-0964

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 80

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00
95
95 / 100
2
0.00
100
100 / 100
3
0.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

1.) หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ(โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินการจัดการโครงการ 2.) หลักสูตรการเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) อยู่ระหว่างการกำหนดหลักสูตรและหัวข้อวิชา

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1.) หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ(โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรและแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.) หลักสูตรการเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) อยู่ระหว่าง พัฒนาหลักสูตร หัวข้อวิชา และสรรหา คัดเลือกวิทยากร และพิจารณาสถานที่ดำเนินการ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1.) หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) - กำหนดการฝึกอบรมรูปแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม และ 2 สิงหาคม 2564 - ดำเนินการประสานรายละเอียดหลักสูตรกับวิทยากร - อยู่ระหว่างการขออนุมัติหลักสูตร จัดทำคำสั่งเจ้าหน้าที่ และผู้เข้ารับการฝึกอบรม 2.) หลักสูตรการเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) แจ้งเวียนรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรม สำรวจสถานที่จัดฝึกอบรมและสถานที่ดูงาน ติดต่อวิทยากร และล่าสุดชะลอการดำเนินงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรค COVID - 19

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1) หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) ดำเนินการหลักสูตรแล้วเสร็จ โดยมีผลการดำเนินการดังนี้ 1.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Output) คือ ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผลที่ได้ ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านเกณฑ์การฝึกอบรมตามที่หลักสูตรกำหนด 1.2 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome) คือ ร้อยละ 80 ของจำนวนหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มเป้าหมายสามารถจัดทำแผนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะได้ ผลที่ได้ ร้อยละ 100 ของจำนวนหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มเป้าหมายสามารถจัดทำแผนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะได้ 2.) หลักสูตรการเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร (โครงการเสริมสร้างการพัฒนางานและวัฒนธรรมองค์กร) ยกเลิกการดำเนินการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท 0401/647 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยามการขับเคลื่อนตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ(Happy Workplace) หมายถึง การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ โดยมีการบริหารจัดการการจัดกิจกรรม การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการและบุคลากรให้เกิดความสุขในการทำงานและการดำรงชีวิต ส่งผลดีต่อสุขภาพกาย ใจ รวมทั้งการสร้างค่านิยมร่วมมุ่งสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ซึ่งความสำเร็จในการดำเนินการขับเคลื่อนตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะ คือ 1) การสร้างความรู้ ความเข้าใจการพัฒนาองค์กรสุขภาวะให้กับหน่วยงาน และสามารถขับเคลื่อนการสร้างวัฒนธรรมองค์กรสุขภาวะตามแนวคิดองค์กรสุขภาวะด้านใดด้านหนึ่งได้2) การเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

(ผลสำเร็จหลักสูตรที่ 1 + ๒)/๒

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

๑. หลักสูตรการเสริมสร้างทักษะการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ การเก็บข้อมูลแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะ ค่าเป้าหมายร้อยละ ๘๐ วิธีการคำนวณ = จำนวนหน่วยงานที่สามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสุขภาวะได้ x 100 จำนวนหน่วยงานต้นสังกัดของกลุ่มเป้ามหมายทั้งหมด ๒. หลักสูตรการเสริมสร้างสมดุลชีวิตของบุคลากรกรุงเทพมหานคร การเก็บข้อมูลแบบประเมินความคิดเห็นการนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ค่าเป้าหมายร้อยละ ๘๐ วิธีการคำนวณ= (จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ตอบแบบประเมินมีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้ในระดับมากขึ้นไป x ๑๐๐)/จำนวนผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy
:๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล
:๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่%
:๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง