โครงการ/กิจกรรม ปีงบประมาณ : 2564 ของหน่วยงาน : 08000000
Home
Home SED
กรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร
สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานเลขานุการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการเจ้าหน้าที่ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานปกครองและทะเบียน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานตรวจสอบภายใน สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** กองงานผู้ตรวจราชการ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สถาบันพัฒนาข้าราชการ กทม. สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานประชาสัมพันธ์ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานกฎหมายและคดี สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
** สำนักงานการต่างประเทศ สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร
สำนักการแพทย์
สำนักอนามัย
สำนักการศึกษา
สํานักการโยธา
สํานักการระบายน้ำ
สํานักการคลัง
สํานักเทศกิจ
สํานักการจราจรและขนส่ง
สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
สํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร
สํานักยุทธศาสตร์และประเมินผล
สํานักสิ่งแวดล้อม
สํานักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
สํานักพัฒนาสังคม
มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
สำนักงานเขตพระนคร
สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์
สำนักงานเขตบางรัก
สำนักงานเขตปทุมวัน
สำนักงานเขตยานนาวา
สำนักงานเขตดุสิต
สำนักงานเขตพญาไท
สำนักงานเขตห้วยขวาง
สำนักงานเขตพระโขนง
สำนักงานเขตบางกะปิ
สำนักงานเขตบางเขน
สำนักงานเขตมีนบุรี
สำนักงานเขตลาดกระบัง
สำนักงานเขตหนองจอก
สำนักงานเขตธนบุรี
สำนักงานเขตคลองสาน
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
สำนักงานเขตบางกอกน้อย
สำนักงานเขตตลิ่งชัน
สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สำนักงานเขตหนองแขม
สำนักงานเขตบางขุนเทียน
สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ
สำนักงานเขตดอนเมือง
สำนักงานเขตจตุจักร
สำนักงานเขตลาดพร้าว
สำนักงานเขตบึงกุ่ม
สำนักงานเขตสาทร
สำนักงานเขตบางคอแหลม
สำนักงานเขตบางซื่อ
สำนักงานเขตราชเทวี
สำนักงานเขตคลองเตย
สำนักงานเขตประเวศ
สำนักงานเขตบางพลัด
สำนักงานเขตจอมทอง
สำนักงานเขตดินแดง
สำนักงานเขตสวนหลวง
สำนักงานเขตวัฒนา
สำนักงานเขตบางแค
สำนักงานเขตหลักสี่
สำนักงานเขตสายไหม
สำนักงานเขตคันนายาว
สำนักงานเขตสะพานสูง
สำนักงานเขตวังทองหลาง
สำนักงานเขตคลองสามวา
สำนักงานเขตบางนา
สำนักงานเขตทวีวัฒนา
สำนักงานเขตทุ่งครุ
สำนักงานเขตบางบอน
2566
2565
2564
2563
2562
2561
แสดงข้อมูล
กราฟสถานะโครงการ
พิมพ์ออกไฟล์เป็น PDF
สำนักงานเลขานุการ
(1) กิจกรรมการติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี (สก.สนอ.)
กำลังดำเนินการ (90.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/08/2564 : เบิกจ่ายภาพรวม ณ.วันที่ 30 สิงหาคม 2564 - หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ งบประมาณที่ได้รับ 643,522,400.- บาท เบิกจ่ายได้ 411,571,313.60 บาท คิดเป็น 63.96% - หมวดค่าสาธารณูปโภค งบประมาณที่ได้รับ 66,175,400.- บาท เบิกจ่ายได้ 54,709,002.09 บาท คิดเป็น 82.67% - หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง งบประมาณที่ได้รับ 100,042,608.- บาท เบิกจ่ายได้ 15,553,458.- บาท คิดเป็น 15.55 % - หมวดรายจ่ายอื่น งบประมาณที่ได้รับ 61,958,450.- บาท เบิกจ่ายได้ 12,953,917.50 บาท คิดเป็น 20.91% รวม งบประมาณที่ได้รับ 871,698,858.- บาท เบิกจ่ายได้ 494,787,691.19 บาท คิดเป็น 56.77%
-
Print
(2) โครงการสัมมนาและดูงานการบริการสาธารณสุข (สก.สนอ.)
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 09/09/2564 :ตามหนังสือ สำนักงานเลขานุการ ที่ กท 0701/3803 สว.27 ส.ค 2564 เรื่อง ขอยกเลิกโครงการสัมมนาและดูงานการบริการสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19
-
Print
กองสร้างเสริมสุขภาพ
(3) กิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 04/09/2564 : -ประสานการตรวจติดตามเเบบรายงานผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ เเละเเบบรายงานผลการดำเนินงานมาตรการป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการ ในโรงเรียน จากศูนย์บริการสาธารณสุข ๑ - ๖๙ -รวบรวม เเละตรวจสอบข้อมูลของรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เเละการดำเนินงานมาตรการป้องกันโรคอ้วน และภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน -วิเคราะห์สรุปผลข้อมูล เเละจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ เพื่อนำเสนอผู้บริหารฯ
-
Print
(4) โครงการวัยทำงานสดใส ใสใจสุขภาพ (กสภ.)
กำลังดำเนินการ (70.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2564 : - ประสานงานเเจ้งศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 ส่งผลงานเข้าประกวด เเละรวบรวมผลงานการประกวด - ตรวจสอบข้อมูลของรายงาน เเละวิเคราะห์สรุปผลข้อมูล - ทำหนังสือขออนุมัติเลื่อนระยะเวลาการดำเนินโครงการวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2564 ออกไปถึงเดือนธันวาคม 2564 ตามหนังสือกองสร้างเสริมสุขภาพ ที่ กท 0706/ 1153 ลงวันที่ 23 กรกฏาคม 2564 เรื่อง ขออนุมัติเลื่อนระยะเวลาการดำเนินโครงการวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2564 ในส่วนกิจกรรมที่ 2 ได้เเก่ 2.1 จัดประกวดวัยทำงานสดใส ใส่ใจสุขภาพ ระยะเวลา 2 ครั้ง ณ สถานที่ราชการ กรุงเทพมหานคร 2.2 จัดงาน Bangkok Health Working Age มอบเงินรางวัลพร้อมโล่เกียรติคุณ ให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ดำเนินกิจกรรมดีเด่น ระยะเวลา 1 วัน ณ สถานที่เอกชน กรุงเทพมหานคร
-
Print
(5) โครงการการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (กสภ.)
ยกเลิก (30.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/05/2564 : โครงการฯ รูปแบบเป็นการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมข้อมูลและกระบวนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต ซึ่งเป็นกิจกรรมทีมีคนมารวมกันเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและยากต่อการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงขอยกเลิกการดำเนินโครงการฯ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหนังสือกองสร้างเสริมสุขภาพที่ กท 0706/736 เรื่อง ขอเห็นชอบยกเลิกโครงการการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต
-
Print
(6) โครงการพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชน (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 25/08/2564 : ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์สิ่งสนับสนุนการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชน เรียบร้อยแล้ว ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดบริการสุขภาพจิตชุมชน รุ่นที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ส่วนรุ่นที่ 2 -5 ดำเนินการยกเลิกการประชุม รายละเอียดตามหนังสือสำนักอนามัยที่ กท 0706/5797 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เรื่องขออนุมัติยกเลิกคำสั่งให้ข้าราชการและบุคคลภายนอกเข้าร่วมโครงการพัฒนาบริการสุขภาพจิตชุมชน รุ่นที่ 2-5 และหนังสือที่ กท 0401/708 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564
-
Print
(7) กิจกรรมคลินิกครอบครัวอบอุ่น (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ดำเนินการสรุปข้อมูลผู้รับบริการ การให้บริการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้รับบริการและดูแลผู้รับบริการที่เสี่ยงภาวะซึมเศร้า เรียบร้อยแล้ว โดยมีผู้รับบริการ จำนวน 4416 คน พบเสี่ยงภาวะซึมเศร้า จำนวน 174 คน และดูแลผู้รับบริการที่เสี่ยงภาวะซึมเศร้า จำนวน 174 คน
-
Print
(8) โครงการอบรมเตรียมความพร้อมในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร(กสภ.)
ยกเลิก (55.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/07/2564 : โครงการอบรมเตรียมความพร้อมในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร รูปแบบโครงการเป็นการจัดฝึกอบรมประชาชนที่สมัครใจเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) กองสร้างเสริมสุขภาพ จึงขอเห็นขอบยกเลิกการจัดอบรมตามโครงการดังกล่าว ตามหนังสือกองสร้างเสริมสุขภาพ ที่ กท 0706/1079 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ขอเห็นชอบเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานโครงการในแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2564 สำนักอนามัย >> งบประมาณที่ได้รับ 1,442,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป 161,000 บาท
-
Print
(9) โครงการอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครร่วมใจขจัดภัยสุขภาพ (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/07/2564 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ >> สรุปผลการดำเนินงานของโครงการตามเป้าหมาย ได้ผลการดำเนินงาน ดังนี้ - มีอาสาสมัครสาธารณสุขกรงเทพมหานคร ต้นแบบ 12 สาขา ใน 3 ระดับ คือ ระดับศูนย์บริการสาธารณสุข ระดับกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุข และระดับกรุงเทพมหานคร - จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง >> ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง >> เนื่องจากบางกิจกรรมในโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครร่วมใจขจัดภัยสุขภาพ เป็นกิจกรรมในรูปแบบของการจัดงาน และการจัดประชุม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) กองสร้างเสริมสุขภาพจึงขอเห็นชอบเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานโครงการฯ ตามหนังสือกองสร้างเสริมสุขภาพ ที่ กท 0706/1079 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ดังนี้ 1. งดการจัดงานวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร 2. งดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2564 ตามโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครร่วมใจขจัดภัยสุขภาพ >> งบประมาณที่ได้รับ 2,310,200 บาท งบประมาณที่ใช้ไป 769,713 บาท
-
Print
(10) โครงการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : สรุปผลการดำเนินงานของศูนย์บริการสาธารณสุข - ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 42,149 คน - ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีระดับค่าความดันโลหิต 2 ครั้ง สุดท้ายน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท จำนวน 9,368 คน จากจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน 20,824 คน คิดเป็นร้อยละ 44.99 - ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับค่าน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ (HbA1c) ครั้งสุดท้ายน้อยกว่า 7 % จำนวน 5,505 คน จากจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน จำนวน 19,529 คน คิดเป็นร้อยละ 28.19 - ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียน 40,353 คน ได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk) จำนวน 26,321 คน คิดเป็นร้อยละ 65.23 (หมายเหตุ จากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 (COVID-19) ส่งผลทำให้การดำเนินงานในบางส่วนไม่สามารถดำเนินงานตามแผนที่กำหนดได้
-
Print
(11) โครงการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุ สำนักอนามัย 2564 (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ผลการดำเนินงานในคลินิกผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุข พบว่า มีศูนย์บริการสาธารณสุขที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคลินิกผู้สูงอายุครบวงจร จำนวน 50 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 72.46 รวบรวมและสรุปผลการประเมินตนเองตามแนวทางฯ จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งเพื่อวางแผนและจัดสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานในปีถัดไป
-
Print
(12) โครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเชิงป้องกันในชุมชน (Preventive Long-Term Care) (กสภ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนเชิงป้องกันในชุมชน (Preventive Long-Term Care) การดำเนินงานในชุมชนของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 69 แห่ง (69 ชุมชน) มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้นจำนวน 2,391 คน โดยกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น จำนวน 1,886 คน คิดเป็นร้อยละ 78.87
-
Print
(13) โครงการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สุงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 (กสภ.)
ยกเลิก (65.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/05/2564 : ขอยกเลิกโครงการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 (พ.ศ.2565-2568) เนื่องจาก กองสร้างเสริมสุขภาพพิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 (พ.ศ.2565-2568) ควรให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับแผนผู้สูงอายุระดับชาติ ได้แก่ แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2566-2580) โดยปรับเปลี่ยนระยะเวลาของแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 3 ให้สอดคล้องกับแผนระดับชาติดังกล่าว ตามหนังสือ กท 0706/859 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2564
-
Print
(14) โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-2564)(กสภ.)
กำลังดำเนินการ (90.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้มีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรการป้องกันและคุมโรค โดยได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 4 ตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-2564) จำนวน 3 ครั้ง และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงขออนุมัติขยายเวลาการดำเนินโครงการฯ ตามบันทึกที่ กท 0706/1219 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โดยจะดำเนินการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร อย่างครบวงจรและประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-2564) ให้กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในเดือนธันวาคม 2564
-
Print
กองการพยาบาลสาธารณสุข
(15) โครงการพัฒนาประเมินรับรองคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุข(กพส.)
กำลังดำเนินการ (70.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ศูนย์บริการสาธารณสุขมีภารกิจในการควบคุมและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการเข้าตรวจประเมินในภาคพื้นที่ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อ ทำให้การลงตรวจในภาคพื้นที่ได้ยากลำบาก หรือลงพื้นที่ไม่ได้ จึงดำเนินการขอขยายสัญญาจ้างที่ปรึกษา (TOR) เพื่อดำเนินการพัฒนา ประเมินและรับรองคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุข โดยขยายสัญญาเพิ่มอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2565) อยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจเยี่ยมประเมินและรับรองคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุข 13 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3, 4, 8, 14, 23, 29, 33, 35, 44, 49, 57, 60 และ 64
-
Print
(16) โครงการการสร้างงานวิจัยทางการพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการพยาบาล (กพส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/08/2564 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ ซึ่งดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1. เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 2. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและเชิญชวนข้าราชการผู้สนใจสมัครเข้าประชุมพร้อมเสนอหัวข้อวิจัยทางการพยาบาล 3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการประชุม 4. ประสานวิทยากร สถานที่จัดอบรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน มีรายละเอียดดังนี้ ครั้งที่ 1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 2 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 3 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ถูกต้อง และครั้งที่ 4 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยทางการพยาบาล ได้เปลี่ยนแปลงกำหนดการและรูปแบบการจัดประชุมสัมมนา เชิงปฏิบัติการฯ เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบระบบ Online โดยใช้ระบบทางไกลผ่านจอภาพ (Zoom) ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00- 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 23 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) 5. สรุป วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน 6. รายงานผลการดำเนินโครงการฯ ต่อผู้บริหารเมื่อสิ้นสุดโครงการ สรุปความรู้หลังเข้าร่วมโครงการการสร้างงานวิจัยทางการพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการพยาบาล พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยหลังเข้าประชุมสูงกว่าก่อนเข้าประชุม เมื่อทดสอบด้วยสถิติ paired sample T-Test พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังเข้าประชุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ผลลัพธ์เป็นโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ 2. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและโรงเรียนในการจัดการน้ำหนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีภาวะอ้วน 3. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร 4. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะตนเองของผู้ดูแล ต่อการป้องกันการสูดสำลักอาหาร ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงในกรุงเทพมหานคร 5. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตบางแค
-
Print
(17) โครงการการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเพื่อช่วยเหลืองานพยาบาลผู้ป่วยและผู้สุงอายุที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (กพส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
-
Print
(18) โครงการบุรณาการเครือข่ายระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral System) (กพส.)
ยกเลิก (40.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งพบการติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคคลกลุ่มต่างๆในลักษณะกลุ่มก้อน อีกทั้งยังคงปรากฏสถานการณ์ในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีภารกิจในการตรวจคัดกรองติดตามอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 และให้บริการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ กองการพยาบาลสาธารณสุข พิจารณาแล้วเห็นควรยกเลิกการจัดโครงการบูรณาการเครือข่ายระบบส่งต่อเพื่อการพยาบาลต่อเนื่องที่บ้าน (BMA Home Ward Referral System) ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ กท 0707/1181 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2564 เรื่อง ขอยกเลิกการจัดโครงการ
-
Print
(19) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านบริหารอนามัย) รุ่นที่ 21 (กพส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล (ด้านบริหารอนามัย) รุ่นที่ 21 ระหว่างวันที่ 2 เมษายน ถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2564 รวมเวลาตลอดหลักสูตร 48 วัน มีรูปแบบการฝึกอบรมแบบ Online โดยใช้ระบบทางไกลผ่านจอภาพ จากการประเมินผลการฝึกอบรม พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกคน เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และวิสัยทัศน์ในการจัดการงานบริการพยาบาลสาธารณสุข เกิดผลงานเชิงประจักษ์ (Practical Project) 2 เรื่อง คือ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ผ่านบริการสุขภาพทางไกล (Telehealth) และการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีการคิดบกพร่องและมีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนกรุงเทพมหานคร บรรลุตามวัตถุประสงค์และผ่านเกณฑ์การประเมินผลทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติ เกินร้อยละ ๘๐
-
Print
(20) โครงการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้จัดการสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุต่อเนื่องที่บ้าน (Nurse Care Manager in Home Ward)(กพส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตรที่กำหนดไว้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 82.4 ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ในเนื้อหาของหลักสูตรที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ ร้อยละ 97
-
Print
(21) โครงการฝึกอบรมปฐมนิเทศบุคลากรสายงานพยาบาลเพื่อสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจ ทักษะและทัศนคติในการพยาบาลสาธารณสุขสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กพส.)
กำลังดำเนินการ (80.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/03/2565 : 31 ม.ค.2565 ดำเนินการจัดอบรมแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom ตั้งแต่ วันที่ 31 ม.ค. - 3 ก.พ.65
-
Print
กองทันตสาธารณสุข
(22) โครงการคนกรุงเทพฯ รักฟัน (เพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุฟันดี) (กทส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/09/2564 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการคนกรุงเทพฯรักฟัน เสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัย เรียบร้อยแล้ว ตามบันทึกที่ กท.0703/985 ลงวันที่ 11 ส.ค. 2564 สรุปผลงานตามตัวชี้วัด ร้อยละ 159.91 ของกลุ่มเป้าหมาย (จำนวน 63,964 เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30,253 คน กลุ่มคนอายุ 30-59 จำนวน 33,711 คน) ได้รับการตรวจและฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปาก สรุปงบประมาณที่ใช้ทั้งหมด 832,340 บาท คงเหลือเป็นเงินคืน 167,660 บาท
-
Print
(23) โครงการเพิ่มพูนความรู้ด้านทันตกรรม (กทส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/06/2564 : ส่งสรุปผลโครงการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านทันตกรรม ปี งบประมาณ พ.ศ. 2564 เรียน ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2564 เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ : ระดับผลผลิต(Output) ร้อยละ 94.74 ของทันตแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนความรู้ด้านทันตกรรม : ระดับผลลัพธ์ (Outcome) ร้อยละ 82.22 ของผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนทดสอบหลังการอบรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 ใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ทั้งหมด 125,950 บาท
-
Print
สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข
(24) กิจกรรมฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมว (สสธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 (COVID - 19) ทำให้ไม่สามารถออกหน่วยสัตวแพทย์์เคลื่อนที่ได้ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข จัดทำหนังสือ ที่ กท 0705/644 ลงวันที่ 1 กันยายน 2564 เรื่องขอปรับตัวชี้วัดกรณีได้รับผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 เสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัย ขอปรับเป้าหมายตัวชี้วัดฯ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอนามัย เห็นชอบให้ปรับเป้าหมายตัวชี้วัดจำนวนสุนัขและสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เดิมตั้งค่าเป้าหมาย 2 แสนตัว เป็นเป็น 92,000 ตัว ซึ่งผลการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสุนัขและสัตวเลี้ยงของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร เดือนกันยายน 2564 จำนวน 9,059 ตัว แบ่งเเป็นสุนัข จำนวน 4,249 ตัว แมว จำนวน 4,810 ตัว และสัตว์อื่น ๆ จำนวน 0 ตัว ผลการดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้กับสุนัขและสัตวเลี้ยงของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 สามารถดำเนินการได้ จำนวนทั้งสิ้น 101,201 ตัว แบ่งเเป็นสุนัข จำนวน 44,322 ตัว แมวจำนวน 56,594 ตัว และสัตว์อื่น ๆ จำนวน 285 ตัว ผลการดำเนินการเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด เป้าหมาย จำนวน 92,000 ตัว สามารถดำเนินการได้ จำนวน 101,201 ตัว ..//
-
Print
(25) กิจกรรมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว (สสธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 (COVID - 19) ทำให้ไม่สามารถออกหน่วยสัตวแพทย์์เคลื่อนที่ได้ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข จัดทำหนังสือ ที่ กท 0705/644 ลงวันที่ 1 กันยายน 2564 เรื่องขอปรับตัวชี้วัดกรณีได้รับผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 เสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัย ขอปรับเป้าหมายตัวชี้วัดฯ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอนามัย เห็นชอบให้ปรับเป้าหมายตัวชี้วัดจำนวนสุนัขและแมวที่ได้รับการผ่าตัดทำหมัส (กิจกรรมผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว) เดิมตั้งค่าเป้าหมายผลผลิต 15,000 ตัว เปลี่ยนเป็น 14,000 ตัว และดำเนินการตามค่าเป้าหมายผลลัพธ์เดิม โดยสามารถดำเนินการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว เดือนกันยายน 2564 ดำเนินการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมวได้ จำนวน 703 ตัว สุนัขเพศผู้ 35 ตัว สุนัขเพศเมีย จำนวน 58 ตัว แมวเพศผู้ จำนวน 205 ตัว แมวเพศเมีย จำนวน 405 ตัว ผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ดำเนินการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ได้จำนวน 15,164 ตัว แบ่งเป้นสุนัขเพศผู้ จำนวน 748 ตัว สุนัขเพศเมีย จำนวน 1,061 ตัว แมวเพศผู้ จำนวน 5,211 ตัว แมวเพศเมีย จำนวน 8,144 ตัว ผลการดำเนินงานเกินกว่าเป้าหมายกำหนด เป้าหมายกำหนดผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว จำนวน 14,000 ตัว สามารถดำเนินการผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว จำนวน 15,164 ตัว.//
-
Print
(26) กิจกรรมควบคุมดูแลให้ที่พักพิงสุนัข (สสธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ดำเนินการควบคุมดูแลสุนัข ณ ศูนย์ควบคุมสุนัขประเวศ และดูแลให้ที่พักพิงสุนัขจรจัด ณ ศูนย์พักพิงสุนัขกรุงเทพมหานคร (อุทัยธานี) ตามองค์ประกอบขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน 2. ประสานนัดหมายผู้ร้องเรียนเข้าดำเนินการ 3. จับสุนัขตามข้อร้องเรียน 4. ควบคุมและเลี้ยงดูสุนัข ณ ศูนย์ฯ ประเวศ 5. ให้บริการขอคืนสุนัขและรับสุนัขไปอุปการะ 6. สุนัขที่ไม่มีเจ้าของทำการผ่าตัดทำหมันและขนส่งไปเลี้ยงดูที่ศุนย์พักพิงสุนัขจรจัด (อุทัยธานี) คิดผลการดำเนินการเป็นร้อยละ 100 ผลการดำเนินการควบคุมดูแลสุนัข ณ ศูนย์ควบคุมสุนัขประเวศ และดูแลให้ที่พักพิงสุนัขจรจัด ณ ศูนย์พักพิงสุนัขกรุงเทพมหานคร (อุทัยธานี) เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ...//
-
Print
(27) โครงการทำหมันสุนัขจรจัดและปล่อยกลับที่เดิม (สสธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 (COVID - 19) ทำให้ไม่สามารถออกหน่วยสัตวแพทย์์เคลื่อนที่ได้ สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข จัดทำหนังสือ ที่ กท 0705/644 ลงวันที่ 1 กันยายน 2564 เรื่องขอปรับตัวชี้วัดกรณีได้รับผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2009 เสนอผู้อำนวยการสำนักอนามัย ขอปรับเป้าหมายตัวชี้วัดฯ ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอนามัย เห็นชอบให้ปรับเป้าหมายตัวชี้วัดจำนวนสุนัขและแมวที่ได้รับการผ่าตัดทำหมัน (โครงการทำหมันสุนรัขจรจัดและปล่อยกลับสถานที่เดิม) ขอปรับเป้าหมายตัวชี้วัดฯ เดิมตั้งค่าเป้าหทมายผลผลิต 2,000 ตัว เปล่ี่ยนเป็น 1,000 ตัว และดำเนินการตามค่าเป้าหมายผลลัพธ์เดิม ซึ่งเดือนกันยายน 2564 ไม่่ได้จัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อบริการประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ผลการดำเนินการออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อฟผ่าตัดทำหมันสุนัขและแมว ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 สามารถ ดำเนินการได้ จำนวน 37 ครั้ง สามารถดำเนินารผ่านตัดทำหมันให้แก่สุนัข และแมว จำนวน 1,087 ตัว แบ่งเป็น สุนัขเพศผู้ จำนวน 36 ตัว สุนัขเพศเมีย จำนวน 64 ตัว แมวเพศผู้ จำนวน 352 ตัว แมวเพศเมีย จำนวน 635 ตัว ผลการดำเนินการเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด เป้าหมายกำหนด 2,000 ตัว สามารถดำเนินการได้ 1,087 ตัว...//
-
Print
(28) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ควบคุมสุนัขกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) (สสธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/03/2564 : ตามหนังสือที่ กท ๐๗๐๕/๑๒๔ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เรื่องขอโอนงบประมาณโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ควบคุมสุนัขกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) และที่่ กท ๐๗๐๕/๑๕๘ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เรื่อง ขอความอนุเคราะห์รับโอนงบประมาณโครงการก่อสร้างอาคารศูนย็ควบคุมสุนัขกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ขอความอนุเคราะห์สำนักการโยธาให้เป็นผู้ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารฯ และสำนักการโยธา ได้ตอบรับการรับโอนโครงการก่อสร้างอาคารฯ ดังกล่าว ตามหนังสือสำนักการโยธา ที่ กท ๐๙๐๑/๗๒๑ ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๓ เรื่อง การพิจารณารับโอนงบประมาณโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ควบคุมสุนัขกรุงเทพมหานคร (ประเวศ) แล้ว และตามหนังสือ สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร ที่ กท 1908/00826 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 เรื่อง สำนักอนามัขออนุมัติโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 อนุมัติให้สำนักอนามัยโอนงบประมาณ 2563 โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฯ เป็นเงิน 1,000,000 บาทไปตั้งจ่ายให่ สำนักการโยธา ตามแบบ ง.303 อ และอนุม้ัติให้สำนักอนามัยโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฯ เป็นเงิน 14,600,000 บาทเข้างบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายทั่งไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามแบบ ง.303 อ...//
-
Print
กองควบคุมโรคติดต่อ
(29) โครงการพัฒนากระบวนการเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรค (กคร.)
ยกเลิก (10.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/05/2564 : จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ติดภารกิจเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคดังกล่าวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงไม่สามารถจัดอบรมโครงการดังกล่าวได้ตามแผนที่กำหนด และทางกคร.ได้ดำเนินการขออนุมัติยกเลิกโครงการดังกล่าวแล้ว โดยอยู่ระหว่างดำเนินการแจ้งให้ทาง สพธ.ทราบ
-
Print
(30) กิจกรรมไข้หวัดใหญ่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน (กคร.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : สรุปผลการดำเนินงาน ได้รับการสนับสนุนวัคซีนจากสปสช. จำนวน 85,714 ขวด จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการฉีดวัคซีน = 53,613 คน คิดเป็นจำนวนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการฉีดวัคซีนร้อยละ 62.55 ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือร้อยละ 75 ทั้งนี้แม้ว่าโครงการจะเสร็จสิ้นตามแผนงบประมาณประจำปี2564 แต่กองควบคุมโรคติดต่อได้ขยายระยะเวลาให้ศูนย์บริการสาธารณสุขดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อเนื่องจนกว่าวัคซีนจะหมด
-
Print
(31) โครงการให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กคร.)
ยกเลิก (40.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 21/07/2564 : ได้รับการอนุมัติยกเลิกโครงการตามหนังสือกคร.ที่กท 0708/1456 ลว. 15 ก.ค. 2564 ด้วยเหตุผล 1. สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น แพทย์และพยาบาลวิชาชีพของศบส.ต้องเร่งออกสอบสวนโรค และควบคุมโรครวมถึงเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2. อาคารสถานบันการศึกษาทุกประเภทถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 32 3. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่องค์การอนามัยโลกประกาศให้ใช้สำหรับซีกโลกใต้ปี 2021จะหมดอายุมกราคม 2565 มีความเสี่ยงสูงที่จะใช้ไม่ทันก่อนวันหมดอายุ ทั้งนี้รายละเอียดเหตุผลยกเลิกโครงการตามไฟล์หนังสือที่แนบมาพร้อมแล้ว
-
Print
(32) โครงการสถานศึกษาปลอดโรคติดต่อ (กคร.)
ยกเลิก (14.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/05/2564 : ยกเลิกโครงการ (หนังสือขออนุมัติยกเลิกโครงการที่ กท0708/845 ลว.7พ.ค.2564
-
Print
(33) โครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (กคร.)
ยกเลิก (14.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/05/2564 : ได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยยกเลิกโครงการฯ ตามหนังสือ ที่ กท 0708/452 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 เรื่อง ขออนุมัติยกเลิกโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโดโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร เพื่อควบคุมโรคไม่ให้ระบาดเป็นวงกว้าง กองควบคุมโรคติดต่อ จึงระดมสรรพกำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการควบคุมโรคและป้องกันโรคโควิด-19 ด้วยเงื่อนไขและเงื่อนเวลาจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินการโครงการได้ทันกำหนดในผีงบประมาณ พ.ศ.2564 จึงเห็นสมควรขออนุมัติยกเลิกโครงการฯ
-
Print
(34) กิจกรรมการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (กคร.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : รายงานสอบสวนโรคดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 9,393 ยอดทั้งหมดของรายงานสอบสวนโรค 105,500 คิดเป็นร้อยละ 8.9
-
Print
(35) โครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กคร.)
กำลังดำเนินการ (32.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/01/2564 : ทบทวนการจัดกิจกรรมในโครงการเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19
-
Print
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
(36) กิจกรรมสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 02/09/2564 : - ติดตามผลการดำเนินงานเขตโดยให้การให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่เขตและชุมชนโดยชุมชนขับเคลื่อนการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยตัวชุมชนเองอย่างต่อเนื่อง - สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานในชุมชนในพื้นที่ กทม มีชุมชนที่มีความสามารถในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดได้โดยอาศัยศักยภาพของชุมชนและกระบวนการของชุมชน จำนวน 1614 ชุมชน จากชุมชนขึ้นทะเบียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 2012 ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 80.2 โดยชุมชนที่มีความสามารถจำนวน 1614 ชุมชน ผ่านเกณฑ์ประเมินอย่างน้อย 6 ใน 10 ข้อ
-
Print
(37) โครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด(สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 03/09/2564 : ยกเลิกกิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดรายใหม่ และขอคืนงบประมาณเป็นเงินทั้งสิ้น 2,798,560 บาท รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท 0709/944 ลว. 11 ส.ค 64 เรื่อง ขอยกเลิกโครงการ และกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ ปีงบประมาณ 2564 ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ลงนามอนุมัติ วันที่ 13 ส.ค 64 เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(38) โครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 03/09/2564 : การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ สรุปได้ดังนี้ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ส่งผลให้สถานศึกษาทุกแห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ โดยนักเรียนนักศึกษาเรียนผ่านสื่อออนไลน์ที่บ้าน ดังนั้นรูปแบบการจัดกิจกรรมของนักศึกษาที่มีจิตอาสาในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด จึงปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ โดยสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ประสานอย่างต่อเนื่องกับอาจารย์กองกิจการนักศึกษา และนักศึกษาที่มีจิตอาสา ทั้ง 38 สถาบันในการดำเนินการ ดังนี้ 1. ร่วมประชาสัมพันธ์ผ่าน Line Facebook และเว็บเพจต่าง ๆ ในการเชิญชวนเพื่อนเด็กเยาวชน ไม่ให้เป็น นักดื่ม นักสูบ และนักเสพหน้าใหม่ และเป็นการลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) โดยดำเนินการในช่วงเทศกาลและวันสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ เข้าพรรษา วันสำคัญทางศาสนา วันงดดื่มสุราแห่งชาติ วัดงดสูบบุหรี่โลก และต่อต้านยาเสพติด ภายใต้คำขวัญการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ไม่ดื่ม ไม่สูบ ไม่เสพ” “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” 2. ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อนนักศึกษา ในการแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ทั้งนี้ ไม่ได้ใช้งบประมาณในการดำเนินการ
-
Print
(39) โครงการประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในชุมชน
กำลังดำเนินการ (45.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 03/09/2564 : - สรุปผลการดำเนินการโครงการประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน มีดังนี้ โครงการประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ในชุมชน ปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในชุมชน กิจกรรมที่ 2 ประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ กิจกรรมที่ 3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด กิจกรรมที่ 4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญ ยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านช่องทางสื่อ สารสนเทศ - สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้ดำเนินกิจกรรมที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้วผ่านระบบสารสนเทศ ส่วนกิจกรรมที่ 2 - 4 ยังไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ทั้งนี้ ได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ไปจนถึงปีงบประมาณ 2565 (30 กันยายน 2565) รายละเอียดตามตามหนังสือที่ กท0709/916 ลว. 6 ส.ค 64 เรื่องขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ผอ.สนอ ลงนามอนุมัติ วันที่ 18 ส.ค.64
-
Print
(40) โครงการกรุงเทพเขตปลอดบุหรี่ (สยส.)
กำลังดำเนินการ (60.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/03/2564 1.17 มีนาคม 2564 จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ครั้ง 2.อยู่ระหว่างการจัดทำคำสั่งอบรมเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อขยายพื้นที่การดำเนินงานเขตปลอดบุหรี่ กิจกรรมที่ 2 3.อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดจ้างผู้จ้างเหมาจัดกิจกรรมที่ 4
-
Print
(41) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย (สยส.)
กำลังดำเนินการ (40.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 03/09/2564 : สรุปผลการดำเนินการโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย - โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) พยาบาลอนามัยชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 1 คน รวม 69 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 3 คน รวม 207 คน กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงานของพยาบาลอนามัยชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จากการรายงานผลการปฏิบัติงาน เดือนละ 1 ครั้ง (ไม่ใช้งบประมาณ) - สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ยังไม่ได้ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 - 2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ทั้งนี้ ได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ไปจนถึงปีงบประมาณ 2565 (30 กันยายน 2565) รายละเอียดตามหนังสือที่ กท0709/983 ลว. 19 ส.ค 64 เรื่องขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ผอ.สนอ ลงนามอนุมัติ วันที่ 20 ส.ค.64
-
Print
(42) โครงการเยาวชนสดใส ไร้ควันบุหรี่ (สยส.)
ยกเลิก (50.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 20/08/2564 : ไตรมาสที่ 4 สิ้นปีงบประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดยังทวีความรุนแรง จึงขอยกเลิกกิจกรรมและขอคืนงบประมาณในกิจกรรมดังกล่าว รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท 0709/944 ลว. 11 ส.ค 64 เรื่องขอยกเลิกโครงการ และกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ ปีงบประมาณ 2564 ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ลงนามอนุมัติ วันที่ 13 ส.ค 64
-
Print
(43) โครงการรณรงค์ ลด เลิก การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสำคัญ (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ สรุปได้ดังนี้ ช่วงเทศกาลปีใหม่ 1. เวียนแจ้งและประสานสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตาม 1.1 แนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครั้งที่ ๒๑ (3/2563) 1.2 กำกับดูแลการจัดงานเลี้ยงช่วงเทศกาลปีใหม่ในสถานที่ราชการ ต้องปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่พบการกระทำความผิด ๒. ร่วมตรวจประชาสัมพันธ์การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานประกอบการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปั๊มน้ำมัน สถานีขนส่งผู้โดยสาร เป็นต้น โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เช่น สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ เป็นต้น รวมถึงประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงาน และสื่อของสำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักการแพทย์ และกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งดำเนินการในช่วงก่อนและระหว่างช่วงเทศกาลปีใหม่ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร ไม่พบการกระทำความผิด 3. ร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” โดยเน้นผู้ที่ต้องขับขี่รถให้งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากกว่า ๖ ชั่วโมง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 1. เวียนแจ้ง และประสานสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตาม 1.1 แนวทางการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยเน้นการรณรงค์ “ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ” และการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รวมถึงมาตรการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) จากมติประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 1.2 ประกาศสำนักงานเขต เรื่อง มาตรการสงกรานต์ กทม.ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปลอดไวรัส โคโรนา 2019 (COVID – 19) ปี 2564 2. ตรวจสถานประกอบการที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 10 -16 เมษายน 2564 จำนวน 1,112 แห่ง ไม่พบการกระทำความผิด 3. ร่วมจัดกิจกรรม และแถลงนโยบาย และกิจกรรมสร้างแนวร่วมภาคประชาชน เพื่อส่งเสริม ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในเขตกรุงเทพมหานคร ภายใต้แคมเปญ “SAVE LIVES ใช้สติ ลดเสี่ยง หยุดสูญเสีย” ร่วมกับสำนักการจราจรและขนส่ง ณ ลานวิคตอรี่พอยท์ เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 4. จัดทำสื่อรณรงค์ "ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับ" โดยเชิญคุณบีม (ศรัณยู ประชากิจ) ในการเชิญชวนประชาชนงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 1. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ “เข้าพรรษานี้ กทม.ชวน งดเหล้า งดบุหรี่ ห่างโควิด ชีวิตปลอดภัย” ผ่านสื่อ ช่องทางต่าง ๆ ของหน่วยงาน สำนักงานเขต และสำนักงานประชาสัมพันธ์ 3. จัดกิจกรรมร้านค้าร้านอาหารปลอดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งมีร้านค้าร้านอาหารที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมงดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดช่วงเข้าพรรษา จำนวน 53 ร้าน ใช้งบประมาณในการดำเนินกิจกรรม จำนวน 272,500 บาท วันสำคัญทางศาสนา (วันพระใหญ่) 1. เวียนแจ้งและประสานให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต กองบัญชาการตำรวจนครบาลให้เข้มงวดกวดขันให้ผู้ประกอบการร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ของหน่วยงาน สำนักงานประชาสัมพันธ์ และกรมประชาสัมพันธ์ ในการเชิญชวนประชาชน ลด เลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3. มอบป้ายวัดปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ จำนวน 500 ป้าย ให้กับท่านเจ้าคณะภาค 1 (เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม) เพื่อให้ประชาสัมพันธ์ในวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างทั่วถึงทุกวัด
-
Print
(44) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพผู้ติดยาเสพติด (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 05/09/2564 : ดำเนินกิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานพัฒนาศูนย์บริการสาธารณสุขสู่การรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) ด้านยาเสพติด ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2564 วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว โดยปรับการประชุมเป็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์โปรแกรม Jitsi Meeting เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการเขียนแบบประเมินตนเอง โดยไม่ได้ใช้งบประมาณ และขอยกเลิกกิจกรรมกิจกรรมที่ 1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพผู้ติดยาเสพติดสู่การรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA) ด้านยาเสพติด เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 หนังสือขออนุมัติที่ กท 0709/927 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เรื่อง ขออนุมัติยกเลิกกิจกรรมตามโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพผู้ติดยาเสพติด
-
Print
(45) โครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร (สยส.)
ยกเลิก (25.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : - ได้รับอนุมัติยกเลิกโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือที่ กท 0709/986 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เรื่องขออนุมัติยกเลิกโครงการลดละเลิกการบริโภคยาสูบสำหรับบุคลากรของกรุงเทพมหานคร โดยผู้อำนวยการสำนักอนามัยลงนามอนุมัติยกเลิก เมื่อวันที่ 23 ส.ค.64
-
Print
(46) โครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 02/09/2564 : สรุปผลการดำเนินการโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน - กำหนดจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่งๆ ละ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 - ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว งบประมาณที่ใช้ไป 72,000 บาท - แต่เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิท -19 ในพื้นที่กทม ยังมีความรุนแรงตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา จึงทำให้ศูนย์บริการสาธารณสุข 17 แห่ง ไม่สามารถจัดกิจกรรมพัฒนากลไกการบำบัดฟื้นฟูและดูแลช่วยผู้มีปัญหายาเสพติดในชุมชน ในพื้นที่ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 ตามที่กำหนดได้ จึงขอยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว รายละเอียดตามหนังสือที่ ที่ กท 0702/932 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เรื่องขอยกเลิกการจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในชุมชน ผู้อำนวยการการสำนักอนามัย อนุมัติ 13 สิงหาคม 2564
-
Print
(47) กิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดกรุงเทพมหานคร (สยส.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID 19 ทำให้ไม่ได้รับการจัดสรรงบในการดำเนินโครงการพัฒนาการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบครบวงจรกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาและสารเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ 2564 จึงไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในโครงการได้ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ปรับแผนการปฏิบัติงานโดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดกรุงเทพมหานครโดยไม่ใช้งบประมาณแทน ดังนี้ 1. ดำเนินการจัดทำแบบประเมินภูมิคุ้มกันยาและสารเสพติดฯ ในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 109 โรงเรียน มีนักเรียนทำแบบประเมินทั้งหมด 10,841 คน อยู่ในระดับปกติ 5,984 คน อยู่ในระดับต่ำ 4,691 คน อยู่ในระดับเสี่ยง 166 คน 2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID 19 ทำให้ระบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต (ONLINE) รวมถึงกิจกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดได้ประสานโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามแผนการดำเนินงาน จำนวน 109 โรงเรียน เพื่อส่งสื่อกิจกรรม และให้โรงเรียนดาวน์โหลด QR CODE คู่มือการดำเนินกิจกรรมป้องกันการติดยาและสารเสพติดไปใช้ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID -19 ตามกลุ่มนักเรียนที่จำแนกจากการทำแบบประเมินภูมิคุ้มกันยาและสารเสพติดฯได้ พร้อมทั้งติดตามโดยการสอบถามการดำเนินกิจกรรมการป้องกันการติดยาเสพติดผ่านระบบไลน์กลุ่ม พบว่าโรงเรียนได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 109 โรงเรียน
-
Print
(48) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (สยส.)
ยกเลิก (65.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/08/2564 : ขอยกเลิกโครงการ และกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019( Covid - 19) จึงขอยกเลิกกิจกรรมและขอคืนงบประมาณในกิจกรรมดังกล่าว รายละเอียดตามหนังสือ ที่ กท 0709/944 ลว. 11 ส.ค 64 เรื่องขอยกเลิกโครงการ และกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ ปีงบประมาณ 2564 ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ลงนามอนุมัติ วันที่ 13 ส.ค 64
-
Print
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(49) กิจกรรมการติดตามข้อมูลการให้บริการผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ Bangkok Smart Monitoring System : BSMS (กอพ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2564 : จำนวนชายมีเพศสัมพันธ์กับชายที่ตั้งเป้าหมายให้เข้าถึงข้อมูลความรู้และอุปกรณ์ป้องกัน ปี 2564 จำนวน 33,000 คน จำนวนชายมีเพศสัมพันธ์กับชายที่เข้าถึงข้อมูลความรู้และอุปกรณ์ป้องกัน จำนวน 30,568 คน คิดเป็นร้อยละ 92.63
-
Print
(50) กิจกรรมการรักษาวัณโรค ด้วยระบบระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (DOT) (กอพ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2564 : ผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทรอบ 2563 จำนวนผู้ป่วยที่นำมาประเมิน 648 ราย ผู้ป่วยที่รักษาสำเร็จ 585 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.27 ข้อมูล ณ วันที่ 6 กันยายน 2564 : การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปี 2563 จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน จำนวน 616 ราย ออกเยี่ยมบ้านโดยเฉลี่ย 2 ครั้ง /เดือน : ประชุมการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในพื้นที่ กทม. ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข เครือข่ายวัณโรค สนอ. วันที่ 3 ก.ย. 2564
-
Print
(51) กิจกรรมศูนย์กลางการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค (TB Referral Center) (กอพ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2564 : ผู้ป่วยวัณโรคส่งต่อตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 - 30 สิงหาคม 2564 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 672 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 642 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 11 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 19 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
-
Print
(52) โครงการบริการเชิงรุกสุขภาพดีในพื้นที่เป้าหมาย (กอพ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 07/09/2564 : สรุปการดำเนินงาน - ดำเนินการจัดประชุมกิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแนวทางบริการเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2564 งบประมาณ 9,260 บาท - กิจกรรมที่ 2 และกิจกรรมที่ 3 มีการขอยกเลิกกิจกรรม เนื่องด้วยสถานการณ์ การระบาดโควิด 19 ตามบันทึกเลขที่ กท.0711/0965 ลงวันที่ 20 ส.ค. 2564 โดยผู้อำนวยการสำนักอนามัยเป็นผู้อนุมัติ
-
Print
กองเภสัชกรรม
(53) โครงการเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักอนามัย
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 04/01/2565 : กองเภสัชกรรม ได้จัดประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักอนามัย ประจำปี 2564 ในวันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร ให้แก่เภสัชกรประจำร้านยาภายใต้โครงการเครือข่ายฯ หรือผู้แทน เภสัชกรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่มีความสนใจเข้าร่วมเป็นเครือข่ายฯ จำนวน 40 ราย และข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งเภสัชกรระดับปฏิบัติการ - ชำนาญการพิเศษ จำนวน 33 ราย รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 73 ราย เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(54) โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (กภก.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2564 : กิจกรรมที่่ 1 ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง มีการดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน และเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ (บัญชี) โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักอนามัย จำนวน 199,727.30 บาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 2 เบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ (บัญชี) โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักอนามัย จำนวน 99,040 บาท เสร็จเรียบร้อยแล้ว และกองเภสัชกรรม ได้ดำเนินการส่งสื่อให้ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง เรียบร้อยแล้ว โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดำเนินการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณ (บัญชี) โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักอนามัย รวมทั้งสิ้น 298,767.30 บาท โดยได้รวบรวมข้อมูลและสรุปผลโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอผู้บริหาร
-
Print
(55) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายงานเภสัชกรรม (กภก.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2564 : กิจกรรมที่ 1 กองเภสัชกรรมได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยดำเนินการเบิกจ่ายค่าวิทยากร ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม เสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นเงินทั้งสิ้น 124,200.- บาท กิจกรรมที่ 2 ผู้อำนวยการสำนักอนามัยได้อนุมัติยกเลิกการจัดประชุม ตามหนังสือกองเภสัชกรรม ที่ กท 0710/446 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 กองเภสัชกรรมได้สรุป ประเมินโครงการ เสร็จเรียบร้อยแล้ว รายละเอียดดังนี้ ระดับผลผลิต – จากบุคลากรสายงานเภสัชกรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 84 ราย พบว่าผู้ผ่านการประเมินความรู้ ทักษะ และความเข้าใจในหัวข้อที่จัดประชุม คิดเป็นร้อยละ 95.84 ระดับผลลัพธ์ – ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ได้มีการพัฒนาบริการด้านเภสัชกรรมของสำนักอนามัยสอดคล้องกับหัวข้อที่จัดประชุม โดยศูนย์บริการสาธารณสุขได้ส่งรายงานผลการดำเนินกงานของศูนย์บริการสาธารณสุข ในการประเมินและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ให้กองเภสัชกรรม คิดเป็นร้อยละ 100
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
(56) โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ (ศบส.3)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/05/2564 : ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ ตามรายงานการตรวจรับการจัดจ้างโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ หนังสือ ที่ 0713.3/พ062 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2564
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 30 วัดเจ้าอาม
(57) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 30 (แห่งใหม่) (ศบส.30)
กำลังดำเนินการ (3.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/08/2564 :ได้รับอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2564 งวดที่ 3 ครั้งที่ 8 เป็นเงิน 10,690,000 บาท ตามหนังสือที่ กท 1908/142 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2564 จากกองวิเคราะห์งบประมาณ 6 (ฝ่ายวิเคราะห์งบประมาณ 1)
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี
(58) โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี (ศบส.34)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/05/2564 : ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ
(59) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฏร์บูรณะ (ศบส.39)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/03/2564 : โอนงบประมาณให้สำนักการโยธาเป็นผู้ดำเนินการและสำนักการโยธาตอบรับการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ ตามหนังสือ กท.0901/3155 ลว.28พย.2562 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง และได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักเลขานุการได้ประสานความคืบหน้าโครงการมีผลปรากฎดังนี้คือ โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 39 ราษฎร์บูรณะ กำหนดขายแบบวันที่ 19-22 มีนาคม 2564 กำหนดเสนอราคา วันที่ 23 มีนาคม 2564 ตามหนังสือกท.0701/1241ลว.10มีค.2564
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 47 คลองขวาง
(60) โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 47 คลองขวาง (ศบส.47)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 6/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...หนังสือที่ กท 1908/00647 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 และได้รับอนุมัติให้กันเงินเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาร พ.ศ.2562 ไว้เบิกเหลี่ยมปีในปีงบประมาร 2563 เป็นเงิน 1,000,000 บาท ตามใบขอกันเงินเลขที่ 006/62 ละได้รับอนุมัติขยายเวลาเบิกจ่ายเงินเหลี่ยมปีงบประมาร 2562 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ตามหนังสือ ด่วนมากที่ กท 1303/1360 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2563 สำหรับงบประมาณส่วนที่เหลือ เป็นเงิน 5,510,000 บาท ได้รับอนุมัติโอนงบประมาณเข้างบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายทั่วไป กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กท 1902/01907 ลงวันที่ 27 กันยายน 2562 สำนักอนามัยมีหนังสือที่ กท 0713.47/8677 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2562 ขอความอนุเคราะห์ให้สำนักการโยธาพิจารณารับโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี โครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 47 คลองขวาง เนื่องจากสำนักอนามัยไม่มีบุคลากรในสายช่าง สำนักการโยธามีหนังสือที่ กท 0901/101 ลงวันที่ 13 มกราคม 2563 แจ้งสำนักอนามัยว่าเนื่องจากโครงการก่อสร้างดังกล่าวเป็นงานที่ต้องดำเนินการก่อสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการด้านก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพื่อให้อาคารมีประสิทธิภาพ มีโครงสร้างที่แข็งแรง ตรงตามแบบที่กำหนดไว้ซึ่งสำนักอนามัยขาดอัตรากำลังและไม่มีผู้เชี่ยวชาญ จึงขอยืนยันรับโอนงบประมาณโครงการดังกล่าว
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม
(61) โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม (ศบส.58)
กำลังดำเนินการ (90.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม ได้ก่อสร้างอาคารที่ทำการใหม่ทดแทนอาคารเดิม และได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 และคณะกรรมการได้ตรวจรับงานเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2564 และได้ทำเรื่องส่งมอบพื้นที่และอาคารโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม โดยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 และมีแผนการเปิดให้บริการในวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ซึ่งการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคาร ยังไม่แล้วเสร็จ ศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม พิจารณาขออนุมัติขยายเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว ไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ตามหนังสือที่ กท 0713.58/754 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 เรื่องขออนุมัติขยายเวลาการดำเนินโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารศูนย์บริการสาธารณสุข 58 ล้อม-พิมเสน ฟักอุดม ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2564 ของสำนักอนามัย
-
Print
สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข
(62) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ (สชส.) (ข้อบัญญัติ)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานชันสูตรสาธารณสุขและศูนย์บริการสาธารณสุข ๗ บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2564//
-
Print
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
(63) โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัยปี 2564 (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : 1. ขออนุมัติยกเลิกการจัดกิจกรรมที่ 2 และ 3 ภายใต้โครงการนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข สำนักอนามัย ปี 2564 ตามหนังสือที่ กท 0702/1350 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 2. มีการรวบรวมแบบเสนอผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 29 ผลงาน
-
Print
(64) กิจกรรมการให้บริการระบบสุขภาพปฐมภูมิ (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : ในปีงบประมาณพ.ศ2564 ดำเนินการได้ครบ 50 เขต ดำเนินได้เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ซึ่งกำหนดไว้ 29 เขต
-
Print
(65) โครงการจัดทำวารสารสุขภาพสำนักอนามัย (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : - จัดพิมพ์และดำเนินการจัดส่งวารสารฯ ฉบับที่ 4 ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล หน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร - ผู้รับจ้างดำเนินการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของวารสารฯ พร้อมจัดส่งรายงานผลประเมินความถึงพอใจของวารสารฯ
-
Print
(66) เงินสมทบกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : 1. ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร จากการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 09.00 -12.00 น.ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference มติที่ประชุม 1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การกำกับ ติดตาม และประเมินผล โดยกำหนดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง และแต่งตั้งทีม กำกับ ติดตาม และประเมินผลระดับ โซนพื้นที่เขต จำนวน 3 ชุด 2. เห็นชอบให้ทดลองใช้แบบฟอร์มการกำกับ ติดตาม และประเมินผลกับสำนักงานเขตเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งาน 3. เห็นชอบการกำกับ ติดตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมของสำนักงานเขต โดยเร่งรัดติดตามทำความเข้าใจให้กับคณะอนุกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพเขตทั้ง 50 และการติดตามแบบเสริมพลัง 2. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่7/2564 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 -12.00 น.ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference สรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต โครงการที่เสนอจากองค์กรหรือกลุ่มประชาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข - การเปลี่ยนแปลงหรือขยายระยะเวลาดำเนินการและการยกเลิกแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม -พิจารณาโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) -ขอขยายเวลาการดำเนินงานตามโครงการที่ได้การสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประเภท 6(2) จำนวน 3 โครงการ
-
Print
(67) โครงการยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารแผนงาน โครงการและการติดตามประเมินผลแผนสำนักอนามัย (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 16/09/2564 : ดำเนินการติดตามผลการปฏิบัติราชการของสำนักอนามัยผ่านกิจกรรมที่ 1-5 ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานจัดทำแผนและพัฒนายุทธศาสตร์ของสำนักอนามัย กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลผ่านระบบติดตามประเมินผล Daily Plans กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะทำงานติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี (4มิติ) กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานติดตามและประเมินผลเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะของสำนักอนามัย กิจกรรมที่ 5 ประชุมรองรับการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปี โดยได้มีจัดประชุมชี้แจงแนวทาง กระตุ้น ผลักดันการดำเนินงาน ติดตามผลการดำเนินงานทั้ง 5 กิจกรรม เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(68) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้การบริการสุขภาพตามแนวชีวิตวิถีใหม่ (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 28/01/2564 : ดำเนินการนำข้อมูลจากผลการดำเนินการทั้ง 3 กิจกรรมมาวิเคราะห์และทบทวนปัจจัยภายนอกภายในของสำนักอนามัย (SWOT) โดยได้รวบรวมโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญเพื่อจัดทำแผนพัฒนาสำนักอนามัย 4 ปี (พ.ศ. 2565 – 2568) และนำเสนอผู้บริหารสำนักอนามัยรับทราบ เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดสำนักอนามัยนำไปใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานตามภารกิจที่รับผิดชอบต่อไป
-
Print
(69) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารสุขภาวะเขตเมือง รุ่นที่ 3 (สพธ.)
กำลังดำเนินการ (39.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : 1. ทำหนังสือขออนุมัติเลื่อนกำหนดฝึกอบรมฯ ด่วนที่สุด ที่ กท 0702/1121 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 โดยไม่มีการจัดกิจกรรมเเนื่องจากอยู่ระหว่างเลื่อนการจัดการอบรมออกไปอย่างไม่มีกำหนด จนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเขื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะปลอดภัย
-
Print
(70) โครงการพัฒนาศักยภาพนักสังคมสงเคราะห์มุ่งสู่ความเป็นมืออาชีพ (สพธ.)
กำลังดำเนินการ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : รายงานผลดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(71) กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพคนกรุงเทพมหานคร (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : - จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ป้องกันอัลไซเมอร์ - ประเมินผลและสรุปผลการจัดกิจกรรมฯ
-
Print
(72) กิจกรรมสาระสุขภาพทางสื่อสาธารณะ (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 15/09/2564 : 1. เผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ด้านสุขภาพ และประชาสัมพันธ์การให้บริการด้านสาธารณสุขของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม– กันยายน 2564 ผ่านช่องทาง Facebook และ website รวมจำนวนทั้งสิ้น 325 เรื่อง - สื่อ Infographic จำนวน 10 เรื่อง - คลิปวิดีโอ จำนวน 15 เรื่อง - ข่าวสาร ด้านสุขภาพ และประชาสัมพันธ์ จำนวน 300 เรื่อง
-
Print
(73) โครงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวแก่คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ประสบปัญหาทางการเคลื่อนไหว (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : 1. นักสังคมสงเคราะห์ 69 ศูนย์บริการสาธารณสุข ได้รับอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวฯ และแจกจ่ายประชาชน 660 คน เรียบร้อยแล้ว ตามบัญชีจัดสรรอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวฯ ปี 2564 2. สรุปโครงการจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการเคลื่อนไหวฯ ปี 2564
-
Print
(74) โครงการจัดเสวนา มิติสุขภาพกับสถานการร์ครอบครัวในปัจจุบัน (สพธ.)
ยกเลิก (33.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/07/2564 : ได้รับอนุมัติยกเลิกโครงการ ตามหนังสือที กท 0702/1292 ลงวันที่ 21 มิ.ย.64 เรื่อง ขอยกเลิกโครงการจัดเสวนา "มิติสุขภาพกับสถานการณ์ครอบครัวในปัจจุบัน" เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีประกาศ เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 32) ประกาศ ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ให้ปิดสถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน และกำหนดให้การจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้ดำเนินการโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ไม่เกิน 20 คน กรณ๊เกิน 20 คน แต่ไม่เกิน 1,000 คน ให้ขออนุญาตโดบยื่นแผนการจัดงานและมาตรการควบคุมโรคต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ควบคุมและเข้มงวด จึงเห็นควรขอยกเลิกโครงการฯ ดังกล่าว
-
Print
(75) กิจกรรมช่วยเหลือผู้ถูกกระทำและ/หรือผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวของศูนย์จัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : สรุปรายงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวเรียบร้อยแล้ว
-
Print
(76) การดำเนินงานนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/09/2564 : 1. จัดทำรายงานตามแบบฟอร์มที่ 5 และส่งรายงานไปยังสำนักงาน ก.ก.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-
Print
(77) กิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูล (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : 1. ได้ดำเนินการจัดทำตัวชี้วัด 5.2 ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ ขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยดำเนินการเผยแพร่ชุดข้อมูลผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับความรู้และฝึกทักษะในการดูแลผู้สูงอายุตามที่ต้องการผ่านระบบออนไลน์บนเว็บไซต์ http://data.bangkok.go.th และส่งรายงานการดำเนินงานฯ ให้กับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสำนักอนามัย ที่ กท 0702/7117 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2564 2. ได้ดำเนินการรักษาสถานะภาพฐานข้อมูลของสำนักอนามัยที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เดือนละ 1 ครั้ง แล้ว 3. ได้ดำเนินการพัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ เดือนละ 1 ครั้ง แล้ว
-
Print
(78) กิจกรรมบำรุงรักษาระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุข (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : 1. บริษัท แอ็บสแตรค คอมพิวเตอร์ จำกัด ได้มีหนังสือที่ HD64/026 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เรื่อง แจ้งส่งมอบการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ ของงวดที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564)2. คณะกรรมการตรวจรับฯ ได้มีการประชุมตรวจรับการจ้างเหมาการจ้างเหมาบำรุงรักษาระบบเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ งวดที่ 11 และมีมติตรวจรับงานงวดที่ 11 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 3. คณะกรรมการตรวจรับฯ ได้กำหนดประชุมตรวจรับการจ้างเหมาบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ งวดที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564) ในวันที่ 8 ตุลาคม 2564 4. บริษัท แอ็บสแตรค คอมพิวเตอร์ จำกัด อยู่ระหว่างดำเนินการบำรุงรักษาระบบเครือข่ายและโปรแกรมประยุกต์ งวดที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
-
Print
(79) โครงการฝึกอบรมการใช้งานระบบสารสนเทศศูนย์บริการสาธารณสุข (HCIS) (สพธ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : 1. อยู่ระหว่างติดตามการใช้งานระบบฯของเจ้าหน้าที่ที่เข้ารับการฝึกอบรม 2. รอรายงานผลเสนอต่อผู้บริหาร
-
Print
สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(80) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย (กิจกรรมที่ 2 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ (กิจกรรมย่อยที่ 2.1 PM 2.5 ส่งเสริมการป้องกันปัญหามลพิษอากาศจากการประกอบกิจการโรงแรม) (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : ดำเนินการสำรวจข้อมูลหม้อไอน้ำกิจการโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 912 แห่ง เข้าร่วมกิจกรรมฯ และตอบแบบสำรวจ จำนวน 297 แห่ง พบว่า กิจการโรงแรมมีหม้อไอน้ำ (Boiler) จำนวน 45 แห่ง ซึ่งมีหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (NG) จำนวน 26 แห่ง (44.07%) ก๊าซ LPG 3 แห่ง (5.08%) น้ำมันเตา 9 แห่ง (15.26%) อื่นๆ 21 แห่ง (35.60%) นอกจากนี้ จากการสำรวจพบว่า การติตตั้งหม้อไอน้ำของกิจการโรงแรม มีระบบบำบัดมลพิษ จำนวน 19 แห่ง (35%) ไม่มีระบบบำบัดมลพิษ 31 แห่ง (51.41%) และไม่ระบุว่ามีหรือไม่มีระบบบำบัดมลพิษ 4 แห่ง (7.04%) ซึ่งจากข้อมูลการสำรวจทำให้กรุงเทพมหานครสามารถนำไปกำหนดแนวทาง แผนงาน และนโนบายในการเฝ้าระวังและการสร้างความตระหนักให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมพิษอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้ต่อไป
-
Print
(81) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม) (สสว.)
ยกเลิก (16.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/05/2564 : ยกเลิกกิจกรรม เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้ต้องงดจัดกิจกรรมการอบรมหรือสัมมนา ประกอบกับเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำกิจกรรมและผู้เข้ารับการอบรมมีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้การดำเนินกิจกรรมเกิดความล่าช้า จึงขอยกเลิกกิจกรรมดังกล่าว ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยแล้ว
-
Print
(82) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งผู้ประกอบอาชีพปลอดโรค ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยในการทำงานที่ดี (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : การดำเนินงานส่งเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้กับเจ้าของหรือผู้ดูแลกิจการ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุคล้ายคลึง ในพื้นที่ 50 สำนักงานเขต จำนวน 95 แห่ง พบว่า ถูกสุขลักษณะ จำนวน 94 แห่ง (ร้อยละ 98.9) ได้รับคำแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไข จำนวน 1 แห่ง (ร้อยละ 1.1) และได้แนะนำเพิ่มเติมในประเด็น 1.ความปลอดภัยของเครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ 2.การจัดการมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง และ 3.การป้องกันเหตุรำคาญกับชุมชนรอบข้าง เจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้กับสถานประกอบกิจการ
-
Print
(83) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย (กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/09/2564 : การดำเนินงานกิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ (โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย) ได้มีการจัดทำและผลิตสื่อประชาสัมพันธ์การใช้ห้องน้ำสาธารณะ ให้สำนักงานเขตรณรงค์เผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์แจกจ่ายให้กับผู้ประกอบการ เจ้าของอาคารประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนที่ใช้ห้องน้ำต่อไป ในส่วนของขั้นตอนการประกวดสุดยอดห้องน้ำแห่งปีของกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2564 และตรวจประเมินสุขลักษณะห้องน้ำสาธารณะในสถานที่กลุ่มเป้าหมายตามขั้นตอนที่กำหนดได้ ในปีงบประมาณ 2564 ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ เนื่องจาก จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม จึงได้มีหนังสือนำเรียนผู้อำนวยการสำนักอนามัย เพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติให้งดการตรวจประเมินดังกล่าว ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอนามัยได้อนุมัติตามที่เสนอเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว (ตามหนังสือที่ กท 0704/364 ลงวันที่ 21 เมษายน 2564 และหนังสือที่ กท 0704/660 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564) และมีหนังสือนำเรียน ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ขออนุมัติให้งดเว้นการประเมินผลตามตัวชี้วัดมาตรการ ร้อยละของห้องน้ำสาธารณะในกลุ่มเป้าหมายที่มีสุขลักษณะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (ตามหนังสือที่ กท 0704/ ลงวันที่ 2 กันยายน 2564)
-
Print
(84) โครงการพัฒนาสมรรถนะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ของกรุงเทพมหานคร (สสว.)
ยกเลิก (30.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 30/07/2564 : ผู้อำนวยการสไนักอนามัย ได้อนุมัติยกเลิกโครงการตามหนังสือที่ กท 0704/630 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ขอยกเลิกโครงการพัฒนาสมรรถนะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ของกรุงเทพมหานคร เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่ามีการแพร่ระบาดในสถานประกอบการ (โรงงาน) ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร การลงพื้นที่ไปยังสถานประกอบการ (โรงงาน) ดำเนินการตรวจสอบเพื่อถอดบทเรียน และการรวมกลุ่มของเจ้าหน้าที่ในการจัดประชุมเพื่อถอดบทเรียน จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว
-
Print
(85) โครงการส่งเสริมการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/09/2564 : สรุปผลการดำเนินโครงการได้ดังนี้ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่พบว่าเป็นการติดเชื้อโรคกลายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและสุขภาพ ซึ่งมีอัตราเพิ่มจำนวนขึ้นสูงมาก จึงส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ ปีงบประมาณ 2564 ได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม ซึ่งสามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนางานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ด้านการจัดการสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายสาธารณสุข ผลการดำเนินงาน : ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการโครงการ และได้ส่งคืนงบประมาณ เป็นเงินจำนวน ๑๔,๔๗๕ บาท (เนื่องจากในกิจกรรมดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลผ่านคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งยังไม่ถูกกำหนดจัดการประชุมคณะอนุกรรมการฯในช่วงเวลานั้น) อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดทำร่างหลักเกณฑ์ที่ดีในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (ร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว) และแนวทางปฏิบัติงานในการกำกับดูแลและตรวจประเมินสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทการผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (ร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของข้อมูลและสามารถนำร่างหลักเกณฑ์ฯดังกล่าว สู่การวางแผนและพัฒนาในปีงบประมาณต่อไปให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย กิจกรรมที่ 2 การสำรวจและตรวจประเมินสถานประกอบการประเภทการผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ ที่มีความเสี่ยงสูงด้านสารเคมีและวัตถุอันตรายในสถานประกอบการ (ไม่ใช้งบประมาณ) ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการสำรวจและตรวจประเมินสถานประกอบการประเภทการผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ (ร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้มและสถานประกอบการที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหุงต้ม) รวมทั้งสิ้น จำนวน 93 แห่ง กิจกรรมที่ 3 การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สนับสนุนการทำงานของสำนักงานเขต สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ๑) คู่มือการตอบโต้และระงับอุบัติภัยจากสารเคมี จำนวน 500 เล่ม เป็นเงิน 125,000 บาท ๒) การปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีภาวะฉุกเฉินด้านสารเคมีและวัตถุอันตราย จำนวน 500 เล่ม เป็นเงิน 160,000 บาท ๓) โปสเตอร์แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย จากการผลิต สะสม บรรจุหรือขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย จำนวน 5,000 แผ่น เป็นเงิน 45,000 บาท ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการของโครงการ โดยส่งมอบสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานและพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการสารเคมีของเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สำนักงานเขต ๕๐ เขต ศูนย์บริกาสาธารณสุข 69 ศูนย์ สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 4 ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ เป็นเงิน 10,000 บาท ผลการดำเนินงาน : ดำเนินการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการของโครงการ
-
Print
(86) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต)(สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 31/08/2564 : รวบรวมผลการดำเนินงานจากสำนักงานเขต สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ สำนักงานเขต 50 เขต ดำเนินการตรวจสอบ... รายการที่ 1 การตรวจสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเขต 50 เขต และรายการที่ 2 การดำเนินงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 โดยดำเนินการตรวจสอบเหตุรำคาญ ตรวจสอบด้านสุขลักษณะ แนะนำสถานประกอบกิจการในช่วงสถานการณ์ที่มีการระบาด COVID-19 และตรวจสอบ แนะนำสถานประกอบการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 จำนวนทั้งสิ้น 2,578 ครั้ง
-
Print
(87) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย(กิจกรรมที่ 2 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ(กิจกรรมย่อยที่ 2.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบกิจการในการป้องกันปัญหาฝุ่นละอองจากสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ)(สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/04/2564 : 1.จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ 2.รวบรวมข้อมูลสถานประกอบกิจการกลุ่มเป้าหมาย 3.รวบรวมรายชื่อจัดทำคำสั่งสัมมนาฯ 4. จัดทำเอกสารสัมมนา และร่างแนวทางควบคุมฝุ่นละอองในสถานประกอบการ 5. ยกเลิกกิจกรรมการสัมมนา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
-
Print
(88) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560)(สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : รวบรวมฐานข้อมูลสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบและสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายและสรุปผลการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว งบประมาณที่ได้รับในกิจกรรม จำนวน 315,535 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 259,935 บาท และคืนงบประมาณ จำนวน 55,600 บาท
-
Print
(89) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย (กิจกรรมที่ 2 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ (กิจกรรมย่อยที่ 2.3 การพัฒนาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ) (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 23/04/2564 : 1. จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ 2. รวบรวมข้อมูลกิจการกลุ่มเป้าหมาย 3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมจัดอบรม 4. จัดทำคู่มือการประกอบกิจการเรียบร้อย 5. ยกเลิกการจัดอบรมผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากสถานการณ์ลการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 6. สรุปผลการดำเนินโครงการ
-
Print
(90) โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาดปลอดภัย (กิจกรรมที่ 2 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ (กิจกรรมย่อยที่ 2.2 การควบคุมระดับเสียงจากสถานประกอบกิจการ) (สสว.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) ไม่เป็นไปตามแผน : ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 18/08/2564 : กิจกรรมฯ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. การติดตามและตรวจสอบสถานประกอบกิจการประเภทการจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรีฯ ที่ถูกร้องเรียน 1.1 ได้รับการประสานจากสำนักงานเขตให้ตรวจสอบเรื่องร้องเรียน จำนวน 5 เรื่อง 1.2 มีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบให้สำนักงานเขต จำนวน 5 เรื่อง 2. ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 23) ลงวันที่ 9 เมษายน 2564 กำหนดให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ดังนั้น สำนักงานเขตจึงไม่สามารถสำรวจข้อมูลสถานประกอบกิจการประเภทการจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรีฯ ได้ เนื่องจากกิจการดังกล่าวถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 23) 3. กิจกรรมใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 13,750 บาท
-
Print
กองสุขาภิบาลอาหาร
(91) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 3 การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย)(กสอ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 11/08/2564 : 3.1 การจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 472,000บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 456,970.60 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 15,029.40 บาท) 3.1.1 การจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยแผ่นป้ายอะคริลิกและใบรับรอง จำนวน 2,000 ชุด เฉพาะใบรับรองฯ จำนวน 10,000 ใบ (เป็นเงิน 450,000 บาท) งบประมาณที่ใช้ไป 444,000 บาท คงเหลือ 6,000 บาท (100%) 3.1.1.1 การจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร - ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบรูปแบบป้ายรับรองฯ จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะป้ายรับรองฯ เรียบร้อยแล้วและอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร(ขอความเห็นชอบ) - อยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้างทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร (ลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง) - ส่งมอบงานงวดที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ตั้งฎีกาเบิกจ่ายงบประมาณเป็นเงิน 222,000 บาท - ส่งมอบงานงวดที่ 2 เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ตั้งฏีกาเบิกจ่ายงบประมาณเป็นเงิน 222,000 บาท 3.1.1.2 เป้าหมายสถานประกอบการอาหาร ประเภท ตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ร้านอาหาร และ แผงลอยอาหาร มีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร อย่างน้อยร้อยละ 100 ของจำนวนสถานประกอบการอาหารทั้งหมดที่ได้รับใบอนุญาต - สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี ร้อยละ 74.526 (จำนวนสถานประกอบการอาหาร ทั้งหมด 20,480 ราย จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับป้ายรับรองฯ 15,263 ราย) - สถานประกอบการอาหารมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ระดับดี และมีการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม(Green Service) จำนวน 6,345 ราย ร้อยละ 30.981 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) *หมายเหตุ : ป้ายรับรองฯมีอายุการรับรอง 1 ปี 3.1.2 การรวบรวมรายชื่อสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จัดพิมพ์ลงในใบรับรองฯ และใส่กรอบอะคริลิค พร้อมตรวจสอบความถูกต้องของป้ายรับรองฯและบันทึกลงในฐานข้อมูล ค่าอาหารทำการนอกเวลาข้าราชการและลูกจ้างเพื่อจัดทำป้ายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย จำนวน 10 วัน จำนวน 3 ครั้ง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 12,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 6,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 6,000 บาท) (100%) - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการค่าอาหารทำการ - อยู่ระหว่างขออนุมัติเงินงวดที่ 2 - จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2564 และดำเนินการตามแผน - เบิกจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาของข้าราชการ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว - จัดทำแผนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 และดำเนินการตามแผน - เบิกจ่ายเงินค่าอาหารทำการนอกเวลาของข้าราชการ ครั้งที่ 3 ระหว่างมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว 3.1.3 ค่าวัสดุอุปกรณ์การดำเนินการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยฯ (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 10,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 9,970.60 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 29.40 บาท) (100%) - กำหนดรายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ ที่ต้องการจัดซื้อเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ - ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว 3.2 การตรวจประเมินติดตาม กำกับมาตรฐานการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย ของกรุงเทพมหานคร ค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการออกตรวจประเมิน ติดตามกำกับมาตรฐาน การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 ครั้งๆ ละ15 วัน (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 105,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 98,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 7,000 บาท) (100%) - จัดทำแผนการตรวจประเมินติดตามกำกับมาตรฐานและแจ้งให้สำนักงานเขตทราบ และตรวจประเมินครั้งที่ 1 จำนวน 15 วัน ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 21 มกราคม 2564 - ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารครั้งที่ 1 วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 21 มกราคม 2564 แล้ว จำนวน 13 วัน ดังนี้ - ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหาร จำนวน 90 ราย ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 60 ราย ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 30 ราย - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อน โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (test kit) จำนวน 354 ตัวอย่าง ไม่ผ่าน จำนวน 4 ตัวอย่าง - สุ่มตรวจความสะอาดอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ โดยใช้ชุดทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 552 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน จำนวน 6 ตัวอย่าง - เบิกจ่ายเงินงบประมาณค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการออกตรวจประเมิน ติดตามกำกับมาตรฐาน การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 เป็นเงิน 45,500 บาท - ขออนุมัติแผนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ครั้งที่ 2 จำนวน 15 วัน ระหว่างวันที่ 7 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2564 เพื่อตรวจประเมินติดตามกำกับมาตรฐาน - ตรวจประเมินติดตามกำกับมาตรฐาน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 เมษายน - 27 พฤษภาคม 2564 แล้ว จำนวน 15 วัน ดังนี้ - ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหาร จำนวน 99 ราย ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 78 ราย ไม่ผ่านเกณฑ์ฯ จำนวน 21 ราย - สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารเคมีปนเปื้อน โดยใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (test kit) จำนวน 291 ตัวอย่าง ไม่ผ่าน จำนวน 1 ตัวอย่าง - สุ่มตรวจความสะอาดอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ โดยใช้ชุดทดสอบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 423 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน จำนวน 32 ตัวอย่าง - เบิกจ่ายเงินงบประมาณค่าตอบแทนบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการออกตรวจประเมิน ติดตามกำกับมาตรฐาน การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 เป็นเงิน 52,500 บาท -//-
-
Print
(92) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย(กิจกรรมที่ 2 การเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงการระบาดของโรคและการปนเปื้อนสารพิษของอาหารและน้ำ (กสอ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 02/09/2564 : 2.1 จ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 5,969,800 บาท) 2.1.1 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ในอาหารพร้อมบริโภค จำนวน 2,850 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 4,560,000 บาท) 2.1.2 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้ จำนวน 150 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน750,000 บาท) 2.1.3 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาสารพิษจากเชื้อราในอาหาร (Aflatoxin) จำนวน 150 ตัวอย่าง (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน300,000 บาท) 2.1.4 ค่าจ้างตรวจวิเคราะห์หาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารและสารปนเปื้อนในอาหารอื่นๆ (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 300,000 บาท) 2.1.1 - 2.1.4 (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 5,610,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 2,421,185 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 3,188,815 บาท) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ • ดำเนินการจัดทำแผน กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ และขออนุมัติงบประมาณเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการประกาศเชิญชวนลงเว็ปไซต์ของกรมบัญชีกลาง และยื่นซองประกวดราคาจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหาร • ดำเนินการประกวดราคาจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 4 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ได้แก่บริษัท บูโร เวอริทัส เอคิว แล็บ (ประเทศไทย) จำกัด ลงเว็ปไซต์ของกรมบัญชีกลาง ตรวจร่างสัญญาและลงนามเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพัน์ 2564 และประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและแผนเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารทางห้องปฏิบัติการ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 และเริ่มเก็บตัวอย่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 – 25 มิถุนายน 2564 - ส่งงานงวดที่1 เรียบร้อยแล้ว ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 937,122.20 บาท - ส่งงานงวดที่2 เรียบร้อยแล้ว ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้ว เป็นเงิน 1,484,062.80 บาท • ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการตามแผนเรียบร้อยแล้ว โดยผลการตรวจวิเคราะห์ระหว่างวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 – 9 สิงหาคม 2564 ดังนี้ - จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโรค(Salmonella spp. , S.aureus V.cholerae และE.coli) ทั้งหมด 2,613 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโรค จำนวน 2,261 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.53 - จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจหาการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักผลไม้ ทั้งหมด 138 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืช จำนวน 125 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 90.58 - จำนวนตัวอย่างอาหารที่ตรวจหาการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราในอาหาร (Aflatoxin) ทั้งหมด 134 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนสารกำจัดศัตรูพืช จำนวน 124 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 92.54 2.1.5 ค่าซื้อตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหาร (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 59,800 บาท , งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 12,361 บาท) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำแผนการเก็บตัวอย่าง • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณแล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนการเก็บตัวอย่าง • สุ่มเก็บตัวอย่างตามแผนการดำเนินงาน ปัจจุบันตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 12,361 บาท 2.2 จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 4,592,420 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 4,591,867 บาท จำนวนใช้ไป 4,049,510.3 บาท งบประมาณคงเหลือ จำนวน 542,356.7 บาท) (100%) 2.2.1 ค่าซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 3,941,320 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 3,941,267 บาท, จำนวนใช้ไป 3,465,486.50 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 475,780.50 บาท) (100%) 2.2.1.1 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จำนวน 4 รายการ (สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารซาลิซิลิค สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,113,817 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 1,113,816.50 บาท, งบประมาณคงเหลือ 0.50 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ส่งของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 • ตรวจรับ/ส่งมอบตามระเบียบพัสดุฯเรียบร้อยแล้ว • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.1.2 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จำนวน 2 รายการ (ยาฆ่าแมลง สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ) (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 527,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 316,720 บาท, งบประมาณคงเหลือ 210,480 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 แบ่งการส่งของออก เป็น 4 งวด - ส่งของงวดที่1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ยาฆ่าแมลง จำนวน 100ชุด สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 50 ชุดตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 79,180 บาท - ส่งของงวดที่2 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 ยาฆ่าแมลง จำนวน 100ชุด สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 50 ชุด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 79,180 บาท - ส่งของงวดที่3 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ยาฆ่าแมลง จำนวน 100ชุด สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 50 ชุด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 79,180 บาท - ส่งของงวดที่4 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ยาฆ่าแมลง จำนวน 100ชุด สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ จำนวน 50 ชุด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 79,180 บาท • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.1.3 จัดซื้อชุดทดสอบเบื้องต้นสำหรับตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จำนวน 2 รายการ (สีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี กรดแร่อิสระ) (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 101,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 60,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ 41,000 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 แบ่งการส่งของออกเป็น 2 งวด - ส่งของงวดที่1 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 กรดแร่อิสระ จำนวน 50 ชุด สีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี จำนวน 50 ชุด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 30,000 บาท - ส่งของงวดที่2 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 11 มีนาคม 2564 กรดแร่อิสระ จำนวน 50 ชุด สีสังเคราะห์ในอาหารห้ามใช้สี จำนวน 50 ชุด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 30,000 บาท 2.2.1.4 จัดซื้อชุดทดสอบไอโอดีนในเกลือบริโภค(I-kit) จำนวน 150 ชุด (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 11,250 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 11,250 บาท, งบประมาณคงเหลือ 0 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญา ส่งของเรียบร้อยแล้ว วันที่ 22 มกราคม 2564 • ตรวจรับ/ส่งมอบตามระเบียบพัสดุฯเรียบร้อยแล้ว • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.1.5 จัดซื้อน้ำยาทดสอบหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียขั้นต้น จำนวน 83,000 ขวด (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,162,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 962,800 บาท, งบประมาณคงเหลือ 199,200 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพัน์ 2564 แบ่งการส่งของออก เป็น 5 งวด - ส่งของงวดที่1 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 10,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 116,000 บาท - ส่งของงวดที่2 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 19 มีนาคม 2564 จำนวน 10,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 116,000 บาท - ส่งของงวดที่3 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 7 เมษายน 2564 จำนวน 53,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 614,800 บาท - ส่งของงวดที่4 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 จำนวน 5,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 58,000 บาท - ส่งของงวดที่5 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 4 มิถุนายน 2564 จำนวน 5,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 58,000 บาท • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.1.6 จัดซื้อชุดทดสอบหาเชื้อแบคทีเรียในการตรวจคุณภาพน้ำบริโภค จำนวน 68,400 ขวด (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 1,026,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 1,008,900 บาท, งบประมาณคงเหลือ 17,100 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ • ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณ ลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพัน์ 2564 แบ่งการส่งของออก เป็น 3 งวด - ส่งของงวดที่1 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 10,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 147,500 บาท - ส่งของงวดที่2 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 9 เมษายน 2564 จำนวน 50,000 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 737,500 บาท - ส่งของงวดที่3 เรียบร้อยแล้ว วันที่ 8 มิถุนายน 2564 จำนวน 8,400 ขวด ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 123,900 บาท • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 2.2.2 ค่าอุปกรณ์สำหรับใช้ในการตรวจวิเคราะห์ (งบประมาณที่ขอ จำนวน 651,100 บาท งบประมาณที่ได้รับ จำนวน650,600 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 576,023.80 บาท, งบประมาณคงเหลือ 74,576.2 บาท) (100%) • ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ได้รับอนุมัติเงินงบประมาณแล้ว อยู่ระหว่างให้นิติกรตรวจร่างสัญญา ส่งของเรียบร้อยแล้ว วันที่ 23 เมษายน 2564 ตั้งฎีกาเบิกจ่ายแล้วเสร็จเป็นเงิน 576,023.80 บาท • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว -//-
-
Print
(93) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย(กิจกรรมที่ 1 เขตอาหารปลอดภัยภายใต้แผนยุทธศาสตร์กรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กสอ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 9/11/2563 : ตัดโอนเงินให้ 50 เขต จัดสรรเงินให้สำนักงานเขตเป็นค่าตัวอย่างอาหาร ค่าอาหารทำการนอกเวลา ค่าตอบแทนบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ค่าดำเนินกิจกรรมเครือข่ายงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ค่าดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตลาดสะอาดได้มาตรฐานอาหารปลอดภัย ค่าดำเนินกิจกรรมย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร โดยถัวจ่ายทุกรายการภายในวงเงินที่จัดสรรให้สำนักงานเขต และสำนักงานเขตเป็นผู้ดำเนินการตามตารางจัดสรรเงินเรียบร้อยแล้ว-//-
-
Print
(94) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 9 การควบคุมการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ (กสอ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 14/06/2564 : 9.1 จัดประชุมเตรียมความพร้อมการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 55 คน เจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร 5 คน ซึ่งจะดำเนินการจัดประชุมฯ ในเดือนพฤษภาคม 2564 (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 3,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน – บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน - บาท) (100%) • ดำเนินการจัดทำแผนการประชุมฯ • ปรับรูปแบบการจัดประชุมเตรียมความพร้อมการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยให้ผู้ประกอบการที่รับจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการใช้หลักเกณฑ์กระเช้าปีใหม่2565 ภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ (google form) และได้รวบรวมผลการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ผลปรากฎว่ามีผู้ประกอบการแสดงความคิดเห็นต่อหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญปีใหม่ของกรุงเทพมหานคร ปี 2565 จำนวน 11 ราย โดยทั้งหมดเห็นด้วยกับหลักเกณฑ์ฯดังกล่าวและมีผู้ประกอบการจำนวน 2 ราย ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรกำหนดชื่อกระเช้าของขวัญประเภทผัก/ผลไม้ให้ชัดเจนมากขึ้นโดยเปลี่ยนเป็น “กระเช้าของขวัญประเภทผัก/ผลไม้ที่จัดไว้แล้ว” และควรเพิ่มตัวอย่างประเภทกระเช้าสินค้าทางเลือกอื่นๆจากที่กำหนดไว้เดิม จำนวน 2 ตัวอย่าง คือ กระเช้าสุขภาพ และกระเช้าขนมไทย เปลี่ยนเป็น “กระเช้าสินค้าทางเลือกอื่นๆ เช่น กระเช้าสุขภาพ กระเช้าขนมไทย หรือกระเช้าที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขาภพ” (Healthier Choice) • ได้จัดทำหนังสือขอให้ดำเนินการคืนเงินงบประมาณในการจัดกิจกรรมที่ 9.1 ตามโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปี 2564 ตามหนังสือที่ กงค. 097/64 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 9.2 ค่าจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ เดือนธันวาคม 2563 ครึ่งวัน จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 200 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนและผู้บริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน129,200 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 112,200 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 17,000 บาท) (100 %) • ขออนุมัติเงินงบประมาณและจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว • อยู่ระหว่างดำเนินการวางแผนและกำหนดวันจัดกิจกรรมฯ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 โดยจัดทำหนังสือขอความอนุเคราะห์สำหรับสถานที่จัดงาน และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง • ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 51 แผ่น และค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายข้อความสำหรับถือรณรงค์ให้ความรู้ด้านอาหารปลอดภัยในช่วงเทศกาลปีใหม่ จำนวน 51 ชุดๆละ 4 แบบ อยู่ระหว่างการปรับแก้รูปแบบให้เป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ กทม. • ดำเนินการจัดจ้างทางระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว • เนื่องจากปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจกรรมฯ เป็นการลงพื้นที่ตรวจเฉพาะกิจการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ของกรุงเทพมหานคร ณ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาราชดำริ เขตปทุมวัน ในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีการใช้งบประมาณค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรมฯ เป็นเงิน 17,000 บาท • ตั้งฎีกาเบิกจ่ายค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ฯ และป้ายข้อความสำหรับถือรณรงค์ฯ ตามระเบียบพัสดุเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 112,200 บาท • สำนักงานเขตดำเนินการสุ่มตรวจการจัดและจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2564 ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564 • ผลการดำเนินการสุ่มตรวจสถานประกอบการที่จำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี พ.ศ. 2564 ที่เข้าร่วมโครงการควบคุมคุณภาพสินค้าของกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 549 แห่ง จาก 50 สำนักงานเขต ไม่พบว่ามีการร้องเรียน หรือมีการนำสินค้าในกระเช้าของขวัญปีใหม่มาแลกเปลี่ยน/คืน -//-
-
Print
(95) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการด้านสุขาภิบาลอาหาร (กสอ.)
ยกเลิก (42.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/08/2564 : กองสุขาภิบาลอาหารมีหนังสือที่ กท 0714/405 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ขอความเห็นชอบยกเลิกโครงการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาการด้านสุขาภิบาลอาหารปีงบประมาณ 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบการระบาดระลอกที่ 3 โดยกรุงเทพมหานครมีประกาศ เรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34) ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2564 กำหนดให้งดจัดกิจกรรมจัดการประชุม การสัมมนา และการจัดเลี้ยงในโรงแรม และห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนมากกว่า 20 คน กองสุขาภิบาลอาหาร พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อดำเนินการตามมาตราการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 ตามประกาศกรุงเทพมหานคร จึงเห็นควรยกเลิกการจัดโครงการ ดังกล่าวฯ - คืนเงินงบประมาณ จำนวน 184,400 บาท รายละเอียดตามหนังสือที่ กงต.150/64 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564
-
Print
(96) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 12 การจัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารของกรุงเทพมหานคร (กสอ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/08/2564 : จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารของกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 189 คน กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตและเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งจัดกิจกรรมฯ ในช่วงเดือนมีนาคม 2564 เป็นรายกลุ่มเขต จำนวน 6 กลุ่มเขต กลุ่มเขตละ 1 ครั้งๆละ 1 วัน แบบไป - กลับใช้สถานที่ราชการ 12.1 กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ จำนวน 7 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 29 คน (6,380 บาท) 12.2 กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก จำนวน 9 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 35 คน (7,700 บาท) 12.3 กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง จำนวน 9 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 35 คน (7,700 บาท) 12.4 กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ จำนวน 10 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 38 คน (8,360 บาท) 12.5 กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ จำนวน 8 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 32 คน (7,040 บาท) 12.6 กลุ่มเขตกรุงธนใต้ จำนวน 7 เขต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ 29 คน (6,380 บาท) • ดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมฯ • ทบทวน รวบรวมเอกสารประกอบการจัดกิจกรรมฯ • เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรมเป็นรูปแบบออนไลน์ กลุ่มเขตละ 1 ครั้งๆละ 1 วัน ภายในเดือน เมษายน 2564 โดยให้เจ้าหน้าที่เรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ (google meet) มีวิทยากรบรรยายประกอบสื่อวิดิทัศน์ และมีการประเมินความรู้ก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ (google form) จำนวน 30 ข้อ ต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรมฯร้อยละ 80 • จัดทำวีดิทัศน์ “การตรวจคุณภาพอาหาร”จำนวน 15 เรื่อง เพื่อเป็นสื่อออนไลน์สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการสุขาภิบาลอาหาร พร้อมทั้งนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของกองสุขาภิบาลอาหารเรียบร้อยแล้ว • ได้จัดทำหนังสือขอให้ดำเนินการคืนเงินงบประมาณในการจัดกิจกรรมที่ 12 ตามโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปี 2564 ตามหนังสือที่ กงค.069/64 ลงวันที่ 2 เมษายน 2564 • จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารตามโครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัยในรูปแบบออนไลน์(google meet) กลุ่มเขตละ 1วัน กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านอาหารเขตละ 3คน (ข้าราชการและลูกจ้าง) และเจ้าหน้าที่ประจำรถ mobileกลุ่มเขตละ 2 คน(เฉพาะเขตที่มีรถmobile) ระหว่างวันที่ 8 -17 มิถุนายน 2564 จัดอบรมทั้ง 6 กลุ่มเขต และได้รวบรวมผลดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 177 คน ผ่านเกณฑ์การทดสอบ จำนวน 159 คน (ร้อยละ 89.83) และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 18 คน (ร้อยละ 10.17) ในกรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ กองสุขาภิบาลอาหารได้ดำเนินการ ให้คำแนะนำและความรู้เพิ่มเติม พร้อมทั้งให้ทำแบบทดสอบอีกครั้ง จนกระทั่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านการทดสอบความรู้ทั้งหมด ได้จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมอบรมฯเสนอผู้บริหารทราบเรียบร้อยแล้ว ตามบันทึกที่ กงค142/64 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 • ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว -//-
-
Print
(97) โครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 10 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 12/01/2564 : 10.1 จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดําเนินงานตามตัวชี้วัดโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร รวม ๑๓๐ คน (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 15,600 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 13,920 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 1,680 บาท) (100%) - จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัยเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 117 คน ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร2 - จัดทำรายงานการประชุมเรียบร้อยแล้ว - ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว 10.2 จัดซื้อวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ตามตัวชี้วัดกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย (งบประมาณที่ได้รับ 2,400 บาท ใช้ไป 2,376 คงเหลือ 24 บาท) (100%) - ดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว -//-
-
Print
(98) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 6 การสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 06/07/2564 : 6.1 การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา พื้นที่กรุงเทพมหานคร(งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 96,750 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน - บาท) (75%) - ประสานฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล เพื่อกำหนดวันที่จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯ - จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯ - จัดทำบันทึกขอยืมเงินทดรองราชการ เพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มและค่าเบี้ยประชุม - จัดทำบันทึกขออนุมัติเลื่อนการจัดประชุมคณะกรรมการฯ - จัดทำบันทึกคืนเงินงบประมาณโครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กิจกรรมที่ 6 การสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา เป็นเงิน 96,750 บาท - กองสุขาภิบาลอาหารได้จัดทำหนังสือขอความร่วมมือให้สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ส่งสรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะการจัดการอาหารปลอดภัยในสถานศึกษา เพื่อใช้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา แทนการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา พื้นที่กรุงเทพมหานคร - อยู่ระหว่างรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานการสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษาจากสำนักงานเขต - จัดทำบันทึกขอยกเลิกการจัดประชุมคณะกรรมการเครือข่ายสุขาภิบาลอาหารในสถานศึกษา พื้นที่กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามหนังสือที่ กท 0714/651 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2564 6.2 ให้การสนับสนุนชุดทดสอบเบื้องต้นและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำให้แก่โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร (25%) - จัดทำบันทึกแจ้งการรับชุดทดสอบเบื้องต้นและวัสดุอุปกรณ์สำหรับการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและน้ำ โดยกำหนดให้ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล มารับชุดทดสอบเบื้องต้น ณ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร กองสุขาภิบาลอาหาร ระหว่างวันที่ 22 - 23 เมษายน 2564 - จัดทำตารางจัดสรรและเบิกจ่ายชุดทดสอบเบื้องต้นและวัสดุอุปกรณ์ - แจกชุดทดสอบให้แก่สำนักงานเขต ระหว่างวันที่ 22 - 23 เมษายน 2564 เรียบร้อยแล้ว -//-
-
Print
(99) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในตลาด) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 03/05/2564 : กิจกรรมที่ 5 การพัฒนาสุขาภิบาลอาหารในตลาด (งบประมาณที่ได้รับ 819,050 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป 474,429 บาท) (100 %) 5.1 สนับสนุนการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล (งบประมาณที่ขอ จำนวน 668,000 บาท, งบประมาณได้รับ จำนวน 662,490 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 473,943 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 188,547 บาท) - อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบรูปแบบป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์และชุดผ้ากันเปื้อนพลาสติกกันน้ำสำหรับจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต - จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์และชุดผ้ากันเปื้อนพลาสติกกันน้ำสำหรับจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต และวัสดุอุปกรณ์การทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการฯ ตรวจรับเรียบร้อยแล้ว - สำนักงานเขต จัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลเรียบร้อยแล้ว - สรุปผลการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day 50 เขต ล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลเรียบร้อยแล้ว 5.2 จัดประชุมคณะกรรมการการพัฒนาตลาด Premium Market (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 30,050 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 486 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 29,564 บาท) - อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market ครั้งที่ 1 (เบิกจ่ายค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดประชุมฯ แล้วเป็นเงิน 486 บาท คืนเงิน 14 บาท) - คืนเงินงบประมาณ จำนวน 29,564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กอปรกับกรุงเทพมหานครได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 กำหนดให้ตลาด ตลาดน้ำและตลาดนัดสามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคตามแนบท้ายประกาศฯ โดยเคร่งครัด จึงทำให้ผู้ประกอบการตลาดมีภารกิจในการควบคุมกำกับตลาดให้มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market 5.3 จัดกิจกรรมการพัฒนาตลาดประเภทที่ 1 และ ตลาดประเภทที่ 2 สู่ตลาด Premium Market (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 121,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน - บาท) - อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดและคุณลักษณะป้ายตลาด Premium Market และโล่ประกาศเกียรติคุณสำนักงานเขต - ได้รับความเห็นชอบในหลักการเพื่อจัดทำป้ายตลาดป้ายตลาด Premium Market และโล่ประกาศเกียรติคุณสำนักงานเขตเรียบร้อยแล้ว - คืนเงินงบประมาณ จำนวน 121,000 บาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กอปรกับกรุงเทพมหานครได้มีประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 กำหนดให้ตลาด ตลาดน้ำและตลาดนัดสามารถเปิดดำเนินการหรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพื่อยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคตามแนบท้ายประกาศฯ โดยเคร่งครัด จึงทำให้ผู้ประกอบการตลาดมีภารกิจในการควบคุมกำกับตลาดให้มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรค จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาตลาด Premium Market -//-
-
Print
(100) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 4 การดำเนินงานย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/08/2564 : จัดทำป้ายย่านอาหารปลอดภัย สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับป้ายย่านอาหารปลอดภัยฯ รายใหม่ ประกอบด้วย จำนวน 100 ป้าย สำหรับผู้ประกอบการที่ต่ออายุ จำนวน 300 ใบ (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 36,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน - บาท) (100%) - จัดทำแนวทางการดำเนินงานย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร และแจ้งให้สำนักงานเขตพญาไท,พระนคร,ป้อมปราบศัตรูพ่าย และสัมพันธวงศ์ทราบ - อยู่ระหว่างรวบรวมผลการดำเนินงานย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร - อยู่ระหว่างรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร - ตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์ย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 เรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูล ตรวจสอบรายชื่อ ผู้ประกอบการย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร - จัดทำแผนตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์ย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 - ประสานสำนักงานเขตเพื่อกำหนดวันตรวจประเมินสถานประกอบการอาหารตามหลักเกณฑ์ย่านอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 - ตรวจประเมินสุขลักษณะและเก็บตัวอย่างอาหาร ครั้งที่ 2 บริเวณย่านถนนข้าวสาร เขตพระนครจำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2564 ย่านตลาดนางเลิ้ง เขตป้อมปรายศัตรูพ่าย และย่านซอยอารีย์ เขตพญาไท จำนวน 62 ราย ผ่านการประเมิน จำนวน 48 ราย และเก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน จำนวน 31 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่าง และเก็บตัวอย่างอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร และภาชนะอุปกรณ์ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มจำนวน 82 ราย พบการปนเปื้อน จำนวน 18 ตัวอย่าง - ขอความเห็นชอบยกเลิกกิจกรรมการจัดทำป้ายย่านอาหารปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามหนังสือที่ กท 0714/687 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอนามัย ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 -//-
-
Print
(101) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 7 การส่งเสริมความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารตามหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 13/09/2564 : 7.1 จ้างเหมาดำเนินการจัดอบรมและประเมินความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร (งบประมาณได้รับ จำนวน 3,000,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน - บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน - บาท) (100%) - ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการจัดการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร - พิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ครั้งที่ 1 (มีผู้ยื่นเอกสารประกวดราคาจ้างเหมาฯ จำนวน 2ราย เนื่องจากรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขของการประกวดราคา) - ประกาศประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการจัดการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร ครั้งที่ 2 - ยกเลิกประกาศประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการจัดอบรมฯ ครั้งที่ 2 เนื่องจากรัฐบาลได้ออกข้อกำหนดห้ามการจัดกิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย - ประกาศร่างประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการจัดการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ครั้งที่ 3 - พิจารณาผลการประกวดราคาจ้างเหมาดำเนินการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ครั้งที่ 3 - นิติกรตรวจร่างสัญญาฯ เรียบร้อยแล้ว - ลงนามในสัญญาจ้างบริษัท อีเอชซี จำกัด เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 - จัดการอบรมหลักสูตรผู้สัมผัสอาหารเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 รุ่น เข้ารับการอบรม จำนวน 54 ราย ผ่านการประเมินผลความรู้ จำนวน 54 ราย (ร้อยละ 100) - จัดทำบันทึกขออนุมัติแก้ไขสัญญาจ้างทำของจ้างเหมาดำเนินการจัดการอบรมและประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร รายละเอียดตามหนังสือที่ กงจ. 272/64 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 7.2 วัสดุประกอบการจัดทําหนังสือรับรองการอบรมและบัตรประจําตัวผู้สัมผัสอาหาร (งบประมาณที่ขอ จำนวน 50,000 บาท งบประมาณได้รับ จำนวน 49,980 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 49,883.40 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 96.60 บาท) (100%) - จัดทำบันทึกขอจัดซื้อวัสดุประกอบการจัดทำหนังสือรับรองการอบรมและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร - ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุประกอบการจัดทำหนังสือรับรองการอบรมและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร เรียบร้อยแล้ว 7.3 เอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร (งบประมาณได้รับ จำนวน 270,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 214,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 56,000 บาท) (100%) - ปรับปรุงรูปแบบบัตรประจำตัวผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร - จัดทำบันทึกขอจัดจ้างทำเอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ฯ - ลงนามสัญญาจ้างฯ ทำเอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 - ดำเนินการตรวจรับเอกสารประกอบการประเมินผลความรู้ฯ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 -//-
-
Print
(102) โครงการกรุงเทพฯ เมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 8 การประชาสัมพันธ์) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 08/03/2564 : 8.1 จัดทำป้ายแสดงการเข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,000 แผ่น โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจัดจำหน่ายกระเช้าของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ตามหลักเกณฑ์ของกรุงเทพมหานคร (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 120,000 บาท, งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 120,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 0 บาท) (100%) - ขออนุมัติเงินงบประมาณและจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างการปรับแก้รูปแบบป้ายให้เป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ กทม. - ดำเนินการจัดจ้างตามระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายตามระเบียบพัสดุเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 120,000 บาท - สรุปผลการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว 8.2 จัดทำพัดสปริงประชาสัมพันธ์ เรื่อง การล้างมือ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการรณรงค์ของสำนักงานเขต จำนวน 8,000 อัน (งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 280,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 144,000 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 136,0000 บาท) (100%) - ขอความเห็นชอบรูปแบบสื่อเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำเข้าคณะกรรมการสื่อประชาสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณารูปแบบ - ดำเนินการจัดจ้างทางระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายตามระเบียบพัสดุเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 144,000 บาท - จัดส่งสื่อประชาสัมพันธ์ให้สำนักงานเขตและสรุปผลการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว 8.3 จัดทำถุงผ้า ประชาสัมพันธ์ เรื่องอาหารปลอดภัยในเทศกาลตรุษจีน จำนวน 3,500 ใบ(งบประมาณที่ได้รับ จำนวน 105,000 บาท งบประมาณที่ใช้ไป จำนวน 87,500 บาท, งบประมาณคงเหลือ จำนวน 17,500 บาท) (100%) - อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบรูปแบบสื่อ - ดำเนินการจัดจ้างทางระเบียบพัสดุ ตรวจรับ/ส่งมอบของเรียบร้อยแล้ว - ตั้งฎีกาเบิกจ่ายตามระเบียบพัสดุเรียบร้อยแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น จำนวน 87,500 บาท - จัดส่งสื่อประชาสัมพันธ์ให้สำนักงานเขตและสรุปผลการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เรียบร้อยแล้ว -//-
-
Print
(103) โครงการกรุงเทพฯเมืองอาหารปลอดภัย (กิจกรรมที่ 11 การนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต การรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย) (กสอ.)(นผ.)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 10/08/2564 : จัดประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สํานักงานเขต กลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต และเจ้าหน้าที่กองสุขาภิบาลอาหาร ในการนิเทศฯ จำนวน 6 ครั้ง ครั้งละ 50 คน ระยะเวลาครั้งละ 1 วัน (25,920 บาท) (100%) - แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯเรียบร้อยแล้ว - อยู่ระหว่างสำรวจปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานด้านการสุขาภิบาลอาหาร - กำหนดวันการจัดประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหาร และประสานฝ่ายสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขต เพื่อขอใช้ห้องประชุม - จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯ ในวันที่ 8 เมษายน 2564 - จัดทำหนังสือเชิญประชุมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมฯ สำนักงานเขตประชุมการนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯ - จัดเตรียมการประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯ - จัดประชุมคณะกรรมการนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 เรียบร้อยแล้ว - จัดทำแผนการประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯทางไกลผ่านโปรแกรม Google Meet - จัดการประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฯทางไกลผ่านโปรแกรม Google Meet จำนวน 6 ครั้ง เมื่อวันที่ 14, 17, 19, 21, 28 และ 31 พฤษภาคม 2564 เรียบร้อยแล้ว - สรุปผลและจัดทำรายงานการประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อม เรียบร้อยแล้ว - คืนเงินงบประมาณการจัดประชุมนิเทศงานสุขาภิบาลอาหารฝ่ายสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขต จำนวน 25,920 บาท เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคดรนา 2019 จึงได้จัดประชุมทางไกลผ่านโปรแกรม Google Meet ตามบันทึก กงส. 240/64 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 -//-
-
Print
ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา
(104) โครงการปรับปรุงศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา (ศบส.67)
แล้วเสร็จ (100.00% ) เป็นไปตามแผน : เป็นไปตามเป้าหมาย: -->
(รอ สยป.ประเมิน)
: 27/08/2564 : งานระบบไฟฟ้า งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ งานติดตั้งฝ้าเพดาน ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบในการใช้งานระบบปรับอากาศ ทำความสะอาดพื้นที่ ตรวจสอบรายละเอียดความเรียบร้อยของงาน ทดสอบระบบต่างๆ ส่งมอบงานทั้งหมด
-
Print
สรุปผลงาน
ตัวชี้วัด
โครงการฯ
รายงานล่าสุด