โครงการ/กิจกรรม ปีงบประมาณ : 2564 ของหน่วยงาน : 07000000
Home
Home SED
กรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานปกครองและทะเบียน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานตรวจสอบภายใน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** กองงานผู้ตรวจราชการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานประชาสัมพันธ์ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานกฎหมายและคดี สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์
สำนักอนามัย
สำนักการศึกษา
สํานักการโยธา
สํานักการระบายน้ำ
สํานักการคลัง
สํานักเทศกิจ
สํานักการจราจรและขนส่ง
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล
สํานักสิ่งแวดล้อม
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
สํานักพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตพระนคร
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
สำนักงานเขตบางรัก
สำนักงานเขตปทุมวัน
สำนักงานเขตยานนาวา
สำนักงานเขตดุสิต
สำนักงานเขตพญาไท
สำนักงานเขตห้วยขวาง
สำนักงานเขตพระโขนง
สำนักงานเขตบางกะปิ
สำนักงานเขตบางเขน
สำนักงานเขตมีนบุรี
สำนักงานเขตลาดกระบัง
สำนักงานเขตหนองจอก
สำนักงานเขตธนบุรี
สำนักงานเขตคลองสาน
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
สำนักงานเขตบางกอกน้อย
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สำนักงานเขตหนองแขม
สำนักงานเขตบางขุนเทียน
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
สำนักงานเขตดอนเมือง
สำนักงานเขตจตุจักร
สำนักงานเขตลาดพร้าว
สำนักงานเขตบึงกุ่ม
สำนักงานเขตสาทร
สำนักงานเขตบางคอแหลม
สำนักงานเขตบางซื่อ
สำนักงานเขตราชเทวี
สำนักงานเขตคลองเตย
สำนักงานเขตประเวศ
สำนักงานเขตบางพลัด
สำนักงานเขตจอมทอง
สำนักงานเขตดินแดง
สำนักงานเขตสวนหลวง
สำนักงานเขตวัฒนา
สำนักงานเขตบางแค
สำนักงานเขตหลักสี่
สำนักงานเขตสายไหม
สำนักงานเขตคันนายาว
สำนักงานเขตสะพานสูง
สำนักงานเขตวังทองหลาง
สำนักงานเขตคลองสามวา
สำนักงานเขตบางนา
สำนักงานเขตทวีวัฒนา
สำนักงานเขตทุ่งครุ
สำนักงานเขตบางบอน
2566
2565
2564
2563
2562
2561
แสดงข้อมูล
กราฟสถานะโครงการ
พิมพ์ออกไฟล์เป็น PDF
สำนักงานเลขานุการ
(1) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร (Happy Work Place)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/09/2564 : ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ ดำเนินการจัดกิจกรรม Happy work place ดังนี้ 1. โรงพยาบาลกลาง จัดให้มีงานเกษียณอายุราชการแก่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยจัดงานภายใต้การเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรคโควิด - 19 - ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์พักคอยทั้ง 5 แห่ง เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหา - ข้าราชการและบุคลากรโรงพยาบาลกลาง เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ - คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรโรงพยาบาลกลาง ร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยให้กับบุคลากรโรงพยาบาลกลางที่เสียชีวิต - โรงพยาบาลกลาง ได้รับพระราชทานอาหารและเจลแอลกอฮอลล์ - บุคลากรโรงพยาบาลกลาง ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 20 กันยายน 2564 โรงพยาบาลกลาง จัดให้มีงานเกษียณอายุราชการแก่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี พ.ศ. 2564 โดยจัดงานภายใต้การเว้นระยะห่างเพื่อป้องกันโรคโควิด - 19 - ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์พักคอยทั้ง 5 แห่ง เพื่อให้กำลังใจและรับฟังปัญหา - ข้าราชการและบุคลากรโรงพยาบาลกลาง เข้าร่วมแสดงความยินดีกับ นพ.เพชรพงษ์ กำจรกิจการ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ - คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และบุคลากรโรงพยาบาลกลาง ร่วมแสดงความเสียใจและไว้อาลัยให้กับบุคลากรโรงพยาบาลกลางที่เสียชีวิต - โรงพยาบาลกลาง ได้รับพระราชทานอาหารและเจลแอลกอฮอลล์ - บุคลากรโรงพยาบาลกลาง ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 2. โรงพยาบาลตากสิน จัดกิจกรรมดังนี้ 1. โครงการดีๆ "Shop มันส์ อิ่มบุญ สุดคุ้มกับราคา แถมได้เสื้อใส่ด้วย" 2. โรงพยาบาลตากสิน ร่วมกับ โครงการ Vaccinated together 3.จัดกิจกรรมจำหน่ายเสื้อยืดคอกลมที่ระลึก เพื่อนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสบทบทุนเข้ากองทุนโควิด-19 "มูลนิธิโรงพยาบาลตากสิน“ ราคาตัวละ 350 บาท.- (ไซส์ XS, S, M, L, XL, 2XL) : ผ้า Cotton 100% สามารถสั่งซื้อได้ที่ Shopee 3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดกิจกรรมดังนี้ - ด้านสุขภาพดี (Happy Body) 1. การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส Covid-19 2. โครงการตรวจสุขภาพบุคลากรประจำปี 2564 3. กิจกรรมการดำเนินการป้องกันและควบคุมการเกิดเชื้อดื้อยาต่อยาต้านจุลชีพใน รพ. - ด้านน้ำใจงาม (Happy Hearth) 1. ของหายแล้วได้คืน 2. กิจกรรม “น้ำดื่มสมุนไพร ต้านโควิด 19 แด่บุคลากร รพจ.” 3. กิจกรรมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์ และ จนท. ดูแลผู้ป่วย Covid-19 พร้อมมอบชุด PPEให้แก่ รพ.เอราวัณ 3 4. รพจ. รวมใจสู้ภัยโควิด “รับมอบสิ่งของบริจาค และเงินบริจาค” - ด้านผ่อนคลาย (Happy Relax) 1. มีเสียงตามสาย (อาสาพาสบาย เวลา 12.00-13.00 น.) - ด้านการหาความรู้ (Happy Brain) 1. เปิดให้บริการห้องสมุด ณ อาคารเวชศาสตร์การกีฬา และเวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 3 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 20.00น. เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ 2. จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ กทม. “เตรียมให้พร้อมก่อนไปฉีดวัคซีนป้องกัน Covid-19” 3. โครงการเสริมทักษะและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ด้านปลอดหนี้ (Happy Money) 1. การออมเงินฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์วชิระพยาบาล 2. มีกลุ่ม Face book ตลาดออนไลน์เพื่อทำการซื้อ-ขายสินค้าอุปโภค บริโภคของบุคลากรในโรงพยาบาลโดยใช้ชื่อ ""ตลาดนัดขายของ ร.พ. เจริญกรุงประชารักษ์ CKP market"" ตัวอย่างสินค้าที่ขายในกลุ่ม ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอางค์ สินค้า OTOP เป็นต้น - ด้านทางสงบ (Happy Soul) 1. ทำบุญตักบาตรประจำสัปดาห์ (ทุกวันอังคาร) 2. กิจกรรมทำบุญตักบาตร ประจำวันสำคัญต่างๆ ของประเทศไทย รพ. สนพ. กทม. - ด้านครอบครัวดี (Happy Family) 1. มีศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ดูแลบุตร/ธิดา ของบุคลากร 2. จัดกิจกรรมวันพ่อ/แม่ แห่งชาติเป็นประจำทุกปี 3. กิจกรรมปลูกรัก ปลูกสมุนไพร เนื่องในวันแม่ - ด้านสังคมดี (Happy Society) 1. กิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน 2. จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนใกล้ รพ. เช่น กิจกรรมรณรงค์การฉีดวัคซีน การดูแลผู้สูงอายุ การสอนอาชีพสำหรับผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ที่มีที่พักอาศัยอยู่ใกล้กับ รพจ. 3. รพจ. รวมใจสู้ภัยโควิด “บริจาคสิ่งของแก่ชุมชน" 4.โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ Happy Soul (คุณธรรม) การมีศีลธรรม จิตวิญญาณที่ดี - กิจกรรมทำบุญเลี้ยงพระ ถวายอาหารเพล อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 และผู้ป่วยอื่น ๆ พร้อมเปิดห้อง ICU ความดันลบ 5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว 6.โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ให้แก่บุคลากร 7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ โครงการ save and clean วันที่ 1 ตุลาคม 2563 คณะทำงานองค์กรแห่งความสุข (Happy work Place) โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จัดโครงการ save and clean ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ได้แก่ สบู่เหลวล้างมือ น้ำยาล้างจาน และน้ำยาอเนกประสงค์ สำหรับ ใช้ในโรงพยาบาล ในปีงบประมาณ 2564 เพื่อ ลดต้นทุน รักษาสิ่งแวดล้อม โดยจิตอาสาช่วยกันผลิตทุกวัน พฤหัสบดี และวันศุกร์ ในเดือน 2564 กันยายน 2564 สบู่เหลวล้างมือ 16 ลิตร จากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1. ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจานร้อยละ 80.35 ความต้องการใช้ร้อยละ 100 2. ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือร้อยละ 72.42 ความต้องการใช้ร้อยละ 92.85 ไม่ต้องการใช้ร้อยละ 7.14 3. ความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ร้อยละ 71.42 ความต้องการใช้ร้อยละ 100 (ตามเอกสารแนบ) มีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วยข้าราชการบุคลากรของโรงพยาบาลราชพิพัฒน์จำนวน 5 คน ตอบสนองการสร้างความสุขในองค์กรความพึงพอใจด้าน Happy Money, Happy Heart, Happy Society 8. โรงพยาบาลสิรินธร ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ - ด้านสุขภาพดี (Happy Body) 1. โครงการฉีดวัควีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ - ด้านน้ำใจงาม (Happy Hearth) 1. กิจกรรมทำดีมีคนชม - ด้านการหาความรู้ (Happy Brain) 1. โครงการอบรมพัฒนาความรู้บุคลากรกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกสังกัดกทม. 2. เปิดให้บริการห้องสมุด ณ อาคารวิทยพยาบาล ชั้น 3 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 15.00 - 20.00น. เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ - ด้านปลอดหนี้ (Happy Money) 1. การออมเงินฝากกับสหกรณ์ออมทรัพย์ 2. มีสวนสำหรับปลูกพืชผักสวนครัว และปลูกกล้วย เพื่อปลุกจิตสำนึกการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง 3. มีกลุ่มตลาดออนไลน์เพื่อทำการซื้อ-ขายสินค้าอุปโภค บริโภคของบุคลากรในโรงพยาบาลโดยใช้ชื่อ "สิรินธร Market" ตัวอย่างสินค้าที่ขายในกลุ่ม ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องสำอางค์ สินค้า OTOP เป็นต้น - ด้านครอบครัวดี (Happy Family) 1. มีศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ 9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ต้องชะลอโครงการ เนื่องจากไม่สามารถจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนได้ 10.โรงพยาบาลคลองสามวา ดำเนินการดังนี้ 1. Happy body จัดโซนให้มีเครื่องออกกำลังกายสำหรับเจ้าหน้าที่ 2. Happy money กิจกรรมออมเงินของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล พร้อมให้ความรู้เรื่องการออมเงิน 3. จัดโครงการปลูกผักสวนครัวในโรงพยาบาลเพื่อนำมาทำเป็นอาหารมื้อกลางวันแก้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล 4. Happy reax จัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้มีบรรยากาศผ่อนคลาย มีการออกกำลังกายหลังเลิกงานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร 5. ดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตบุคลากร ตามหลักแนวคิดการจัดสมดุลชีวิตของมนุษย์ด้วย Happy 8 (ความสุข 8 ประการ) 1. Happy Body (สุขภาพ) การมีสุขภาพดี - ตรวจคัดกรอง ATKบุคลากร เจ้าหน้าโรงพยาบาลเป็นเวลา 5 สัปดาห์ 2. Happy Heart (น้ำใจงาม) การมีน้ำใจไมตรีต่อกัน - ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาด แต่ละแผนกในโรงพยาบาลทุกบ่ายวันจันทร์ - ประชาชนในพื้นที่เขตบางนามอบอาหารกลางวันให้บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 3. Happy Relax (ผ่อนคลาย) การรู้จักผ่อนคลาย - ร่วมกันรับประทานอาหารกลางวันในการประชุมประจำเดือน - จัดกิจกรรมอวยพรวันคล้ายวันเกิดของบุคลากรประจำเดือน 4. Happy Brain (หาความรู้) การใฝ่รู้พัฒนาตนเอง - เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ “วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยโรค (The 3rd World Patient Safety Day)” และ “วันแห่งความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทย (The 5th Thailand Patient and Personnel Safety Day)” ประจำปี 2564 วันที่ 16-17 กันยายน 2564 5.Happy Money (ปลอดหนี้) - บุคลากรมีอาหารกลางวันรับประทานฟรีเนื่องจากประชาชนในพื้นที่เขตบางนาบริจาคช่วงสถานการณ์โควิด-19 - นโยบายองค์กรปลอดพลาสติกและโฟม บุคลากรในโรงพยาบาลนำแก้วน้ำมาใช้เอง และใช้ถุงผ้า - บุคลากรในโรงพยาบาลโดยสารรถมาทำงานร่วมกัน ช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ 6. Happy Soul (ทางสงบ) - บุคลากรร่วมกันสวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกบ่ายวันจันทร์ 7.Happy Family (ครอบครัวดี) บุคลากรมีครอบครัวที่อบอุ่น และมั่นคงปลูกฝังนิสัยรักครอบครัวเพื่อนำไปเป็นหลักการใช้ชีวิต 8.Happy Society (สังคมดี) ทุกส่วนราชการในสังกัดมีความรักสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและพักอาศัย มีสังคมและสภาพแวดล้อมที่ดี - เจ้าหน้าที่พยาบาล รพบ. ช่วยออกฉีดวัคซีนโควิด-19 ในโรงพยาบาลบางนา 11. ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 1. Happy Body (สุขภาพ) การมีสุขภาพดี: 1.1) กิจกรรมออกกำลังกาย “MSD SPORT DAY” ร่วมกับเลขานุการสำนักการแพทย์ ทุกวันพุธ เวลา 15.00 น. ไม่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 1.2) กิจกรรมออกกำลังกาย “โยคะ” ร่วมกับเลขานุการสำนักการแพทย์ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 15.00 น. ไม่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 1.3) กิจกรรมออกกำลังกาย “เอราวัณชวนวิ่ง” ทุกวันหลังเวลาเลิกงานและช่วงพักกลางวัน ไม่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 2. Happy Heart (น้ำใจงาม) การมีน้ำใจไมตรีต่อกัน: กิจกรรม “2GIVE MARKET ตลาดของมือ2” เดือนกันยายน ไม่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 3. Happy Society (สังคมดี) การเอื้อเฟื้อต่อสังคม/ชุมชน: กิจกรรมโครงการ ปั๊ม กระตุก ปลุกชีพ เดือนกันยายน ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จึงเลื่อนกิจกรรมออกไปแบบไม่มีกำหนด 4. Happy Relax (ผ่อนคลาย) การรู้จักผ่อนคลาย: กิจกรรมการนั่งสมาธิ "ตั้งสติก่อนเริ่ม เพิ่มประสิทธิภาพงาน" ทุกวันจันทร์ เวลา 09.00 น. ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 5. Happy Brain (หาความรู้) การใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง: 1.1) กิจกรรมประชาสัมพันธ์เกร็ดความรู้ต่าง ๆ ใน facebook ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 1.2) กิจกรรมประชาสัมพันธ์ความรู้ต่าง ๆ ทางด้านการแพทย์ในแอปพลิเคชัน Tiktok ของแต่ละกลุ่มงานในหน่วยงานศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากติดภารกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 6. Happy Soul (คุณธรรม) การมีศีลธรรม จิตวิญญาณที่ดี: เดือนกันยายน ไม่มีการจัดกิจกรรมเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 7. Happy Money (ใช้เงินเป็น) การรู้จักใช้ไม่เป็นหนี้: กิจกรรมสร้างกลุ่มออนไลน์เพื่อจำหน่ายสินค้า ร่วมกับเลขานุการสำนักการแพทย์ เดือนกันยายน มีนางสาวภัทราพร สารผล ชายอาหารตามสั่ง 8. Happy Family (ครอบครัวดี) มีความครอบครัวที่อบอุ่น: กิจกรรมอวยพรวันเกิดแก่บุคลากรในหน่วยงาน มีบุคลากรเกิดในเดือนกันยายน จำนวน 11 คน 12. สำนักงานเลขานุการสำนักการแพทย์ ดำเนินการดังนี้ 1. กิจกรรมความรู้คู่สุขา เป็นกิจกรรมแผ่นป้ายให้ความรู้ภายในห้องน้ำหน่วยงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Brain 2. กิจกรรมรายการข่าวเช้า เล่าสุขภาพ และกิจกรรมเสียงตามสายสำนักการแพทย์ MSD Happy Family เป็นกิจกรรมรายงานสถานการณ์ต่างๆ ภายในกรุงเทพมหานคร และข่าวภายในสำนักการแพทย์ มีทั้งเรื่องของความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ทั่วไป และการเปิดเพลงเพื่อผ่อนคลายในช่วงเวลาพักเที่ยง ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Brain และ Happy Relax 3.กิจกรรมเปิดตลาดออนไลน์ “สพบ. Green Market” เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน ได้มีช่องทางในการหารายได้พิเศษ รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Money 13. สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ ดำเนินการดังนี้ 1.กิจกรรมความรู้คู่สุขา เป็นกิจกรรมแผ่นป้ายให้ความรู้ภายในห้องน้ำหน่วยงาน ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Brain 2.กิจกรรมรายการข่าวเช้า เล่าสุขภาพ และกิจกรรมเสียงตามสายสำนักการแพทย์ MSD Happy Family เป็นกิจกรรมรายงานสถานการณ์ต่างๆ ภายในกรุงเทพมหานคร และข่าวภายในสำนักการแพทย์ มีทั้งเรื่องของความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ทั่วไป และการเปิดเพลงเพื่อผ่อนคลายในช่วงเวลาพักเที่ยง ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Brain และ Happy Relax 3.กิจกรรมเปิดตลาดออนไลน์ “สพบ. Green Market” เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน ได้มีช่องทางในการหารายได้พิเศษ รู้จักเก็บ รู้จักใช้ ซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างสุขในองค์กรด้าน Happy Money
-
Print
(2) การเบิกจ่ายงบประมาณตามแผน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/09/2564 : สำนักการแพทย์ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 ประจำเดือนกันยายน 2564 ดังนี้ 1. หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ 60.50 % 2. หมวดค่าจ้างชั่วคราว 46.27% 3. หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ 60.50 % 4. ค่าสาธารณูปโภค 84.87% 5. หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 97.47 % 6. รายจ่ายอื่น 65.80 % รวมเบิกจ่ายทั้งสิ้น 77.16 %
-
Print
สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
(3) โครงการทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/08/2564 : ขั้นตอนจัดทำหนังสือขอยกเลิกทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
-
Print
(4) กิจกรรมการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/09/2564 : ส่งต่อ - อยู่ระหว่างคณะทำงานส่งต่อแต่ละกลุ่มโรคดำเนินการรวบรวมผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 (เดือน ส.ค.64) ให้ส่วนกลางเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ในภาพรวม สนพ. ต่อไป
-
Print
(5) โครงการ กทม. ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : สำนักการแพทย์ได้กำหนดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบคุ้มครองผู้สูงอายุตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 -2564) ครั้งที่ 4/2564 ในวันที่ 30 กันยายน 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น. รูปแบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ผ่านแอพพลิเคชัน Zoom เพื่อติดตามการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมฯ และสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินโครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง จำนวน 10 แห่งโดยผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง Geriatric Assessment ได้แก่ การคัดกรองความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ (ADL) คัดกรองภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่(Incontinence) คัดกรองภาวะหกล้ม TUGT เป็นต้น จำนวนทั้งหมด 7,812 ราย พบปัญหาจากการคัดกรอง เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อ และได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งหมด จำนวน 270 ราย และได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ได้รับบริการที่ประทับใจและมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาในระดับมาก-มากที่สุด จำนวน 204 ราย คิดเป็น ร้อยละ 75.56
-
Print
(6) โครงการประกวดสุขภาพผู้สูงอายุสำนักการแพทย์
ยกเลิก (5.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/08/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2563 จนถึงปัจจุบัน จึงขอให้งดการกิจกรรมที่มีการรวมตัวจำนวนมากไปก่อน ทางสำนักการแพทย์จึงอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ เพื่อพิจารณาการจัดโครงการต่อไป
-
Print
(7) โครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : . มีการใช้ระบบการบริการแบบ New normal โดยมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 ส.ค. 2564 ดังนี้ 1) การให้บริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile lab) จำนวน 673 ครั้ง 2) การให้บริการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 7,729 ครั้ง 3) การรับยาทางไปรษณีย์ จำนวน 7,434 ครั้ง 4) การับยาผ่านระบบ Drive thru จำนวน 1,811 ครั้ง 5) การรับยาร้านขายยา จำนวน 1 คน
-
Print
(8) โครงการสัมมนาวิชาการประจำปีครั้งที่ 18 สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/08/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีการระบาดทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
-
Print
(9) โครงการพัฒนาระบบส่งต่อระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/09/2564 :อยู่ระหว่างคณะทำงานส่งต่อแต่ละกลุ่มโรคดำเนินการรวบรวมผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 4 (เดือน ส.ค.64) ให้ส่วนกลางเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ในภาพรวม สนพ. ต่อไป
-
Print
(10) กิจกรรมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลขั้นที่ 1
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/08/2564 : รพข. ผลการดำเนินงาน รพ.ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 รวมทั้งส่งเอกสารประกอบคำขอรับรองและหนังสือแสดงความจำนงเพื่อขอรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 แล้ว อยู่ระหว่างการประสานจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) รพค. ผลการดำเนินงาน รพ.ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 รวมทั้งส่งเอกสารประกอบคำขอรับรองและหนังสือแสดงความจำนงเพื่อขอรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 - 2 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 แล้ว อยู่ระหว่างการประสานจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) รพบ. ผลการดำเนินงาน รพ.ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 รวมทั้งส่งเอกสารประกอบคำขอรับรองและหนังสือแสดงความจำนงเพื่อขอรับรองคุณภาพสถานพยาบาลขั้นที่ 1 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 แล้ว อยู่ระหว่างการประสานจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานทั้ง 3 โรงพยาบาลมีความก้าวหน้าเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ขั้นที่ 1 อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการทบทวนผลงาน ความเสี่ยง และปัญหาเพื่อเตรียมการขอรับการรับรองกระบวนการคุณภาพสถานพยาบาล ขั้นที่ 1 ซึ่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ระดับความสำเร็จของตัวชี้วัด ที่กำหนด อยู่ที่ระดับ 5 เกณฑ์ร้อยละความสำเร็จ ร้อยละ 100
-
Print
โรงพยาบาลกลาง
(11) ประชุมใหญ่วิชาการประจำปีโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 3
ยกเลิก (50.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติยกเลิกโครงการประชุมใหญ่วิชาการประจำปีโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 3 จากผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เลขที่หนังสือ กท 0605/5578
-
Print
(12) อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/08/2564 : ดำเนินการส่งผลการอบรม สรุปการประเมินผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ส่งไปยังสำนักการแพทย์ ตามหนังสือเลขที่ กท 0605/7944 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(13) อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัย
ยกเลิก (45.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติยกเลิกโครงการประชุมใหญ่วิชาการประจำปีโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 3 จากผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เลขที่หนังสือ กท 0605/5578
-
Print
(14) อบรมป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประจำปี 2564
ยกเลิก (50.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติยกเลิกโครงการประชุมใหญ่วิชาการประจำปีโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 3 จากผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ลงวันที่ 21 พ.ค. 2564 เลขที่หนังสือ กท 0605/5075
-
Print
(15) อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพในการดูแล ผู้สูงอายุอย่างครอบคลุม (Geri-Link Nurse Education Program)
ยกเลิก (40.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติยกเลิกโครงการประชุมใหญ่วิชาการประจำปีโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 3 จากผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ลงวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เลขที่หนังสือ กท 0605/5578
-
Print
(16) อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประยุกต์ใช้แบบประเมินตนเอง SAR 2020
ยกเลิก (70.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/02/2564 : ทำหนังสือขอยกเลิกโครงการ เสนอผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 เพื่อขออนุมัติจากปลัดกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้โครงการได้รับอนุมัติยกเลิกเีรยบร้อยแล้ว ตามเอกสารแนบ
-
Print
(17) พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/09/2564 : - มีคลินิกโรคปอดสัปดาห์ละ 2 วัน ให้การปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลทุกราย จัดห้องตรวจแยกจากผู้ป่วยทั่วไป ลดขั้นตอนการติดต่อของผู้ป่วย มีระบบการส่งตรวจเสมหะ และการค้นหาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา ระบบการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสงสัยวัณโรค (Fast track screening) และมีการติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาเร็วขึ้น มีระบบนัดและระบบการแจ้งเตือนวันนัด - ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน NGO ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคไร้บ้านให้สามารถรับยาได้ต่อเนื่อง - พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับยาต่อเนื่อง โดยใช้บริการ Referral Center for TB ของสำนักอนามัย - ติดตามผู้ป่วยและประสานงานงานผ่านระบบ Referral เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับยาได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วง สถานการณ์ COVID -19 - โดยสรุปข้อมูลไตรมาส 4 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา โรงพยาบาลกลาง ดำเนินการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อัตราผลสำเร็จในการรักษา เท่ากับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาหาย (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) รวมกับจำนวนผู้ป่วยที่รักษาครบ (ผู้ป่วยใหม่เสมหะบวก) ที่ขึ้นทะเบียนรักษาตั้งแต่รอบที่ 1-4 /2564 คิดเป็นร้อยละ 90.27 โดยไตรมาสที่ 4 จำนวนผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษา 41 ราย ผลความสำเร็จของการรักษา (Cure+Complete) 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.24
-
Print
(18) ดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/09/2564 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ได้ดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้มีการประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในคลินิกอายุรกรรม คลินิกความดันโลหิตสูง และคลินิกเบาหวาน โดยผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง ได้รับการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาทิ การได้รับยาลดไขมัน การควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิตได้ ฯลฯ และคณะทำงานได้มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัด “ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง” ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมหลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ ชั้น 19 อาคาร อนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 2/2563 วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ 2. สำนักการแพทย์ โดยโรงพยาบาลกลางได้ออกแนวทาง และเวียนแจ้งแนวทางการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเป็นไปในแนวทางเดียวกันสำหรับโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์สรุปผลการดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง รายละเอียด ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง ได้มีการประชุมคณะทำงานเพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน จัดทำแนวทางการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงของสำนักการแพทย์ มีการดำเนินการประเมินผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม มีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน มีการติดตามการดูแลผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันในเรื่องการรับประทานยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในเกณฑ์ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 347 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 121 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 48 ราย คิดเป็น ร้อยละ 39.67 โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ CVD Risk ในศูนย์เบาหวาน และห้องตรวจผู้ป่วยอายุรกรรม โดยมีการทำ pop up แจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ในการติดตามการดูแลรักษา และให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน มีการใช้กราฟชีวิตลิขิตเบาหวาน และสมุดเบาหวานสำหรับผู้ป่วยและญาติ เพื่อตั้งเป้าหมายในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โดยมีการส่งต่อไปยังคลินิกเลิกบุหรี่เพื่อทำการรักษาที่ต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาที่เหมาะสมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการ ประเมิน CVD Risk จำนวน 980 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 208 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 158 ราย คิด เป็น ร้อยละ 75.96 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีการประเมินผู้กลุ่มโรคเรื้อรังที่มีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โดยผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการดูแลแบบองค์รวม มีการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง รวมถึงมีการให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความเสี่ยงเช่น การให้คำปรึกษาเรื่องงดบุหรี่ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น ตลอดจนได้รับการรักษาที่เหมาะสมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 2,506 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 859 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 491 ราย คิดเป็นร้อยละ 57.16 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน Thai CVD Risk และมีความเสี่ยงสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาที่เหมาะสม โดยมีการให้ความรู้ในด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การควบคุมน้ำหนักตัว การ รับประทานยาตามแผนการรักษา รวมถึงมีการติดตามประเมินผลการดูแลตนเองของผู้ป่วย และมีการประเมินผลติดตามค่า CVD Risk ของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 1,685 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 528 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 356 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.42 โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดตั้งชุมชนนักปฏิบัติโรคเบาหวาน มีการประสานความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย ระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล โรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ และศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย ในการรับและส่งต่อการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน รวมถึงมีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ให้ความรู้ในการดูแลตนเอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาที่เหมาะสม ให้แก่ผู้ป่วยและญาติ ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 789 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 308 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 266 ราย คิดเป็น ร้อยละ 86.36 โรงพยาบาลลาดกระบัง-กรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการติดตามการรักษา ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่ เป็นต้น การรักษาที่เหมาะสม เช่น การได้รับยาลดไขมัน การควบคุมระดับน้ำตาล และความดันโลหิต เป็นต้น เพื่อใหผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดัน โลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 608 ราย มีความ เสี่ยงสูง จำนวน 308 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 93 ราย คิดเป็น ร้อยละ 30.19 โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ดำเนินการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในคลินิกอายุรกรรม และคลินิกเบาหวาน โดยมีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มีการท า POP UP แจ้งเตือนในระบบเพื่อสื่อสารให้ผู้ดูแลรักษา ร่วมกันประเมินความเสี่ยง นัดติดตามการรักษา และส่งต่อการรักษาระหว่างคลินิกสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง มีการให้คำแนะนำสุขศึกษา เรื่องการดูแลตนเอง การออกก าลังกาย การรับประทานยา ติดตามประเมินอาการ รวมถึงติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแพทย์ใช้วิธีการตรวจแบบ New Normal ทาง Telemedicine ในการติดตามอาการ ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 711 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 319 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 288 ราย คิดเป็น ร้อยละ 90.28 โรงพยาบาลสิรินธร ได้มีการประชุมคณะกรรมการของโรงพยาบาลเพื่อก าหนดแนวทางการด าเนินงานร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ติดตามการรักษาตามแนวทางปฏิบัติ จัดกิจกรรมส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการให้ความรู้ในการดูแลตนเอง เช่น ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลรักษา การบริโภคอาหารที่ถูกหลัก การออกกำลังกาย ปรับพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ ประเมินความรู้ความเข้าใจ รวมถึงประเมินภาวะสุขภาพกาย สุขภาพใจ ความรู้ ทัศนคติการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ และจัดทำคู่มือการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 3,138 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 621 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 332 ราย คิดเป็น ร้อยละ 53.46 สรุปความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการประเมิน CVD Risk และมีความเสี่ยงสูงของโรงพยาบาลในสังกัด ทั้ง 8 แห่ง ในภาพรวมเท่ากับร้อยละ 62.10 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในโรงพยาบาลได้รับการประเมิน CVD Risk จำนวน 10,764 ราย มีความเสี่ยงสูง จำนวน 3,272 ราย ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม แล้วมีค่า CVD Risk ลดลง จำนวน 2,032 ราย คิดเป็น ร้อยละ 62.10
-
Print
(19) โครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง
กำลังดำเนินการ (40.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/09/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมติใช้พัสดุที่ผลิตภายในประเทศไม่ครบร้อยละ 60 ของมูลค่าพัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญาจากผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ หลังจากนั้นคณะกรรมการจึงจะเสนอร่างกำหนดรูปแบบรายการสำหรับประกวดราคาจ้างเหมาและร่างกำหนดราคากลางสำหรับจ้างปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง เพื่อให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลงนาม แล้งจึงจะประกาศเอกสารเชิญชวนต่อไป
-
Print
โรงพยาบาลตากสิน
(20) พัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคเบาหวาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/09/2564 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้ดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในสถานะผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวาน และเป็นผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษากับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้รับการติดตาม ให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ตามเกณฑ์ ดังนี้ (1) ค่าระดับ HbA1c ค่าระดับครั้งสุดท้าย น้อยกว่าร้อยละ 7 หรือ (2) ค่าระดับ Fasting Plasma Glucose (FPG) 2 ครั้งสุดท้ายติดต่อกันอยู่ในระดับ 70 - 130 มก./ดล. ซึ่งเป็นค่าระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจติดตาม ในคลินิกเบาหวานตามนัด โดยมีผลการดำเนินงาน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด จำนวน 75,343 ราย และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 35,813 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.53
-
Print
(21) ทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/08/2564 : กลุ่มงานส่งเสริมการวิจัยขอรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวว่า โครงการทุนส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้เบิกจ่ายเงินทุนส่งเสริมการวิจัย โรงพยาบาลตากสิน งวดที่ (ร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ) จำนวน 2 ราย ได้แก่ 1. นางสาวตรีนุช อมรภิญโญเกียรติ ตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู เรื่อง “เปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่าง diclofenac phonophoresis กับอัลตราซาวน์มาตรฐานในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด” และ 2. นางสาวอรกานต์ สังฆ์คุ้ม ตำแหน่งทันตแพทย์ชำนาญกาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มงานทันตกรรม เรื่อง “ผลของการรักษาเสริมด้วยเจลฟ้าทะลายโจรเฉพาะที่ร่วมกับการรักษาตามมาตรฐานสำหรับโรคปริทันต์อักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2” เรียบร้อยแล้ว และในขณะนี้อยู่ในระหว่างเบิกจ่ายทุนส่งเสริมการวิจัยโรงพยาบาลตากสิน งวดที่ 1 (ร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่ได้รับอนุมัติ) ให้แก่ นางสาวจินตนันท์ จังศิริพรปกรณ์ ตำแหน่งนายแพทย์ชำนาญการ สังกัดกลุ่มงานอายุรกรรม เรื่อง “ปัจจัยที่ส่งเสริมการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตากสิน”
-
Print
(22) โครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์โรงพยาบาลตากสิน
กำลังดำเนินการ (91.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : โรงพยาบาลตากสิน ขอรายงานความก้าวหน้า ดังนี้ - ผลงานสะสมรวม 10.63% = 591 วัน - แผนงานสะสมรวม 14.84% = 576 วัน - สรุปช้ากว่าแผนงาน -4.21% = 165 วัน งบประมาณที่ใช้ทั้งหมด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 97,166,256.91 บาท หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าเงินประกันผลงาน 10% จำนวน 10,796,250.77 บาท อ้างอิงตามรายงานช่าง ฉบับที่ 114 (ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2564)
-
Print
(23) อบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและซ้อมแผนอัคคีภัย
ยกเลิก (35.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/08/2564 : ได้มียกเลิกการจัดโครงการตามเอกสารที่ กท 0606/8600 ลงวันที่ 29 กรกฏาคม 2564 เรื่อง ขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและซ้อมอัคคีภัย ความว่า โรงพยาบาลตากสิน พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่กำหนดจัดการอบรมในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ในขณะที่ระยะเวลาคงเหลือของการดำเนินโครงการมีเวลาจำกัด อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารอัตรากำลังในการบริการผู้ป่วยได้ จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกันและซ้อมอัคคีภัย
-
Print
(24) อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
ยกเลิก (35.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/07/2564 : ได้มียกเลิกการจัดโครงการตามเอกสารที่ กท 0606/6833 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เรื่อง ขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ความว่า โรงพยาบาลตากสิน พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการเป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่กำหนดจัดการอบรมในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ในขณะที่ระยะเวลาคงเหลือของการดำเนินโครงการมีเวลาจำกัด อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารอัตรากำลังในการบริการผู้ป่วยได้ จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
-
Print
(25) กิจกรรมการจัดทำแผนบูรณาการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การระบาดโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/09/2564 : สำนักการแพทย์ ได้จัดทำแผนดำเนินงานต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตกรณีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ (Business Continuity Plan for Emerging Infection Disease : BCP for EID) โดยได้ดำเนินการฝึกซ้อมแผนเพื่อเป็นการซักซ้อมความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นการฝึกซ้อมแผนชนิดบนโต๊ะ (Tabletop exercise) เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ ชั้น 4 สำนักการแพทย์ และจัดส่งแผนดำเนินงานต่อเนื่อง สำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต กรณีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อให้หน่วยงานสามารถดำเนินกิจการไปได้ในสภาวะวิกฤตหรือฟื้นตัวเมื่อผ่านวิกฤตไป
-
Print
โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
(26) อบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยและฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ
ยกเลิก (15.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/07/2564 : ไตรมาสที่ 3 อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำบันทึกข้อความขอยกเลิกการจัดโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรค Covid-19
-
Print
(27) สัมมนาวิชาการด้านการผ่าตัดผ่านกล้องประจำปี 2564 (Bangkok Annual Congress in Minimally Invasive Surgery : BMIS 2021)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/07/2564 : ไตรมาสที่ 3 จัดสัมมนาวิชาการด้านการผ่าตัดผ่านกล้องประจำปี 2564 (Online) ในวันที่ 27 มี.ค. 2564 เวลา 08.30 - 15.30 น. ประกอบด้วย วิทยากรทั้งหมด 12 คน 9 ประเทศ และผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 555 คน 52 ประเทศ มีความพึงพอใจระดับมากขึ้นไป จำนวน 505 คน คิดเป็นร้อยละ 90.99 และจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาวิชาการฯ เท่ากับจำนวนผู้ลงทะเบียนคิดเป็น 555 คน เท่ากับร้อยละ 100 หลังสิ้นสุดการจัดสัมมนาฯ สรุปผลโครงการและรายงาน สพข.2/59 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(28) อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากร
ยกเลิก (5.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/04/2564 : ไตรมาสที่ 2 เนื่องจากสถานกรณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ยังคงแพร่ระบาดและกลุ่มเป้าหมายของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งมีภารกิจหลักในการให้บริการประชาชน กลุ่มงานส่งเสริมการวิจัยจึงทำเรื่องขออนุมัติยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการวิจัยแก่บุคลากรประจำปี 2564
-
Print
(29) พัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : โรงพยาบาลกลาง - โรงพยาบาลตากสิน - โรงพยาบาลตากสิน มีการดำเนินการพัฒนาคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักการแพทย์อย่างต่อเนื่อง - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 1 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - ดำเนินการตามมาตรฐานตามเกณฑ์การประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพโรงพยาบาล อย่างต่อเนื่อง - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 1 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - ไม่มีการตรวจประเมินจากสถานการณ์การระบาดของโควิด19 - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 11 โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - ดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 1 โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพดำเนินงานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ในการแก้ปัญหาผู้ป่วย จากการประเมิน ภาวะgeriatic syndrome มีผู้สูงอายุมารับบริการจำนวน 158 ราย ได้รับการคัดกรองรายใหม่ 10 ราย - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 0 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 9 โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - 1. ประชุมคณะกรรมการฯ หรือคณะทำงานระดับโรงพยาบาล เพื่อดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลผู้ป่วยสูงอายุอย่างบูรณาการในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ Covid - 19 2. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่ประชุม และบูรณาการการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ 3. มีการส่งบุคลากรอบรม โดยผ่านระบบ ZOOM online หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้าน เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 4.ได้รับการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยแบ่งเป็น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวนทั้งหมด 868 ราย วัคซีน Covid เข็ม 1 จำนวน 9,361 ราย เข็ม 2 จำนวน 808 ราย 5.รายงานผลการดำเนินงาน - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 11 โรงพยาบาลสิรินธร - ดำเนินการตามเกณฑ์การประเมินผู้สูงอายุคุณภาพ แต่ต้องทำการชะลอการคัดกรองผู้สูงอายุของโรงพยาบาล เนื่องจากต้องปิดคลินิกผู้สูงอายุ เพื่อให้พยาบาลที่คลินิกสามารถไปช่วยงานยังส่วนของโรคระบาด Covid-19 ที่ภาระงานล้นมือ - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 1 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 1 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน - ต้องชะลอโครงการ เนื่องจากปิดการให้บริการศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ - จำนวน โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ประเมินคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพระดับทองตามเกณฑ์ ที่กำหนด 2 - จำนวน โรงพยาบาลทั้งหมด 11
-
Print
(30) โครงการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคที่พบในผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : โรงพยาบาลกลาง - โรงพยาบาลตากสิน - โรงพยาบาลตากสิน ดำเนินการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคที่พบในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการที่คลินิกผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 743 คน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - รพจ. ให้บริการผู้สูงอายุที่มารับบริการกับโรงพยาบาลทั้งในและนอกพื้นที่โรงพยาบาล ให้ได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการที่มีในผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลไตรมาสที่ 4/64 - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 40 คน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - คัดกรองและติดตามแก้ไขปัญหาผู้ป่วย - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 401 คน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - งดการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคที่พบในผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) จากสถานการณ์โควิด - 19 - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 0 คน โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - คลินิกผู้สูงอายุคุณภาพดำเนินงานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ในการแก้ปัญหาผู้ป่วย จากการประเมิน ภาวะgeriatic syndrome มีผู้สูงอายุมารับบริการจำนวน 158 ราย ได้รับการคัดกรองรายใหม่ 10 ราย สงสัยมีภาวะสมองเสื่อม 3 ราย เป็นเพศหญิง ความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก-มากที่สุด 93.33%(70/75) การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ระดับปานกลาง 1 ราย ระดับรุนแรงมาก 1 ราย เสี่ยงต่อภาวะFall 5 ราย มีภาวะซึมเศร้า ระดับน้อย 1 ราย - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 10 คน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - การคัดกรอง ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูเเลเเบบเชิงรุก ส่งผลการป้องกัน ส่งเสริม เเละฟื้นฟูในการบริการของระบบสาธารณสุขที่เข้าถึงเเละรวดเร็วมากขึ้น เเละทำให้คุณภาพชีวิต ของประชากรได้เข้าถึงการบริการได้เร็วขึ้น - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 102 คน โรงพยาบาลสิรินธร - ปิดคลินิกผู้สูงอายุทั้งวันพุธและวันศุกร์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป และจะประเมินสถานการณ์ในเดือนต่อไปอีกครั้ง เนื่องจากภาระงานในส่วนของโรคระบาด Covid-19 มีอัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอ สรุปการดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 63 - 1 ก.ค. 64 มีการคัดกรองผู้สูงอายุทั้งสิ้น 358 ราย - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 0 คน โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน - เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดยังไม่คลี่คลาย ไม่สามารถเปิดบริการศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จึงชะลอโครงการตรวจคัดกรองโรคผู้สูงอายุออกไปก่อน - จำนวน ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 0 คน
-
Print
(31) อบรมฟื้นฟูการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ยกเลิก (50.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/07/2564 : ไตรมาส3 1. อยู่ระหว่างจัดทำบันทึกขออนุมัติเลื่อนการจัดโครงการตามหนังสือที่ กท 0607/4474 ลงวันที่ 22 เม.ย. 64 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และได้รับอนุมัติตามหนังสือที่ กท 0602.4/1410 ลงวันที่ 27 เม.ย. 64 2. อยู่ระหว่างทำบันทึกขอยกเลิกการจัดโครงการตามหนังสือเรียนผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ที่ กท0607/6427 ลงวันที่ 16 มิ.ย. 64 เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ระลอกใหม่ที่ขยายขอบเขตการแพร่กระจายของโรคออกเป็นวงกว้างโดยเฉพาะในกทม.
-
Print
(32) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : โรงพยาบาลกลาง - เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รพก. จึงขอยกเลิกการจัดโครงการ โดยส่งหนังสือขอยกเลิกโครงการไปยังสำนักการแพทย์ เรียบร้อยแล้ว - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 0 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 0 คน โรงพยาบาลตากสิน - เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รพต. จึงขอยกเลิกการจัดโครงการ โดยส่งหนังสือขอยกเลิกโครงการไปยังสำนักการแพทย์ เรียบร้อยแล้ว - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 0 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 0 คน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ - เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รพจ. จึงขอยกเลิกการจัดโครงการดังกล่าว - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 0 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 41 คน โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - 1. ดำเนินการเก็บข้อมูลค่า BMI และรอบเอว ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมทางออนไลน์ ครั้งที่ 2 วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 รอบที่ 1 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2. มีการให้ความรู้ด้านสุขภาพ การเลือกการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการบริหารจัดการความเครียดที่เหมาะสม โดยใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 Self empowerment 3. ดำเนินการเก็บข้อมูลค่า BMI และรอบเอว หลังเข้าร่วมกิจกรรมทางออนไลน์ ครั้งที่ 3 วันที่ 15 สิงหาคม 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 4. รายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด BMI ให้ไร้พุง ดังนี้ 4.1 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลด BMI ให้ไร้พุง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเป้าหมายจำนวน 30 คน เข้าร่วมจริง จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4.2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 89.50 4.3 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเข้าร่วมกิจกรรมตลอดหลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100 4.4 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI และรอบเอว ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่า BMI และรอบเอว ลดลง จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 4.5 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 83.33 (จากข้อ 5 ของแบบประเมินความพึงพอใจ) 4.6 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเชื่อมั่นในความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป ในแนวทางที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 86.67 4.7 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดและ การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยว ตามหลัก 3 Self empowerment และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90 5. สรุป และรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด BMI ให้ไร้พุง เพื่อนำเสนอผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ ที่ ฝวช. 1422/2564 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2564 - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 30 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 27 คน โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ - ทำเรื่องขอยกเลิกการจัดโครงการในปีงบ 2564 ไปแล้ว - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 0 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 0 คน โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร - โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ - ยกเลิกโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 0 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 0 คน โรงพยาบาลสิรินธร - สรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมคลินิกไร้พุง ดัชนีมวลกายลดลง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 91.67 2. ความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.11 3. ระดับความพึงพอใจของกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 96.39 - จำนวน ผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงที่มีรอบเอวหรือ BMI ลดลง 11 คน - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอ้วนลงพุงทั้งหมด 12 คน
-
Print
โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
(33) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/04/2564 : 1. ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 4 รุ่น ดังนี้ 1.1 การอบรมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 วันที่ 24 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 2 วันที่ 25 มีนาคม 2564 1.2 การอบรมช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 3 วันที่ 29 มีนาคม 2564 รุ่นที่ 4 วันที่ 30 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารเมตตาธรรม โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ 2. สรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ดังนี้ 2.1 ผู้เข้ารับการอบรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในโครงการ จำนวน 218 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการจริง จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 97.25 2.2 ผู้เข้าอบรม จริง จำนวน 212 คน แจกแบบประเมินผลจริง จำนวน 212 ใบ เก็บใบประเมินผลได้จริง จำนวน 210 ใบ คิดเป็นร้อยละ 99.06 2.3 ผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 94.26 2.4 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100 (ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบ Post - test มากกว่าหรือเท่ากับ Pre - test 3. ดำเนินการรายงานผลการดำเนินงานจัดโครงการ ตามแบบ สพข.2/59 และนำเรียนผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือด่วนที่สุด กท 0608/1506 ลงวันที่ 22 เมษายน 2564
-
Print
(34) โครงการอบรมและฝึกซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
ยกเลิก (0.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/07/2564 : ดำเนินการขออนุมัติยกเลิกจัดโครงการอบรมและฝึกซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถคาดคะเนความรุนแรงของการระบาดในช่วงการจัดโครงการได้อย่างแน่นอน และฝ่ายการพยาบาล มีความจำเป็นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเนื่องจากกรุงเทพมหานครถือเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบกับถือปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 33) ข้อ 8 การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ การจัดงานเลี้ยง การเข้าค่าย การถ่ายทำภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ กิจกรรมทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การพบปะญาติผู้ใหญ่ ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คน แต่ไม่เกิน 500 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ก่อนจัดงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรค โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ฝ่ายการพยาบาล ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวข้างต้นเป็นโครงการที่จัดในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการและมีการฝึกซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่ที่จะต้องมีการรวมกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันลดความเสี่ยง และได้รับอนุมัติจากผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท0602.4/2155 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564
-
Print
(35) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การระงับเหตุเพลิงไหม้และอพยพหนีไฟ
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/07/2564 : ยกเลิกจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การระงับเหตุเพลิงไหม้และอพยพหนีไฟ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถคาดคะเนความรุนแรงของการระบาดในช่วงการจัดโครงการได้อย่างแน่นอน และฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีความจำเป็นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเนื่องจากกรุงเทพมหานครถือเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบกับถือปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 33) ข้อ 8 การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ การจัดงานเลี้ยง การเข้าค่าย การถ่ายทำภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ กิจกรรมทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การพบปะญาติผู้ใหญ่ ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คน แต่ไม่เกิน 500 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวข้างต้นเป็นโครงการที่จัดในลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการและมีการฝึกปฏิบัติและแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ป่วยจากสถานการณ์จำลองซึ่งจะต้องมีการรวมกลุ่มผู้เข้ารับการอบรมจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันลดความเสี่ยงและเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้ดำเนินการส่งหนังสือขอยกเลิกนำเรียนผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือ ที่ กท0608/2647 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564
-
Print
(36) โครงการประชุมวิชาการประจำปี โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/07/2564 : ยกเลิกจัดโครงการประชุมวิชาการประจำปี โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ยังคงมีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถคาดคะเนความรุนแรงของการระบาดในช่วงการจัดโครงการได้อย่างแน่นอน และฝ่ายวิชาการและแผนงานมีความจำเป็นต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเนื่องจากกรุงเทพมหานครถือเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบกับถือปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 33) ข้อ 8 การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค เช่น การประชุม การสัมมนา การแจกจ่ายอาหารหรือสิ่งของต่าง ๆ การจัดงานเลี้ยง การเข้าค่าย การถ่ายทำภาพยนตร์หรือรายการโทรทัศน์ กิจกรรมทางศาสนา การปฏิบัติธรรม การพบปะญาติผู้ใหญ่ ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่เกิน 50 คน กรณีเกิน 50 คน แต่ไม่เกิน 500 คน ให้ขออนุญาตโดยยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ก่อนจัดงาน เว้นแต่เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐหรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่ กักกันโรค โดยดำเนินการตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ฝ่ายวิชาการและแผนงาน ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการดังกล่าวข้างต้นเป็นโครงการที่จัดในลักษณะการรวมกลุ่มในการฝึกปฏิบัติ (Work shop) การเขียนผลงานและวิธีการผลิตผลงานนวัตกรรม การสร้างชิ้นงานนวัตกรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุม ตลอดจนการนำเสนอผลงานในระหว่างการประชุม จึงจำเป็นจะต้องมีการรวมกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก เพื่อเป็นการป้องกันลดความเสี่ยงและเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ได้ดำเนินการจัดทำหนังสือยกเลิกนำเรียนผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท0608/2645 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2564
-
Print
(37) โครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสำกัดสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: ในปีงบประมาณ 2564 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ (โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ) ได้ดำเนินการส่งหนังสือแสดงความจำนงเพื่อขอรับการรับรองกระบวนการพยาบาลสถานพยาบาลให้กับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(38) โครงการส่งเสริมสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำงานวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/03/2564 : 1. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์มีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้บุคลากรสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมฯ อย่างต่อเนื่องทุก ๆ เดือน 2. โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักการแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดโครงการฯ ดังนี้ 3. สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติให้จัดโครงการส่งเสริมสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการ และผลงานการทำวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัย (R2R) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้รับความรู้และเกิดแนวคิดในการสร้างผลงานนวัตกรรม ผลงานวิชาการและผลงานการทำวิจัยจากงานประจำสู่งานวิจัยใหม่ ๆ ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิชาการ งานวิจัย การสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำผลการวิจัยและนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัดได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขร่วมกัน ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ - เชี่ยวชาญ จำนวน 97 คน บุคลากรกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 4 คน รวมทั้งสิ้น 102 คน รูปแบบของโครงการเป็นการอบรมแบบไป - กลับ จำนวน 1 วัน ในวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอุดมสังวรญาณ ชั้น 23 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ค่าใช้จ่ายของโครงการจากเงินนอกงบประมาณ ประเภทเงินบำรุงโรงพยาบาลของสำนักการแพทย์ โดยได้รับอนุมัติ เป็นเงิน 30,800 บาท (สามหมื่นแปดร้อยบาทถ้วน) และเบิกจ่ายจริงรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 29,000 บาท (สองหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดโครงการฯ ดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 4. ดำเนินการส่งรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการตามหนังสือ ที่ กท 0602.4/299 ลงวันที่ 22 มกราคม 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อนำเรียนผู้บริหารต่อไป
-
Print
(39) โครงการกิจกรรมนันทนาการสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์
ยกเลิก (0.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/04/2564 : เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) มีการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง ซึ่งการแพร่ระบาดนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวดเร็ว และไม่สามารถคาดคะเนความรุนแรงของการระบาดในช่วงการจัดงานได้อย่างแน่นอน และตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารสำนักการแพทย์ ครั้งที่ 3/2564 ลงวันที่ 10 มีนาคม 2564 ระเบียบวาระที่ 3.2.8 การดูแลผู้สูงอายุครบวงจร มติที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนการจัดกีฬาผู้สูงอายุ และการไปศึกษาดูงานเป็นปีถัดไป โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ จึงได้ดำเนินการขอยกเลิกโครงการกิจกรรมนันทนาการสมาชิกชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ในปี 2564
-
Print
โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมี์
(40) อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและระงับอัคคีภัย
ชะลอ (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : ชะลอโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19
-
Print
(41) อบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพ
ชะลอ (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : ชะลอโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19
-
Print
(42) พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น
ชะลอ (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 29/07/2564 : ชะลอโครงการเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19
-
Print
โรงพยาบาลลาดกระบัง กทม.
(43) อบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงพยาบาล
ยกเลิก (20.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/05/2564 : เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (Covid-19) ปรากฎจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายไปหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ประกอบกับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินห้ามกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค โดยห้ามจัดกิจกรรมในเขตพื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย เช่น การประชุม การสัมมนา ฯลฯ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีมติให้ยกเลิกโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
-
Print
(44) พัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/2564 : รายงานของเดือนกันยายน 2564 โรงพยาบาลกลาง ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ไตรมาส 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ส.ค. 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 75 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 200 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.50 โดยคิดเป็นยอดสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - กันยายน 2564 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่ากับ 2,043 ราย จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมดในช่วงดังกล่าว เท่ากับ 4,301 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.50 โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลตากสิน มีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ทั้งสิ้น 9,493 ราย โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังติดตามและได้รับคำแนะนำตามแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง และได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันภาวการณ์เจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง อย่างต่อเนื่อง ข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำไตรมาสที่ 4/64 โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ให้การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ดำเนินงานตามแผนการที่วางไว้ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ดำเนินการแล้วเสร็จ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ "- จัดคนไข้เข้าสู่ระบบTelemedในช่วงสถานการโควิด เพื่อลดอัตราคนไข้ได้รับยาไม่ต่อเนื่อง - จัดส่งทางทางไปรษณีย์ ในรายที่คนไข้อาการคงที่ - จัดทำโปสเตอร์ หน้าการปฏิบัติตัวของคนไข้ความดันโลหิตสูง ในรายที่มารพ.พบแพทย์ - จัดสอนสุขศึกษารายบุคคลสำหรับคนไข้ที่คุมความดันไม่ได้" โรงพยาบาลสิรินธร "1. ติดตามเยี่ยมทางโทรศัพท์ตามนัดผู้ป่วย ให้บริการทาง Telemecine และส่งยาทางไปรษณีย์ กรณีผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 2. สนับสนุนการเข้าถึงความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูสุขภาพตนเองจากช่องทางอื่น เช่น ทางเครื่องมือสื่อสาร ความรู้ทางwebsite ต่างๆ พร้อมให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ผลการดำเนินการ ตรวจติดตามผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ต.ค. 63 – 20 ส.ค. 2564 จำนวนทั้งหมด 20,794 ราย ผู้ป่วยสามารถควบคุมความดันโลหิต ได้จำนวน 5,561 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.40"
-
Print
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
(45) โครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ใหญ่
ยกเลิก (6.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพในผู้ใหญ่
-
Print
(46) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนดับเพลิงและระงับอัคคีภัย
ยกเลิก (16.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนดับเพลิงและระงับอัคคีภัย
-
Print
(47) โครงการสร้างพลังใจ ปลุกไฟในการทำงาน
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการสร้างพลังใจ ปลุกไฟในการทำงาน
-
Print
(48) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย
ยกเลิก (6.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย
-
Print
(49) โครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/07/2564 : - เข้าร่วมประชุมสื่อสารประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การเยี่ยมสำรวจสถานพยาบาลของสถาบันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับที่ 6/2564 วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 - ประสาน สรพ.ขอรับการเยี่ยมสำรวจแบบลดรูปเพื่อต่ออายุการรับรองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการประชุมออนไลน์ (Adjusted Survey) กำหนดวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1 วัน - เข้าร่วมประชุมในกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (CoPs) 1. Process of Work = วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 (ไม่ได้เข้าร่วมประชุมเนื่องจากตรงกับวันรับการเยี่ยมสำรวจแบบลดรูปเพื่อต่ออายุการรับรอง 2. Patient Care process = วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 3. Line, Tube, and Catheter & Lab = วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 4. Emergency Response & Lane (Ambulance) and Legel Issue = วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 - รับการเยี่ยมสำรวจแบบลดรูปเพื่อต่ออายุการรับรองผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการประชุมออนไลน์ (Adjusted Survey) เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เสร็จสิ้นแล้วและรอผลพิจารณาการเยี่ยมสำรวจฯ
-
Print
(50) กิจกรรมตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/09/2564 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 11 แห่ง ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยการตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีการเจาะจากปลายนิ้ว (DTX>200) และวัดความดันโลหิต ในกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยการแจกแผ่นพับความรู้ให้ประชาชนรับรู้ถึงอันตรายของโรค และวิธีปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรค ผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในปีงบประมาณ 2564 สามารถตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์มีผู้ได้รับการคัดกรองทั้งหมด จำนวน 94,240 ราย พบความผิดปกติ เบาหวานจำนวน 10,062 ราย ความดันโลหิตสูงจำนวน 16,945 ราย ในกรณีที่ผิดปกติผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
-
Print
(51) โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2564
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการประชุมวิชาการประจำปี 2564
-
Print
(52) โครงการกีฬาสัมพันธ์รักษ์สุขภาพผู้สูงอายุ
ยกเลิก (6.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/03/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่สามารถคาดคะเนความรุนแรงของการระบาดในช่วงการจัดโครงการได้อย่างแน่นอน ทางโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อความปลอดภัยจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงขอยกเลิกการจัดโครงการกีฬาสัมพันธ์รักษ์สุขภาพผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ประจำปี 2564
-
Print
(53) โครงการอบรมสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
ยกเลิก (6.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/04/2564 : เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ผู้รับผิดชอบโครงการได้เล็งเห็นผลกระทบในการจัดโครงการอาจเกิดความเสี่ยงในการรวมกลุ่มคน เพิ่มความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมสุขาภิบาลและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
-
Print
โรงพยาบาลสิรินธร
(54) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและการซ้อมแผนอัคคีภัยในโรงพยาบาล
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 25/05/2564 : โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วน ในการจัดโครงการอบรมดังกล่าวฯ เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยทางโรงพยาบาลสิรินธรต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ อีกทั้งโครงการอบรมดังกล่าวฯ ไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ เนื่องจากมีรูปแบบกิจกรรมที่เป็นการแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ ดังนั้นจึงขอแจ้งยกเลิกโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและการซ้อมแผนอัคคีภัยในโรงพยาบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ
-
Print
(55) โครงการฝึกอบรมซ้อมแผนรับอุบัติภัยกลุ่มชน
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/06/2564 : ตามที่ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติจัดโครงการ/กิจกรรมการฝึกอบรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสิรินธรได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดโครงการดังกล่าวฯ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้น ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงขอแจ้งยกเลิกโครงการฝึกอบรมซ้อมแผนรับอุบัติภัยกลุ่มชน ดังเอกสารแนบ
-
Print
(56) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/06/2564 : ตามที่ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติจัดโครงการ/กิจกรรมการฝึกอบรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสิรินธรได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดโครงการดังกล่าวฯ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้น ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงขอแจ้งยกเลิกโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ดังเอกสารแนบ
-
Print
(57) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/06/2564 : ตามที่ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติจัดโครงการ/กิจกรรมการฝึกอบรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสิรินธรได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดโครงการดังกล่าวฯ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้น ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงขอแจ้งยกเลิกโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ดังเอกสารแนบ
-
Print
(58) กิจกรรมการรักษาพยาบาลด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/09/2564 : โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ จำนวน 8 แห่ง ให้บริการด้านการรักษา และให้คำปรึกษาด้านการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ ได้แก่ กลุ่มโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 2. ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเหมาะสมกับการรักษาด้วยระบบโทรเวชกรรม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง ผู้ป่วย ARV และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง เป็นต้น 3. ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น การกำหนดฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ใช้ฐานข้อมูลผู้ป่วยที่มารับบริการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และมารับบริการมากกว่า 1 ครั้ง (ผู้ป่วยเก่า) ในผู้ป่วยสิทธิประกันสังคมและผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพ และแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถรับบริการทางระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ได้ จากการพิจารณากลุ่มเป้าหมายจากผู้มารับบริการปี 2563 ตามกลุ่มเป้าหมายข้างต้น จากรหัส ICD10 จำนวน 105,872 ราย โดยมีผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายที่มีความพร้อมและยินยอมรับบริการผ่านระบบโทรเวชกรรมเข้ารับบริการจำนวน 33,745 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 31.87
-
Print
(59) โครงการประชุมวิชาการประจำปี
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/06/2564 : ตามที่ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติจัดโครงการ/กิจกรรมการฝึกอบรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสิรินธรได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดโครงการดังกล่าวฯ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้น ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงขอแจ้งยกเลิกโครงการประชุมวิชาการประจำปี ดังเอกสารแนบ
-
Print
(60) โครงการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 24/06/2564 : มีการจัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 11 แห่ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - โรงพยาบาลกลาง = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลตากสิน = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร = ไม่สามารถจัดตั้งคลินิกมลพิษได้ เนื่องจากขาดบุคลากรด้านอาชีวอนามัย จึงเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากคลินิกอายุรกรรม - โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลสิรินธร = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลคลองสามวา = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 - โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร = จัดตั้งคลินิกมลพิษ พร้อมเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้วในปี 2563 สรุป จัดตั้งคลินิกมลพิษเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศแล้ว 10 โรงพยาบาล จาก 11 โรงพยาบาล โดยคิดเป็นร้อยละ 90.91
-
Print
(61) โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่ เกิดจากมลพิษทางอากาศในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 25/05/2564 : สรุปผลการดำเนินงานการรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564 ของทั้ง 11 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยได้ทำการประชาสัมพันธ์ข้อมูลความรู้ PM 2.5 และรายงานข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศประจำวัน ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ของแต่ละโรงพยาบาล และมีการมีการรายงานผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์ และจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศให้ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ดังนี้ - โรงพยาบาลกลาง = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลตากสิน = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลสิรินธร = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลคลองสามวา = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง - โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร = รายงานทั้งหมดจำนวน 18 ครั้ง รวมรายงานทั้งสิ้น 198 ครั้ง จากจำนวน 18 สัปดาห์ ของทั้ง 11 โรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 100
-
Print
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
(62) โครงการยกระดับด้านการอำนวยการและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/09/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...จัดให้มีแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน และแพทย์สาขาศัลยศาสตร์มาประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ประกอบด้วย โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และศูนย์เอราวัณ เพื่ออำนวยการและสั่งการการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง อยู่ระหว่างการเบิกจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ ประจำเดือนสิงหาคม เบิกจ่ายงบประมาณของโครงการยกระดับด้านการอำนวยการและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนทั้งสิ้น 188,650 บาท
-
Print
(63) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/09/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการจัดชุดปฏิบัติการการแพทย์ระดับสูง (Advanced Life Support) และชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐาน (Basic Life Support) เพื่อให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำจุดจอดนอกโรงพยาบาลทั้ง 9 จุดจอด และจัดหาพื้นที่จุดจอดเพิ่ม 1 จุดจอดใน รวมเป็น 10 จุดจอด ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งดำเนินการเปิดจุดจอดที่ 10 จุดจอดวัดวิมุตยาราม เขตบางพลัด ในวันที่ 1 ธันวาคม 2563 โดยมีสถิติการให้บริการทั้ง 10 จุดจอด ในเดือนสิงหาคม ดังนี้ 1. จุดจอดประชาชื่น จำนวน 142 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน จำนวน 236 ครั้ง 3. จุดจอดสำนักงานเขตลาดพร้าว จำนวน 179 ครั้ง 4. จุดจอดสำนักงานเขตบางนา จำนวน 223 ครั้ง 5. จุดจอดศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก (รามอินทรา) จำนวน 162 ครั้ง 6. จุดจอดสำนักงานเขตวังทองหลาง จำนวน 210 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ จำนวน 201ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา จำนวน 135 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน จำนวน 255 ครั้ง 10.จุดจอดวัดวิมุตยาราม จำนวน 145 ครั้ง อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทน ประจำเดือนสิงหาคม 2564
-
Print
(64) โครงการอบรมขับขี่ปลอดภัย
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/08/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ในปัจจุบัน
-
Print
(65) โครงการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ทางการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (e-Learning)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ดำเนินการเปิดระบบการเรียนการสอนออนไลน์ (e-learning) ให้แก้บุคลากรผู้ปฏิบัติการในระดับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ และ ประชาชนทั่วไปได้เข้าศึกษา และเรียนรู้เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยเดือนสิงหาคม มีผู้เข้าใช้งานระบบ ดังนี้ บุคคลทั่วไป จำนวนการใช้งานทั้งหมด 330,222 ครั้ง จำนวนการใช้งานไม่ซ้ำหมายเลขไอพี 158,640 ครั้ง สมาชิก จำนวนการใช้งานทั้งหมด 2,494 ครั้ง จำนวนการใช้งานไม่ซ้ำหมายเลขไอพี จำนวน 609 ครั้ง หมายเหตุ : ตั้งแต่วันที่ 1-22 มิถุนายน 2564 ระบบ e-Learning ขัดข้องไม่สามารถเข้าใช้งานได้
-
Print
(66) โครงการตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : 17/08/2564 : ได้รับอนุมัติโครงการ และงบประมาณเรียบร้อยแล้ว โดยกำหนดการตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ข้อมูลเดือน สิงหาคม 2564 สรุปรวมรถบริการฯ ทั้งสิ้น 845 คัน ดังนี้ 1. รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ดำเนินการเสร็จสิ้น มีรถผ่านการตรวจทั้งสิ้น154 คัน 2. ระดับพื้นฐาน (BLS) ดำเนินการเสร็จสิ้น มีรถผ่านการตรวจทั้งสิ้น 66 คัน 3. ระดับเบื้องต้น (FR) ดำเนินการเสร็จสิ้น มีรถผ่านการตรวจทั้งสิ้น 625 คัน รอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 เดือน มิถุนายน 2564 และครั้งที่ 3 เดือน กันยายน 2564 ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการตรวจรับรองรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร เป็นจำนวนทั้งสิ้น 223,654.20 บาท
-
Print
(67) โครงการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : การจัดทำโครงการอยู่ระหว่างภาคปฏิบัติ (เก็บเคส) ณ โรงพยาบาลเครื่อข่ายในระบบ ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการอบรมหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 91,839 บาท
-
Print
(68) โครงการสัมมนาพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
ยกเลิก (7.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/06/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
-
Print
(69) โครงการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉิน
ยกเลิก (12.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/06/2564 : 21/05/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
-
Print
(70) โครงการฟื้นฟูวิชาการและทักษะการขับขี่ปลอดภัย
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
-
Print
(71) โครงการอบรมฟื้นฟูวิชาการพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/03/2564 : ได้รับอนุมัติโครงการเรียบร้อยแล้ว กำหนดจัดโครงการในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 3รุ่น รุ่นที่1 วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2564 รุ่นที่ 2 วันที่15-17 กุมภาพันธ์ 2564 รุ่นที่ 3 วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2564
-
Print
(72) โครงการระดมทรัพยากรในพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมทางการแพทย์ฉุกเฉินในเหตุสาธารณภัย
ยกเลิก (13.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/06/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
-
Print
(73) โครงการประเมินศักยภาพผู้ปฏิบัติการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 17/08/2564 : 21/07/2564 : อยู่ระหว่างการยกเลิกการจัดทำโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID- 19
-
Print
(74) โครงการฝึกอบรมพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
ชะลอ (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 22/06/2564 : อยู่ระหว่างการ ชะลอการจัดทำโครงการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID- 19
-
Print
โรงพยาบาลบางขุนเทียน
(75) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/10/2564 :
-
Print
(76) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่
ยกเลิก (30.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 26/05/2564 : มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ต้องขยายการให้บริการเป็นโรงพยาบาลสนามจำนวน 1000 เตียง และต้องทำหน้าที่ให้บริการฉีดวัคซีน ทำให้ต้องระดมทรัพยากรบุคลากรทุกภาคส่วนเพื่อให้บริการดังกล่าว และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนจึงขอยกเลิกการจัดโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การซ้อมแผนรับอุบัติภัยหมู่ โดยได้ทำหน้งสือยกเลิกโครงการถึงสำนักการแพทย์เพื่อยกเลิกโครงการดังกล่าว
-
Print
(77) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ยกเลิก (25.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 26/05/2564 : มีการประชุมบริหาร เรื่องการเตรียมความพร้อมในการเปิดบริการโรงพยาบาลสนามจำนวน 1000 เตียง ทำให้ต้องปิดให้บริการผู้ป่วยนอก การให้บริการผู้ป่วยใน และการให้บริการอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อระดมบุคลากร เพื่อร่วมกันให้บริการดูแลผู้ป่วยโควิด และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด ทำให้ไม่สามารถจัดประชุมได้ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จึงขอยกเลิกโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยได้ทำหน้งสือขอยกเลิกโครงการไปสำนักการแพทย์เพื่อยกเลิกโครงการดังกล่าว
-
Print
(78) ประชุมวิชาการประจำปีโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน
ยกเลิก (10.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 26/01/2564 : โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนต้องเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด จำเป็นต้องระดมและจัดสรรอัตรากำลังทางการแพทย์และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน จึงขอยกเลิกการจัดโครงการประชุมวิชาการประจำปีโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนในปีนี้
-
Print
(79) การอบรมการพัฒนาคุณภาพสำหรับโรงพยาบาล
ยกเลิก (25.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/1/2564:ขออนุมัติยกเลิกการจัดโครงการอบรมการพัฒนาคุณภาพสำหรับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนต่อผู้บริหาร เนื่องจากกรุงเทพมหานครกำหนดให้โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนต้องเป็นโรงพยาบาลสนามรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด จำเป็นต้องระดมและจัดสรรอัตรากำลังทางการแพทย์และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ประกอบกับโรงพยาบาลมีการจัดอบรมภายในเพื่อขอประเมินการผ่านการรับรองคุณภาพขั้นที่ 1 อยู่แล้ว จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมการพัฒนาคุณภาพสำหรับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนในปีนี้
-
Print
(80) โครงการเปิดให้บริการทางการแพทย์โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ขนาด 100 เตียง ปี 2564
ชะลอ (30.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 26/05/2564 : มีการขยายการบริการโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด จำนวน 1000 เตียง ทำให้ต้องหยุดการให้บริการผู้ป่วยในและห้องฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน และหยุดให้บริการผู้ป่วยนอกตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ทำให้ต้องชะลอโครงการไว้ก่อนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
-
Print
(81) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/05/2564 : ดำเนินการส่งเอกสารสรุปผลการดำเนินโครงการ สรุปโครงการให้สำนักการแพทย์ และติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในแผนโครงการ
-
Print
(82) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การระงับเหตุเพลิงไหม้และอพยพหนีไฟ
ยกเลิก (20.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 26/05/2564 : มีการประชุมบริหาร เพื่อเปิดให้บริการโรงพยาบาลสนามจำนวน 1000 เตียง โดยมีแผนระดมทรัพยากรบุคลากร เพื่อรองรับผู้ปวยโควิด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ จึงขอยกเลิกการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การระงับเหตุเพลิงไหม้และอพยพหนีไฟ โดยได้ทำหนังสือยกเลิกโครงการผ่านสำนักการแพทย์เพื่อยกเลิกโครงการดังกล่าว
-
Print
โรงพยาบาลคลองสามวา
(83) การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพยาบาลเรื่อง การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
ชะลอ (25.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/05/2564 : ชะลอโครงการ จากการแพร่ระบาดโควิด-19
-
Print
(84) อบรมเชิงปฏิบัติการแผนเผชิญเหตุการระงับอัคคีภัย
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/09/2564 : ยกเลิกการจัดโครงการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
-
Print
(85) อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง มาตรฐานการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/03/2564 : การช่วยฟื้นคืนชีพ เป็นทักษะที่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนและทบทวนการปฏิบัติอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความรู้และทีมีทักษะในการปฏิบัติ โรงพยาบาลคลองสามวาจึงได้กำหนดหลักสูตรการฟื้นคืนชีพ ACLS และ BLS เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้รับบริการได้
-
Print
โรงพยาบาลบางนา
(86) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นและมาตรฐานการเคลื่อนย้าย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 2/22/2021 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
-
Print
(87) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการซ้อมแผนรับอุบัติภัยกลุ่มชน
ยกเลิก (25.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/05/2564 : ดำเนินการยกเลิกโครงการ โดยการเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร เนื่องจากไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการ
-
Print
(88) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/05/2564 : ดำเนินการยกเลิกโครงการ โดยการเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร เนื่องจากไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการ
-
Print
(89) โครงการอบรมพื้นฐานการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/21/2020 : จัดอบรมตามกำหนดเมื่อวันที่ 8-9 ธันวาคม 2563 ติดตามและประเมินผลภายหลังเสร็จสิ้นโครงการและสรุปผลเสนอผู้บริหารสำนักการแพทย์ ดำเนินการรายงานผลการดำเนินโครงการตามแบบสพข.2/59 และแบบรูปเล่ม ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว
-
Print
สรุปผลงาน
ตัวชี้วัด
โครงการฯ
รายงานล่าสุด