โครงการ/กิจกรรม ปีงบประมาณ : ของหน่วยงาน : 23000000
Home
Home SED
กรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานปกครองและทะเบียน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานตรวจสอบภายใน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** กองงานผู้ตรวจราชการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานประชาสัมพันธ์ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานกฎหมายและคดี สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์
สำนักอนามัย
สำนักการศึกษา
สํานักการโยธา
สํานักการระบายน้ำ
สํานักการคลัง
สํานักเทศกิจ
สํานักการจราจรและขนส่ง
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล
สํานักสิ่งแวดล้อม
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
สํานักพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตพระนคร
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
สำนักงานเขตบางรัก
สำนักงานเขตปทุมวัน
สำนักงานเขตยานนาวา
สำนักงานเขตดุสิต
สำนักงานเขตพญาไท
สำนักงานเขตห้วยขวาง
สำนักงานเขตพระโขนง
สำนักงานเขตบางกะปิ
สำนักงานเขตบางเขน
สำนักงานเขตมีนบุรี
สำนักงานเขตลาดกระบัง
สำนักงานเขตหนองจอก
สำนักงานเขตธนบุรี
สำนักงานเขตคลองสาน
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
สำนักงานเขตบางกอกน้อย
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สำนักงานเขตหนองแขม
สำนักงานเขตบางขุนเทียน
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
สำนักงานเขตดอนเมือง
สำนักงานเขตจตุจักร
สำนักงานเขตลาดพร้าว
สำนักงานเขตบึงกุ่ม
สำนักงานเขตสาทร
สำนักงานเขตบางคอแหลม
สำนักงานเขตบางซื่อ
สำนักงานเขตราชเทวี
สำนักงานเขตคลองเตย
สำนักงานเขตประเวศ
สำนักงานเขตบางพลัด
สำนักงานเขตจอมทอง
สำนักงานเขตดินแดง
สำนักงานเขตสวนหลวง
สำนักงานเขตวัฒนา
สำนักงานเขตบางแค
สำนักงานเขตหลักสี่
สำนักงานเขตสายไหม
สำนักงานเขตคันนายาว
สำนักงานเขตสะพานสูง
สำนักงานเขตวังทองหลาง
สำนักงานเขตคลองสามวา
สำนักงานเขตบางนา
สำนักงานเขตทวีวัฒนา
สำนักงานเขตทุ่งครุ
สำนักงานเขตบางบอน
2564
2563
2562
2561
แสดงข้อมูล
กราฟสถานะโครงการ
พิมพ์ออกไฟล์เป็น PDF
สำนักงานเลขานุการ
(1) กิจกรรมจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประชาชน/ ผู้รับบริการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 15/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้วรายงานเรื่องร้องเรียนในระบบเรื่องราวร้องทุกข์กรุงเทพมหานคร ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ประจำเดือนสิงหาคม 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 15 กันยายน 2563 มีทั้งหมดจำนวน 115 เรื่อง ดำเนินการชี้แจงเสร็จสิ้นแล้วจำนวน 108 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการจำนวน 7 เรื่อง ดังนี้ 1. เลขที่รับแจ้ง 990263/63 ของกองการกีฬา เกี่ยวกับสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) ถนนกำแพงเพชร 3 เขตจตุจักร ภายในสวนดังกล่าว บริเวณสนามเทนนิส เดิมเคยมีการปิดปรับปรุงซ่อมแซม ประมาณช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2562 แต่ปัจจุบันพบว่าพื้นสนามเทนนิสมีลักษณะพองขึ้นมา และหลุดร่อน เมื่อลูกเทนนิสกระทบกับพื้นแล้วจะไม่เด้งขึ้นมา เกรงอาจเป็นการปรับปรุงซ่อมแซมโดยไม่ได้มาตรฐาน ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบเเละเเก้ไขด้วย ศูนย์ฯ ประสานมาเพื่อตรวจสอบและดำเนินการ และโปรดพิจารณาให้ความคุ้มครองผู้ร้องและผู้เกี่ยวข้องอย่าให้ต้องรับภัย หรือความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ข้อมูลนั้น *** ขณะนี้ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) แจ้งกลุ่มงานออกแบบ สำนักงานเลขานุการแล้ว เพื่อให้ผู้รับเหมาเข้าไปตรวจสอบแล้ว แต่ขณะนี้มีฝนตกต่อเนื่องผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าไปปรับปรุงได้ คงค้าง จำนวน 61 วัน 2.เลขที่รับแจ้ง118674/63 ของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับ แจ้งเรื่องผ่าน Internet // www.bangkok.go.th/rongtook // หมายเลขเรื่อง 200801339 วันที่ 26 ส.ค. 63 เวลา 17.00 น. ดิฉันใช้บริการสระว่ายน้ำของศูนย์เยาวชนฯ ไทย-ญี่ปุ่น พบสมาชิกที่ลงสระ เพศชาย อายุ 50-60 ปี ศีรษะล้านแบบไข่ดาว ตรงส้นเท้าของคุณลุง มีแผลที่มีลักษณะกึ่งแผลเปิดเรื้อยรังกึ่งแผลตกสะเก็ดทั่วบริเวณสนเท้าทั้ง 2 ข้าง เดินขากะเผลกๆ มีลักษณะเป็นที่น่ารังเกียจ ขัดกับกฎของสระ ที่ห้ามผู้เป็นโรคผิวหนังที่เป็นที่น่ารังเกียจลงสระ ดังนั้น จึงขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลสระว่ายน้ำ ตรวจสอบสุขภาพของสมาชิกที่ใช้บริการเบื้องต้นอย่างเคร่งครัดก่อนให้ลงสระ เพื่อรักษาความสะอาดค่ะ โทรติดต่อกลับผู้ร้องแล้ว เพื่อทวนข้อมูล ไม่รับสาย เมื่อวันที่ 26/08/2563 เวลา 19.36 น. รายละเอียดเพิ่มเติมศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร ไทย-ญี่ปุ่น ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง ศูนย์ฯ ประสานมาเพื่อตรวจสอบและดำเนินการ และโปรดพิจารณาให้ความคุ้มครองผู้ร้องและผู้เกี่ยวข้องอย่าให้ต้องรับภัย หรือความไม่ชอบธรรมอันเนื่องมาจากการร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ ข้อมูลนั้น ***ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบดำเนินการ ***อยู่ระหว่างให้ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) ตรวจสอบและชี้แจง เรื่องคงค้าง จำนวน 20 วัน 3.เลขที่รับแจ้ง 112179/63 ของสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ เกี่ยวกับศูนย์เยาวชนสะพานสูง เจ้าหน้าที่ประจำห้องยิมออกกำลังกายไช้วาจาไม่สุภาพ แสดงกริยาไม่เหมาะสม ***ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ตรวจสอบชี้แจง คงค้าง จำนวน 13 วัน 4.เลขที่รับแจ้ง 121324/63 ของกองการกีฬา เกี่ยวกับศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ปิดป้ายประกาศงดใช้สนามฟุตบอลแต่มีการให้ทีมสโมสรเข้ามาใช้สนามฟุตบอล ***ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ตรวจสอบชี้แจงทั้งนี้ได้ประสานผู้ร้องแล้วว่าเนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์ควบคุมและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 คงค้าง จำนวน 5 วัน 5.เลขที่รับแจ้ง 126782/63 ของสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ เกี่ยวกับห้องน้ำผู้หญิงจำนวน 3 ห้อง ฝักบัวน้ำแรงกระจายและราวตากผ้าไม่แข็งแรง และขอให้เจ้าหน้าที่หมั่นทำความสะอาด อยู่ระหว่างให้รวบรวมเอกสารชี้แจง จำนวนวัน คงค้าง 5 วัน 6.เลขที่รับแจ้ง 127618/63 ของกองการกีฬา เกี่ยวกับศูนย์กีฬารามอินทรามีการใช้เครื่องขยายเสียงเปิดเสียงดังผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง อยู่ระหว่างให้ตรวจสอบชี้แจง จำนวนวัน คงค้าง 1 วัน 7.เลขที่รับแจ้ง 128677/63 ของศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) เกี่ยวกับการเปิดปิดประตูเข้าออกในการให้สมาชิกและคนทั่วไปเข้าออกในวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันบริการ อยู่ระหว่างให้ตรวจสอบชี้แจงชี้แจง จำนวนวัน คงค้าง 1 วัน
-
Print
(2) - กิจกรรมการจัดทำงบการเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ของ สวท.
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 14/11/2562 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ได้ปรับปรุงรายบัญชีที่ผิดพลาด และปรับปรุงรายการบัญชีให้เป็นไปตามเกณฑ์คงค้าง จัดทำกระดาษทำการ งบการเงิน และบัญชีมูลค่าทรัพย์สิน เสร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งได้จัดส่งงบการเงิน และบัญชีมูลค่าทรัพย์สิน ให้กองบัญชี สำนักการคลัง ตามหนังสือ ที่ กท 1201/3255 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งทันตามกำหนด
-
Print
(3) - กิจกรรมการจัดทำรายงานสรุปยอดทรัพย์สิน (งบทรัพย์สิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ของ สวท.
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : สิ้นสุดไตรมาสที่ 4 เตรียมจัดทำรายงานทรัพย์สินรายไตรมาส ของไตรมาสที่ 4 ส่งสำนักการคลังภายในกำหนดเวลา
-
Print
(4) กิจกรรมการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 26/08/2563 : สรุปผลการดำเนินงานภาพรวมนำเรียนผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรมฯ ทราบ และจัดส่งผลการดำเนินงานและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย
-
Print
(5) กิจกรรมการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : การเบิกจ่าย ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 งบประมาณหลังปรับโอน 1,170,101,997 บาท เบิกจ่ายแล้ว 928,993,817.23 บาท คิดเป็นร้อยละ 79.39
-
Print
กองนโยบายและแผนงาน
(6) กิจกรรมพัฒนาฐานข้อมูลของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 9/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว โดยได้ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูล ดังนี้ 1. table 1_45 bmi (ตารางร้อยละของชาว กทม. มีดัชนีมวลการ (bmi) อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน) 2. table thaistrong (ตารางร้อยละของชาว กทม. ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง) 3. table promote fiscalyear63 (จำนวนครั้งในการ ปชส. การให้บริการกีฬาและนันทนาการของ กทม./ปี 4. table 1_48 construction (ร้อยละของความสำเร็จเฉลี่ยในการก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานบริการกีฬาและนันนทนาการ) 5. table 1_48 joinactivity (จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมนันทหนาการของ กทม. เพิ่มขึ้นต่อปี) 6. table 1_49 standard (ร้อยละของผู้ใช้บริการในสถานที่บริการด้านกีฬาของกรุงเทพมหานครมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์มาตรฐาน) 7. table 1_50 amountsport (จำนวนการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่มีความหลากหลายและสอดคล้อง) 8. table 1_51 sportmatch (จำนวนครั้งในการจัดการการแข่งขันกีฬาหรือส่งนักกีฬาตัวแทนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศและ/หรืออาชีพต่อปี) 9. table 1_52 scholarship (จำนวนทุนการศึกษาที่ กทม. มีให้กับผู้ที่มีความสามารถโดเด่นด้านกีฬาและนันทนาการ) 10 table 2_1 seminar (ระดับความพึงพอใจของหน่วยงานที่จัดประชุมและนิทรรศการต่อการให้การสนับสนุนของกรุงเทพมหานคร) 11 table 2_4 tsystem (กรุงมหานครมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการท่องเที่ยว) 12 table 2_5 tourist (จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาให้ได้มาตรฐาน) 13 table 3_1 plurality2 (จำนวนชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนา) 14 table 3_2 museum (จำนวนชุดนิทรรศการที่จัดแสดงในแหล่งเรียนรู้ดานวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น) 15 table 3_3 plurality (่จำนวนเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมที่มีในกรุงเทพมหานคร) 16. 4_11 leaning_library (จำนวนเขตที่มีการสำรวจความต้องการ การเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกันความต้องการประชาชน) 17. 4_12 leaning_act (จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร) 18. 4_13 leaning_satisfaction (ระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย) 19. 4_4 plurality_media (จำนวนช่องทางการเผยแพร่ความรุ้ความเข้าใจด้านพหุวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานครอย่างหลากหลายช่องทาง) 20. 4_1 tourist_satisfactionsafety (ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อควมปลอดภัย) 21. 4_2 tourist_satisfactionservice (ระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการให้บริการด้านการท่องเที่ยว) 22. 4_3 tourist_media (จำนวนช่องทางในการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยว/ข้อมูลต่างๆ ด้านการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ครับ
-
Print
(7) กิจกรรมสนับสนุนผู้ตรวจราชการในการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 15/9/2563 : กองงานผู้ตรวจราชการ ได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการจากหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 2 ครั้ง โดยสรุปผลความพึงพอใจในส่วนของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เป็นดังนี้ ผลการสำรวจความพึงพอใจครั้งที่ 1 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.148 ผลการสำรวจความพึงพอใจครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เท่ากับ 4.272 สรุป ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ = (4.148 + 4.272 )/2 = 4.210
-
Print
(8) กิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับดัชนีมวลกายและการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 28/09/2563 : ดำเนินการจัดเก็บค่าดัชนีมวลกายของสมาชิกศูนย์เยาวชน และศูนย์กีฬา เดือนตุลาคม 2562 - กันยายน 2563 จำนวน 26,482 คน พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักปกติ จำนวน 10,824 คน คิดเป็นร้อยละ 40.87 รองลงมาคือ มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ภาวะอ้วนระดับ 2 จำนวน 6,143 คน คิดเป็นร้อยละ 23.20 ภาวะอ้วนระดับ 1 จำนวน 5,331 คน คิดเป็นร้อยละ 20.13 ภาวะอ้วนระดับ 3 จำนวน 2,234 คน คิดเป็นร้อยละ 8.44 และมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อย จำนวน 1,950 คน คิดเป็นร้อยละ 7.36 ตามลำดับ
-
Print
(9) กิจกรรมจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการด้านกีฬาของกทม.ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 24/09/2563 : จากการดำเนินการสำรวจพฤติกรรมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาของประชาชนกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจจากผู้ใช้บริการในศูนย์บริการสังกัดสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จำนวน 48 แห่ง (ศูนย์เยาวชน 36 แห่ง ศูนย์กีฬา 12 แห่ง) จำนวน 4,030 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.19 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 42.61 มีอายุระหว่าง 18 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.32 รองลงมาคือ มีอายุระหว่าง 41 - 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.57 และอายุต่ำกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 15.48 โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 41.39 รองลงมาคือ มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 คิดเป็นร้อยละ 18.61 ภาวะอ้วนระดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 18.16 น้ำหนักน้อย คิดเป็นร้อยละ 11.49 และภาวะอ้วนระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 4.39 ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 91.24 และไม่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา คิดเป็นร้อยละ 8.76 โดยผู้ที่ไม่ออกกำลังกายส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าไม่มีเวลา คิดเป็นร้อยละ 31.57 รองลงมาคือ ขี้เกียจ คิดเป็นร้อยละ 20.80 สภาพร่างกายไม่พร้อม คิดเป็นร้อยละ 16.42 ขาดแรงจูงใจ คิดเป็นร้อยละ 11.31 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงการออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรงในภาพรวม มีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์การออกกำลังกายและเล่นกีฬาของ WHO องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับประชาชนในแต่ละช่วงวัยในภาพรวม มีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง จำนวน 2,896 คน จากผู้ที่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3,749 คน คิดเป็นร้อยละ 77.25 โดยหลักเกณฑ์การออกกำลังกายและเล่นกีฬาของ WHO องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี ควรมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน โดยผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 76.76 สำหรับประชากรวัยผู้ใหญ่ (อายุ 18-64 ปี) ควรมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สำหรับกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง และ/หรือ อย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์ โดยมีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 77.98 และสำหรับประชากรวัยสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) มีข้อแนะนำเช่นเดียวกับประชากรวัยผู้ใหญ่ สัปดาห์ โดยมีผู้ที่ออกกำลังกายตามเกณฑ์เมืองไทยแข็งแรง คิดเป็นร้อยละ 74.13 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาโดยการเดิน คิดเป็นร้อยละ 15.77 รองลงมาคือ วิ่ง คิดเป็นร้อยละ 15.14 ฟิตเนส/เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย คิดเป็นร้อยละ 11.04 แอโรบิค คิดเป็นร้อยละ 8.01 ว่ายน้ำ คิดเป็นร้อยละ 6.19 โยคะ คิดเป็นร้อยละ 6.17 ลีลาศ เต้น แจ๊สแดนซ์ ซุมบ้า คิดเป็นร้อยละ 5.53 แบดมินตัน คิดเป็นร้อยละ 4.60 ฟุตบอล คิดเป็นร้อยละ 4.38 และจักรยาน คิดเป็นร้อยละ 4.29 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาในช่วงเวลาเย็น คิดเป็นร้อยละ 52.88 รองลงมาคือ ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาในช่วงเวลาเช้า คิดเป็นร้อยละ 16.49 ว่างจากภารกิจ คิดเป็นร้อยละ 12.35 ช่วงเวลากลางวัน คิดเป็นร้อยละ 12.16 และในช่วงเวลากลางคืน คิดเป็นร้อยละ 6.12 สำหรับสถานที่ที่ใช้ในการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ออกกำลังกาย/เล่นกีฬาที่สนามกีฬา ศูนย์กีฬา ศูนย์เยาวชน คิดเป็นร้อยละ 45.02 รองลงมาคือ ที่สวนสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 17.53 ที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 13.03 ลานออกกำลังกาย/ลานกีฬา คิดเป็นร้อยละ 11.88 ฟิตเนส/ยิมส์ คิดเป็นร้อยละ 9.79 ที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 2.15 โรงเรียน/มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 0.4 ในหมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 0.16 และสนามกอล์ฟ คิดเป็นร้อยละ 0.03 ตามลำดับ
-
Print
(10) การจัดเก็บสถิติจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : อยู่ระหว่างรอข้อมูลสถิติประจำเดือนกันยายน 2563 จากสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) กองการกีฬา
-
Print
(11) กิจกรรมประชาสัมพันธ์การให้บริการกีฬาและนันทนาการของ สวท.
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/9/2563 : ศูนย์เยาวชน จำนวน 35 แห่ง สังกัดสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์การให้บริการกีฬาและนันทนาการผ่าน Facebook ของศูนย์เยาวชนแต่ละแห่ง จำนวนทั้งสิ้น 15,545 ครั้ง ดังนี้ - เดือนตุลาคม 2562 จำนวน 719 ครั้ง - เดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวน 752 ครั้ง - เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 908 ครั้ง - เดือนมกราคม 2563 จำนวน 820 ครั้ง - เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 1,031 ครั้ง - เดือนมีนาคม 2563 จำนวน 871 ครั้ง - เดือนเมษายน 2563 จำนวน 1,814 ครั้ง - เดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 1,960 ครั้ง - เดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 2,133 ครั้ง - เดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 2,217 ครั้ง - เดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 2,320 ครั้ง - ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) จำนวน 7 ครั้ง ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมผ่านทาง website /facebook ของศูนย์ 1. งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 วันที่ลง 11 มกราคม 2563 2. กิจกรรมสร้างสัมพันธ์สร้างสุขในครอบครัว ครั้งที่ 1/2563 วันที่ลง 22 กุมภาพันธ๋ 2563 3. เรียนกีฬาและนันทนาการขั้นพื้นฐานหลักสูตร 3 เดือน วันที่ลง 27 ตุลาคม 2562 4. โครงการออกกำลังเพิ่มพลังชีวิต วันที่ลง 5 มกราคม2563 5. โครงการมหกรรมกีฬาและนันทนาการ ปี 2563 วันที่ลง 16 กุมภาพันธ์ 2563 6. โครงการเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563 วันที่ลง 1 สิงหาคม 2563 7. ถนนเด็กเดิน (Learning Bangkok) วันที่ลง 19 กันยายน 2563 กองการกีฬา ประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook ของกองการกีฬา จำนวน 6 ครั้ง ดังนี้ 1. กทม.เปิดหลักสูตรการอบรมผู้ฝึกสอนแอโรบิคกรุงเทพมหานคร โดยกองการกีฬา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว วันที่ลง 15 ตุลาคม 2562 2. กทม.รับสมัครคัดเลือกเยาวชนไปแข่งขันกีฬายุวชนโลก วันที่ลง 4 ธันวาคม 2562 3. กองการกีฬาจัดอบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปีงบประมาณ 2563 วันที่ลง 16 ธันวาคม 2562 4. กรุงเทพมหานคร จัดงานแถลงข่าวการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ประจำปี 2564 “กรุงเทพเกมส์” วันที่ลง 29 มกราคม 2563 5. กองการกีฬา เปิดอบรมผู้ฝึกสอนแอโรบิกระดับต้นของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 วันที่ 2 – 6 มีนาคม 2563 วันที่ลง 3 มีนาคม 2563 6. กทม. ติวเข้มยกระดับมาตรฐานผู้นำแอโรบิค (วันที่ 9 มีนาคม 2563 เวลา 09.30 น.) กรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการอบรมผู้ฝึกสอนแอโรบิคระดับกลาง ของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 วันที่ลง 9 มีนาคม 2563
-
Print
(12) การจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่มีความหลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ศูนย์เยาวชน ศูนย์กีฬาดำเนินการจัดกิจกรรมแห่งละ 1 กิจกรรมตามผลสำรวจ ซึ่งมีบางแห่งไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เป็นการรวมกลุ่มคน เช่น มวย เป็นต้น
-
Print
ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น)
(13) โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ครั้งที่ 15 ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 10/08/2563 : ดำเนินการจัดพิธีเชิดชูเกียรติผู้ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี 2563 ในวันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม 2563 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 โดยนายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่ รางวัลแก่เยาวชน ผู้เข้าร่วมพิธี ได้แก่ ผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ผู้อำนวยการเขตหรือผู้แทน ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ได้รับรางวัล และเพื่อนๆ ร่วมสถาบัน จำนวน 505 คน
-
Print
(14) โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมพัฒนานันทนาการเพื่อมวลชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 10/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ด้วยผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงมีความจำเป็นต้องงดการจัดบางกิจกรรม ส่งผลให้จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมลดน้อยลง จึงทำการคืนเงินงบประมาณ เป็นเงิน 409,500.-บาท สรุปผลการดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ ดังนี้ 3. โครงการส่งเสริมพัฒนานันทนาการเพื่อมวลชน 3.1 กิจกรรมปฐมนิเทศสมาชิก - ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 776 คน - ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2563 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 584 คน - ครั้งที่ 3/2563 ในวันที่ 29 มีนาคม 2563 งดการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) - ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 386 คน 3.2 กิจกรรมลานนันทนาการสร้างสรรค์ในวันว่าง ครั้งที่ 1 จัดกิจกรรมในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 188 คน กิจกรรมประกอบด้วย ศิลปะระบายสี, การให้ความรู้ เรื่อง สุขภาพ, ศิลปะประดิษฐ์, การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมมวยไทย, การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมนาฏศิลป์สากล (ฮิปฮอป), การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมกระบี่กระบองและดาบสากล, สาธิตการเล่นวู้ดบอลจากสมาชิกชมรมวู้ดบอล, การทายปัญหาชิงรางวัลของสมาชิกชมรมห้องสมุด และเกมนันทนาการ ครั้งที่ 2 จัดกิจกรรมในวันที่ 22 ธันวาคม 2562 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 245 คน กิจกรรมประกอบด้วย ศิลปะระบายสี, ศิลปะประดิษฐ์ดินสอหรรษา การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมมวยไทย, การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมนาฏศิลป์สากล (ฮิปฮอป), ชมรมนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทยประยุกต์ การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมกระบี่กระบองและดาบสากล กิจกรรมบันเทิงบนเวที และเกมนันทนาการ ครั้งที่ 3 จัดกิจกรรมในวันที่ 4 มกราคม 2563 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 298 คน กิจกรรมประกอบด้วยศิลปะระบายสี, ศิลปะประดิษฐ์สร้อยข้อมือ กิจกรรมบันเทิงบนเวที การทำขนมวาฟเฟิลจากผู้ปกครองชมรมนาฏศิลป์ การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทยประยุกต์ การแสดงความสามารถของสมาชิกดนตรีสากล (เปียโน ไวโอลิน) และเกมนันทนาการ ครั้งที่ 4 จัดกิจกรรมในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 315 คน กิจกรรมประกอบด้วย ศิลปะระบายสี, ศิลปะประดิษฐ์ดอกไม้วาเลนไทน์ กิจกรรมบันเทิงบนเวที การทำขนมวาฟเฟิลจากผู้ปกครองชมรมนาฏศิลป์ การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทยสากล (ฟรีสไตล์) การแสดงความสามารถของสมาชิกชมรมเทควันโด ชมรมมวยไทย และเกมนันทนาการ ครั้งที่ 5 – ครั้งที่ 10 งดการจัดกิจกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) 3.3 กิจกรรมประกวดแข่งขันกีฬาและนันทนาการสำหรับสมาชิกศูนย์เยาวชน เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ธ.ค. 62 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยรองผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (นายสมบูรณ์ หอมนาม) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 446 โดยมีการจัดการแข่งขันกีฬา รวม 4 ชนิด ได้แก่ ฟุตบอล เปตอง วู้ดบอล และแบดมินตัน จัดการประกวดกิจกรรมนันทนาการ รวม 3 ชนิด ได้แก่ เต้นประกอบเพลง ประติมากรรม (ปั้นดินน้ำมัน) และเล่านิทาน 3.4 กิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 - จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 4,545 คน 3.5 กิจกรรมค่ายกลางวันภาคฤดูร้อน กลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกฯ บุตรหลาน ข้าราชการ บุคลากร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน อายุระหว่าง 7 – 12 ปี จำนวน 50 คน ดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 9 – 10 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) และงดการจัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) มีกิจกรรมที่ทำการเรียนการสอน ดังนี้ 1. เทควันโดพื้นฐาน 2. ศิลปะะ ร้อง เต้น เล่นละคร 3. กีฬาพื้นฐาน 4. หรรษาภาษานิทาน 5. ผจญภัยในจินตนาการ 3.6 กิจกรรมรวมพลคนจิตอาสา เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ดำเนินการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) ถนนมิตรไมตรีบริเวณหน้ากองโรงงานช่างกล – หน้าธนาคารออมสิน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 180 คน โดยมีกิจกรรม ดังนี้ - เก็บขยะ - ทำความสะอาดล้านพื้นถนนมิตรไมตรี บริเวณหน้ากองโรงงานช่างกล – หน้าธนาคารออมสิน - ทาสีประตู 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) 3.7 กิจกรรมการเรียนการสอนกีฬาและนันทนาการขั้นพัฒนาทักษะ จำนวน 2 รุ่น เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย – ญี่ปุ่น) เสร็จเรียบร้อย ทั้ง 2 รุ่น มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 105 คน 3.8 กิจกรรมปิดเทอมเติมประสบการณ์ 3.9 กิจกรรมสร้างสัมพันธ์สร้างสุขในครอบครัว 3.10 กิจกรรมส่งเสริมศิลปะเพื่อการพัฒนา 3.11 กิจกรรมสมาชิกศูนย์ไทยห่างไกลยาเสพติด 3.12 กิจกรรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท - ลำดับที่ 3.8 – 3.12 งดการจัดกิจกรรม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
-
Print
(15) โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมกิจการสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/09/2563 : ดำเนินการจัดกิจกรรมการแสดงผลงานเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร “ถนนเด็กเดิน learning Bangkok” ประจำปี 2563 ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(16) โครงการออกกำลัง เพิ่มพลังชีวิต
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว สรุปผลการดำเนินงาน 1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีดัชนีมวลกาย (BMI) เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น ค่าเป้าหมายร้อยละ 70 กลุ่มที่อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 1 จำนวน 32 คน ดีขึ้น 23 คน คิดเป็นร้อยละ 71.88 กลุ่มที่อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 2 จำนวน 87 คน ดีขึ้น 61 คน คิดเป็นร้อยละ 70.11 กลุ่มที่อยู่ในภาวะอ้วนระดับ 3 จำนวน 52 คน ดีขึ้น 40 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ประกอบทางกายดีขึ้น ค่าเป้าหมาย ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย 171 คน องค์ประกอบทางกายดีขึ้น 140 คน คิดเป็นร้อยละ 81.87 3. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ค่าเป้าหมายร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมาย 171 คน มีความรู้เพิ่มขึ้น 171 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4. จัดทำคู่มือถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการจำนวน 1 ฉบับ อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำ
-
Print
(17) งานปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
กำลังดำเนินการ (70.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/09/2563 : ส่งแบบสัญญาเงินยืมสะสม ที่ กท 1203/855 ลงวันที่ 29 กันยายน 2563 เพื่อที่จะลงนามในสัญญาต่อไป
-
Print
(18) โครงการค่าใช้จ่ายโครงการมหกรรมกีฬาและนันทนาการ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 2020-3-18 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว - สรุปรายงานการจัดโครงการฯ เสนอผู้บริหารเรียบร้อยแล้ว - ชดใช้เงินยืมทดรองใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว สรุปผลดำเนินการจัดการแข่งขันกีฬาและประกวดกิจกรรมนันทนาการ โครงการมหกรรมกีฬาและนันทนาการ ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาและประกวดกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ การแข่งขันกีฬา 4 ประเภท ได้แก่ ฟุตบอล 7 คน แชร์บอล เปตอง ชักเย่อ และประกวดกิจกรรมนันทนาการ 4 กิจกรรม ได้แก่ ปั้นดินน้ำมัน ศิลปะประดิษฐื เต้นประกอบเพลง Dance Freestyle และเล่านิทาน กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยสมาชิกของศูนย์เยาวชน 35 แห่ง ศูนย์กีฬา 12 แห่ง และห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 15 แห่ง รวมผู้เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 2,930 คน 1. ศูนย์เยาวชน ที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ ศูนย์เยาวชนคลองสามวา ศูนย์เยาวชนสะพานพระราม 8 ศูนย์เยาวชนดอนเมือง ศูนย์เยาวชนสะพานสูง ศูนย์เยาวชนบางกะปิ ศูนย์เยาวชนคลองกุ่ม ศูนย์เยาวชนบางกอกใหญ่ ศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน ศูนย์เยาวชนวัดเวฬุราชิณ ศูนย์เยาวชนสวนอ้อย ศูนย์เยาวชนหลักสี่ ศูนย์เยาวชนจอมทอง ศูนย์เยาวชนวชิรเบญจทัศ ศูนย์เยาวชนเตชะวณิช ศูนย์เยาวชนวัดดอกไม้ ศูนย์เยาวชนทุ่งครุ ศูนย์เยาวชนวัดฉัตรแก้วจงกลณี ศูนย์เยาวชนลุมพินี ศูนย์เยาวชนจตุจักร ศูนย์เยาวชนวัดโสมนัส ศูนย์เยาวชนบ่อนไก่ ศูนย์เยาวชนบางเขน ศูนย์เยาวชนบางนา ศูนย์เยาวชนคลองเตย ศูนย์เยาวชนวัดธาติทอง ศูนย์เยาวชนเทเวศน์ ศูนย์เยาวชนมีนบุรี ศูนย์เยาวชนชัยพฤกษมาลา ศูนย์เยาวชนลาดกระบัง ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 2. ศูนย์กีฬา ที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ ศูนย์กีฬาอ่อนนุช ศูนย์กีฬารามอินทรา ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ (บางมด) ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ศูนย์กีฬาบึงหนองบอน ศูนย์กีฬามิตรไมตรี ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ 3. ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บางซื่อ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้มีนบุรี ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้คลองสามวา ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้บางขุนเทียน สรุปคะแนนรวมการแข่งขันกีฬาและประกวดกิจกรรมนันทนาการ โครงการมหกรรมกีฬาและนันทนาการ ประจำปี 2563 ได้แก่ - รางวัลคะแนนรวมด้านนันทนาการ ได้แก่ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ลาดกระบัง - รางวัลคะแนนรวมด้านกีฬา ได้แก่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) - รางวัลคะแนนรวมสูงสุด ได้แก่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)
-
Print
สำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้
(19) โครงการจัดงานวันเด็กแห่งชาติเขตพระราชฐานในพระองค์ ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 16/3/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(20) โครงการบริหารจัดการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
กำลังดำเนินการ (95.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 14/9/2563 : ยกเลิกการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ภายใต้โครงฯ ดำเนินการเฉพาะการค่าจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล เนื่องจากสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) กิจกรรมที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่ 1. กิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ดำเนินการจัดกิจกรรม เมื่อเดือนมกราคม 2563 2. กิจกรรม Bangkok City Library Showcase ดำเนินการจัดกิจกรรม ม.ค. - ก.พ. 63 กิจกรรมที่ขอยกเลิกการจัดกิจกรรม ได้แก่ 1. กิจกรรมตามรอยปราชญ์ศาสตร์พระราชา กำหนดดำเนินการในเดือน พ.ค. - มิ.ย. 63 2. กิจกรรมบางกอกทอล์ก (Bangkok Talk) กำหนดดำเนินการในเดือน ก.ค. 63 3. กิจกรรมประจำเดือน กำหนดดำเนินการในเดือน ต.ค. 62 - ส.ค. 63 ดำเนินการจัดกิจกรรมแล้ว 1 ครั้ง ส่วนที่เหลือยกเลิกกิจกรรมและดำเนินการคืนเงิน กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการจัดกิจกรรม ได้แก่ - ค่าบริหารจัดการหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นค่าจ้างเหมาบริการเป็นรายบุคคล เบิกจ่ายค่าจ้างเหมาประจำเดือนของเดือนสิงหาคมแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเตรียมการเบิกจ่ายประจำเดือนกันยายน 2563 จำนวนผู้เข้าใช้บริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - วันที่ 12 กันยายน 2563 จำนวน 279,125 คน จำนวนผู้เข้าศึกษาดูงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 - วันที่ 9 กันยายน 2563 รวม 26 หน่วยงาน จำนวน 505 คน
-
Print
(21) โครงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว 1. จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับฐานการเรียนรู้ ชุดนิทรรศการ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 2. วิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ - แต่งตั้งวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ จำนวน 9 คน ตามคำสั่งสวท.ที่ 260/2562 ลว. 27 ก.ย. 2562 - เบิกจ่ายค่าตอบแทน เดือนกันยายน 2563 จำนวนเงิน 223,560.-บาท เรียบร้อยแล้ว - ผลการดำเนินงานเดือนกันยายน 2563 1. นางสาวสุกานดา พุฒเสมอ วิทยากรกิจกรรมคหกรรม ดำเนินการสอนกิจกรรม แพนเค้กมินิ ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนหน้าประตูทางออกด้านหลังอาคาร 1 ชั้น 1 2. นางสาวปัญจพร เพียงโคกกรวด วิทยากรกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ดำเนินการสอนกิจกรรมฉีกเป็นเรื่อง และกิจกรรมภาพพิมพ์บับเบิ้ล ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนศิลปะ อาคาร 1 ชั้น 2 3. นางสาวโชติรส เมฆพยัพ วิทยากรกิจกรรมห้องสมุด ดำเนินการสอนกิจกรรม ไม้บรรทัด อ่าน อาน อ๊าน ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนห้องสมุด อาคาร 1 ชั้น 1 4. นางเอื้อมพร สุวรรณวัฒน์ วิทยากรกิจกรรมภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย ดำเนินการสอนกิจกรรมกระปุกหมูออมสิน ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนวิถีชุมชนสวนส้ม อาคาร 2 ชั้น 1 5. นางสาวธารารัตน์ โฆษิตอัมพรพัฒน์ วิทยากรกิจกรรมสิ่งประดิษฐ์ DIY ดำเนินการสอนกิจกรรม นักสำรวจรูปเรขาคณิต ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนรีไซเคิล อาคาร 2 ชั้น 2 6. นายจักรินทร์ กลั่นประดิษฐ์ วิทยากรกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ดำเนินการสอนกิจกรรม จรวดกระดาษ ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนไดโนเสาร์ อาคาร 1 ชั้น 3 7. นางสาวปลฉัตร กลิ่นบางพูด วิทยากรกิจกรรมหัตถกรรม ดำเนินการสอนกิจกรรมร้อยเดือนร้อยดาว ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนนิทรรศการ อาคาร 1 ชั้น 1 8. นางสาวอัญชนา บุญฑริกพรพันธุ์ วิทยากรกิจกรรมสันทนาการ ดำเนินการสอนกิจกรรม Music therapy ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนเวทีสันทนาการ อาคาร 1 ชั้น 1 9. นางสาววราภรณ์ สุวรรณวัฒน์ วิทยากรกิจกรรมศิลปะการแสดง ดำเนินการสอนกิจกรรมบีบๆ แปลงร่าง ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนตลาดน้ำสวนส้ม อาคาร 2 ชั้น 1 3. กิจกรรมวันเด็ก - ดำเนินการจัดกิจกรรมวันเด็กเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563 ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ) เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เกิดแรงบันดาลใจและแนวคิดใหม่ที่จะพัฒนาตนเองและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เกิดทักษะทางความคิดที่สามารถนำไปต่อยอด สร้างคุณค่าและประโยชน์แก่ตนเองและครอบครัว กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมการแสดงความสามารถของเด็กๆ กิจกรรมการผ้าขนหนูแปลงร่าง กิจกรรมลวดลายมหัศจรรย์ กิจกรรมลูกโป่งแฟนซี กิจกรรมสวนโหลแก้ว กิจกรรมวงล้อแสนสนุก กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล เกมส์สร้างสรรค์ และกิจกรรมตามโซนของพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2,033 คน - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 4. กิจกรรมปิดเทอมเติมประสบการณ์ - กำหนดจัดกิจกรรมเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563 (ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องจากพิพิธภัณฑ์เด็กฯ ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จะดีขึ้น) 5. จำนวนผู้ใช้บริการ เดือนตุลาคม 2562 จำนวน 8,662 คน เดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวน 5,817 คน เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 7,025 คน เดือนมกราคม 2563 จำนวน 9,324 คน เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 9,295 คน เดือนมีนาคม 2563 จำนวน 2,974 คน เดือนเมษายน 2563 ไม่มีผู้ใช้บริการ เดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 612 คน เดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 4,381 คน เดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 4,263 คน เดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 7,898 คน เดือนกันยายน 2563 จำนวน 6,334 คน หมายเหตุ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (จตุจักร) งดให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ลงวันที่ 19 มีนาคม 2563 เรื่อง งดกิจกรรมการให้บริการพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ตามประกาศสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เรื่อง เปิดให้บริการศูนย์เยาวชน พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ และศูนย์กีฬา เฉพาะกิจกรรมและกีฬาบางประเภท
-
Print
(22) กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 14/9/2563 : ดำเนินการสรุปผลการสำรวจความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้มีประสิทธิภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว โดยสรุปผลเป็นดังนี้ จากการสำรวจผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 347 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันเด็ก คิดเป็นร้อยละ 53.60 รองลงมาคือ เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนากระบวนการเรียนรู้สำหรับเยาวชน คิดเป็นร้อยละ 41.21กิจกรรมประจำเดือน คิดเป็นร้อยละ 2.88 และกิจกรรม Library Show Case คิดเป็นร้อยละ 2.31 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.98 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 35.16 มีสถานะเป็นนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 72.05 รองลงมาคือ เป็นประชาชนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 17.87 และเป็นข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 2.88 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นสมาชิกห้องสมุดฯ คิดเป็นร้อยละ 44.38 รองลงมาคือ ไม่เป็นสมาชิกห้องสมุดฯ คิดเป็นร้อยละ 28.24 และเป็นผู้ใช้บริการในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 23.05 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 63.11 รองลงมาคือ มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 13.26 และระดับมัธยมศึกษา/หรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 12.97 มีอายุต่ำกว่า 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 11 - 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.18 และอายุระหว่าง 31 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 8.65 ตามลำดับ ความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ/กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.417 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.34 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในประเด็นต่าง ๆ เรียงตามลำดับ เป็นดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความพึงพอใจต่อภาพรวมของกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.513 หรือคิดเป็นร้อยละ 90.26 2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ เห็นว่าได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.506 หรือคิดเป็นร้อยละ 90.12 3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความเห็นว่าสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.467 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.34 4. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ดูแลและประสานงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.462 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.24 5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความพึงพอใจต่อการได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.419 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.38 6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความพึงพอใจต่อวิทยากรหรือเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.399 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.98 7. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความพึงพอใจต่อเกมต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.291 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.82 8. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านฯ มีความเห็นว่าระยะเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.285 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.70
-
Print
(23) กิจกรรมสำรวจความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของประชาชนแต่ละช่วงวัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 28/9/2563 : สำรวจความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของประชาชนแต่ละช่วงวัยในด้านต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต จำนวน 5,721 คน โดยแบ่งการสำรวจออกเป็นภายในสำนักงานเขต 50 เขต คิดเป็นร้อยละ 49.41 และในศูนย์บริการของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ได้แก่ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร และห้องสมุดเคลื่อนที่ คิดเป็นร้อยละ 50.59 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.26 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 40.94 มีอายุระหว่าง 36-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 26.48 รองลงมาคือ อายุน้อยกว่า 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.66 อายุระหว่าง 18-35 ปี คิดเป็นร้อยละ 23.86 และอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 22.86 มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 28.86 รองลงมาคือ มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 22.76 และระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 21.78 โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 30.15 รองลงมาคือ มีอาชีพรับจ้าง/พนักงานบริษัท คิดเป็นร้อยละ 16.75 และเป็นข้าราชการ/ลูกจ้างหน่วยงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 11.99 ตามลำดับ ความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของประชาชนแต่ละช่วงวัยในด้านต่าง ๆ จำแนกตามช่วงวัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต จากการสำรวจความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของประชาชนจำแนกตามช่วงวัยในพื้นที่เขตต่าง ๆ ทั้ง 50 เขต พบว่าในแต่ละพื้นที่ประชาชนในช่วงวัยต่าง ๆ มีความต้องการการเรียนรู้อัธยาศัยในด้านต่าง ๆ เป็นดังนี้ 1. เขตคลองเตย ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี และ ช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตคลองเตย มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. เขตคลองสาน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งเรียนรู้และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เท่ากัน และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ มากที่สุด รองลงมาคือมีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตคลองสาน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 3. เขตคลองสามวา ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือมีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตคลองสามวา มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 4. เขตคันนายาว ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือมีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตคันนายาว มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 5. เขตจตุจักร ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือมีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตจตุจักร มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 6. เขตจอมทอง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตจอมทอง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 7. เขตดอนเมือง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตดอนเมือง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 8. เขตดินแดง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตดินแดง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 9. เขตดุสิต ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตดุสิต มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 10. เขตตลิ่งชัน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตตลิ่งชัน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 11. เขตทวีวัฒนา ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตทวีวัฒนา มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 12. เขตทุ่งครุ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตทุ่งครุ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 13. เขตธนบุรี ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตธนบุรี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ 14. เขตบางกอกน้อย ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางกอกน้อย มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ 908 ตามลำดับ 15. เขตบางกอกใหญ่ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 16. เขตบางกะปิ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางกะปิ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 17. เขตบางขุนเทียน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางขุนเทียน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 18. เขตบางเขน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางเขน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 19. เขตบางคอแหลม ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางคอแหลม มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 20. เขตบางแค ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางแค มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ 21. เขตบางซื่อ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางซื่อ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 22. เขตบางนา ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางนา มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 23. เขตบางบอน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางบอน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 24. เขตบางพลัด ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางพลัด มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 25. เขตบางรัก ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด 5 รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบางรัก มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 26. เขตบึงกุ่ม ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตบึงกุ่ม มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 27. เขตปทุมวัน ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตปทุมวัน มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 28. เขตประเวศ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตประเวศ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 29. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ 30. เขตพญาไท ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตพญาไท มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 31. เขตพระโขนง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตพระโขนง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 32. เขตพระนคร ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตพระนคร มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ 33. เขตภาษีเจริญ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตภาษีเจริญ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 34. เขตมีนบุรี ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตมีนบุรี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 35. เขตยานนาวา ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตยานนาวา มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 36. เขตราชเทวี ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตราชเทวี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 37. เขตราษฎร์บูรณะ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 38. เขตลาดกระบัง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตลาดกระบัง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 39. เขตลาดพร้าว ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตลาดพร้าว มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 40. เขตวังทองหลาง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตวังทองหลาง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 41. เขตวัฒนา ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตวัฒนา มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 42. เขตสวนหลวง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตสวนหลวง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 43. เขตสะพานสูง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด 333 รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ 220 ด้านแหล่งการเรียนรู้ 000 และด้านสังคมและวัฒนธรรม 915 ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตสะพานสูง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 44. เขตสัมพันธวงศ์ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะและด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด เท่ากัน รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 45. เขตสาทร ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตสาทร มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 46. เขตสายไหม ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านพัฒนาทักษะ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตสายไหม มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 47. เขตหนองแขม ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตหนองแขม มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 48. เขตหนองจอก ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านพัฒนาทักษะ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านพัฒนาทักษะ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตหนองจอก มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ 49. เขตหลักสี่ ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านแหล่งการเรียนรู้ ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตหลักสี่ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ 50. เขตห้วยขวาง ประชาชนในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงช่วงอายุ 18-35 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุ 36-59 ปี มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ประชาชนในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม และด้านแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ ในภาพรวมประชาชนทุกช่วงวัยในพื้นที่เขตห้วยขวาง มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านพัฒนาทักษะมากที่สุด รองลงมาคือ มีความต้องการการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในด้านสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านแหล่งการเรียนรู้ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ตามลำดับ
-
Print
(24) โครงการส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมในศูนย์เยาวชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 2020-9-24 : โครงการส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมในศูนย์เยาวชน ประกอบด้วย 1. กิจกรรมขั้นพื้นฐาน 1.1) ด้านกีฬาและนันทนาการ (ขั้นพื้นฐานและพัฒนาทักษะ) ได้แก่ ว่ายน้ำ ฟุตซอล แบดมินตัน บาสเกตบอล โยคะ ห้องฟิตเนส เทเบิลเทนนิส เปตอง เทนนิส แอโรบิคเพื่อสุขภาพ ลีลาศ เพื่อสุขภาพ เคนโด้ โยคะเพื่อสุขภาพ ไท้เก็ก ไม้พลองเพื่อสุขภาพ เทควันโด มวยไทย-สากล ประกวดแข่งขัน สังคมสงเคราะห์ ภาษาอังกฤษ 1.2) ด้านศิลปะการแสดง ได้แก่ นาฏศิลป์ไทย-สากล โขน ดนตรีไทย-สากล เปียโน-คีย์บอร์ด กีต้าร์โปร่ง แจ๊สแดนซ์ ขับร้องเพลง ฝึกสอนรวมวงดนตรีสากลแนวสตริง 1.3) ด้านช่างฝีมือ ได้แก่ ศิลปะ หัตถกรรม งานประดิษฐ์ ทำอาหาร-ขนม 1.4) ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี จัดกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมวันลอยกระทง เดือนพฤศจิกายน 2562 กิจกรรมวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหา- ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติและวันพ่อแห่งชาติ กิจกรรมอำลาปีเก่าต้อนรับปีใหม่ กิจกรรมวันมาฆบูชา 2. กิจกรรมพิเศษ 2.1) กิจกรรมนันทนาการสร้างสุข 2.1.1) กีฬาและนันทนาการ ได้แก่ แอโรบิกในน้ำ โยคะผู้สูงอายุ โยคะในน้ำ ไม้พลอง กิจกรรมเข้าจังหวะ เปตอง ไลน์แดนซ์ กายภาพบำบัด ลีลาศ ขับร้องเพลง นาฏศิลป์ รำวงย้อนยุค รำมวยไทย รำมวยจีน เต้นซูมบ้า แจ๊สแดนซ์ สอนขิม สอนนวดเพื่อสุขภาพ ดนตรีพื้นบ้าน คหกรรม ศิลปะ นันทนาการ ธรรมมะผู้สูงอายุ ธรรมมะบำบัด สวดมนต์ ฝึกสมาธิ คอมพิวเตอร์ 2.1.2) กิจกรรมฝึกสอนภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน 3. งดการจัดกิจกรรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมสังคมและวัฒนธรรมในศูนย์เยาวชน ทุกกิจกรรมเนื่องจากปิดการให้บริการภายในศูนย์เยาวชนทุกแห่ง ในสังกัดสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ 4. เริ่มเปิดศูนย์เยาวชนเพื่อให้บริการกิจกรรมตามมาตรการผ่อนปรน ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ทำให้ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ โดยยกเว้นการดำเนินกิจกรรมบางประเภท และเปิดบริการทุกกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2563 ทั้งนี้ กิจกรรมที่ยกเลิก และคืนเงินเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ - กิจกรรมปิดเทอมเติมประสบการณ์ - กิจกรรมบันเทิงเริงลีลาศ - กิจกรรมทัศนศึกษา - กิจกรรมวันแสดงผลงานศูนย์เยาวชน ประจำปี พ.ศ. 2563 - กิจกรรมพิเศษวันสำคัญ ได้แก่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันแม่
-
Print
(25) โครงการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 3/3/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
-
Print
(26) ปรับปรุงศูนย์เยาวชนวัดธาตุทอง
กำลังดำเนินการ (90.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/06/2563 : ดำเนินการจัดทำร่างสัญญา
-
Print
(27) ปรับปรุงศูนย์เยาวชนบางขุนเทียน
กำลังดำเนินการ (40.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/5/2563 : เผยแพร่รับฟังคำวิจารณ์ 21-26 พ.ค. 63 ปรากฎว่าไม่มีผู้เสนอแนะวิจารณ์แต่อย่างใด จึงดำเนินการประกาศประกวดราคาจ้าง ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2563 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2563 (10 วัน ทำการ) กำหนดเสนอราคาวันที่ 15 มิ.ย. 2563
-
Print
(28) ปรับปรุงศูนย์เยาวชนลาดกระบัง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 2020-9-30 : ลงนามในสัญญาแล้ว วันที่ 29 ก.ย. 2563
-
Print
(29) งานก่อสร้างหลังคาคลุมสระว่ายน้ำ
กำลังดำเนินการ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/09/2563 : 1. ศูนย์เยาวชนคลองสามวา / ดำเนินการประกวดราคาใหม่ อยู่ระหว่างคณะกรรมการพิจารณาผลฯ 2. ศูนย์เยาวชนจตุจักร / ดำเนินการประกวดราคาใหม่ ประกาศผู้ชนะ วันที่ 17 ก.ย. 2563 3. ศูนย์เยาวชนดอนเมือง / ดำเนินการประกวดราคาใหม่ ประกาศผู้ชนะ วันที่ 17 ก.ย. 2563 4. ศูนย์เยาวชนบางแค (เรืองสอน) / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563 5. ศูนย์เยาวชนสะพานสูง / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563 6. ศูนย์เยาวชนหนองจอก / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563 7. ศูนย์เยาวชนทวีวัฒนา / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563 8. ศูนย์เยาวชนลุมพินี / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563 9. ศูนย์เยาวชนบางกะปิ / ลงนามในสัญญา 30 กันยายน 2563
-
Print
(30) โครงการก่อสร้างศูนย์เยาวชนวัดดอกไม้
กำลังดำเนินการ (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/09/2563 : นายเกรียงยศ สุดลาภา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียด และปรับลดวงเงินจากเดิม 33,920,000 บาท เปลี่ยนแปลงเป็น 32,270,000 บาท ลงวันที่ 1 ก.ย.2563 และนายพิชญา นาควัชระ รองปลัดกรุงเทพมหานครปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ลงวันที่ 1 ก.ย.2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
-
Print
(31) กิจกรรมการรับรองคุณภาพและมาตรฐานของศูนย์เยาวชน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/9/2563 : ดำเนินการตรวจประเมินศูนย์เยาวชน และประเมินผลเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งระดับศูนย์เยาวชน ดังนี้ 1. ศูนย์เยาวชนมิติใหม่ จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ บางกะปิ สะพานสูง หนองจอก จตุจักร ทวีวัฒนา ดอนเมือง ลุมพินี บางแค (เรืองสอน) บางขุนเทียน คลองสามวา บางกอกใหญ่ เกียกกาย เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 56 ข้อ ผ่าน 56 ข้อ 12 ศูนย์ คิดเป็น ร้อยละ 100 2. ศูนย์เยาวชน ระดับ A จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ วัดชัยพฤกษมาลา จอมทอง ทุ่งครุ คลองกุ่ม บ่อนไก่ คลองเตย บางนา ลาดกระบัง มีนบุรี สะพานพระราม 8 สะพานพระราม 9 หลักสี่ เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 54 ข้อ ผ่าน 54 ข้อ 12 ศูนย์ คิดเป็น ร้อยละ 100 3. ศูนย์เยาวชน ระดับ B จำนวน 11 ศูนย์ ได้แก่ วัดโสมนัส เทเวศร์ สวนอ้อย บางเขน เตชะวณิช วัดฉัตรแก้วจงกลณี วัดเวฬุราชิณ อัมพวา วัดธาตุทอง วัดดอกไม้ วชิรเบญจทัศ เกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 54 ข้อ ผ่าน 54 ข้อ 11 ศูนย์ คิดเป็น ร้อยละ 100
-
Print
(32) ปรับปรุงศูนย์เยาวชนคลองเตย
กำลังดำเนินการ (97.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/09/2563 : สำนักการคลังอนุมัติเงินยืมสะสม วันที่ 30 ก.ย.2563 เป็นเงิน 12,180,000.- บาท
-
Print
(33) โครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 14/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
-
Print
(34) โครงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว 1. จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์สำหรับฐานการเรียนรู้ ชุดนิทรรศการ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 2. วิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ - แต่งตั้งวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ จำนวน 10 คน ตามคำสั่งสวท.ที่ 262/2562 ลว.30 ก.ย. 2562 - เบิกจ่ายค่าตอบแทน เดือนกันยายน 2563 จำนวนเงิน 248,400.-บาท เรียบร้อยแล้ว - ผลการดำเนินงานเดือนกันยายน 2563 1. นายกัญจน์ มารัตนเกียรติ วิทยากรกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ดำเนินการสอนกิจกรรม Galaxy and Tree ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซน Art Studio 2. นายพิษณุ ไชยชมพู วิทยากรกิจกรรมครัวไทยวัยจิ๋ว ดำเนินการสอนกิจกรรมแครกเกอร์พิซซ่า ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนครัวไทยวัยจิ๋ว 3. นายวิทยา เอมาวัฒน์ วิทยากรกิจกรรมลานสร้างสรรค์ ดำเนินการสอนกิจกรรมวาดภาพลายเส้นการ์ตูน และกิจกรรมการเขียนภาพลายไทย ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนลานสร้างสรรค์ 4. นางสาวพิริยาภรณ์ วงค์วิเศษ วิทยากรกิจกรรมวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ ดำเนินการสอนกิจกรรมช่วยป้าแยกหน่อย ตามองไม่เห็น ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ 5. นางสาววรางคณา บุญเม่น วิทยากรกิจกรรมสโมสรนักประดิษฐ์ ดำเนินการสอนกิจกรรมนาฬิกาทราย ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนสโมสรนักประดิษฐ์ 6. นายทิชากร จะมะรี วิทยากรกิจกรรมวัฒนธรรมอาเซียน ดำเนินการสอนกิจกรรมสานกำไลข้อมือแสนสวย ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนโลกทั้งผองพี่น้องกัน 7. นางสาวขวัญชนก หนูทอง วิทยากรกิจกรรมละครโรงเล็ก ดำเนินการสอนกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมุติ นิทานเรื่อง หนูนิด ประหยัดอดออม ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนละครโรงเล็ก 8. นางสาวธนัชพร จึงแย้มปิ่น วิทยากรกิจกรรมห้องสมุดสร้างสรรค์ ดำเนินการสอนกิจกรรมตุ๊กตาล้มลุก ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนห้องสมุดสร้างสรรค์ 9. นายภาคภูมิ ศรีงามผ่อง วิทยากรกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการสอนกิจกรรม พระราชาหาของ ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซนเมืองสายรุ้ง 10. นางสาววรางคณา พรหมประดิษฐ วิทยากรกิจกรรม DIY Space ดำเนินการสอนกิจกรรมดูฉันโต ( WATCH ME GROW ) ในวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00 – 16.00 น. ณ โซน DIY Space 3. กิจกรรมวันเด็ก - ดำเนินการจัดกิจกรรมวันเด็กเนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2563 ในวันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2563 เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) เพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับเด็ก และเยาวชน เพื่อให้เด็ก และเยาวชนได้พัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เกิดแรงบันดาลใจและแนวคิดใหม่ที่จะพัฒนาตนเองและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เกิดทักษะทางความคิดที่สามารถนำไปต่อยอด สร้างคุณค่าและประโยชน์แก่ตนเองและครอบครัว ภายใต้แนวคิด “พลังเมล็ดพันธุ์ สรรสร้างความคิด ปลุกชีวิตเมืองสีเขียว” ภายในงาน เด็กได้เรียนรู้เรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ ที่จะต้องถูกบ่มเพาะ ปลูกฝัง พัฒนาทางความคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บ้านและชุมชนกลายเป็นเมืองสีเขียวที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยพลังจากสองมือเล็ก ๆ ของ “เมล็ดพันธุ์” กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย กิจกรรมการแสดงความสามารถของเด็กๆ กิจกรรมการแสดง Puppet Show & Junk Stomp กิจกรรมทอล์คโชว์ “เด็กยุคดิจิตัล” กิจกรรม “ศิลปะสร้างสรรค์กับอาจารย์วิทยา” กิจกรรมสอยดาว กิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัล กิจกรรม Lucky draw และกิจกรรมจากหน่วยงานต่าง ๆ กิจกรรมตามโซนของพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) 17 โซน ได้แก่ โซนครัวไทยวัยจิ๋ว โซนวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ โซนนักสืบไดโนเสาร์ โซน Art Studio โซนโลกทั้งผองพี่น้องกัน โซนอัศจรรย์ตัวฉันเอง โซนมุมมองพิศวง โซนสโมสรนักประดิษฐ์ โซนละครโรงเล็ก โซนสร้างเมืองของเรา โซนสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์ โซนสวนหลังบ้าน โซนห้องสมุดสร้างสรรค์ โซนเมืองสายรุ้ง โซนหอผจญภัยในป่า โซนสวนน้ำ และอาคารจักรวาล มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8,716 คน - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 4. กิจกรรมปิดเทอมเติมประสบการณ์ - กำหนดจัดกิจกรรมเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2563 (ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องจากพิพิธภัณฑ์เด็กฯ ปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 จะดีขึ้น) 5. จำนวนผู้ใช้บริการ เดือนตุลาคม 2562 จำนวน 32,917 คน เดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวน 24,674 คน เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 24,079 คน เดือนมกราคม 2563 จำนวน 31,334 คน เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 15,279 คน เดือนมีนาคม 2563 จำนวน 2,651 คน เดือนเมษายน 2563 ไม่มีผู้ใช้บริการ เดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 1,280 คน เดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 8,273 คน เดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 7,777 คน เดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 14,736 คน เดือนกันยายน 2563 จำนวน 8,849 คน หมายเหตุ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) งดให้บริการตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ลงวันที่ 19 มีนาคม 2563 เรื่อง งดกิจกรรมการให้บริการพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) และพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2 (ทุ่งครุ) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ตามประกาศสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 เรื่อง เปิดให้บริการศูนย์เยาวชน พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ และศูนย์กีฬา เฉพาะกิจกรรมและกีฬาบางประเภท
-
Print
กองการกีฬา
(35) โครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/7/2563 : ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อย กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้ 1. การจัดการแข่งขัน BMA FUTSAL 2020 จัดกิจกรรม ก.ค. 63 อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว สำหรับงบประมาณที่โอนให้สำนักงานเขต โอนเงินให้สำนักงานเขตแล้ว ปลัดกทม. อนุมัติโอนเมื่อวันที่ 18 พ.ย.62 อนุมัติเงินประจำงวดแล้วสำหรับส่วนที่เหลือ จัดการแข่งขันทั้งหมด 5 รุ่น คือ รุ่น 12 ปี , 15 ปี , 18 ปี , ประชาชนทั่วไป ชาย และ รุ่น 18 ปี หญิง อยู่ระหว่างรับสมัครการแข่งขันรอบระดับกรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 63 กำหนดการแข่งขันรองระดับกรุงเทพมหานคร วันที่ 18 ก.ค. - 31 ส.ค. 63 ยกเลิกจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19อนุมัติโอนเข้างบกลางแล้ว 2. การจัดงานวันเด็ก ประจำปี 2562 จัดกิจกรรม เดือน ม.ค. 63 อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว จัดกิจกรรมเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563 โดยดำเนินการจัดกิจกรรม ณ ศูนย์กีฬา 3 ศูนย์ ดังนี้ 2.1 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมการแสดงดนตรี กิจกรรมสนุกสนานรื่นเริงสำหรับเด็ก เบิกจ่ายเรียบร้อย 2.2 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จัดกิจกรรมการแสดงดนตรี กิจกรรมสนุกสนานรื่นเริงสำหรับเด็ก เบิกจ่ายเรียบร้อย 2.3 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (บางบอน) จัดกิจกรรมการแสดงดนตรี กิจกรรมสนุกสนานรื่นเริงสำหรับเด็ก เบิกจ่ายเรียบร้อย 3. การจัดการแข่งขันกีฬาข้าราชการและลูกจ้าง กทม. ประจำปี 2563 จัดกิจกรรม ธ.ค. 62 อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว โอนเงินให้สำนักงานเขตและสำนักแล้ว ปลัด กทม.อนุมัติโอนเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 62 ดำเนินการแข่งขันเสร็จสิ้น จัดการแข่งขันทั้งสิ้น 12 ชนิดกีฬา ดังนี้ ฟุตบอล , ฟุตซอล , แชร์บอล , แบดมินตัน , เปตอง , บาสเกตบอล , เทเบิลเทนนิส , เซปักตระกร้อ , กรีฑา , เทนนิส , หมากรุก , วู้ดบอล และมอบรางวัลเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2562 ผลการแข่งขันสามารถดูได้ที FaceBook กองการกีฬา เบิกจ่ายเรียบร้อย จำนวน 2,200,270.- บาท 4. การจัดการแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุ ประจำปี 2563 จัดกิจกรรมก.ค. - ส.ค. 63 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ยกเลิกจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63
-
Print
(36) โครงการพัฒนาการบริหารจัดการกีฬาและการออกกำลังกาย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/9/2563 : 1. กิจกรรมปฐมนิเทศอาสาสมัครลานกีฬา จัดกิจกรรม 27 ธ.ค. 62 จัดกิจกรรม 27 ธ.ค. 62 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น) อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ได้รับอนุมัติคำสั่งผู้เช้ารับการปฐมนิเทศ และคำสั่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการเรียบร้อย โดยมีผู้เข้าร่วมปฐมนิเทศ ทั้งสิ้น 427 คน และเจ้าหน้าที่ 30 คน รวมทั้งสิ้น 457 คน เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 2. กิจกรรมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานคณะกรรมการบริหารสโมสรกีฬาสำนักงานเขต จัดกิจกรรม พ.ค. 63 ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 3. กิจกรรมอบรมผู้ฝึกสอนแอโรบิค ระดับต้นและระดับกลางของกรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมเดือน มี.ค. 63 จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-6 มี.ค. 63 รุ่นที่2 ระหว่างวันที่ 9-13 มี.ค 63 ดำเนินการเสร็จสิ้น รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 2-6 มี.ค. 63 มีผู้เข้าร่วมการอบรม 100 คน รุ่นที่2 ระหว่างวันที่ 9-13 มี.ค. 63 มีผู้เข้าร่วมการอบรม 100 คน เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 4. กิจกรรมอบรมสัมมนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานลูกจ้างกองการกีฬา จัดกิจกรรม 26-27 กุมภาพันธ์ 2563 อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว เลื่อนการจัดกิจกรรมเป็นวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเอเชีย ได้รับอนุมัติคำสั่งผู้เข้ารับการอบรมเรียบร้อย ดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น ผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 73 คน ประกอบด้วย ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว สังกัดกองการกีฬา และเจ้าหน้าที่ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 83 คน เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 5. กิจกรรมอบรมสัมมนาศึกษาดูงานการพัฒนางานด้านกีฬา จัดกิจกรรม 4-7 กุมภาพันธ์ 2563 จ.ตาก ดำเนินการเสร็จสิ้น กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการสังกัดกองการกีฬา จำนวน 84 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 99 คน เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 6. กิจกรรมประกวดลานกีฬาดีเด่นของกรุงเทพมหานคร กทม. มอบรางวัลลานกีฬาดีเด่นและยอดนักพัฒนาลานกีฬากรุงเทพมหานคร ประจำปี 63 เมื่อวันที่ 17 ก.ย.63 เวลา 14.00 น. : พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดลานกีฬาดีเด่นกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 พร้อมยกย่องยอดนักพัฒนาลานกีฬาและอาสาสมัครลานกีฬาเป็นบุคคลตัวอย่างช่วยดูแลลานกีฬาให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมกีฬาชุมชน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ทุกที่ ตลอดจนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับสำนักงานเขตและบุคลากรที่ทำคุณงามความดีในการส่งเสริมและพัฒนาลานกีฬากรุงเทพมหานคร โดยมี คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว หัวหน้าส่วนราชการในสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมพิธี ณ อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร โดย สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นขวัญกําลังใจให้กับสำนักงานเขตและบุคคลที่ทำคุณงามความดีในการส่งเสริมและพัฒนาลานกีฬากรุงเทพมหานคร ทั้งด้านกายภาพ การบริหารจัดการ การจัดกิจกรรม และสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาลานกีฬาที่มีมาตรฐานสำหรับการออกกําลังกายและเล่นกีฬา ซึ่งลานกีฬานั้นเป็นสถานที่สำคัญในการส่งเสริมกีฬาเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัยในชุมชนที่เข้าถึงความต้องการในการออกกําลังกายและเล่นกีฬาของประชาชนที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยใช้ลานกีฬาเป็นเครื่องมือสร้างความแข็งแรงทางร่างกาย จิตใจ ทำให้ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม ความมีวินัยต่อตนเอง ความมีน้ำใจนักกีฬา และได้มีโอกาสทางสังคมในการสร้างความสัมพันธ์ การทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน ซึ่งผู้ได้รับรางวัลทุกท่านมีส่วนในการผลักดันให้ลานกีฬามีการพัฒนาเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองสุขภาพดีต่อไป สําหรับการประกวดลานกีฬาดีเด่นของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563 ได้คัดเลือกลานกีฬาดีเด่นจากคณะกรรมการคัดเลือกลานกีฬาดีเด่นกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งลานกีฬาเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ลานกีฬาโรงเรียน ลานกีฬาชุมชน และลานกีฬาสาธารณะ แบ่งการประกวดเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเขต ระดับกลุ่มเขต และระดับกรุงเทพมหานคร ซึ่งลานกีฬาดีเด่นระดับกรุงเทพมหานครจะได้รับเงินรางวัล โล่รางวัล และประกาศนียบัตรจากกรุงเทพมหานคร โดยรางวัลชนะเลิศได้รับเงินรางวัล 120,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท และรางวัลชมเชยได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท รางวัลยอดนักพัฒนาลานกีฬาจาก 6 กลุ่มเขต ได้รับโล่รางวัล และเงินรางวัล 15,000 บาท และรางวัลอาสาสมัครลานกีฬาดีเด่นจาก 6 กลุ่มเขต ได้รับของที่ระลึกและเงินรางวัล 10,000 บาท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้แทนลานกีฬา ยอดนักพัฒนาลานกีฬาและอาสาสมัครลานกีฬา รวมถึงนำไปปรับปรุงพัฒนาลานกีฬาให้ได้มาตรฐานและจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ ลานกีฬาดีเด่นที่ชนะการประกวด และได้รับรางวัลในระดับกรุงเทพมหานคร มีจํานวน 18 แห่ง จากลานกีฬาทั้งหมด 1,090 แห่ง ดังนี้ 1. ประเภทลานกีฬาโรงเรียน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ลานกีฬาโรงเรียนวัดนิมมานรดี รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ลานกีฬาโรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ลานกีฬาโรงเรียนวัดเวฬุวนาราม และรางวัลชมเชย ได้แก่ ลานกีฬาโรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม ลานกีฬาโรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล และลานกีฬาโรงเรียนวัดโสมนัส 2. ประเภทลานกีฬาชุมชน รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ลานกีฬาหมู่บ้านพระปิ่น 2 บรมราชชนนี 70 รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ลานกีฬาชุมชนหมู่บ้านเสนานิเวศน์ โครงการ 1 รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ลานกีฬาชุมชนที่พักอาศัยส่วนกลางกองทัพเรือ รางวัลชมเชย ได้แก่ ลานกีฬาชุมชนแฟลตการรถไฟ ลานกีฬาเฟื่องฟ้าวิลเลจ ลานกีฬาคริสตจักรประชาคม ซอยแม่เนี้ยว แยก 3 3. ประเภทลานกีฬาสาธารณะ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ลานกีฬาสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ลานกีฬาสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ลานกีฬาทางแยกต่างระดับถนนกาญจนาภิเษก ถนนเพชรเกษม (สวนเพชรกาญจนารมย์) รางวัลชมเชย ได้แก่ ลานกีฬาสวนรมณีนาถ ลานกีฬาสถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี และลานกีฬาสำนักงานเขตจอมทอง ในส่วนของรางวัลยอดนักพัฒนาลานกีฬา จากกลุ่มเขต 6 กลุ่มเขต มีดังนี้ นายบริบูรณ์ ขุนคงมี (กลุ่มกรุงเทพใต้) สำนักงานเขตสวนหลวง นายวรเมศ จงโอฬารดำรง (กลุ่มกรุงเทพกลาง) สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ นายปกรณ์ เพ็ญสุวรรณ (กลุ่มกรุงเทพตะวันออก) สำนักงานเขตบางกะปิ นายสุพงศ์ โชติพันธุ์ (กลุ่มกรุงธนใต้) สำนักงานเขตบางขุนเทียน นายอาคาร วงษ์อนัน (กลุ่มกรุงเทพเหนือ) สำนักงานเขตบางซื่อ นายมนัส บุญธรรม (กลุ่มกรุงธนเหนือ) สำนักงานเขตบางกอกน้อย รางวัลอาสาสมัครลานกีฬาดีเด่น จาก 6 กลุ่มเขต มีดังนี้ นายพัฒน์ ทองสุขดี (กลุ่มกรุงเทพเหนือ) สำนักงานเขตจตุจักร น.ส.ณัฐวรรณ วิเศษสิงห์ (กลุ่มกรุงธนเหนือ) สำนักงานเขตบางกอกน้อย นางณัฏฐา ชาวบ้านเกาะ (กลุ่มกรุงเทพใต้) สำนักงานเขตสวนหลวง นายฤทธิรงค์ ศิริยา (กลุ่มกรุงเทพตะวันออก) สำนักงานเขตลาดกระบัง นายมนตรี ทองคลอด (กลุ่มกรุงเทพกลาง) สำนักงานเขตดินแดง และนายฐกฤษ์ สะกะอิ (กลุ่มกรุงธนใต้) สำนักงานเขตทุ่งครุ 7. ค่าตอบแทนอาสาสมัครลานกีฬา เบิกจ่ายเป็นประจำทุกเดือน อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินประจำงวดสำหรับค่าใช้จ่ายเดือน มิ.ย. - ก.ย.63
-
Print
(37) กิจกรรมมหกรรมงานให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 27/8/2563 : เนื่องจากประสานกับสำนักงานนันทนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ ปรากฏว่าจากกำหนดการเดิมที่จะมีการแสดงผลงานนิทรรศการศูนย์เยาวชน ซึ่งกองการกีฬาจะร่วมจัดมหกรรมกีฬาในงานด้วย แต่เนื่องจากติดปัญหา Covid -19 ทำให้ต้องยกเลิกการจัดและคืนเงินในส่วนกิจกรรมนี้ไป ทางกองการกีฬาเลยไม่ได้จัดมหกรรมงานให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย แต่ได้มีการจัดทดสอบสมรรถภาพทางกายจำนวน 6 ครั้ง ให้กับประชาชนผู้มาใช้บริการและมีการเผยแพร่การให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายแก่ผู้มาทดสอบสมรรถภาพในแต่ละครั้ง ดังนี้ 1. ศูนย์กีฬามิตรไมตรี ระหว่างวันที่ 20-22 ม.ค. 63 ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 66 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 59 คน คิดเป็นร้อยละ 89.39 2. ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ ระหว่างวันที่ 23-25 ม.ค. 63 ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 66 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60 คน คิดเป็นร้อยละ 90.90 3. ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ ระหว่างวันที่ 26-28 ม.ค. 63 ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 60 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 55 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66 4. ศูนย์กีฬารามอินทรา ระหว่างวันที่ 29-31 ม.ค. 63 ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 61 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 91.80 5. ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 11-13 ก.พ. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 62 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32 6. ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ระหว่างวันที่ 17-19 ก.พ. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 63 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 57 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 รวมผู้เข้าร่วมทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น 378 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น จำนวน 343 คน คิดเป็นร้อยละ 90.74
-
Print
(38) โครงการปรับปรุงศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (บางบอน)
กำลังดำเนินการ (55.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/9/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน.....ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2563-2564) วงเงินทั้งโครงการ 65,480,000.-บาท ปี 2563 26,192,000.-บาท ปี 2564 39,288,000.-บาท - ประกาศเชิญชวนเมื่อวันที่ 20 - 30 ก.ค.63ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาเมื่อวันที่ 31 ก.ค.63 บริษัท ซีวิล มาสเตอร์ สปอร์ต โปร จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 58,990,000 บาท - อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ตรวจร่างสัญญาเรียบร้อย และขอกันเงินแบบไม่มีหนี้
-
Print
(39) โครงการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/7/2563 : ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อย อยู่ระหว่างขออนุมัติจัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการดังนี้ 1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ดำเนินการจัดอบรมเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 16-20 ธ.ค. 62 ณ ห้องประชุมชั้น 2 กองการกีฬา กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมอบรม อาสาสมัครลานกีฬา และศูนย์กีฬา ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์กีฬา จำนวน 50 คน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 10 คน เบิกจ่ายเสร็จสิ้นเป็นเงิน 134,750.- บาท 2. ค่าใช้จ่ายในการทดสอบสมรรถภาพทางกาย จัดกิจกรรมม.ค. - มิ.ย. 63 อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ตารางดำเนินการทดสอบสมรรถภาพ ดังนี้ 2.1 ศูนย์กีฬามิตรไมตรี ระหว่างวันที่ 20-22 ม.ค. 63 ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 66 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 59 คน คิดเป็นร้อยละ 89.39 2.2 ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ ระหว่างวันที่ 23-25 ม.ค. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 66 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 60 คน คิดเป็นร้อยละ 90.90 2.3 ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ ระหว่างวันที่ 26-28 ม.ค. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 60 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 55 คน คิดเป็นร้อยละ 91.66 2.4 ศูนย์กีฬารามอินทรา ระหว่างวันที่ 29-31 ม.ค. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 61 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 91.80 2.5 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 11-13 ก.พ. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 62 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 90.32 2.6 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ระหว่างวันที่ 17-19 ก.พ. 63ผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งสิ้น 63 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ 57 คน คิดเป็นร้อยละ 90.47 2.7 ศูนย์กีฬาบึงหนองบอน ระหว่างวันที่ 23-25 ก.พ. 63 2.8 ศูนย์กีฬาอ่อนนุช ระหว่างวันที่ 26-28 ก.พ. 63 2.9 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา ระหว่างวันที่ 1-3 เม.ย. 63 2.10 ศูนย์กีฬาบางกอกอารีน่า ระหว่างวันที่ 7-9 เม.ย. 63 2.11 ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ ระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย. 63 2.12 ศูนย์กีฬาบางขุนเทียน ระหว่างวันที่ 22-24 เม.ย. 63 2.13 ศูนย์เยาวชนจตุจักร 2.14 ศูนย์เยาวชนบางแค 2.15 ศูนย์เยาวชนหนองจอก 2.16 ศูนย์เยาวชนดอนเมือง 2.17 ศูนย์เยาวชนบางนา 2.18 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 2.19 ลานกีฬาชุมชนหมู่บ้านอยู่เจริญ 2.20 ลานกีฬาชุมชนซอยบุบผาสวรรค์ 2.21 ลานกีฬาชุมชนเคหะบางนา 2 2.22 ลานกีฬาทรัพย์พัฒนานางเลิ้งรวมใจ 2.23 ลานกีฬามัสยิดกามาลุ้ลอีมานชุมชนทับช้างล่างฝั่งธน 2.24 ลานกีฬาสวนป่าเฉลิมพระเกียรติใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 2.25 ลานกีฬาพัฒน์ 2 2.26 ลานกีฬาแสงทิพย์ 2.27 ลานกีฬาสวนคันนายาวรมณีย์ 2.28 ลานกีฬาสาธารณะสวนรมณีย์ทุ่งสีกัน ***ยกเลิกการทดสอบสมรรถภาพทางกายตั้งแต่ ลำดับที่ 2.7 เนื่องจากสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 และเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 เบิกจ่ายเรียบร้อยเป็นเงิน 6,600.- บาท รวมผู้เข้าร่วมทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น 378 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น จำนวน 343 คน คิดเป็นร้อยละ 90.74
-
Print
(40) โครงการส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 22/9/2563 : : ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อย โดยกิจกรรมที่ดำเนินมีดังนี้ ระดับชาติ 1. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 47 ระดับภาค จัดกิจกรรมวันที่ 1-10 ก.ค. 63 จ.ปราจีนบุรี ผลการดำเนินงาน ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด จ.ปราจีนบุรีมีหนังสือขอเลื่อนการแข่งขันออกไปจนกว่าสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 จะเข้าสู่ภาวะปกติแต่ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย. 63 2. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ระดับภาค จัดกิจกรรมวันที่ 17-21 ส.ค. 63 จ. ปราจีนบุรี ผลการดำเนินงาน ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด จ.ปราจีนบุรีมีหนังสือขอเลื่อนการแข่งขันออกไปจนกว่าสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 จะเข้าสู่ภาวะปกติแต่ไม่เกินวันที่ 30 ก.ย. 63 3. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 ดำเนินการส่งนักกีฬา เข้าร่วมการแข่งขันระหว่างวันที่ 22-30 ม.ค. 63 จ. อุดรธานี ประกอบด้วยนักกีฬาชาย 369 คน นักกีฬาหญิง 332 คน ผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ควบคุม 156 คน รวมทั้งสิ้น 857 คน ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 35 ชนิดกีฬา ผลการแข่งขัน กรุงเทพมหานครได้อันดับที่ 1 โดยได้รับเหรียญดังนี้ เหรียญทอง 105 เหรียญ , เหรียญเงิน 84 เหรียญ , เหรียญทองแดง 81 เหรียญ รวมทั้งสิ้น 270 เหรียญ *** โดยในการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 กรุงเทพมหานครได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 20-30 มกราคม 2564 โดยใช้ชื่อการแข่งขัน “กรุงเทพเกมส์” สัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน “ น้องไทรย้อย”*** เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 15,287934.16.- บาท 4. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ระดับภาค จัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 4-14 พ.ย. 62 จ.ตราด กทม. ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 47 ชนิดกีฬา จำนวนนักกีฬาที่ส่งเข้าแข่งขัน นักกีฬาชาย 605 คน นักกีฬาหญิง 556 คน ผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ควบคุม 227 คน รวมทั้งสิ้น 1,388 คน ผลการแข่งขัน กรุงเทพมหานครได้สิทธิ์ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ระดับชาติ ณ จังหวัดตราด จำนวน 1221 คน ประกอบด้วยนักกีฬาชาย 517 น หญิง 482 คน ผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ควบคุม 222 คน ใน 39 ชนิดกีฬา เบิกจ่ายเสร็จสิ้น 14,540,068.22.- บาท 5. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 36 ระดับชาติ จัดกิจกรรม 19-29 มี.ค. 63 จ.ตราด ผลการดำเนินงาน อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว อยู่ระหว่างขออนุมัติคำสั่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติงาน และฝึกซ้อมนักกีฬา เลื่อนกำหนดการแข่งขันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 จัดกิจกรรม 18 - 28 เม.ย.64 เบิกจ่าย 9,333,260.- บาท 6. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 จัดกิจกรรม 1-10 ส.ค. 63 จ.สุพรรณบุรี เลื่อนการจัดการแข่งขันเนื่องสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 7. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระดับภาค ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเมื่อวันที่ 8-14 ธ.ค. 62 จ.ตราด กรุงเทพมหานครส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน 14 ชนิดกีฬา ประกอบด้วยนักกีฬาชาย 221 คน นักกีฬาหญิง 102 คน ผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ควบคุม 52 คน รวม 375 คน ผลการแข่งขัน ส่งนักกีฬาชายเข้าร่วมการแข่งขัน 221 คน ผ่านการคัดเลือก 165 คน คิดเป็นร้อยละ 74.66 ส่งนักกีฬาหญิงเข้าร่วมการแข่งขัน 102 คน ผ่านการคัดเลือก 86 คน คิดเป็นร้อยละ 84.31 8. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ระดับชาติ จัดกิจกรรม 24-30 เม.ย. 63 จ. ตราด ผลการดำเนินงาน ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด เลื่อนการจัดการแข่งขันเนื่องจากไวรัสโควิด-19 จัดกิจกรรม 5 - 11 พ.ค.64 เบิกจ่าย 1,270,500.- บาท 9. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาและนันทนาการผู้สูงอายุ แห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 จัดกิจกรรม 13-16 ก.ค. 63 จ. นครศรีธรรมราช ผลการดำเนินงาน ได้รับอนุมัติเงินประจำงวด เลื่อนการจัดการแข่งขันเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 10. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬายุวชนโลก ครั้งที่ 54 จัดกิจกรรม 28 มิ.ย. - 6 ก.ค. 63 ณ สาธารณรัฐฮังการี ผลการดำเนินงาน อนุมัติเงินประงวดแล้ว ยกเลิกการจัดการแข่งขันเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 เบิกจ่าย 287,685.- บาท 11. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันเรือใบ รายการ Top of The Gulf Regatta 2020 จัดกิจกรรมเดือน เม.ย. - พ.ค. 63 ผลการดำเนินงาน อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินประจำงวด เลื่อนจัดกิจกรรมจัดปีงบประมาณ 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 จัดกิจกรรม 30 เม.ย. - 5 พ.ค.64 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 12. การจัดส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา Asia Junior Sports Exchange Games 2020 ครั้งที่ 14 จัดกิจกรรม ส.ค. 63 ประเทศญี่ปุ่น ผลการดำเนินงาน ยกเลิกการจัดการแข่งขันเนื่องจากไวรัสโควิด-19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 13. ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน ประจำปี 2563 เบิกจ่าย 1,582,820.- บาท 13.1 ค่าอาหารทำการนอกเวลาราชการ เบิกจ่ายเป็นประจำทุกเดือน 13.2 ค่าใช้จ่ายในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินประจำงวด สำหรับค่าใช้จ่าย เดือน กุมภาพันธ์ 2563 - พฤษภาคม 2563 ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของวัส โควิด-19 13.3 ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์คู่มือศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน ยกเลิกตามหนังสือที่ปลัดกรุงเทพมหานครสั่งการให้ชะลอการดำเนินการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 หมวดค่าครุภัณฑ์ฯและหมวดรายจ่ายอื่น ที่ยังไม่ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนตามหนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่กท 1902/00555 ลว. 23 มี.ค. 63 - อนุมัติโอนเข้างบกลางแล้ว
-
Print
(41) โครงการส่งเสริมกีฬาเพื่ออาชีพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 22/9/2563 : 27/8/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน... : ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อย กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้ 1. ส่งทีมฟุตซอลหญิงกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการแข่งขัน “ฟุตซอลหญิงไทยแลนด์ลีก ประจำปี 2563 ” อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว เลื่อนการแข่งขันมาเดือนสิงหาคม 2520 อยู่ระหว่างการแข่งขัน ทีมเข้าร่วมแข่งขัน 8 ทีม แข่งขันเสร็จสิ้น 1 แมตซ์ ทีมกรุงเทพมหานครอยู่อันดับที่ 4 ของตาราง เบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,383,500 บาท 2. ส่งทีมฟุตบอลหญิงกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลลีกหญิงอาชีพ “thai women’s leage 2020” ยกเลิกการจัดการแข่งขัน ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้วตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 3. ส่งทีมฟุตซอลชายกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการแข่งขัน “ฟุตซอลลีกดิวิชั่น 1” อนุมัติเงินประจำงวดแล้ว เริ่มการแข่งขันเดือนกรกฏาคม 2563 อยู่ระหว่างการแข่งขัน ทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 8 ทีม แข่งขันเสร็จสิ้น 7 แมตซ์ ทีมกรุงเทพมหานครอยู่ในอันดับที่ 4 เบิกจ่ายแล้วจำนวน 1383,500 บาท
-
Print
(42) กิจกรรมการรับรองคุณภาพและมาตรฐานของศูนย์กีฬา
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว กิจกรรมการรับรองคุณภาพและมาตรฐานของศูนย์กีฬา ดำเนินการตรวจประเมินศูนย์กีฬาและประเมินผลเรียบร้อยแล้ว จำนวน 10 ศูนย์ ผ่านทั้ง 10 ศูนย์ ดังนี้ 1. ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (บางบอน) ศูนย์กีฬารามอินทรา จำนวน 17 ข้อ ผ่าน 17 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 100 2. ศูนย์กีฬามิตรไมตรี ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ ศูนย์กีฬาอ่อนนุช ศูนย์กีฬาบางขุนเทียน จำนวน 16 ข้อ ผ่าน 16 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 100 3. ศูนย์กีฬาบึงหนองบอน จำนวน 14 ข้อ ผ่าน 14 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 100
-
Print
(43) ปรับปรุงศูนย์กีฬาประชานิเวศน์
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/9/2563 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากคืนเงินเข้างบกลาง
-
Print
(44) ปรับปรุงศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
กำลังดำเนินการ (66.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 22/9/2563 : อยู่ระหว่างยื่นข้อเสนอและเสนอราคา วันที่ 2 มี.ค. 63 บริษัท สยามไพศาลกิจ (1995) จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 10,980,000 บาท อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินประจำงวดตามหนังสือ ที่ กท 1205/1329 ลว. 12 พ.ค. 63 เพื่อดำเนินการตรวจร่างสัญญาต่อไป
-
Print
(45) โครงการส่งเสริมกีฬาขั้นพื้นฐาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 29/7/2563 : ...ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อย กิจกรรมที่ดำเนินการมีดังนี้ 1. กิจกรรมสร้างประสบการณ์การเป็นนักกีฬา 1.1 จัดการแข่งขันกีฬาภายในศูนย์กีฬา 12 แห่ง จัดกิจกรรม มิ.ย. 63- ส.ค. 63 ยกเลิกจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 1.1.1 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ จัดการแข่งขัน กีฬาฟุตซอล และกีฬาบาสเกตบอล 1.1.2 ศูนย์กีฬาอ่อนนุช จัดการแข่งขัน กีฬาฟุตซอล ว่ายน้ำ และวู้ดบอล 1.1.3 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จัดการแข่งขัน กีฬา ฟุตซอล วู้ดบอล 1.1.4 ศูนย์กีฬาบางขุนเทียน จัดการแข่งขันกีฬา ฟุตซอล ฟุตบอล 1.1.5 ศูนย์กีฬารามอินทรา จัดการแข่งขันกีฬา ฟุตบอล ฟุตซอล 1.1.6 ศูนย์กีฬาวชิรเบญจทัศ จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอล เปตอง 1.1.7 ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอล ว่ายน้ำ 1.1.8 ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอล 1.1.9 ศูนย์กีฬาบางกอกอารีน่า จัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอล 1.1.10 ศูนย์กีฬามิตรไมตรี จัดการแข่งขันกีฬา ยิมนาสติก 1.1.11 ศูนย์กีฬาบึงหนองบอน จัดการแข่งขันกีฬา เรือใบ เรือคยัค วินเซิร์ฟ 1.1.12 ศูนย์กีฬาวารีภิรมย์ จัดการแข่งขันกีฬาเปตอง 1.2 การแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กีฬา 12 แห่ง จัดกิจกรรม มิ.ย.63-ส.ค. 63 โดยจัดการแข่งขันกีฬาฟุตซอล สำหรับศูนย์กีฬา 12 แห่ง ยกเลิกจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63 2. กิจกรรมอบรมกีฬาขั้นพื้นฐานภาคฤดูร้อน ในศูนย์กีฬา 12 แห่ง จัดกิจกรรม เดือน เม.ย. 63 ยกเลิกจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ขออนุมัติโอนเข้างบกลางแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท 1205/1496 ลงวันที่ 9 มิ.ย.63
-
Print
กองการสังคีต
(46) กิจกรรมเผยแพร่บทเพลงคลาสสิกและเพลงไทยในรูปแบบวงดนตรีเชมเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 19/8/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว สรุปกิจกรรมเผยแพร่บทเพลงคลาสสิกและเพลงไทยในรูปแบบวงดนตรีเชมเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์(ไม่ใช้งบประมาณ)เพื่อเผยแพร่บทเพลงคลาสสิกและเพลงไทยในรูปแบบวงดนตรีเชมเบอร์สู่สาธารณะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ทางด้านเพลงคลาสสิกและเพลงไทยในรูปแบบวงดนตรีเชมเบอร์ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางสื่อออนไลน์ได้ดำเนินการคัดเลือกบทเพลงเพื่อบันทึกวิดีโอและบันทึกเสียง เผยแพร่ผ่านช่องทาง YOUTUBE และ Facebook กลุ่มงานดุริยางค์ซิมโฟนี กรุงเทพมหานครจำนวน 5 บทเพลง 1. เพลง ตุ้กตาขวัญใจเจ้าทุย เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 63 2. เพลง Quodlibet for Woodwind Quintet เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 เม.ย. 63 3. เพลง มาลัย เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 63ห 4. เพลง Love Theme from Cinema Paradiso เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 63 5. เพลง "Intrada" from "Early Hungarian Dances" from the 17th Century เผยแพร่เมื่อวันที่ 8ก.ค. 63
-
Print
(47) ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ยกเลิก (45.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 20/7/2563 : ได้รับอนุมัติยกเลิกการดำเนินการโครงการค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมการประกวดขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามหนังสือเลขที่ กท1905/00849
-
Print
(48) กิจกรรมเผยแพร่ สืบสานเพลงไทยสายกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 25/6/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...เผยแพร่เพลงที่ 10 เพลงพันธ์ฝรั่งเถา ผ่านยูทูปเมื่อวันที่ 12 มิ.ย 2563 สรุปกิจกรรมเผยแพร่ สืบสาน เพลงไทยสายกรุงเทพมหานคร (ไม่ใช้งบประมาณ) ดำเนินการคัดเลือกเพลงประเภทเพลง เถา เพื่อบันทึกทางฆ้องวงใหญ่ ตามแบบแผนวงดนตรีไทย กทม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลความรู้ทางด้านดนตรีไทย และเผยแพร่สู่สาธารณะทางสื่อออนไลน์ (ยูทูป) ดังนี้ เพลงที่ 1 เขมรชมดงเถาทางฆ้องวงใหญ่ เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 62 เพลงที่ 2 เป็นเพลงโหมโรงจุฬามณี เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 เพลงที่ 3 เพลงพิรุณสร่างฟ้า เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 เพลงที่ 4 เพลงพัฒนาเวียดนาม เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 เพลงที่ 5 เพลงนํ้าลอดใต้ทราย เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 เพลงที่ 6 โหมโรงสามสถาบัน เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 63 เพลงที่ 7 เพลงตามกวางเถา เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 63 เพลงที่ 8 เพลงเกสรสำอางเถา เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 63 เพลงที่ 9 เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2563 เพลงที่ 10 เพลงพันธ์ฝรั่งเถา เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 มิ.ย 2563
-
Print
(49) กิจกรรมการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางดนตรีผ่านสื่อออนไลน์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/08/2563 : ดำเนินการตัดต่อคลิปวิดีโอ คลิปที่ 10 แล้วเสร็จ (หัวข้อ "การเล่นดับเบิลเบสเบื้องต้น" วิทยากร อ.ศุกล ศิริศักดิ์) และนำเผยแพร่ในสื่อโซเชียล วันที่ 18 สิงหาคม 2563 สรุปกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลความรู้ทางดนตรีผ่านสื่อออนไลน์ (ไม่ใช้งบประมาณ) เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้ทางด้านดนตรีสากล จากเอกสาร ตำราทางวิชาการ บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีสากล การแสดงดนตรี บทวิเคราะห์วิจารณ์ทางดนตรี แหล่งความรู้ต่างๆ เผยแพร่สู่สาธารณะ ผ่านช่องทางเว็บไซต์กองการสังคีต และเฟสบุคศูนย์ฝึกดนตรี กองการสังคีต จำนวน 10 คลิปวีดีโอ ดังนี้ 1. หัวข้อ "การเป่าเฟรนช์ฮอร์นเบื้องต้น" วิทยากร อาจารย์กฤษณ์ วิกรวงษ์วนิช คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2. หัวข้อ การอำนวยเพลงเบื้องต้น วิทยากร ดร.นิพัต กาญจนะหุต อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 3. หัวข้อ "ดนตรีแจ๊สและการเข้ามาของวงบิ๊กแบนด์ในประเทศไทย วิทยากร อาจารย์สันทัด ตัณฑนันทน์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 63 4. หัวข้อ "การสอนดนตรีเด็กเบื้องต้น" วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐศรัณย์ ทฤษฎิคุณ เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 63 5. หัวข้อ "การเป่าคลาริเน็ทเบื้องต้น" วิทยากร ดร.ณัฐพล เบญจธรรมนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 63 6. หัวข้อ "การเล่นกีตาร์คลาสสิกเบื้องต้น วิทยากร อาจารย์สรัญ อึงปัญญา วิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเล่นกีตาร์คลาสสิก เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2563 7. หัวข้อ การเล่นเปียโนเบื้องต้น วิทยากร อาจารย์ไวศิษย์ ศศิบุตร นักเปียโนและวิทยากรด้านการสอนเปียโน เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 63 8. หัวข้อ "การเล่นกลองชุดเบื้องต้น" วิทยากร อาจารย์เอกพงศ์ เชิดธรรม เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 63 9. หัวข้อ "การเล่นฟลูตเบื้องต้น" วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรวัฒน์ รัตนประภาเมธีรัฐ ผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญทาด้านเครื่องดนตรีฟลูต เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 10. หัวข้อ "การเล่นดับเบิลเบสเบื้องต้น" วิทยากร อาจารย์ศุกล ศิริศักดิ์ เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 63
-
Print
สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
(50) โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 27/08/2563 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้อนุมัติยกเลิกโครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และอนุมัติโอนงบประมาณเข้างบกลาง รายละเอียดตามหนังสือสำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ที่ กท 1905/1049 ลงวันที่ 8 กรกฏาคม 2563 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการกิจกรรมการเข้าร่วมประชุม Lower Mekong Tourism Cities Mayors Summit ระหว่างวันที่ 12 - 15 ตุลาคม 2562 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยใช้งบประมาณ 66,980.72 บาท (หกหมื่นหกพันเก้าร้อยแปดสิบบาทเจ็ดสิบสองสตางค์)
-
Print
(51) กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้แล้ว รายงานการประเมินผล กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ หลักการและเหตุผล กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคม เศรษฐกิจ และการปกครองของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวติดอันดับต้น ๆ ของโลก ถึงแม้ว่าประชาชนคนไทยโดยทั่วไปมีอัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างอบอุ่น แต่ก็ยังอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีที่แอบแฝงตนจ้องจับนักท่องเที่ยวในแหล่งชุมชนเป็นเหยื่อ ล่อลวงให้หลงกลไปในทางไม่สุจริตหรือผิดวิสัยปกติได้ อันเป็นเหตุให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้สูญเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินเงินทองโดยใช่เหตุ และก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่งดงามและสร้างความเสียหายให้เกิดแก่กรุงเทพมหานครและหน่วยงานราชการในภาพรวมได้ ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการท่องเที่ยวโดยตรงและมีช่องทางให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยวได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำกิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อกรุงเทพมหานครในด้านต่าง ๆ นี้ขึ้นมา เพื่อประเมินผลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ซุ้มบริการการท่องเที่ยวทุกแห่งในสังกัด และนำไปใช้ในการปรับปรุงการให้บริการข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินผลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ณ ซุ้มบริการการท่องเที่ยวในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ถูกต้องของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 3. เพื่อแสวงหาแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเหมาะสมสำหรับนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้นต่อไป เป้าหมายของโครงการ ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ ของซุ้มบริการการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โดยจัดเก็บและวิเคราะห์ผลข้อมูลความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาใช้บริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยว ณ ซุ้มบริการการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร 200 ชุด แบ่งเป็น ชาวไทย 50 ชุด และชาวต่างชาติ 150 ชุด(ปรับลดจาก 400 ชุดมาเป็น 204 ชุด เพราะมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร) การประเมินผล ประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มารับบริการ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร - ตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวที่มารับบริการ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จำนวน 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผล เป็นแบบสำรวจความพึงพอใจ และทำการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ - การประเมินผลความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มารับบริการ ณซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การวัดตัวแปรในแต่ละตัว ดังนี้ เกณฑ์กำหนดคะแนน เกณฑ์การเปรียบเทียบการวัดค่าเฉลี่ย - มากที่สุด 5 คะแนน - มาก 4 คะแนน - ปานกลาง 3 คะแนน - น้อย 2 คะแนน - น้อยที่สุด 1 คะแนน - ระดับค่าเฉลี่ย 4.21-5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด - ระดับค่าเฉลี่ย 3.41-4.20 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับมาก - ระดับค่าเฉลี่ย 2.61-3.40 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง - ระดับค่าเฉลี่ย 1.81-2.60 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อย - ระดับค่าเฉลี่ย 1.00-1.80 หมายถึง มีความพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด ความพึงพอใจด้านบริการการท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อการบริการด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในประเด็นต่าง ๆ เรียงลำดับเป็นดังนี้ 1. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อจุดให้บริการข้อมูลการท่องเที่ยวของ กทม.(ซุ้มประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.392 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.84 2. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของการบริการของแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.368 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.36 3. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อจุดให้บริการข้อมูลภายในแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.319 หรือคิดเป็นร้อยละ 86.38 4. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของบริการของโรงแรมในกรุงเทพฯอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.294 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.88 5. นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของบริการของร้านอาหารในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.294 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.88 ความพึงพอใจด้านความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวของกรุงเทพฯ ด้านการให้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในพื้นที่ นักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อด้านการให้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในพื้นที่ในภาพรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.366 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.32 ด้านความรู้สึกปลอดภัยในด้านต่าง ๆ เมื่อท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ นักท่องเที่ยวที่ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจต่อด้านความรู้สึกปลอดภัยในด้านต่าง ๆเมื่อท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ ในภาพรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.130หรือคิดเป็นร้อยละ 82.60 ความพึงพอใจด้านความเหมาะสมของบริการการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม นักท่องเที่ยวความพึงพอใจต่อด้านความเหมาะสมของบริการการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.130 หรือคิดเป็นร้อยละ 82.60
-
Print
(52) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 10/09/2563 : ดำเนินกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านความปลอดภัยในการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนกรุงเทพมหานครโดยทั่วไป ประกอบด้วย ข้อมูลการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มีแผนที่ท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ฉบับ 2 ภาษา แผนที่ท่องเที่ยว 7 ย่านประวัติศาสตร์เมือง และแผ่นพับกรุงรัตนโกสินทร์ เยาวราช ราชประสงค์ แม่น้ำลำคลอง และอาหารมุสลิม เป็นอาทิ ซึ่งแจกจ่ายให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจประกอบการให้คำอธิบายแนะนำเพิ่มเติมแล้วแต่กรณีของนักประชาสัมพันธ์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กของส่วนการท่องเที่ยว ข้อมูลบอกที่ตั้งของจุดบริการการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จำนวน 22 จุด ข้อมูลด้านความปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ และข้อมูลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสโคโรน่า 2019 (Covid-19) เป็นการช่วยนักท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงบริการข้อมูลด้านแหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัยที่เป็นที่พึ่งและสามารถไว้วางใจได้ของกรุงเทพมหานคร เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงาน ได้แก่ เว็บไซต์ www.bangkoktourist.com และเฟซบุ๊กส่วนการท่องเที่ยว (Bangkok Tourism Division) และช่องทางออฟไลน์ ได้แก่ การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากนักประชาสัมพันธ์ ณ ซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว จำนวน 22 จุด ที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมนุมชนต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถิติการให้และรับบริการนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปตลอดจนจำนวนเอกสารที่แจกจ่ายไป ณ จุดบริการการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้ง 22 จุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในภาพรวมดังนี้ เดือน/ปี จำนวนคนไทย (คน) จำนวนคนต่างชาติ (คน) รวม (คน) จำนวนเอกสาร (ฉบับ) หมายเหตุ ต.ค. 2562 2,3851 1,330 13,715 5,565 พ.ย. 2562 2,106 11,714 13,820 4,968 ธ.ค. 2562 2,298 12,433 14,731 5,345 ม.ค. 2563 2,529 14,184 16,713 5,987 ก.พ. 2563 1,951 9,170 11,121 4,275 มี.ค. 2563 1,085 4,331 5,416 1,991 เม.ย. 2563 0 0 0 0 หยุดให้บริการเนื่องจาก Covid-19 พ.ค. 2563 0 0 0 0 หยุดให้บริการเนื่องจาก Covid-19 มิ.ย. 2563 1,071 349 1,420 511 ก.ค. 2563 984 255 1,239 497 ส.ค. 2563 1,164 374 1,538 521 ก.ย. 2563 - - - - อยู่ระหว่างดำเนินการรวบรวมข้อมูล --------------------------------------------------------------------------------------------------- รวมสุทธิ 15,573 64,140 79,713 29,660 ---------------------------------------------------------------------------------------------------
-
Print
(53) กิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน หรือหาแนวทางพัฒนาการจัดบริการสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 08/09/2563 : สรุปผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนหรือหาแนวทางพัฒนาการจัดบริการสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ผลความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมบริการสำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม - ผู้เข้าทำแบบสำรวจความพึงพอใจในการใช้หนังสือเสียง จำนวน 116 คน สรุปผลได้ ดังนี้ 1. ความพึงพอใจระดับ 4 จำนวน 53 คน คิดเป็น ร้อยละ 45.7 2. ความพึงพอใจระดับ 5 จำนวน 44 คน คิดเป็น ร้อยละ 37.9 3. ความพึงพอใจระดับ 3 จำนวน 16 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.8 4. ความพึงพอใจระดับ 2 จำนวน 2 คน คิดเป็น ร้อยละ 1.7 5. ความพึงพอใจระดับ 1 จำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.9 - จำนวนการเข้าชมคลิปวิดีโอ ของดี – ของเด่น 7 ย่านเก่ากรุงเทพมหานคร จำนวน 196 ครั้ง - จัดทำ QR Code ประชาสัมพันธ์ผ่านมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อกระจายข้อมูลถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการทางสายตา - นำ QR Code เผยแพร่ทางซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องที่ยวกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นจุดกระจายข้อมูลสู่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวด้วยตนเอง - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของส่วนการท่องเที่ยว www.facebook.com/BangkokTourismDivision - ประชาสัมพันธ์ข้อข้อมูลลงในเว็บไซต์ของส่วนการท่องเที่ยว www.bangkoktourist.com
-
Print
(54) โครงการค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยวในต่างประเทศ (Roadshows/ Trade shows)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 22/07/2563 : งาน Internaitonale Tourismus Borse 2020 (ITB 2020) : ดำเนินการเบิกจ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นเงิน 2,150,000 บาท
-
Print
(55) กิจกรรมสำรวจความพึงพอใจของหน่วยงานที่จัดประชุมและนิทรรศการต่อการให้ัการสนับสนุนของกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: ได้จัดทำสรุปการประเมินความพึงพอใจของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นำเรียนผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดตามหนังสือกลุ่มงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ 0335/2563 ลงวันที่ 1 กันยายน 2563
-
Print
(56) โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดทำและบริหารจัดการข้อมูลเว็บไซต์การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 2020-9-10 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากภายหลังจากที่สัญญาหมดอายุเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2563 ผู้รับจ้างส่งมอบและโอนย้ายข้อมูลทั้งหมดจากพื้นที่เซิฟเวอร์ของบริษัทไปยังพื้นที่เซิฟเวอร์ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล และสวท. ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกการจัดจ้างพร้อมโอนเงินงบประมาณดำเนินการ จำนวน 360,000 บาท เข้างบกลางเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 เรียบร้อยแล้ว แต่ปัจจุบันยังคงดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องผ่านช่องทางเว็บไซต์ เว็บไซต์ www.bangkoktourist.com ตามปกติ โดยส่วนการท่องเที่ยวได้ดำเนินการอัพเดตและเผยแพร่ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวอยู่เป็นระยะ ๆ ในขณะนี้
-
Print
(57) โครงการค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเทศกาลลอยกระทงกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 24/12/2562 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว งบประมาณดำเนินการ 3,255,555 บาท โดยสรุปผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมเทศกาลลอยกระทงกรุงเทพมหานคร ได้ดังนี้ 1. กิจกรรมเทศกาลลอยกระทงกรุงเทพมหานคร จัดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 ณ บริเวณสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีเปิด โดยได้จัดให้มีการแถลงข่าวการจัดกิจกรรมฯก่อน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) 2. กิจกรรมในงาน อาทิเช่น กิจกรรมประกวดประดิษฐ์กระทง กิจกรรมสาธิตประดิษฐ์กระทง เป็นต้น มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวน 141,693 คน และร้านค้าจำนวน 80 ร้าน 2. หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในการจัดงาน อาทิ สำนักงานเขตบางพลัด สำนักการแพทย์ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักการจราจรและขนส่ง 3. สื่อมวลชนที่เข้าร่วมทำงาน ได้แก่ nation tv, TVS, TNN22, Profile media 4. ประโยชน์ที่กรุงเทพมหานครได้รับจากงานนี้ คือ ประชาชนให้ความสนใจร่วมงานเทศกาลลอยกระทง เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมภาพลักษณ์กรุงเทพมหานครให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม
-
Print
(58) กิจกรรมการเผยแพร่แหล่งท่องเที่ยว/ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 08/09/2563 : ดำเนินการโพสต์แล้วเสร็จ จำนวน 90 โพสต์ ประกอบด้วย 1.ประชาสัมพันธ์การจัดงานลอยกระทงบริเวณสะพานพระราม 8 2.ประชาสัมพันธ์ข่าวที่สำนักข่าว CNN ระบุว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับเคาน์ดาวน์ 3.เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานกาชาด ประจำปี 2562 4.ประชาสัมพันธ์การเข้าชมพระราชวังเดิม 5.ประชาสัมพันธ์การจัดงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 6.ประชาสัมพันธ์แผนที่ท่องเที่ยวย่านฝั่งธนบุรี 7.ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเยี่ยมชมพระราชวังเดิม 8.ประชาสัมพันธ์จุดบริการต่าง ๆ สำหรับประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 9.เผยแพร่ภาพบรรยากาศภายในงานถนนคนเดินบริเวณถนนสีลม เขตบางรัก จัดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 10.ประชาสัมพันธ์การจัดงานถนนคนเดินบริเวณถนนเยาวราช ถนนสีลม และถนนข้าวสาร 11.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนสักการะพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ 12.ประชาสัมพันธ์การจัดงานถนนคนเดินบริเวณถนนสีลม พิธีเปิดวันที่ 22 ธันวาคม 2562 13.ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดภาพถ่าย “เสน่ห์คลองบางหลวง” จัดโดยสำนักงานเขตภาษีเจริญ 14.ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ “สวนออร์แกนิค ที่ Sansiri Backyard @T77 Community” 15.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนท่องเที่ยวงาน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 2562 16.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนร่วมสวดมนต์ข้ามปีและทำบุญตักบาตร 17.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยว 10 ย่านในกรุงเทพฯ อาทิ เอกมัย สำเพ็ง สีลม ฯลฯ 18.ประชาสัมพันธ์เส้นทางเดินเท้าท่องเที่ยว 1 วัน “ยลคลองคูเมืองเดิม แรกเริ่มประวัติศาสตร์เมือง” 19.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวงานวันเด็ก ณ พิพิธบางลำพู 20.ประชาสัมพันธ์กิจกรรม เดินเท้าศึกษาประวัติศาสตร์เมืองย่านเก่าปากคลองบางกอกน้อย 21. ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมท่องเที่ยวครั้งยิ่งใหญ่ เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ครั้งที่ 26 ระหว่าง วันที่ 16-19 มกราคม 2563 22.ประชาสัมพันธ์ปฏิทินกิจกรรมถนนคนเดิน เดือนมกราคม 2563 23.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานีรถไฟหัวลำโพง 24. ประชาสัมพันธ์บ้านขนมปังขิง บ้านเก่าแก่ในเขตพระนคร 25.เชิญชวนท่องเที่ยวงาน ตรุษจีนเยาวราช ประจำปี 2563 26. เผยแพร่อัตลักษณ์ ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 27.ประชาสัมพันธ์อีเวนท์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ 28.ประชาสัมพันธ์งาน Bangkok Design Week 2020 29.ประชาสัมพันธ์จุดท่องเที่ยวริมแม่น้ำ พร้อมทั้งแนะนำการเดินทางโดยเรือด่วน 30.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เที่ยวคลองบางหลวง 31.ประชาสัมพันธ์กำหนดการจัดกิจกรรมถนนคนเดิน เดือนกุมภาพันธ์ 2563 32.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลอาคารโบราณที่ถูกปรับปรุงใหม่เป็นโรงแรม 33.เชิญชวนท่องเที่ยววิถีคลอง ที่กัมปงในดงปรือ 34.ประชาสัมพันธ์เรือด่วนเจ้าพระยารูปแบบใหม่ “Riva Express” 35.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ไปท่องเที่ยวงานถนนคนเดินวัดอรุณ / 25/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลการท่องเที่ยวในมิติต่าง ๆ สำหรับใช้ในการเผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กและดำเนินการโพสต์ไปแล้ว จำนวน 41 โพสต์ ประกอบด้วย 1.ประชาสัมพันธ์การจัดงานลอยกระทงบริเวณสะพานพระราม 8 2.ประชาสัมพันธ์ข่าวที่สำนักข่าว CNN ระบุว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองที่ดีที่สุดสำหรับเคาน์ดาวน์ 3.เชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานกาชาด ประจำปี 2562 4.ประชาสัมพันธ์การเข้าชมพระราชวังเดิม 5.ประชาสัมพันธ์การจัดงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 6.ประชาสัมพันธ์แผนที่ท่องเที่ยวย่านฝั่งธนบุรี 7.ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเยี่ยมชมพระราชวังเดิม 8.ประชาสัมพันธ์จุดบริการต่าง ๆ สำหรับประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในวันที่ 12 ธันวาคม 2562 9.เผยแพร่ภาพบรรยากาศภายในงานถนนคนเดินบริเวณถนนสีลม เขตบางรัก จัดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2562 10.ประชาสัมพันธ์การจัดงานถนนคนเดินบริเวณถนนเยาวราช ถนนสีลม และถนนข้าวสาร 11.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนสักการะพระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ 12.ประชาสัมพันธ์การจัดงานถนนคนเดินบริเวณถนนสีลม พิธีเปิดวันที่ 22 ธันวาคม 2562 13.ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดภาพถ่าย “เสน่ห์คลองบางหลวง” จัดโดยสำนักงานเขตภาษีเจริญ 14.ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ “สวนออร์แกนิค ที่ Sansiri Backyard @T77 Community” 15.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนท่องเที่ยวงาน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 2562 16.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนร่วมสวดมนต์ข้ามปีและทำบุญตักบาตร 17.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยว 10 ย่านในกรุงเทพฯ อาทิ เอกมัย สำเพ็ง สีลม ฯลฯ 18.ประชาสัมพันธ์เส้นทางเดินเท้าท่องเที่ยว 1 วัน “ยลคลองคูเมืองเดิม แรกเริ่มประวัติศาสตร์เมือง” 19.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวงานวันเด็ก ณ พิพิธบางลำพู 20.ประชาสัมพันธ์กิจกรรม เดินเท้าศึกษาประวัติศาสตร์เมืองย่านเก่าปากคลองบางกอกน้อย 21. ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมท่องเที่ยวครั้งยิ่งใหญ่ เที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ครั้งที่ 26 ระหว่าง วันที่ 16-19 มกราคม 2563 22.ประชาสัมพันธ์ปฏิทินกิจกรรมถนนคนเดิน เดือนมกราคม 2563 23.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานีรถไฟหัวลำโพง 24. ประชาสัมพันธ์บ้านขนมปังขิง บ้านเก่าแก่ในเขตพระนคร 25.เชิญชวนท่องเที่ยวงาน ตรุษจีนเยาวราช ประจำปี 2563 26. เผยแพร่อัตลักษณ์ ของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว 27.ประชาสัมพันธ์อีเวนท์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ 28.ประชาสัมพันธ์งาน Bangkok Design Week 2020 29.ประชาสัมพันธ์จุดท่องเที่ยวริมแม่น้ำ พร้อมทั้งแนะนำการเดินทางโดยเรือด่วน 30.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้เที่ยวคลองบางหลวง 31.ประชาสัมพันธ์กำหนดการจัดกิจกรรมถนนคนเดิน เดือนกุมภาพันธ์ 2563 32.ประชาสัมพันธ์ข้อมูลอาคารโบราณที่ถูกปรับปรุงใหม่เป็นโรงแรม 33.เชิญชวนท่องเที่ยววิถีคลอง ที่กัมปงในดงปรือ 34.ประชาสัมพันธ์เรือด่วนเจ้าพระยารูปแบบใหม่ “Riva Express” 35.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ไปท่องเที่ยวงานถนนคนเดินวัดอรุณ 36.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสถานที่เที่ยวย่านลาดกระบัง – หนองจอก 37.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยวกิจกรรมล่องเรือกินปู ดูวิถีชาวทะเล บางขุนเทียน 38.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนท่องเที่ยว “พัฒน์พงศ์ มิวเซียม” 39.ประชาสัมพันธ์รถเมล์ sthttle bus ฟรีเชื่อมรถไฟฟ้า “BMA Feeder” โดยกรุงเทพมหานคร 40.แชร์ Infographic ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 41.ประชาสัมพันธ์ข่าว กลุ่มงานส่งเสริมการท่องเที่ยว มอบแอลกอฮอล์พร้อมอุปกรณ์ฉีดพ่น สำหรับทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคแก่นักประชาสัมพันธ์ประจำซุ้มประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว 42. ให้ความรู้เรื่องพระราชวังหลัง 43. ให้ความรู้เรื่องพระราชวังหน้า และแนะนำสถานที่สำคัญในปัจจุบัน 44. ให้ความรู้เรื่องพระราชวังสราญรมย์ 45. ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเชิงสตรีทอาร์ท (Street Art) 46. ให้ความรู้เรื่องพระพุทธสิหิงค์ 47. ประชาสัมพันธ์การงดจัดงานสงกรานต์ เนื่องจาก COVID-19 48. ให้ความรู้เรื่องซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ 49. ให้ความรู้เรื่องศาลหลักเมือง 50. ให้ความรู้เรื่องพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่วัดอัปสรสวรรค์ เขตภาษีเจริญ 51. ให้ความรู้เรื่อง หอกลอง 52. ให้ความรู้เรื่องศาลเจ้าเกียนอันเกง 53. ให้ความรู้เรื่องวัดราชโอรสฯ 54. ให้ความรู้เรื่องวัดมหาบุศย์และศาลแม่นาคพระโขนง 55. ให้ความรู้เรื่องสถานีรถไฟธนบุรี และแนะนำพิพิธภัณฑ์พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน 56. ให้ความรู้เรื่องพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน 57. ให้ความรู้เรื่องห้องสมุดวิลเลียม วอร์เรน 58. แนะนำศูนย์กีฬาทางน้ําบึงหนองบอน เขตประเวศ 59. ประชาสัมพันธ์แจ้งเรือด่วนเจ้าพระยางดให้บริการ 60. ให้ความรู้เรื่อง พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย 61. พาเที่ยวออนไลน์ไปที่ วัดโบสถ์สามเสน 62. แนะนำสถานที่สำคัญในกรุงเทพฯ ที่มีลวดลายแบบขนมปังขิง 63. เล่าเรื่องโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม 64. พาเที่ยวออนไลน์ไปวัดบวรนิเวศฯ 65. แนะนำเส้นทางปั่นจักรยานรอบเมืองเก่า 66. แนะนำให้รู้จักกับย่านนางเลิ้ง 67. แนะนำอาคารยุโรปเก่าแก่ย่านตลาดน้อย “ห้างฮุนซุยโห”68. แนะนำแหล่งท่องเที่ยวย่านนางเลิ้ง (ตลาดนางเลิ้ง, โรงหนังเฉลิมธานี) 69. ประชาสัมพันธ์นิทรรศการ “ศิลปะวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 70. ประชาสัมพันธ์การจัดงานเนื่องในวันไวกาศี วิษากัม 71. แนะนำแหล่งท่องเที่ยวย่านนางเลิ้ง (บ้านศิลปะ, บ้านเต้นรำ, บ้านนราศิลป์) 72. แจ้งการเลื่อน การให้เข้าชมพระบรมมหาราชวัง 73. บอกเล่าเรื่องพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 74. ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ร่วมสัมมนาในงาน Post Covid 19 ชีวิตวิถีใหม่ กับการจัดระเบียบและขับเคลื่อนสร้างความพร้อมกรุงเทพมหานครและเมืองหลักเพื่อการจัดงาน 75. แนะนำวัดชนะสงคราม 76. แนะนำสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา 77. แนะนำแหล่งท่องเที่ยว “ศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุง” 78. แจ้งประชาสัมพันธ์เปิดให้บริการนักท่องเที่ยวที่ศูนย์บริการส่วนหน้า ส่วนการท่องเที่ยว 79. ประชาสัมพันธ์งานนิทรรศการดอกไม้ ณ ชุมชนตลาดเก่าหัวตะเข้ ลาดกระบัง 80. ประชาสัมพันธ์งานตะลักเกี้ยะ Friendly Market ณ ท่าน้ำภานุรังษี ตลาดน้อย 81. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการประกวดถ่ายภาพ 82. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ 83. ประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำ (คลองชักพระ - คลองบางกอกใหญ่ - คลองบางกอกน้อย) 84. ให้ข้อมูลที่สำคัญของวัดราชโอรสฯ 85. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบ้านมนังคศิลา 86. ประชาสัมพันธ์งาน Amazing Adventure ณ Park Paragon ศูนย์การค้าสยามพารากอน 87. ให้ข้อมูลที่สำคัญของวัดอินทรวิหาร 88. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรือไฟฟ้าลำแรกของไทย 89. แนะนำสถานเสาวภา 90. แนะนำนิทรรศการ ศิลปวิทยาการจากสาส์นสมเด็จ มียอดผู้ถูกใจเฟซบุ๊กแฟนเพจ ณ วันที่ 8 กันยายน 2563 จำนวน 13,740 ราย เพิ่มขึ้น 1,120 ราย โดยคิดเป็นร้อยละ 8.87 (จากยอดถูกใจเดิม 12,620 ราย)
-
Print
(59) โครงการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ของกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 10/09/2563 : สรุปการประเมินผล โครงการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดประชุม นิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (MICE) ของกรุงเทพมหานคร กิจกรรมพัฒนาบุคลากรของกรุงเทพมหานคร ด้านอุตสาหกรรมไมซ์ จำนวนผู้เข้ารับการอบรมตามโครงการ 187 คน ประกอบด้วย ผู้เข้าอบรม 170 คน (ผู้ตอบแบบสอบถาม 170 คน) เจ้าหน้าที่ 17 คน ตัวชี้วัด ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามที่กำหนดค่าเป้าหมาย ร้อยละ60 เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ตามที่กำหนดผ่านแบบทดสอบประเมินผลวัดความรู้ จำนวน 15 ข้อ (ผ่านเกณฑ์ 10 ข้อ) จากจำนวนผู้เข้ารับการทำแบบทดสอบ 170 คน จำนวนคะแนนที่ทำได้ 15 คะแนน (ร้อยละ 100) จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 18.24 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 14 คะแนน (ร้อยละ 93) จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 47.06 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 13 คะแนน (ร้อยละ 87) จำนวน 34 คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 20.00 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 12 คะแนน (ร้อยละ 80) จำนวน 19 คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 11.17 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 11 คะแนน (ร้อยละ 73) จำนวน 4 คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 2.35 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 10 คะแนน (ร้อยละ 67) จำนวน 2 คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 1.18 จำนวนคะแนนที่ทำได้ 9 คะแนน (ร้อยละ 60) ลงไปต่ำกว่าเกณฑ์ 0 คิดเป็นร้อยละของผู้เข้ารับการทดสอบ 0 จำนวนผู้ผ่านประเมินแบบทดสอบประเมินวัดผลความรู้ร้อยละ 60 ขึ้นไป ทั้งหมด 170 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด
-
Print
(60) กิจกรรมสนับสนุนการจัดประชุมและนิทรรศการที่กรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานในพื้นที่ดำเนินการตามที่ร้องขอ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 15/09/2563 : ดำเนินการตามโครงการเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(61) กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/9/2563 : กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ที่มีเป้าหมาย สำนักงานเขตละ 1 แหล่ง รวม 50 แหล่ง และสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง จำนวน 2 แหล่ง ส่วนการท่องเที่ยว จะประสานข้อมูลสรุปการดำเนินงานการส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร จากทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งคาดว่าจะส่งกลับมายัง สวท. ภายในวันที่ 24 กันยายน 2563
-
Print
(62) โครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 27/08/2563 : กลุ่มงานแผนงานการท่องเที่ยว ส่วนการท่องเที่ยว ได้ดำเนินการโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการดำเนินการ ดังนี้ ๑.๑ ดำเนินการจัดการอบรมภาควิชาการ แบบไป - กลับในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๒ วัน ในวันที่ ๒๙ - ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ โรงแรมโกลด์ ออร์คิด เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๔๙ คน (ผู้เข้าอบรม ๔๔ คน และเจ้าหน้าที่ ๕ คน) ขาดผู้เข้าอบรม ๑ คน ได้แก่ นางสาวจิรนุช เลิศสกุลทอง นักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เนื่องจากถึงแก่กรรม ๑.๒ ดำเนินการจัดการอบรมศึกษาดูงาน แบบไป - กลับในกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ วัน ในวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ ชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครโดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๔๙ คน (ผู้เข้าอบรม ๔๔ คน และเจ้าหน้าที่ ๕ คน) ขาดผู้เข้าอบรม ๑ คน ได้แก่ นางสาวจิรนุช เลิศสกุลทอง นักประชาสัมพันธ์ กลุ่มงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนการท่องเที่ยว สำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เนื่องจากถึงแก่กรรม เนื้อหาความรู้ในการจัดอบรม ได้แก่ ๑. พฤติกรรมนักท่องเที่ยวและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ๒. New Normal อุตสาหกรรม MICE ในยุค Post COVID ๓. Vat Refund for Tourist ๔. ระเบียบ กฎหมาย ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ๕. การพัฒนาบุคลิกภาพและบริการอย่างมืออาชีพ ๖. แนวทางลดจุดอ่อน สร้างจุดแข็ง พัฒนาคุณภาพการบริการนักท่องเที่ยว ๗. การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ๘. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง ๑.๓ เก็บข้อมูลและประเมินผลตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ ด้วยแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม (Post – Test) ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินความรู้ของผู้เข้าอบรมได้ ดังนี้ - ผู้เข้าอบรม จำนวน ๔๔ คน (กลุ่มเป้าหมายตามโครงการจำนวน ๔๕ คน ถึงแก่กรรมจำนวน ๑ คน) ผ่านเกณฑ์การทดสอบความรู้ที่กำหนด (ร้อยละ ๘๐) จำนวน ๔๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๔๕ ๑.๔ การประเมินผลโครงการ ผ่านแบบประเมินผลโครงการ ซึ่งเป็นการวัดผลความพึงพอใจหรือความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมถึงประสิทธิภาพการดำเนินการ ตลอดจนองค์ความรู้และประโยชน์ที่ได้รับ โดยสามารถสรุปผลความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมในภาพรวมตลอดหลักสูตรได้ ดังนี้ - ความเหมาะสมของความรู้ตลอดหลักสูตรการฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๓๔๙) - ระดับความเหมาะสมของวิทยากรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๓๗๔) - ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการดำเนินการ อาทิ การบริการและอำนวยความสะดวกของเจ้าหน้าที่ คุณภาพของอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตลอดจนพาหนะที่ใช้ในการศึกษาดูงาน ฯลฯ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๑๒) ๑.๕ รวบรวมเอกสารการคืนเงินยืมใช้ในราชการ ๑.๖ จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการฯ กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง นำเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รายละเอียดตามหนังสือสำนักงานวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ที่ กท ๑๒๐๗/๐๙๖๔ ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ เรื่อง รายงานผลการดำเนินการจัดอบรมตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง งบประมาณที่ใช้ไป ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ๑.๑ กลุ่มเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปทั้งสิ้น จำนวน ๒๕๙,๕๕๐.- บาท (สองแสนห้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ๑.๒ กลุ่มบุคลากรด้านการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปทั้งสิ้น จำนวน ๓๘๘,๐๕๐.- บาท (สามแสนแปดหมื่นแปดพันห้าสิบบาทถ้วน) ๑.๓ กลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปทั้งสิ้น จำนวน ๑๒๓,๒๒๐.- บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นสามพันสองร้อยยี่สิบบาทถ้วน) รวมงบประมาณที่ใช้ไป ตามโครงการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว ทั้ง ๓ กิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น ๗๗๐,๘๒๐.- บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นแปดร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
-
Print
(63) กิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 18/9/2563 : จากการที่ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ รัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ ระยะที่ ๕ ในกลุ่มกิจการ/กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง แหล่งท่องเที่ยวบางส่วนได้เริ่มเปิดพื้นที่ กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว สามารถจัดกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ได้ลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว เพื่อจัดกิจกรรม/โครงการในช่วงระยะเวลาที่จำกัด โดยกลุ่มงานฯ ได้ประสานการลงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๒ แหล่ง ได้แก่ ๑) ตลาดมดตะนอย เขตทุ่งครุ ๒) สวนลิ้นจี่โบราณ ภูมิใจการ์เด้นท์ เขตจอมทอง โดยสามารถจัดกิจกรรมบางส่วน ดังนี้ ๖.๑ ตลาดมดตะนอย เขตทุ่งครุ กิจกรรมที่ ๑ โครงการ "เปิดบ้านเปิดคลองเปิดวิถีบางมด" ตอนที่ ๑ "เปิดลานจัดสำรับต้นตำรับอาหารฮาลาล" วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ กิจกรรมที่ ๒ การร่วมงาน บางมดเฟส ครั้งที่ ๔ ตามโครงการ"เปิดบ้าน เปิดคลอง เปิดวิถีบางมด" ตอนที่ ๔ "เปิดตำนานขนมไทย ร่วมร้อยใจพหุวัฒนธรรม" วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กิจกรรมที่ ๓ ผู้แทนตลาดมดตะนอย เข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว รุ่นเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาชน ใน วันพุธที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ และวันเสาร์ที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ - วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ๖.๒ สวนลิ้นจี่โบราณ ภูมิใจการ์เด้นท์ เขตจอมทอง กิจกรรมที่ ๑ การสำรวจแหล่งท่องเที่ยว ณ สวนลิ้นจี่ (ภูมิใจการ์เด้นท์) เขตจอมทอง ในวันเสาร์ที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ กิจกรรมที่ ๒ การประชุมเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ คลี่คลาย ในวันพุธที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กิจกรรมที่ ๓ การสำรวจพื้นที่การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ ภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ คลี่คลาย ในวันศุกร์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ กิจกรรมที่ ๔ การสนับสนุน/ส่งเสริม/การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยกรุงเทพมหานครสนับสนุน การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไมซ์ใหม่กรุงเทพมหานคร ในวันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๓ จากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการดังกล่าว กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการพัฒนาดำเนินการตามขั้นตอนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครให้ได้มาตรฐาน ดังนี้ ๑) ไม่สามารถลงพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ๑) ศูนย์การเรียนรู้ป่าชายเลน เขตบางขุนเทียน ๒) ตลาดน้ำสองคลองวัดตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน ตามแผนและแนวทางที่ได้กำหนดไว้ อย่างไร ก็ตามได้มีการประสานงานผู้แทนแหล่งท่องเที่ยวไว้เบื้องต้น จึงสามารถจัดทำกิจกรรมได้ถึงขั้นตอนการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจในแหล่งท่องเที่ยวก่อนที่หน่วยงานจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในพื้นที่ ๒) ไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลระดับมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวได้ เนื่องจากมีระยะเวลาในการดำเนินการที่จำกัด กิจกรรมที่ดำเนินการในข้อเท็จจริง ๖ และกิจกรรมที่ไม่ได้ดำเนินการในข้อ ๗.๑ เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการยังไม่ครบถ้วนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ประเมินแหล่งท่องเที่ยวในช่วงสถานการ์ที่แหล่งท่องเที่ยวไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยว ไม่สามารถเปิดให้บริการการท่องเที่ยว การขาดรายได้ การขาดโอกาสในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากหน่วยงานมีเป้าหมายเพื่อผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานราชการ แต่ไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่ ของประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว และการเข้าไปสร้างเกณฑ์ในการประเมินแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเวลานี้ ๓) กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ได้วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว ที่ได้ลงพื้นที่ไปดำเนินการเพื่อในอนาคตจักได้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในปีถัดไป ๔) ทั้งนี้ กลุ่มงานพัฒนาการท่องเที่ยว ได้รวบรวมเอกสารที่ได้ดำเนินการเพื่อใช้ประกอบการอุทธรณ์ตรวจประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โครงการ/กิจกรรมตามตัวชี้วัดมาตรการของหน่วยงานในการพัฒนาจำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาให้ได้มาตรฐาน ตามแฟ้มเอกสารที่จักได้นำเสนอต่อไป
-
Print
(64) ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางประเพณี ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 : สรุปผลการดำเนินโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญทางวัฒนธรรมประเพณีสำคัญ จำนวน 5 กิจกรรม ดังนี้ 1. งานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ประจำปี พ.ศ. 2563 - ดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 62 - 1 ม.ค. 63 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กิจกรรมประกอบด้วย พิธีอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรจากบริเวณหอพระฯ ภายในศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมพาผู้สูงอายุไหว้พระขอพร เสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ 2563 กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน 50 เขต กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การแสดงศิลปะพื้นบ้าน จัดแสดงชุดนิทรรศการเคลื่อนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2562 จำนวน 6 ชุดนิทรรศการ ดังนี้ 1. ตำนานยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง ท่าเตียน สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. วงปี่พาทย์พาทยโกศล สาขาศิลปะการแสดง 3. การทำขวัญข้าว เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. การกวนกระยาสารท เขตทวีวัฒนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. สมุดข่อย เขตบางซื่อ สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. มวยไทย สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 10,000 คน ค่าใช้จ่ายในการจ้างเหมาจัดงานเป็นเงิน 4,684,500.- บาท (สี่ล้านหกแสนแปดหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน) 2. ยกเลิกการจัดกิจกรรมและโอนงบประมาณเข้างบกลาง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ดังนี้ 2.1 งานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 2.2 งานสงกรานต์ฝั่งธนบุรี ประจำปี พ.ศ. 2563 2.3 กิจกรรมทดสอบกอรีกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2563 2.4 งานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2563 3. งบประมาณ - รวมใช้จ่ายงบประมาณ เป็นเงิน 4,684,500.-บาท - โอนงบประมาณเข้างบกลาง เป็นเงิน 20,501,3000.-บาท - คงเหลืองบประมาณ เป็นเงิน 293,000.-บาท 4. ตัวชี้วัดจำนวนชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาและการเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมผ่านชุดนิทรรศการที่จัดแสดงในแหล่งเรียนรู้ ผลสำเร็จ ชุดนิทรรศการ จำนวน 6 ชุด
-
Print
(65) ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 : สรุปผลการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1. ดำเนินการจัดพิธีทำบุญตักบาตร งานเผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปีพระพุทธศักราช 2563 - ดำเนินการจัดพิธีทำบุญตักบาตรแล้วเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 63 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี และมีพระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นประธานสงฆ์ พร้อมพระสงฆ์จำนวน 69 รูป มีผู้ร่วมงานประมาณ 500 คน ใช้จ่ายงบประมาณ เป็นเงิน 197,300.-บาท 2. ยกเลิกการจัดกิจกรรมและโอนงบประมาณเข้างบกลาง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ดังนี้ 2.1 จัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2563 2.2 จัดพิธีทำบุญตักบาตรงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2563 3. งบประมาณ - รวมใช้จ่ายงบประมาณ เป็นเงิน 197,300.-บาท - โอนงบประมาณเข้างบกลาง เป็นเงิน 2,168,500.-บาท 4. ตัวชี้วัดจำนวนเครือข่ายด้านพหุวัฒนธรรมที่มีในกรุงเทพมหานคร ผลสำเร็จ 9 เครือข่าย
-
Print
(66) ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 : สรุปผลการดำเนินการโครงการ 1. จัดทำแบบจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) เรียบร้อยแล้ว จำนวน 6 รายการ ดังนี้ 1. ตำนานจระเข้ดาวคะนอง สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. สำนักดนตรีไทยหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) สาขาศิลปะการแสดง 3. ประเพณีตักบาตรพระร้อยทางเรือ (วัดสุทธาโภชน์) เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. ขนมตึงตัง เขตบางนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. ผ้าไหมบ้านครัว เขตราชเทวี สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. ศิลปศาสตร์การต่อสู้ประจำชาติไทย ค่ายพระยาตาก (นายกฤษณ์ ฤทธิ์เดชา) เขตหนองแขม สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว และดำเนินการจัดทำคู่มือในการจัดเก็บมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นแนวทางให้สำนักงานเขตดำเนินการจัดเก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ต่อไป 2. งบประมาณ - กระทรวงวัฒนธรรมยกเลิกการอุดหนุนงบประมาณสำหรับการจัดประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร เป็นเงิน 192,900.-บาท ส่วนวัฒนธรรมจึงได้ดำเนินการขอจัดสรรงบประมาณกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ได้รับจัดจัดสรรงบประมาณดังกล่าวเนื่องจากปลัดกรุงเทพมหานครให้ชะลอการจัดกิจกรรมที่ไม่เร่งด่วน ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดส่งข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) จำนวน 6 รายการ ให้คณะกรรมการฯ และผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาทางไปรษณีย์แทนการจัดประชุม 3. ตัวชี้วัดจำนวนชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาและการเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมผ่านชุดนิทรรศการที่จัดแสดงในแหล่งเรียนรู้ ผลสำเร็จชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรม จำนวน 6 ชุด/เรื่อง
-
Print
(67) กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวัฒนธรรม
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 : สรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. จัดแสดงชุดนิทรรศการเคลื่อนที่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ที่ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2562 จำนวน 6 ชุด ดังนี้ 1. ตำนานยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดแจ้ง ท่าเตียน สาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. วงปี่พาทย์พาทยโกศล สาขาศิลปะการแสดง 3. การทำขวัญข้าว เขตลาดกระบัง สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. การกวนกระยาสารท เขตทวีวัฒนา สาขาความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 5. สมุดข่อย เขตบางซื่อ สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. มวยไทย สาขาการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะต่อสู้ป้องกันตัว ทั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดแสดงชุดนิทรรศการดังกล่าวในการจัดงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ และกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ประจำปี พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 62 – 1 ม.ค. 63 ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2. ดำเนินการมอบหนังสือมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครให้แก่ - ผู้อำนวยการสำนัก และผู้อำนวยการเขต หน่วยงาน/ส่วนราชการละ 1 เล่ม - ห้องสมุดกรุงเทพมหานคร 36 แห่งๆ ละ 1 เล่ม และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการและเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 3. เผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านวัฒนธรรมผ่านเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม ดังนี้ 3.1 บางกอกบอกเล่าเรื่อง (วัด) โดยได้ทำการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวัดเป็นตอนๆ ทุกวันธรรมสวนะ ตอนที่ 1 "วัด" หมายถึงอะไรกันนะ, ตอนที่ 2 นิยามพระอารามหลวง, ตอนที่ 3 เรื่อง พระอารามหลวง (ต่อ) ตอนที่ 4 เรื่องวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 3.2 เผยแพร่ข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ดังนี้ - เรื่อง ตำนานแม่นากพระโขนง สู่ภาพยนตร์ - เรื่อง ศิลปะไม้ดัดและเขามอของไทย (ไม้ตำรา) - เรื่อง การละเล่นโถกเถก - เรื่อง ข้าวแช่ อาหารในเทศกาลสงกรานต์ - เรื่อง นางโคราคะเทวี (ตำนานนางสงกรานต์) - เรื่อง การละเล่นมอญซ่อนผ้า - เรื่อง ประวัติการเล่นหมากรุกในประเทศไทย - เรื่อง ประเพณีวันอัฏฐมีบูชา - เรื่อง ตำนานว่าวไทยและการแข่งขัน - เรื่อง เกร็ดความรู้ “การเสี่ยงทาย วันพืชมงคล” - เรื่อง ทองคำเปลว ย่านมัสยิด บ้านตึกดิน - เรื่อง การเล่นสกา - เรื่อง คุณหมอมากาเร็ตลินเซเวียร์ แพทย์หญิงคนแรกของเมืองไทย - เรื่อง หมากฮอส - เรื่อง สะบ้า 3.3 เผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่อง วัด และ วัง 3.4 เผยแพร่บทประพันธ์ของอาจารย์ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 3.5 เผยแพร่ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้สิ่งทอและแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย) สมบัติเพิ่มพูนแกลลอรี่ (สาขาทัศนศิลป์) 4. จัดทำเอกสารให้ความรู้ ซึ่งเป็นสรุปสาระสำคัญโดยย่อจากแบบจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (มภ.2) ของรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2562 เพื่อเผยแพร่ให้แก่เครือข่ายผู้ปฏิบัติงานด้านวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครผ่านทางหนังสือเวียนกรุงเทพมหานครตามหนังสือสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ที่ กท 1207/ 2587 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2563 เรื่อง การเผยแพร่ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ประจำปี พ.ศ.2562 และขอความอนุเคราะห์จัดทำแบบทดสอบการเรียนรู้เพื่อประเมินผลการรับรู้ข้อมูล ซึ่งสมาชิกเครือข่ายฯ ได้ดำเนินการทดสอบความรู้ในระบบออนไลน์ จำนวน 130 คน มีผู้ทำคะแนนแบบทดสอบทางออนไลน์ได้ร้อยละ 90 จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 90.77 5. ตัวชี้วัดจำนวนชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ เขตกรุงเทพมหานครได้รับการพัฒนาและการเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมผ่านชุดนิทรรศการที่จัดแสดงในแหล่งเรียนรู้ ผลสำเร็จ ชุดนิทรรศการ จำนวน 6 ชุด และประชาชนที่ได้รับความรู้ด้านพหุวัฒนธรรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.77
-
Print
(68) จัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 30/08/2563 : - สรุปการจัดตั้งเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการส่งหนังสือแจ้งสมาชิกกรรมการเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 9 สาขา เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1. สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 8 ราย 2. สาขาดนตรีและการขับร้อง จำนวน 4 ราย 3. สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย จำนวน 1 ราย 4. สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 13 ราย 5. สาขาสถาปัตยกรรม จำนวน 2 ราย 6. สาขาเรขศิลป์ จำนวน 1 ราย 7. สาขามัณฑนศิลป์ จำนวน 2 ราย 8. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน 3 ราย 9. สาขาภาพยนตร์ จำนวน 1 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 จะได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตามโครงการเสริมสร้างพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของกรุงเทพมหานคร และการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆของเครือข่ายในแต่ละสาขาต่อไป
-
Print
(69) สำรวจ และจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 :สรุปการดำเนินการโครงการ ดังนี้ 1. รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากสำนักงานเขต 50 เขต และจัดทำเป็นฐานข้อมูล จำนวน 42 แหล่ง ได้แก่ 1. สาขาทัศนศิลป์ จำนวน 14 แหล่ง 2. สาขาดนตรีและการขับร้อง จำนวน 7 แหล่ง 3. สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย จำนวน 4 แหล่ง 4. สาขาวรรณศิลป์ จำนวน 3 แหล่ง 5. สาขาสถาปัตยกรรม จำนวน 5 แหล่ง 6. สาขามัณฑนศิลป์ จำนวน 1 แหล่ง 7. สาขาเรขศิลป์ จำนวน 3 แหล่ง 8. สาขาศิลปะการแสดง จำนวน 2 แหล่ง 9. สาขาภาพยนตร์ จำนวน 3 แหล่ง 2. นำฐานข้อมูลองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่ได้จากการสำรวจทั้ง ๙ สาขา จัดทำในรูปแบบรูปเล่มรายงาน โดยวิธีการสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในรูปแบบเอกสาร เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของสำนักวัฒนธรรมกีฬา และการท่องเที่ยวต่อไป 3. ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครจากสำนักงานเขต 50 เขต ผ่านเฟซบุคส่วนวัฒนธรรม
-
Print
(70) ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย:-->
สยป.ตรวจประเมิน (ถูกต้อง ครบถ้วน)
: 17/9/2563 : สรุปผลการดำเนินโครงการ ดังนี้ 1. จำนวนผู้ใช้บริการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ เดือนตุลาคม 2562 จำนวน 122 คน เดือนพฤศจิกายน 2562 จำนวน 72 คน เดือนธันวาคม 2562 จำนวน 89 คน เดือนมกราคม 2563 จำนวน 79 คน เดือนกุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 68 คน เดือนมีนาคม 2563 จำนวน 57 คน เดือนเมษายน 2563 จำนวน 0 คน เดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 0 คน เดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 49 คน เดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 69 คน เดือนสิงหาคม 2563 จำนวน 29 คน 2. งดให้บริการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. - 18 พ.ค. 2563 ตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 9) ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2563 3. ยกเลิกการจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยและโอนงบประมาณเข้างบกลาง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นเงิน 224,226.-บาท 4. ดำเนินการเบิกจ่ายค่าตอบแทนอาสาสมัครพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นฯ เดือนตุลาคม 2562 เป็นเงิน 23,040.-บาท เดือนพฤศจิกายน 2562 เป็นเงิน 20,520.-บาท เดือนธันวาคม 2562 เป็นเงิน 21,600.-บาท เดือนมกราคม 2563 เป็นเงิน 24,120.-บาท เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นเงิน 20,520.-บาท เดือนมีนาคม 2563 เป็นเงิน 19,080.-บาท เดือนเมษายน 2563 ไม่มีการเบิกจ่ายเนื่องจากปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นเงิน 22,320.-บาท เดือนมิถุนายน 2563 เป็นเงิน 21,600.-บาท เดือนกรกฎาคม 2563 เป็นเงิน 24,120.-บาท เดือนสิงหาคม 2563 เป็นเงิน 20,880.-บาท รวมเป็นเงิน 217,800.-บาท 5. นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้จัดเวรเข้าเยี่ยมและตรวจสอบการดำเนินงานเป็นประจำ เพื่อนำข้อเสนอแนะของผู้มาใช้บริการมาปรับปรุงให้ได้รับการบริการที่ดีขึ้น รวมถึงการตรวจตราความเรียบร้อยของแม่บ้าน รปภ. ความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ 6. งบประมาณ - ใช้งบประมาณ เป็นเงิน 217,800.-บาท - โอนเงินเข้างบกลาง เป็นเงิน 224,226.-บาท - คงเหลือ เป็นเงิน 78,174.-บาท
-
Print
สรุปผลงาน
ตัวชี้วัด
โครงการฯ
รายงานล่าสุด