๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :37.50 |
สำนักการแพทย์ดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดงานประจำทั้งหมด 66 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 53 โครงการ ชะลอโครงการ จำนวน 6 โครงการ แล้วเสร็จ จำนวน 7 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 10.61
-สำนักการแพทย์ดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดงานประจำทั้งหมด 66 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 11 โครงการ ชะลอโครงการ จำนวน 7 โครงการ ยกเลิกโครงการ 34 จำนวน แล้วเสร็จ จำนวน 14 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 21.21
-สำนักการแพทย์ดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดงานประจำทั้งหมด 64 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1 โครงการ ยกเลิกโครงการ 39 จำนวน แล้วเสร็จ จำนวน 24 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 37.50
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :90.00 ผลงาน :52.54 |
สำนักการแพทย์ดำเนินการเบิกจ่ายได้เท่ากับร้อยละ 10.71
-สำนักการแพทย์ดำเนินการเบิกจ่ายได้เท่ากับร้อยละ 31.11
-สำนักการแพทย์ดำเนินการเบิกจ่ายได้เท่ากับร้อยละ 57.18
-- การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 รวม 5 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง หมวดเงินอุดหนุน และหมวดรายจ่ายอื่น รวมทั้งงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 ร้อยละ 100 (ไม่รวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำ หมวดค่าจ้างชั่วคราว งบกลาง รายการ เงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง งบกลาง รายการเงินบำเหน็จลูกจ้าง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี) - ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2563 รวม 4 หมวดรายจ่าย ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ หมวดค่าสาธารณูปโภค หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (สำนักการแพทย์ไม่มีหมวดเงินอุดหนุน) และเงินงบกลางทุกประเภทที่ได้รับจัดสรรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :100.00 |
อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำงบการเงิน
-อยู่ระหว่างจัดส่งรายงานการเงิน
-อยู่ระหว่างจัดส่งรายงานการเงินเดือนมิถุนายน 2563
-ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งมีการจัดทำงบการงบการเงินประจำปีตามคู่มือการบัญชี ของกรุงเทพมหานคร และสามารถส่งงบการเงินให้กองบัญชี สำนักการคลัง ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 และกองบัญชี สำนักการคลัง ได้ทำการตรวจสอบงบการเงินประจำปีสำนักการแพทย์ โดยการกระทบยอดและตรวจสอบความสัมพันธ์ ของรายการบัญชีของสำนักการแพทย์ และตรวจสอบยอดบัญชีกับส่วนกลางเฉพาะ รายการบัญชีที่ต้องยืนยันยอดรายงานส่วนกลางหลายหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว
๗.๔.๑ กรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังและการงบประมาณ ที่เป็นมาตรฐานสากลแ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :100.00 |
อยู่ระหว่างดำเนินการจักรายงานสรุปยอดทรัพย์สิน (งบทรัพย์สิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562
-อยู่ระหว่างจัดทำรายงานสรุปยอดทรัพย์สิน (งบทรัพย์สิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ในไตรมาสที่ 2
-อยู่ระหว่างจัดทำรายงานสรุปยอดทรัพย์สิน (งบทรัพย์สิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ในไตรมาสที่ 3
- ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งมีการจัดส่งรายงานทรัพย์สินรายไตรมาส และสามารถส่งให้กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ สำนักการคลัง ภายในวันที่ 10 หลังสิ้นสุดไตรมาส ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์ทุกแห่งมีการจัดส่งรายงานยอดทรัพย์สินประจำปี และสามารถส่งให้กองทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ สำนักการคลัง ทันตามระยะเวลาที่กำหนด (ภายในวันที่ 31 ตุลาคม) โดยมีการกระทบยอดและตรวจสอบความถูกต้องของรายการทรัพย์สินของสำนักการแพทย์ที่ต้องยืนยัดยอดรายงานงบทรัพย์สินให้เรียบร้อย
๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :100.00 |
ดำเนินงานโครงการ โดยศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ชั้น 7 อาคาร 72 พรรษา มหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
-. โครงการหัวใจคุณให้เราดูแล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้รับการบริการที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เกิดความประทับใจ และเกิดความพึงพอใจ 3. สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น 4. ลดการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น 5. สามารถรับ-ส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้เพิ่มขึ้น 6. สามารถให้การดูแลบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีปัญหาโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น เป้าหมาย การพัฒนาระบบการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทาง ส่งมากับทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งต่อการรักษาโรคหัวใจจากโรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียง รวมไปถึงบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เข้าถึงบริการการรักษาโรคหัวใจได้อย่างรวดเร็ว ผลการดำเนินโครงการ 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 5.51 ( ผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งสิ้น เท่ากับ 4,153 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิต เท่ากับ 229 ราย (เป้าหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 15) 2. จำนวนผุ้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถาการมีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน คิดเป้นร้อยละ 78.88 (จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการทั้งสิ้น จำนวน 251 ราย รอคอยไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 198 ราย (เป้าหมายมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) หมายเหตุ แยกรายหัตถาการ ดังนี้ 1. การตรวจสิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร เครื่องกระตุกหัวใจ ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดบอลลูนและขดลวด มีจำนวนทั้งสิ้น 200 ราย ได้รับการทำหัตถการไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 191 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.59 2. การผ่าตัดหัวใจจำนวน 51 ราย ได้รับการผ่าตัดไม่เกิน 2 เดือน จำนวน 7 ราย (เนื่องจากมีการจำกัดจำนวนในการผ่าตัด คิดเป็นร้อยละ 13.72 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีความพึงพอใจต่อการรักษาของห้องปฏิบัติการโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนผู้รับบริการที่ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน 17 ราย จำนวนผู้รับบริการที่มีความพอใจระดับมาก เท่ากับ 17 ราย (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90)
-โครงการให้บริการที่ดีที่สุดประจำปีงบประมาณ 2563 “โครงการหัวใจคุณ ให้เราดูแล” ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้ 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ น้อยกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 15 ผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งสิ้น 9,068 ราย ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิต 242 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.668 2. จำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถการมีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90 ผลการดำเนินงานจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการทั้งสิ้น 489 รายรอคอยไม่เกิน 2 เดือน 469 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.91 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับการบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มีความพึงพอใจต่อการรักษาของห้องปฏิบัติการโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90 ผลการดำเนินงานจำนวนผู้รับบริการที่ทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 5,665 รายจำนวนผู้รับบริการที่มีความพึงพอใจระดับมาก 5,665 รายคิดเป็นร้อยละ 100 โครงการให้บริการที่ดีที่สุดคงไว้ประจำปีงบประมาณ 2562 “โครงการโครงการ กทม.ใส่ใจผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง” ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ดังนี้ 1. ร้อยละของผู้สูงอายุที่รับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครมีความพึงพอใจในการรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 99.24 2. ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นปานกลางถึงพึ่งพิงผู้อื่นทั้งหมดที่เข้าเงื่อนไขในการ ส่งต่อได้รับการส่งต่อข้อมูลเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านทั้งสิ้น 37 รายและดำเนินการทั้งสิ้น 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 3. ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อได้รับบริการครบทุกด้าน ตามบริการที่จำเป็นทั้งสิ้น 37 รายและดำเนินการทั้งสิ้น 37 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 การยกระดับโครงการของสานักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2562 ได้แก่ ในปี 2560 โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบ บูรณาการ “STRONG TB network for STOP TB” “หยุดวัณโรค ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ” (รพส.) ได้รับรางวัลคุณภาพ การให้บริการของกรุงเทพมหานคร รายกระบวนงาน ระดับดีเด่น
-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : 1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการหัวใจคุณ ให้เราดูแล วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดจากแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและทีมสหสาขาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับการรักษาที่รวดเร็วและปลอดภัย ไม่เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิตของผู้ป่วย 3. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มารับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ เป้าหมาย การพัฒนาระบบการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับบริการในโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้ครอบคลุมมากขึ้น สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้ โดยมีแพทย์เฉพาะทาง ร่วมกับ ทีมสหสาขาวิชาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งต่อการรักษาโรคหัวใจ จากโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียง รวมไปถึงบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เข้าถึงบริการการรักษาโรคหัวใจได้อย่างรวดเร็ว เชิงคุณภาพ : มีขีดความสามารถในการให้บริการรักษาโรคหัวใจที่หลากหลาย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ การสวนหัวใจขยายหลอดเลือด การจี้ไฟฟ้าหัวใจ และใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การผ่าตัดหัวใจ และมีคลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้น เชิงปริมาณ : - สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจได้เพิ่มมากขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ - สามารถให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น - สามารถลดการส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจไปรักษาโรงพยาบาลอื่น - เป็นศูนย์รับ-ส่งต่อการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลใกล้เคียงได้เพิ่มขึ้น ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการที่ต้องดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งอยู่ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 พ.ศ. 2561-2565 ด้านที่ 1 มหานครปลอดภัย มิติที่ 1.6 ปลอดโรคคนเมือง อาหารปลอดภัย และเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2560-2563) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศในโรคเฉพาะทาง หรือโรคที่มีความซับซ้อนสูง (Service Excellence) เป้าประสงค์ที่ 1.1 เพิ่มศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ให้มีศักยภาพในการรักษาโรคเฉพาะทางที่สอดคล้องกับความต้องการหรือแนวโน้มการเจ็บป่วยของประชาชนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (เดือนตุลาคม 2562 – เดือนกันยายน 2563) ณ ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด ชั้น 7 อาคาร 72 พรรษามหาราชินี โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ แผนปฏิบัติการ 1. จัดทำโครงการการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างเป็นระบบ และขยายการให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจไปยังโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ 2. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีที่สุด ของกรุงเทพมหานคร พิจารณา 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ 4. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน 5. ประชุมคณะกรรมการ หรือคณะทำงาน 6. ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางที่กำหนด - ประชุมพิจารณาแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินงาน - รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการให้บริการ - ประเมินผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหาร 7. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ ผลการดำเนินโครงการ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 สิงหาคม 2563) 1. อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 3.13 (เป้าหมาย น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 10) 2. อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษา โดยการทำหัตถการ มีระยะเวลารอคอยไม่เกิน 2 เดือน คิดเป็นร้อยละ 91.87 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) 3. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับการบริการ มีความพึงพอใจต่อการบริการ คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90) 2. การรักษาหรือคงไว้ เพื่อพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุด (Best Service) ที่หน่วยงานนำเสนอเพื่อขอรับการประเมินในปีงบประมาณที่ผ่านมา (ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2562) โครงการ กทม. ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกรุงเทพมหานครได้รับบริการที่มีคุณภาพ และต่อเนื่อง ครอบคลุมด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มารับบริการมีความประทับใจและมีความพึงพอใจ ผลการดำเนินงานโครงการ (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – วันที่ 31 สิงหาคม 2563) 1. ร้อยละของผู้สูงอายุที่รับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความพึงพอใจในการรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 97.88 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80) 2. ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงผู้อื่นปานกลางถึงพึ่งพิงผู้อื่นทั้งหมด ที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อได้รับการส่งต่อข้อมูล เพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80) 3. ร้อยละของผู้สูงอายุที่เข้าเงื่อนไขในการส่งต่อ ได้รับบริการครบทุกด้านตามบริการที่จำเป็น คิดเป็นร้อยละ 97.50 (เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 70) 3. การยกระดับโครงการให้บริการที่ดีที่สุด การยกระดับ/การพัฒนาโครงการให้บริการที่ดีที่สุดของสำนักการแพทย์ที่เคยดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 – 2562 มีรายละเอียดดังนี้ 1. โครงการให้บริการที่ดีที่สุดที่มีความโดดเด่น 1.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 โครงการพัฒนาครัวฮาลาลสู่มาตรฐาน GMP เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการสู่มาตรฐานสากล 1.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 โครงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย 1.3 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โครงการพัฒนาระบบเครือข่ายและการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบบูรณาการ “STRONG TB network for STOP TB” 1.4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง 1.5 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โครงการฝากครรภ์ทันใจ ฉับไว BMA NOW 2. รางวัลคุณภาพการให้บริการของกรุงเทพมหานคร 2.1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการหยุดวัณโรค ณ จุดเดียวเบ็ดเสร็จ 2.2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โครงการ กทม.ใส่ใจ ผู้สูงวัย หัวใจแกร่ง
๑.๖.๓ คนกรุงเทพฯทุกคนมีโอกาสได้รับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เท่าเทียม มีคุณภาพ แ | |
![]() |
หน่วยนับ :คะแนน เป้าหมาย :5.00 ผลงาน :3.90 |
กองงานผู้ตรวจราชการ ได้ส่งหนังสือ เรื่อง ขอเรียนเชิญเข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ในวันที่ 18 ธันวาคม 2562 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องปิ่นเกล้า 1 (ชั้น9 ) โรงแรมรอยัล ซิตี้ ถนนบรมราชชนนี เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ได้ส่งรายชื่อเข้าร่วมประชุม ดังกล่าว เรียบร้อยแล้ว
-กองงานผู้ตรวจฯ ได้แจ้งผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1 มายังสำนักการแพทย์ ซึ่งผลการสำรวจครั้งที่ 1 ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.867 เมื่อคูณด้วยน้ำหนักที่เลือกไว้คะแนนรวมจึงได้ปรับมาที่ 4.009 เพิ่มขึ้น 0.142 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก สามารถจำแนกข้อคำถามของผู้รับบริการดังนี้ 1. ข้อคำถามที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับ คือ 1.1 ความพึงพอใจโดยภาพรวมที่ท่านมีต่อโรงพยาบาล 1.2 การให้บริการตรวจรักษาของแพทย์ 1.3 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมีอัธยาศัยดี สุภาพ 2. ข้อคำถามที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่ำสุด 3 ลำดับ คือ 2.1 ท่านชอบเว็บไซต์ (website),เฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/โรงพยาบาลในระดับใด 2.2 จำนวนที่นั่งรอรับบริการเพียงพอ 2.3 ข้อมูลในเว็บไซต์ (website),เฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/โรงพยาบาลในระดับใด ทั้งนี้ ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครได้กำหนดให้หน่วยงานนำผลการสำรวจความพึงพอใจ ข้อคำถามที่ได้รับคะแนนน้อยที่สุด อย่างน้อย 2 อันดับไปพัฒนา/ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น เพื่อการสำรวจความพึงพอใจฯ ในครั้งที่ 2 (ระหว่างวันที่ 18 พ.ค. – 3 ก.ค.2563) จะได้รับผลความพึงพอใจฯ สูงขึ้น
-ขณะนี้ส่วนราชการในสังกัดสำนักการแพทย์รอรับการทอดแบบสอบถามจากสถาบันทัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ม.นิด้า) และในส่วนของ สำนักการแพทย์ ได้ดำเนินการตอบแบบสอบถามของส่วนราชการที่ประสานงานประจำเรียบร้อยแล้ว และดำเนินการส่งให้ (ม.นิด้า)เรียบร้อยแล้ว
-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : 1. ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร โดยกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้กำหนดแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการหน่วยงานกรุงเทพมหานคร และเชิญประชุมหน่วยงานเพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 2. ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร โดยกองงานผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือ ที่ กท 0409/1476 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ขอให้พิจารณากำหนดน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อคำถามของแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ซึ่งสำนักการแพทย์ได้พิจารณาค่าน้ำหนักคะแนนแต่ละข้อคำถามส่งให้กองงานผู้ตรวจ เพื่อให้ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบบริการจากหน่วยงานกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ 2563 เป็นไปอย่างเหมาะสมกับภารกิจและบริบทของสำนักการแพทย์ 3. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ซึ่งเป็นผู้รับจ้างในการดำเนินการสำรวจความพึงพอใจ กำหนดการสำรวจจำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2563 และ ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 4. ผลการสำรวจครั้งที่ 1 สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงานระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.919 2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.068 3) ด้านการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.628 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยงาน ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.732 5) ด้านการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.781 6) ด้านกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาหน่วยงานของ รพ.ในสังกัด สนพ. ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.091 ผลการสำรวจครั้งที่ 1 ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.867 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยข้อคำถามที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับคือ 1.ความพึงพอใจโดยภาพรวมที่ท่านมีต่อ รพ. 2. การให้บริการตรวจรักษาของแพทย์ และ3. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมีอัธยาศัยดี สุภาพ ส่วนข้อคำถามที่ผู้รับบริการพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ลำดับคือ 1.ท่านชอบเว็บไซต์(website),แฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/รพ.ในระดับใด 2. จำนวนที่นั่งรอรับบริการเพียงพอ และ3.ข้อมูลเว็บไซต์(website),แฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/รพ.ในระดับใด 5. ผลการสำรวจครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านกระบวนการ ขั้นตอนการให้บริการของหน่วยงาน ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.967 2) ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.126 3) ด้านการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน ความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.661 4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยงาน ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 3.823 5) ด้านการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของหน่วยงาน ความพึงพอใจระดับมากค่าเฉลี่ย 3.881 6) ด้านกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาหน่วยงานของรพ.ในสังกัด สนพ. ระดับความพึงพอใจมาก ค่าเฉลี่ย 4.132 ผลการสำรวจครั้งที่ 2 ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 3.930 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยข้อคำถามที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับคือ 1.การให้บริการตรวจรักษาของแพทย์ 2. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมีอัธยาศัยดี สุภาพ และ3. ได้รับบริการตามลำดับ ไม่ถูกลัดคิว ส่วนข้อคำถามที่ผู้รับบริการพึงพอใจน้อยที่สุด 3 ลำดับคือ 1.จำนวนที่นั่งรอรับบริการเพียงพอ 2.ข้อมูลเว็บไซต์(website),แฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/รพ.ในระดับใด และ3.ท่านชอบเว็บไซต์(website),แฟซบุ๊ก (Facebook), ไลน์(LINE) ของสำนักการแพทย์/รพ.ในระดับใด ความพึงพอใจของผู้รับบริการในภาพรวมของการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง เท่ากับ 3.899
๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ | |
![]() |
หน่วยนับ :ร้อยละ เป้าหมาย :100.00 ผลงาน :96.00 |
จำนวนเรื่องร้องเรียน จำนวน 24 เรื่อง แก้ไขได้ทันจำนวน 24 เรื่อง และไม่ได้รายงานภายในวันที่ 15 จำนวน 1 เรื่อง
-จำนวนเรื่องร้องเรียน จำนวน 23 เรื่อง แก้ไขได้ทันจำนวน 23 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100
-จำนวนเรื่องร้องเรียน จำนวน 15 เรื่อง แก้ไขได้ทันจำนวน 15 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100
-การดำเนินงานการแก้ไขเรื่องร้องเรียนจากประชาชน/ผู้รับบริการ ประกอบด้วย 2 ด้าน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ด้านประมาณและการตอบสนองในการแก้ไขเรื่องที่ได้รับแจ้ง ร้อยละของจำนวนเรื่องที่ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนการ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การรับเรื่อง หน่วยงานรับเรื่องภายใน 1 วันทำการและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการ/พิจารณาเข้าสู่ระบบภายใน 3 วันทำการ ขั้นตอนที่ 2 การรายงานติดตามผล มีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานทุกวันที่ 15 และวันที่ 30 ของเดือนจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ ผลการดำเนินงานในส่วนที่ 1 สำนักการแพทย์รับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – 31 กรกฎาคม 2563 จำนวน 78 เรื่อง มีจำนวนเรื่องที่ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนการในขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 จำนวน 77 เรื่อง คิดเป็นความสำเร็จของขั้นตอนที่ 1 เท่ากับ ร้อยละ 98.72 ส่วนที่ 2 ด้านคุณภาพการแก้ไขปัญหาและรายงานผลในระบบเรื่องราวร้องทุกข์ของกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์มีจำนวนเรื่องตามประเภทเรื่องที่เสร็จสิ้นของสำนักการแพทย์ภายในเดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – 31 กรกฎาคม 2563 จำนวน 60 เรื่องและจำนวนเรื่องที่มีคุณภาพจำนวน 60 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100 คะแนนความสำเร็จในการจัดการเรื่องที่ได้รับแจ้งจากประชาชน/ผู้รับบริการ คิดเป็นร้อยละ 96
๑.๖.๑ คนกรุงเทพฯ มีสุขภาวะทางกายและจิต มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่มีภาวะเจ็บป่วยจาก โร | |
![]() |
หน่วยนับ :คะแนน เป้าหมาย :5.00 ผลงาน :5.00 |
1. เวียนแจ้งแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้ส่วนราชการทราบ 2. ส่งข้อมูลผู้รับผิดชอบการดำเนินงานในภาพของสำนักการแพทย์ให้สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย 3. ประชุมเพื่อรับทราบนโยบายและวางแผนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 4.2 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำนักการแพทย์ ในวันที่ 2 ธันวาคม 2562 ทบทวน และเลือกความเสี่ยงที่จะนำมาดำเนินการในปี 2563 โดยเลือกดำเนินการ ดังนี้ งานใหม่ 2 งาน 1. ด้านกายศาสตร์ (การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย) โดยโรงพยาบาลสิรินธร 2. ด้านชีวภาพ (การคัดกรองโรค) โดยโรงพยาบาลตากสิน งานต่อยอดพัฒนา 1 งาน 3. ด้านการยศาสตร์ (งานการใช้คอมพิวเตอร์) โดยสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ การปฏิบัติตามแนวทาง หรือ มาตรฐานกลางการใช้รถราชราชการของสำนักอนามัย 4. การนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน(การใช้รถยนต์) โดยสำนักงานเลขานุการ 4. ทำโครงการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วยงานใหม่ 2 งาน และงานต่อยอดพัฒนา 1 งาน พร้อมทั้งแผนการปฏิบัติงาน 5. รายงานการใช้ข้อปฏิบัติการใช้งานรถยนต์ราชการ สังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1 ของสำนักการแพทย์
- ขั้นตอนที่ 2 สำนักการแพทย์ได้จัดทำโครงการพัฒนาและจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน โดยจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัยภายในเดือนธันวาคม 2562 เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างสำนักการแพทย์ได้ดำเนินการตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการฯ พร้อมรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติรางานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ครั้งที่ 2ให้กับสำนักอนามัยในเดือนเมษายน 2563
-ขั้นตอนที่ 3 มีการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการ ฯ ดังนี้ - บรรลุเป้าหมาย งานต่อยอดพัฒนา - บรรลุเป้าหมาย งานจัดการความเสี่ยง และอยู่ระหว่างจัดทำข้อปฏิบัติในภาพรวมสำนักในขั้นตอนที่ 4
-คำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน : สำนักการแพทย์ดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 1.1 ทบทวน วิเคราะห์ความเสี่ยง ประเมินอันตรายจากการทำงานของหน่วยงาน โดยคัดเลือกงานที่มีความเสี่ยงสูง นำมาจัดการความเสี่ยงในการทำงาน อย่างน้อย 2 งาน (แบบ OCC1(63)) 1.2 มีการพิจารณาคัดเลือกงานที่ได้จัดการความเสี่ยงในปีที่ผ่านมานำมาต่อยอดพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อย่างน้อย 1 งาน โดยมีวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ ดังนี้ - ลดความเสี่ยงในการทำงาน - เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน - ส่งเสริมสุขภาพในการทำงาน 1.3 มีการนำข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) เวียนแจ้งและถือปฏิบัติโดยทั่วกัน (รายงานภายในเดือนธันวาคม 2562) (แบบ R1(63)) 1.4 มีการรายงานผลการดำเนินงานพร้อมจัดส่งหลักฐานที่แสดงให้ถึงการดำเนินงานในข้อ 1.1 - 1.3 ที่ครบถ้วนถูกต้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งจากมติที่ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักการแพทย์ ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 เห็นชอบให้ดำเนินการจัดการความเสี่ยง ปี 2563 และมอบหมายส่วนราชการ ดังนี้ 1. ความเสี่ยงสูง 2 งาน ประกอบด้วย - งานด้านชีวภาพ : การคัดกรองโรค งานตรวจรักษาพยาบาล และงานบริการผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ - งานด้านการยศาสตร์ : การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลคลองสามวา โรงพยาบาลบางนากรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ 2. งานต่อยอดพัฒนา - งานด้านการยศาสตร์ : การทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ สำนักงานเลขานุการ และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร(ศูนย์เอราวัณ) 3. การดำเนินการเกี่ยวกับรถยนต์ราชการ โดยสำนักงานเลขานุการ และทุกส่วนราชการ ซึ่งสำนักงานเลขานุการ ได้เวียนแจ้งข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 2.1 มีการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาและการจัดการปัญหาความเสี่ยงในการทำงานของหน่วยงาน พร้อมจัดส่งสำเนาโครงการฯ และหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักอนามัย ภายในเดือนธันวาคม 2562 (แบบ OCC2(63)) 2.2 มีการดำเนินโครงการตามแผนงาน การกำกับ ติดตามผลการดำเนินโครงการ โดยจัดส่งผลการดำเนินงานให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 (แบบ OCC3(63)) 2.3 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทาง หรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 2 ให้สำนักอนามัย ภายในเดือนเมษายน 2563 (แบบ R2(63)) สำนักการแพทย์ ได้จัดทำโครงการการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมแผนปฏิบัติงานโครงการ ตามความเสี่ยงที่เลือกดำเนินการ และมีการกำกับติดตามผลการดำเนินโครงการ และการปฏิบัติตามมาตรฐานการใช้รถยนต์ โดยส่งรายงานการดำเนินงานให้สำนักอนามัยเดือนธันวาคม 2563 ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กท 0601/13677 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2563 และรายงานเดือนเมษายน 2563 ตามหนังสือที่ กท 0601/5116 ลงวันที่ 29 เมษายน 2563 ขั้นตอนที่ 3 มีการประเมินความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ (แบบ OCC4(63)) ขั้นตอนที่ 4 4.1 มีการจัดทำและนำข้อปฏิบัติแนวทาง หรือ มาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของหน่วยงาน ไปใช้งานภายในหน่วยงาน อย่างน้อย 2 งาน (ข้อปฏิบัติฯ ที่ดำเนินการในปี 2563) (แบบ OCC5(63)) 4.2 มีการติดตามและประเมินผลการใช้ข้อปฏิบัติฯ (แบบ OCC6(63)) ขั้นตอนที่ 5 5.1 มีการดำเนินการเพื่อการเป็นต้นแบบที่ดีให้หน่วยงานอื่น ใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงาน หรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1) มีกิจกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการและผลสำเร็จของการดำเนินงาน 2) มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดประสบการณ์ การถอดบทเรียน การจัดการความรู้ (KM) ระหว่างหน่วยงาน (เป็นหน่วยงานที่มีจัดการความเสี่ยงในงานที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน) 3) มีหน่วยงานนอกสังกัด เข้ามาศึกษาดูงาน โดยจัดให้มีการบรรยายให้ความรู้ เยี่ยมชมการดำเนินโครงการและผลสำเร็จของงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง หรือ ต่อยอดพัฒนางาน ทั้งนี้ สำนักอนามัย มีหนังสือที่ กท 0704/5325 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 แจ้งปรับแนวทางการประเมินผลตัวชี้วัดที่ 4.2 ในขั้นตอนที่ 5 จาก (1) (2) และ (3) ปรับมาเป็น กำหนดให้อย่างน้อยหน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินงาน ผ่านช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองนโยบาย Social Distancing ลดโอกาสหรือลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากการรวมกลุ่มของบุคคล 5.2 มีการสรุปผลการดำเนินงานภาพรวมให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ 5.3 มีการรายงานผลการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ แนวทางหรือมาตรฐานกลางการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (การใช้รถยนต์) ครั้งที่ 3 ให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 (แบบ R3(63)) 5.4 มีการจัดทำส่งผลการดำเนินงานและหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดให้สำนักอนามัย ภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 สำนักการแพทย์ ได้จัดทำข้อปฏิบัติ แนวทางการทำงานว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสำนักการแพทย์ ประกอบด้วย - ด้านการยศาสตร์ (การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และการทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์) - ด้านชีวภาพ (การคัดกรองโรค งานตรวจรักษาพยาบาล และงานบริการผู้ป่วย) พร้อมทั้งเวียนแจ้งให้ส่วนราชการในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ รวมถึงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานต่าง ๆ ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของส่วนราชการ และส่งรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนที่ 3 – 5 ให้สำนักอนามัยเรียบร้อยแล้วตามหนังสือที่ กท 0601/8794 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2563