รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

3. ร้อยละความสำเร็จในการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 5001-0721

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 3: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
30.00
100
100 / 100
2
60.00
100
100 / 100
3
80.00
100
100 / 100
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพักตะแกรงรับน้ำและคันหิน โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่น : สามารถเริ่มสัญญา 12 ธันวาคม 2561 ผู้รับจ้าง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมงคลเทพ - กิจกรรมทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพักตะแกรงรับน้ำและคันหิน โดยใช้แรงงานเขต จำนวน 18 ซอย สามารถดำเนินการตามเป้าหมายได้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

สามารถดำเนินการตามแผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพักตะแกรงรับน้ำและคันหิน โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่น จำนวน 84 ซอย งบประมาณ 738,000.- บาท : แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 60 วัน เริ่มสัญญา 12 ธันวาคม 2561 สิ้นสุดสัญญา 9 กุมภาพันธ์ 2562 ผู้รับจ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดมงคลเทพ และจัดกิจกรรมการรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคูคลองแล้ว 1 ครั้ง ในวันที่ 20 มี.ค. 62 ที่คลองปรินายก

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

จัดกิจกรรมการรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคูคลอง จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 20 มี.ค. 62 ที่คลองปรินายก และวันที่ 14 พ.ค. 62 ที่คลองพระสวัสดิ์

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

สำนักงานเขตพระนครสามารถดำเนินการได้ตามแผน ร้อยละ 100 และจัดกิจกรรมการรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคูคลอง จำนวน 4 ครั้ง วันที่ 20 มี.ค. 62 ที่คลองปรินายก วันที่ 14 พ.ค. 62 ที่คลองพระสวัสดิ์ วันที่ 4 ก.ค. 62 ที่คลองวัดสังเวช และวันที่ 2 ส.ค. 62 ที่คลองวัดตรีทศเทพ

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากน้ำฝนและน้ำหลากเข้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้สามารถลดระยะเวลาการระบายน้ำท่วมขังได้เร็วขึ้น ลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนให้น้อยลง ทั้งนี้ การเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ของสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตต้องจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมประจำ ปี 2562 และมีภารกิจการเตรียมการ ดังนี้ 1. การขุดลอกคู-คลอง และเปิดทางน้ำไหล ได้แก่ คลองที่ระบุในงบประมาณ คลองตามแผนปฏิบัติการ และคลองตามกิจกรรมจิตอาสาฯ 2. การทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน 3. ความสำเร็จในการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หมายถึง ความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่สำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตกำหนดรายละเอียดของการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. ประเมินผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา 1.1 วิเคราะห์/ประเมินผลการปฏิบัติ 1.2 ประเมินจุดอ่อนหรือปัญหาในการปฏิบัติ เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จและแนวทางแก้ไขในระยะต่อไป 2. สำรวจความพร้อม 2.1 ท่อระบายน้ำ (สำรวจความยาวท่อระบายน้ำที่ต้องล้างทำความสะอาด) 2.2 คู คลอง (สำรวจคู คลอง ที่มีความพร้อม และที่ต้องขุดลอก) 3. จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ประจำปี 2562 ประกอบด้วย แผนการเตรียมการตามภารกิจ ๒ ภารกิจ ดังนี้ 3.1 แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน 3.2 แผนการการขุดลอกคู-คลอง และเปิดทางน้ำไหล พร้อมทั้งข้อมูล ผลการประเมินการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาระบุมาในแผนฯ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน : ร้อยละ 100 ร้อยละความสำเร็จพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามแผนเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วมประจำปี 2562 ของสำนักงานเขต ประกอบด้วย แผนการเตรียมการตามภารกิจ 3 ภารกิจ ดังนี้ 1. แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน แบ่งเป็นการดำเนินการ ดังนี้ 1.1 แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำฯ โดยใช้แรงงานเขต 1.2 แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำฯ โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบรายงาน สนน.01 ไม่เกินวันที่ 5 ของทุกเดือน พร้อมระบุปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน (ถ้ามี) และผลการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ต้องได้ร้อยละ 100 ภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 (คะแนนร้อยละ 45) 2. แผนการขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 แบ่งเป็นการดำเนินการ ดังนี้ 2.1 แผนการขุดลอกคู คลอง ฯ โดยใช้แรงงานเขต 2.2 แผนการขุดลอกคู คลอง ฯ โดยการจ้างเหมาหน่วยงานอื่นตามที่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (สำนักงานเขตพระนครมีคลองจำนวน 6 คลอง ซึ่งเป็นคลองขนาดเล็กไม่ต้องจ้างเหมาหน่วยงานอื่นสามารถใช้แรงงานเขตดำเนินการได้) ทั้งนี้ ให้รายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนฯ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักการระบายน้ำ ตามแบบรายงาน สนน.02 ไม่เกินวันที่ 5 ของทุกเดือน และการรายงานการดำเนินงานต้องครบถ้วน สมบูรณ์ สม่ำเสมอ และระบุปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน (ถ้ามี) (คะแนนร้อยละ 45) 2.3 สำนักงานเขตรายงานผลการปฏิบัติงานการรณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงในคู คลอง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน/เอกชนในพื้นที่หรือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ครั้ง (คะแนนร้อยละ 10) สูตรการคำนวณ : ผลคะแนนการดำเนินการตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ 100) ร้อยละความสำเร็จ = ร้อยละผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติฯ คูณ ด้วย 100 หาร ด้วยร้อยละความสำเร็จตามแผนปฏิบัติการฯ ที่สำนักงานเขตกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน - ร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน - ร้อยละ 90 - 99 เท่ากับ 4 คะแนน - ร้อยละ 80 - 89 เท่ากับ 3 คะแนน - ร้อยละ 70 - 79 เท่ากับ 2 คะแนน - ต่ำกว่าร้อยละ 70 เท่ากับ 1 คะแนน (ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

รายละเอียดของการเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. ประเมินผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา 1.1 วิเคราะห์/ประเมินผลการปฏิบัติ 1.2 ประเมินจุดอ่อนหรือปัญหาในการปฏิบัติ เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จและแนวทางแก้ไขในระยะต่อไป 2. สำรวจความพร้อม 2.1 ท่อระบายน้ำ (สำรวจความยาวท่อระบายน้ำที่ต้องล้างทำความสะอาด) 2.2 คู คลอง (สำรวจคู คลอง ที่มีความพร้อม และที่ต้องขุดลอก) 3. จัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการป้องกันปัญหาน้ำท่วม ประจำปี 2562 ประกอบด้วย แผนการเตรียมการตามภารกิจ ๒ ภารกิจ ดังนี้ 3.1 แผนการทำความสะอาด/ลอกท่อระบายน้ำ บูรณะซ่อมแซมฝาบ่อพัก ตะแกรงรับน้ำ และคันหิน 3.2 แผนการการขุดลอกคู-คลอง และเปิดทางน้ำไหล พร้อมทั้งข้อมูล ผลการประเมินการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาระบุมาในแผนฯ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
:๑.๔ - ปลอดภัยพิบัติ
:๑.๔.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ%
:๑.๔.๑.๑ กรุงเทพมหานครมีความพร้อมในการรับมือกับอุทกภัยทั้งจากน้ำฝนน้ำหนุนและน้ำหลาก เสริมสร้างศักยภาพและความสามารถด้านบุคลากรและเครื่องมือ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง