ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 70
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 83.6
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
อยู่ในชั้นตอนขออนุมัติกิจกรรมไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและศึกษาทบทวนผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา
ทำบันทึกส่งเอกสารเพิ่มเติมเสนอสำนักงานเลขาสำนักอนามัยเพื่อทำบันทึกส่งเอกสารเพิ่มเติมตามที่สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลแนะนำเพื่ออนุมัติใช้เงินงบกลาง
- ศูนย์บริการสาธารณสุขลงทะเบียนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์จะรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นรายบุคคลผ่านโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค(BPPDS) - กองควบคุมโรคติดต่อจัดสรรวัคซีนให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข
ตัวชี้วัดคือร้อยละของการให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเป้าหมาย ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 70 ผลการดำเนินงาน ร้อยละ 83.6 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วิธีคำนวณ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีน * 100/จำนวนวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุน 77,800 คน *100/93,020 คน = 83.6
คือ การให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไข้หวัดใหญ่ 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ประกอบด้วย - เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน - ผู้มีโรคเรื้อรัง ดังนี้ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และเบาหวาน - บุคคลที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ทุกคน - ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ - ธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) - โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) โดยต้องดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการฉีดวัคซีน X 100 จำนวนวัคซีนที่ได้รับการสนับสนุน
-
:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
:๑.๖ - ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย |
:๑.๖.๒ โรคติดต่อที่สำคัญในเมืองได้รับการเฝ้าระวังและควบคุมไม่ให้ระบาดไปในวงกว้าง% |
:๑.๖.๒.๓ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการควบคุมพาหะนำโรคไข้เลือดออก |