ค่าเป้าหมาย กิจกรรม/ปี : 6
ผลงานที่ทำได้ กิจกรรม/ปี : 7
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3:
1. โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณีประจำปี 2564 - ยกเลิกการจัดกิจกรรการจัดงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ประจำปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ตามการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 19/2563 ) 2. โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี 2564 อยู่ระหว่างจัดเตรียมรายละเอียดในการจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2564 ซึ่งกำหนดจัดงานในวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 3. กิจกรรมบันทึก “เพลง เรื่อง” ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี - ดำเนินการตรวจสอบเพลงโดยผู้เชี่ยวชาญทางเพลงเรื่อง วงดนตรีไทยกรุงเทพมหานคร - ดำเนินการบันทึกโน้ตสากล เพลงเรื่องวิเวกเวหา ประกอบด้วย - เพลงช้า 5 เพลง ได้แก่ เพลงวิเวกเวหา เพลงการะเวก เพลงนกกระจอกทอง เพลงกระเรียนทอง เพลงสาริกาชมเดือน - เพลงสองไม้ - เพลงนางโหย 6 ท่อน - เพลงเร็ว - เพลงลา 4. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม 1. กิจกรรม 1.1 ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมและร่วมงานตักบาตรพระร้อยทางเรือ วันที่ 4 ตุลาคม 2563 ณ วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง 1.2 ร่วมพิธีอุปสมบทหมู่ สวดมนต์อธิษฐานจิตและปฏิบัติธรรมน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระชนกาธิเบต เมื่อวัน 12 ตุลาคม 2563 ณ วัดพระราม 9 เขตห้วยขวาง 1.3 ร่วมพิธีเปิดปฐมนิเทศโครงการอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี 1.4 ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมเทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติ 19 ธันวาคม 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 15.00 น. ณ วัดบางแวก เขตภาษีเจริญ 2. จัดทำแผ่นพับ 2.1 จัดทำแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้ประเพณีชักพระวัดนางชี ไปเผยแพร่และแจกให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดนางชี เขตภาษีเจริญ 2.2 จัดทำแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสำริด ไปเผยแพร่และแจกให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดเวตวันธรรมาวาส เขตบางซื่อ 3. Facebook 3.1 เผยแพร่ข้อมูลตำนานท้าวอู่ทองของกรุงเทพมหานคร ผ่านทางเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม 4. รายการวิทยุ 4.1 ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ พระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล “ผ้าไหม ชุมชนบ้านครัว” 4.2 ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล “ตำนานพระลอยนํ้า” 4.3 ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ย้อนอดีตวัดวาอาราม อันงดงาม ตลาดน้ำ 2 คลองตลิ่งชัน ตลาดคลองลัดมะยม และตลาดวัดจำปา ทางสัญจรตั้งแต่สมัยอยุธยาที่คนกรุงเทพฯ ไม่ควรลืมเลือน 5. โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ทำหนังสือเชิญวิทยากรและหนังสือตอบรับวิทยากรในการเสวนาทั้ง 3 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขาทัศนศิลป์ สาขาดนตรีและการขับร้องรวมทั้งหนังสือเชิญผู้เข้าร่วมงานและจัดทำหนังสือขอใช้สถานที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณี ประจำปี 2564 - อยู่ระหว่างดำเนินการจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 โดยกำหนดจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 12 – 14 เมษายน 2564 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี 2564 1. การจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2564 - งดการจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2564 เนื่องจากสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2. งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2564 - กำหนดจัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2564 ในวันพุธที่ 26 พฤษภาคม 2564 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมดังกล่าวจะดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดจัดพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2564 ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 07.00 น. ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม เผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมผ่านทางเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม - ห้ามเล่น "ลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา)" ในสมัยรัชกาลที่ 5 - “แกงเนื้อพริกขี้หนู-ข้าวแช่” สูตรวังเทเวศร์ จากปากต้นเครื่องในวัง - ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย ตอนที่ 1 - ความหมายของธรรมเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ - วันเด็กแห่งชาติ - วันครู - ประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมร่วมสมัยดีเด่น ดวงใจวิจารณ์ ปี 2564 - ประชาสัมพันธ์เชิญติดตามรับชม Live สด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ่าน - คิด - วิจารณ์ ภายใต้โครงการสร้างเสริมเครือข่ายนักวิจารณ์วรรณกรรมรุ่นใหม่ : อ่าน - คิด - วิจารณ์ สร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคมไทย โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สรณัฐ ไตลังคะ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย - ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย - ตำนานแม่โพสพ - สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อแสดงว่าเป็น "องค์กรส่งเสริมคุณธรรม" ตามโครงการส่งเสริมส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ภายใต้แม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559-2564) - ชุมชนขันลงหินบ้านบุ - ช่างทองตรอกสุเหร่า มัสยิดจักรพงษ์ - การตีทองคำเปลวตรอกบวรรังษีและตรอกตึกดิน - ตำนานแม่นากพระโขนง - วิธีทอดปลาตะเพียนสูตรพระวิมาดาเธอฯ รายการวิทยุ ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรม - ตำราแมวไทย ของสมเด็จพุฒาจารย์นวม เจ้าอาวาสวัดอนงคาราม (ตอนที่ 2) - ตำนานป้อมอันสวยงามในพระนคร - เล่าต่อเนื่องจากป้อมสู่ประตูเมืองในพระนครที่หายไปแล้ว และที่ยังหลงเหลืออยู่ในกรุงเทพฯ - ตำนานแม่นากพระโขนง ตำนานยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง ตำนานจระเข้ดาวคะนอง และตำนานท้าวอู่ทอง - ประวัติสะพานชุดเฉลิมพระเกียรติทั้ง 17 สะพาน ตอนที่ 1 - ประวัติสะพานชุดเฉลิมพระเกียรติทั้ง 17 สะพาน ตอนที่ 2 - ประวัติสะพานชุดเฉลิมพระเกียรติทั้ง 17 สะพาน ตอนจบ - ประวัติสะพานที่ช้างใช้เดินเข้าออกมาสู่พระนครในสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.1) - ประเพณีทำขวัญข้าวของคุณป้าประนอม ชาวนาในกรุงเทพฯ - จัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจัดส่งให้คุณศิริลัษณ์ มหัทธนะเตมีย์ ผู้ดำเนินรายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อนำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาของกรุงเทพมหานครไปเผยแพร่ที่วิทยุ ปตอ. เอ เอ็ม.594 และมีการตอบคำถาม มอบหนังสือมรดกภูมิปัญญาของกรุงเทพมหานครเป็นรางวัล - ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทยค่ายพระยาตาก ของอาจารย์กฤษณ์ ฤทธิ์เดชา กิจกรรม 1. ดำเนินการจัดโครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวม 441 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร 3 สาขา ได้แก่ สาขาดนตรีและการขับร้อง สาขาศิลปะการแสดง และสาขาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมประกอบด้วย - วันที่ 17 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ และจัดแสดงนิทรรสการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - วันที่ 18 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ Collage Art กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - วันที่ 19 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง และจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมโดยการเผยแพร่หนังสือองค์ความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมที่จัดทำขึ้นโดยส่วนวัฒนธรรม ได้แก่ หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หนังสือโลกเล่าขานตำนานนักประพันธ์ไทย หนังสือพัฒนาการอักษรไทย และหนังสือวิวัฒน์การอ่าน ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และประชาชนทั่วไป - นักวิชาการวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมในกรุงเทพมหานครเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่สากล เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 21 มีนาคม 2564 ณ บ้านพระยาราชานุประดิษฐ์ ชุมชนโรงคราม เขตธนบุรี จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทั้งนี้ นักวิชาการวัฒนธรรมได้นำเสนอความคิดเห็นในประเด็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารมุสลิม - นักวิชาการวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม ผู้รับผิดชอบพื้นที่กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เข้าร่วมกิจกรรม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนกะดีจีน เขตธนบุรี (กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ) ทั้งนี้ นักวิชาการวัฒนธรรมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ และข้อมูลองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่สามารถนำมาบูรณาการร่วมกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่น กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายภาคประชาชนในกลุ่มเขต กิจกรรมบันทึก "เพลง เรื่อง" ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินการบันทึกเสียงและวีดีโอ เพลงที่ 1 เพลงเรื่องวิเวกเวหา เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่ห้องซ้อมดนตรีไทย อาคารระบายนํ้า กทม.2 ควบคุมโดย สิบเอกไชยชนะ เต๊ะอ้วน หัวหน้ากลุ่มงานดุริยางค์ไทย - เพลงที่ 2 เพลงเรื่องเขมรใหญ่ โดยครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย โดยนำโน้ตพรรณนาเพลงเรื่อง มาบันทึก midi ลงโปรแกรมทำเพลง แปลงเป็นเสียงฆ้องวงใหญ่ ประกอบด้วย เพลงเขมรใหญ่ 5 ท่อน เพลงเขมรเขมรน้อย 3 ท่อน เพลงเขมรกลาง 2 ท่อน สองไม้เพลงครวญหา 3 ท่อน เพลงคู่ครวญหา 5 ท่อน เพลงเร็วค้างคาวกินกล้วย 6 ท่อน เพลงเร็วสาวคำ 3 ท่อน ลงเพลงลา - เพลงที่ 3 เพลงเรื่องเพลงช้าตะนาว โดยครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย โดยนำโน้ตพรรณนาเพลงเรื่อง มาบันทึก midi ลงโปรแกรมทำเพลง cubase และ battery แปลงเป็นเสียงฆ้องวงใหญ่ ประกอบด้วย เพลงช้า 5 ท่อน เพลงสองไม้ 6 ท่อน เพลงเร็ว 3 ท่อน โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดโครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว โดยมีนายสมบูรณ์ หอมนาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร 3 สาขา ได้แก่ สาขาดนตรีและการขับร้อง สาขาศิลปะการแสดง และสาขาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม วันละ 147 คน จำนวน 3 วัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 441 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. วันที่ 17 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ และจัดแสดงนิทรรสการผลงานของสมาขิกเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม ข้าราชการครูผู้สอนวิชานาฏศิลป์ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครสำนักงานเขต 2. วันที่ 18 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะCollage Art กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม ข้าราชการครูผู้สอนวิชาศิลปะโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร 3. วันที่ 19 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง และจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม ข้าราชการครูผู้สอนวิชาดนตรี โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต
1. โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณี ประจำปี 2564 1.1 การจัดงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ประจำปี 2564 - ยกเลิกการจัดกิจกรรการจัดงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ประจำปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ตามการพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 19/2563 ) 1.2 การจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 - ยกเลิกการจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 12 - 14 เมษายน 2564 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับการจ้างเหมาจัดงานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 ได้ปรับลดเนื้องานและวงเงินจ้างเหมา เนื่องจากได้มีการดำเนินงานไปแล้วบางส่วน โดยรวมใช้จ่ายงบประมาณ เป็นเงิน 2,123,975 บาท 2. โครงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี 2564 2.1 การจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2564 - ยกเลิกการจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.2 งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2564 - ยกเลิกการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และโอนเงินงบประมาณเข้างบกลาง เป็นเงิน 1,632,400.- บาท 3. พิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2564 - อยู่ในระหว่างเสนอของดการจัดงานเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 3. กิจกรรมบันทึก"เพลงเรื่อง" ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี - เพลงที่ 4 เพลงเรื่องเต่าทอง (จากโน้ตสากลในหนังสือพรรณนาเพลงเรื่อง มาแปลงเป็นเสียงฆ้องวงใหญ่) แล้วนำมามิคเสียงทำเป็นไฟล์ mp4 มีภาพโน้ตสากลเพลงช้าเรื่องเต่าทองประกอบเพลงเผยแพร่เพลงเรื่องเต่าทองลงยูทูป เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564 4. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม 4.1 เผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมผ่านทางเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม - หัตถกรรมแทงหยวก - เทศกาลสงกรานต์ - เผยแพร่ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี ประจำปี 2563 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1. ตำนานจระเข้ดาวคะนอง เขตธนบุรี สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2 สำนักดนตรีไทยหลวงประดิษฐไพเราะ เขตพญาไท สาขาศิลปะการแสดง 3. ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. ขนมตึงตัง เขตบางนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว - พิธีวางเสาหลักเมือง - “บัวคลี่” เหยื่อของการชิงดีชิงเด่นระหว่าง “พ่อ” กับ “ผัว” ในขุนช้างขุนแผน - เจ้าเวหา จุฬา - ปักเป้า - วิถีชาววังสวนสุนันทา - พระราชพิธีฉัตรมงคล - ขนมอาลัว - ความหมายของ “ตัวมอม” สัตว์ในจินตนาการ สู่ตำนานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งล้านนา - วันพืชมงคล - E-book “เครือข่ายชุมชนวัฒนธรรม เพื่อสืบสานต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม - คลายข้อสงสัย คนกรุงศรีอยุธยา “หน้าตา” เป็นอย่างไร? - ทำไมคนสมัยก่อนต้องทาหน้าขาว - youtube หัวโขนครูสมชาย ล้วนวิลัย - youtube รายการภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา - youtube หัวโขนครูวัฒนา แก้วดวงใหญ่ - youtube รายการลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี : ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ ให้มีชีวิต ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา - youtube หัวโขนพรพิราพ บางพลัด - ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 รายการ ขนมตึงตัง เขตบางนา - เล่าเรื่องร่วมสมัย “ศิลปกรรมสำคัญ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร” - วันวิสาขบูชา - วันอัฏฐมีบูชา - พิธีรำผีมอญของตระกูลมอญดะ - สรรพคุณของยาไทย - เชิงสะพานอุเทนถวาย - ประกาศผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ. 2564 4.2 รายการวิทยุ ว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กทม. ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรม - บอกเล่าเรื่องราวประวัติวันสงกรานต์ - ประวัติว่าวไทย - ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี - ประวัติวังบูรพา - ดนตรีนาเสป 1. โครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงาน ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว โดยมีนายสมบูรณ์ หอมนาน เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 1. วันที่ 17 มีนาคม 2564 สาขาศิลปะการแสดง มีกิจกรรม ดังนี้ 1.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” 1.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ 1.3 การจัดแสดงนิทรรสการผลงานของสมาขิกเครือข่ายสาขาศิลปะการแสดง 2. วันที่ 18 มีนาคม 2564 สาขาทัศนศิลป์ มีกิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” 2.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ 2.3 กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะCollage Art 2.4 กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ 2.5 การจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่ายสาขาทัศนศิลป์ 3. วันที่ 19 มีนาคม 2564 สาขาดนตรีและการขับร้อง มีกิจกรรม ดังนี้ 3.1 กิจกรรมจัดเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” 3.2 กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง 3.3 จัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้ เจ้าหน้าที่ส่วนวัฒนธรรม ข้าราชการครูผู้สอนวิชาดนตรี โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต จำนวนสาขาละ 147 คน จำนวน 3 วัน รวมทั้งสิ้นจำนวน 441 คน
1. จัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมการจัดกิจกรรม จำนวน 11 กิจกรรม 2. จัดทำแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้ 3. เผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมผ่านรายการวิทยุ 4. เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม 5. เผยแพร่คลิปวิดีโอ เพลงเรื่อง เพื่อเผยแพร่ทางยูทูป จำนวน 6 เรื่อง 1. จัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมการจัดกิจกรรม จำนวน 11 กิจกรรม ดังนี้ 1. ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมและร่วมงานตักบาตรพระร้อยทางเรือ วันที่ 4 ตุลาคม 2563 ณ วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง 2. ร่วมพิธีอุปสมบทหมู่ สวดมนต์อธิษฐานจิต และปฏิบัติธรรม น้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระชนกาธิเบต เมื่อวัน 12 ตุลาคม 2563 ณ วัดพระราม 9 เขตห้วยขวาง 3. ร่วมพิธีเปิดปฐมนิเทศโครงการอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี 4. ร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมเทศน์มหาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันประสูติ 19 ธันวาคม 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 15.00 น. ณ วัดบางแวก เขตภาษีเจริญ 5. จัดโครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 - 19 มีนาคม 2564 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวม 441 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครือข่ายในรูปแบบเสวนาวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร 3 สาขา ได้แก่ สาขาดนตรีและการขับร้อง สาขาศิลปะการแสดง และสาขาทัศนศิลป์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมประกอบด้วย - วันที่ 17 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาศิลปะการแสดง หัวข้อ “ศิลปะการแสดงร่วมสมัยกับการพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์ตามช่วงเวลา” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ และจัดแสดงนิทรรสการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - วันที่ 18 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาทัศนศิลป์ หัวข้อ “ทัศนศิลป์ร่วมสมัยกับสังคมและวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการสาขาทัศนศิลป์ประกอบด้วย กิจกรรมภาพพิมพ์สีจากวัสดุธรรมชาติ กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะ Collage Art กิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะจากวัสดุเหลือใช้ และการจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - วันที่ 19 มีนาคม 2564 จัดเสวนาวิชาการสาขาดนตรีและการขับร้อง หัวข้อ “ดนตรีร่วมสมัยคืออะไร” กิจกรรมการสาธิตถ่ายทอดองค์ความรู้ สาขาดนตรีและการขับร้อง และจัดแสดงนิทรรศการผลงานของสมาชิกเครือข่าย - กิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมโดยการเผยแพร่หนังสือองค์ความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมที่จัดทำขึ้นโดยส่วนวัฒนธรรม ได้แก่ หนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หนังสือโลกเล่าขานตำนานนักประพันธ์ไทย หนังสือพัฒนาการอักษรไทย และหนังสือวิวัฒน์การอ่าน ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และประชาชนทั่วไป 6. สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้รับเกียรติบัตรจากคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อแสดงว่าเป็น "องค์กรส่งเสริมคุณธรรม" ตามโครงการส่งเสริมส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ภายใต้แม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) 7. จัดกิจกรรมตอบคำถามข้อมูลมรดกภูมิปัญญาของกรุงเทพมหานคร ร่วมกับรายการเพื่อนพระจันทร์ เผยแพร่ทางวิทยุ ปตอ. เอ เอ็ม.594 โดยมอบหนังสือมรดกภูมิปัญญาของกรุงเทพมหานครเป็นรางวัล 8. ร่วมกิจกรรมการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารมุสลิมในกรุงเทพมหานครเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสู่สากล เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 21 มีนาคม 2564 ณ บ้านพระยาราชานุประดิษฐ์ ชุมชนโรงคราม เขตธนบุรี จัดโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทั้งนี้ นักวิชาการวัฒนธรรมได้นำเสนอความคิดเห็นในประเด็นแนวทางในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารมุสลิม 9. ร่วมกิจกรรม Focus group เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนกะดีจีน เขตธนบุรี (กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ) ทั้งนี้ นักวิชาการวัฒนธรรมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม การอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ และข้อมูลองค์ความรู้ แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่สามารถนำมาบูรณาการร่วมกับการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีถิ่น กับกลุ่มเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร และเครือข่ายภาคประชาชนในกลุ่มเขต 10. มอบหนังสือของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ให้กับโรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 54 เล่ม เพื่อนำไปให้บริการนักเรียนสำหรับสืบค้นข้อมูลที่ห้องสมุดของโรงเรียน โดยมีนายนวพล เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ครูโรงเรียนปากเกร็ด เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 11. เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ 2559 - 2564) ครั้งที่ 2/2564 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting วันพุธที่ 25 สิงหาคม 2564 2. จัดทำแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ความรู้ 2.1 ประเพณีชักพระวัดนางชี ไปเผยแพร่และแจกให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดนางชี เขตภาษีเจริญ 2.2 ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสำริด ไปเผยแพร่และแจกให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดเวตวันธรรมาวาส เขตบางซื่อ 3. เผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรมผ่านรายการวิทยุ โดยว่าที่ร้อยตรีประภพ เบญจกุล หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมงานวัฒนธรรม ให้สัมภาษณ์รายการเพื่อนพระจันทร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลด้านพหุวัฒนธรรม ดังนี้ - เรื่อง “ผ้าไหม ชุมชนบ้านครัว” - เรื่อง “ตำนานพระลอยนํ้า” - เรื่อง ย้อนอดีตวัดวาอาราม อันงดงาม ตลาดน้ำ 2 คลองตลิ่งชัน ตลาดคลองลัดมะยม และตลาดวัดจำปา ทางสัญจรตั้งแต่สมัยอยุธยาที่คนกรุงเทพฯ ไม่ควรลืมเลือน - เรื่อง ตำราแมวไทย ของสมเด็จพุฒาจารย์นวม เจ้าอาวาสวัดอนงคาราม - เรื่อง ตำนานป้อมอันสวยงามในพระนคร - เรื่อง เล่าต่อเนื่องจากป้อมสู่ประตูเมืองในพระนครที่หายไปแล้ว และที่ยังหลงเหลืออยู่ในกรุงเทพฯ - เรื่อง ตำนานแม่นากพระโขนง ตำนานยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง ตำนานจระเข้ดาวคะนอง และตำนานท้าวอู่ทอง - เรื่อง ประวัติสะพานชุดเฉลิมพระเกียรติทั้ง 17 สะพาน - เรื่อง ประวัติสะพานที่ช้างใช้เดินเข้าออกมาสู่พระนครในสมัยรัตนโกสินทร์ (ร.๑) - เรื่อง ประเพณีทำขวัญข้าวของคุณป้าประนอม ชาวนาในกรุงเทพฯ - เรื่อง ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทยค่ายพระยาตาก ของอาจารย์กฤษณ์ ฤทธิ์เดชา - เรื่อง บอกเล่าเรื่องราวประวัติวันสงกรานต์ - เรื่อง ประวัติว่าวไทย - เรื่อง ขลุ่ยบ้านลาว เขตธนบุรี - เรื่อง ประวัติวังบูรพา - เรื่อง ดนตรีนาเสป - เรื่อง ประวัติวังบางคอแหลมของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ - เรื่อง อัตลักษณ์ของชาวคลองภูมิ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ - เรื่อง อัตลักษณ์ของชาวคลองภูมิ เรื่องที่ ๒ กับประเพณีสงกรานต์อาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่คนรุ่นหลังยังร่วมกันสืบทอดต่อไป - เรื่อง "ตำนานไทยประจำชาติ" เรื่องราวที่เล่าปากต่อปากจนเป็นตำนาน ที่ผสมผสานกับประเพณีวัฒนธรรมของคนพื้นถิ่นภาคต่างๆ ที่น่าสนใจ - เรื่อง "ตำนานไทยประจำชาติ" กับ 4 ตำนานมุขปาฐะ (เล่าปากต่อปาก) กบกินเดือน เจ้าแม่ลิ้มก่อเหนี่ยว เจ้าแม่สองนาง และเจ้าหลวงคำแดง 4 เผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม - ตำนานท้าวอู่ทองของกรุงเทพมหานคร - ห้ามเล่น "ลูกข่าง-ส้อนหา (ซ่อนหา)" ในสมัยรัชกาลที่ 5 - “แกงเนื้อพริกขี้หนู-ข้าวแช่” สูตรวังเทเวศร์ จากปากต้นเครื่องในวัง - ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย เรื่องที่ 1 - ความหมายของธรรมเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ - วันเด็กแห่งชาติ - วันครู - ประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมร่วมสมัยดีเด่น ดวงใจวิจารณ์ ปี 2564 - ประชาสัมพันธ์เชิญติดตามรับชม Live สด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อ่าน - คิด - วิจารณ์ ภายใต้โครงการสร้างเสริมเครือข่ายนักวิจารณ์วรรณกรรมรุ่นใหม่ : อ่าน - คิด - วิจารณ์ สร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคมไทย โดย ชมัยภร แสงกระจ่าง สรณัฐ ไตลังคะ จรูญพร ปรปักษ์ประลัย - ความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย - ตำนานแม่โพสพ - ชุมชนขันลงหินบ้านบุ - ช่างทองตรอกสุเหร่า มัสยิดจักรพงษ์ - การตีทองคำเปลวตรอกบวรรังษีและตรอกตึกดิน - ตำนานแม่นากพระโขนง - วิธีทอดปลาตะเพียนสูตรพระวิมาดาเธอฯ - หัตถกรรมแทงหยวก - เทศกาลสงกรานต์ - เผยแพร่ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นบัญชี ประจำปี 2563 จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1. ตำนานจระเข้ดาวคะนอง เขตธนบุรี สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. สำนักดนตรีไทยหลวงประดิษฐไพเราะ เขตพญาไท สาขาศิลปะการแสดง 3. ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. ขนมตึงตัง เขตบางนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ค่ายพระยาตาก เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว - พิธีวางเสาหลักเมือง - “บัวคลี่” เหยื่อของการชิงดีชิงเด่นระหว่าง “พ่อ” กับ “ผัว” ในขุนช้างขุนแผน - เจ้าเวหา จุฬา - ปักเป้า - วิถีชาววังสวนสุนันทา - พระราชพิธีฉัตรมงคล - ขนมอาลัว - ความหมายของ “ตัวมอม” สัตว์ในจินตนาการ สู่ตำนานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งล้านนา - วันพืชมงคล - E-book “เครือข่ายชุมชนวัฒนธรรม เพื่อสืบสานต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม - คลายข้อสงสัย คนกรุงศรีอยุธยา “หน้าตา” เป็นอย่างไร? - ทำไมคนสมัยก่อนต้องทาหน้าขาว - youtube หัวโขนครูสมชาย ล้วนวิลัย - youtube รายการภูมิปัญญาแห่งแผ่นดิน ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา - youtube หัวโขนครูวัฒนา แก้วดวงใหญ่ - youtube รายการลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี : ครูผู้สร้างประวัติศาสตร์ ให้มีชีวิต ครูกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา - youtube หัวโขนพรพิราพ บางพลัด - ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 รายการ ขนมตึงตัง เขตบางนา - เล่าเรื่องร่วมสมัย “ศิลปกรรมสำคัญ ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร” - วันวิสาขบูชา - วันอัฏฐมีบูชา - พิธีรำผีมอญของตระกูลมอญดะ - สรรพคุณของยาไทย - เชิงสะพานอุเทนถวาย - ประกาศผลการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ. 2564 - youtube การบรรเลงเพลงช้าเรื่องจีนแส (ทางบ้านพาทยโกศล) - youtube รายการเปิดตำนานกับเผ่าทอง เรื่อง ยาหอมตำรับบ้านหมอหวาน เขตพระนคร - ตำนานท้าวอู่ทองในกรุงเทพมหานคร - วันอาสาฬหบูชา หรือวันอาสาฬหปุณณมีบูชา - ประชาสัมพันธ์โครงการร้านอาหารปลอดเหล้าเข้าพรรษาประชาสัมพันธ์โครงการร้านอาหารปลอดเหล้าเข้าพรรษา - บทความร่วมรำลึก 140 ปี ชาตกาล หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) วันที่ 6 สิงหาคม 2564 - ประชาสัมพันธ์เชิญชวนร่วมงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด Sustainability with Moral : New Moral New Normal “คุณธรรมวิถีใหม่ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 26 - 27 สิงหาคม 2564 (รูปแบบออนไลน์ Virtual Event) 3. กิจกรรมบันทึก"เพลงเรื่อง" ตามพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี นำโน้ตสากลในหนังสือพรรณนาเพลงเรื่อง มาแปลงเป็นเสียงฆ้องวงใหญ่ แล้วนำมามิคเสียงทำเป็นไฟล์ mp 4 โดยใช้ภาพโน้ตสากลเพลงนั้นประกอบ เผยแพร่ ทางยูทูป เพลงที่ 1 เพลงเรื่องวิเวกเวหา เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564 - เพลงที่ 2 เพลงเรื่องเขมรใหญ่ เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - เพลงที่ 3 เพลงเรื่องตะนาว เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 - เพลงที่ 4 เพลงเรื่องเต่าทอง เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564 - เพลงที่ 5 เพลงเรื่องแว่นทอง เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 - เพลงที่ 6 เพลงเรื่องต้อยตลิ่ง เผยแพร่ทางยูทูป เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2564
นิยาม/คำอธิบาย - การอนุรักษ์ส่งเสริม หมายถึง การปกป้อง รักษา ดูแลวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ โดยการส่งเสริม เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้รับรู้รับทราบถึงความเป็นอัตลักษณ์ของสังคมพหุวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร - พหุวัฒนธรรม หมายถึง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่มีความเหมือนหรือความต่างกัน เช่น ความเชื่อ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วิถีชีวิต ศิลปะและดนตรี เป็นต้น
วิธีการคำนวณ นับจากจำนวนกิจกรรมที่จัดขึ้นหรือสนับสนุนโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมถึงกิจกรรมที่ร่วมดำเนินการกับกลุ่มด้านวัฒนธรรมและ พหุวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
วิธีการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล - จัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินการจัดกิจกรรมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ มีรายงานเป็นรูปเล่มไว้อ้างอิง - จัดเก็บจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม - จัดเก็บแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
:ด้านที่ ๓ - มหานครสำหรับทุกคน : Bangkok as a City for All |
:๓.๔ - สังคมพหุวัฒนธรรม |
:๓.๔.๑ คนกรุงเทพฯที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขและ% |
:๓.๔.๑.๒ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในสถานศึกษาและชุมชนในพื้นที่ |